Open will: เป็นครู..ง่วงได้ไหม


จะทำอย่างไรเมื่อ เหนื่อยต่อความ "พยายาม" จะสนใจในสิ่งที่ตัวเองรู้สึกว่า..ด้วยใจจริง..ไม่น่าสนใจ

   หัวข้อนี้ เอาอย่างที่อาจารย์ดารินเขียน เป็นหมอ ร้องไห้ได้ไหม..? แล้วในขณะที่สวมบทบาทที่เป็นครูของ นศพ.นี้ละ จะง่วง..บ้างได้ไหม   

   กลับจากการประชุมเครือข่าย palliative care โรงเรียนแพทย์ครั้งที่ 3 ซึ่งจัดที่ รพ.จุฬา พบว่ายิ่งจัด เนื้อหาและวิธีการนำเสนอยิ่งเด็ดขึ้นเรื่อยๆ  เจ้าภาพครั้งถัดๆ ไป สงสัยจะยิ่งกดดัน  ฉันเองก็หวังว่าเชียงใหม่ จะได้รับโอกาสทองเป็นเจ้าภาพสักครั้ง คาดว่าน่าจะก่อนที่เจ้าหลินปิงจะมีหลานแพนด้า  :>

  กิจกรรมหนึ่ง คือ Reflective learning ที่อาจารย์ภุชงค์ ทำได้เนียนมากด้วยการให้อาจารย์ได้ลอง reflect ความรู้สึกต่อการสัมภาษณ์ตัวแทนจิตอาสา แต่ละท่านก็แสดงถึงข้อคิดที่ได้ต่างแง่มุม แต่เมื่อถึง อ.ภุชงค์ คือ "ผมรู้สึกง่วง"..เป็นเทคนิคการสร้าง safe zone ในการแสดงความรู้สึกของตัวเองจริงๆ ทั้งด้านบวกและด้านลบ

   ย้อนมองตัวเอง..ความจริงที่จำต้องยอมรับคือ บางครั้ง..หลายๆครั้ง..ฉันก็รู้สึกง่วงและเบื่อ การนำเสนอครอบครัวผู้ป่วยที่นักศึกษาแพทย์ไปเยี่ยมบ้าน แล้วนำมาเสนอ..จนสงสัยใน Passion ของตัวเองต่อการเป็นอาจารย์..ฉันรู้สึกเหนื่อยต่อความ "พยายาม" จะสนใจในสิ่งที่ตัวเองรู้สึกว่า..ด้วยใจจริง..ไม่น่าสนใจ 
   กรณีผู้ป่วยที่ไม่ค่อยป่วย เช่นเป็น OA knee หรือ HT รับยามา 20 ปีคุมได้ดี..ชีวิตเขาก็ดูมีความสุขดี แล้วบทบาทเราจะพยายามเข้าไปค้นหา Explore ให้เจอปัญหาให้ได้เช่นนั้นหรือ?  เมื่อเกิดความรู้สึกนี้ ฉันจะรู้สึกผิด เพราะรู้ว่าความคิดเช่นนี้ไม่ใช่ Ideal   

   ที่หน้าชั้น นักศึกษากลุ่มหนึ่งนำเสนอครอบครัว ด้วยการเล่าไปตามกรอบและ pattern ที่กำหนดอย่างดีและเคร่งครัด..Case approach บลาๆ.. Whole person บลาๆๆ...Family oriented บลาๆๆๆ..Family as a unit.บลาๆๆๆๆ
   ดูที่กลุ่มผู้ฟัง..นักศึกษาคนอื่น บ้างก็นั่งหลับตาเคารพเพื่อนหน้าชั้น  บ้างก็กำลังขยันทำรายงานผู้ป่วยนอก  บ้างก็มีกิจกรรมสันทนาการด้วยมือถือ...

   หลังชั้น..ฉันยังคงฟังนักศึกษากลุ่มหน้าชั้นนำเสนอต่อไป..แต่ก็อด Empathy นศพ.ที่เหลือไม่ได้

note: มีงานวิจัยน่าสนใจ โดย อ.กรรณิการ์ วิทย์สุภากร เรื่อง LEARNING STYLE PREFERENCES ANDMEDICAL EDUCATION พบว่าประมาณ 70% ของนศพ.มช. ปี 2 ปี 3 เป็น active-sensing learner (learn by trying things out, discussing,working with others-concrete, practical toward facts and procedures ) ขณะเดียวกันก็พบว่าน้อยกว่า 10% เป็น Reflective-intuitive learner ( Though introspection-memorized,idea,insights)
http://www.med.cmu.ac.th/secret/edserv/journal/43(1)/Kannika.pdf

   สิ่งนี้อาจพออนุมานว่า นศพ.ส่วนใหญ่น่าจะชอบการเรียนจากประสบการณ์จริงที่จับต้องได้และ การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน แต่ยังต้องการ coach ในส่วนการคิดทบทวนประสบการณ์อย่างพินิจพิเคราะห์

คำสำคัญ (Tags): #ms-pcare#learning style
หมายเลขบันทึก: 328616เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2010 22:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 16:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สำหรับวันครู..ให้ครูหลับได้ หนึ่งวันครับ

สวัสดีวันครูด้วยคนคะ มีคนโพสต์โฆษณาเกี่ยวกับวันครูไว้ ดูแล้วน้ำตาซึม

http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1263646701

ครูก็มีสิทธิง่วงได้ค่ะ ที่แน่ๆ สมัยเรียนนี่ วิชาไหนที่ง่ายๆ ง่วงเกือบทุกคาบเลยค่ะ

ถ้าเวลานำเสนองาน ผู้พูดเห็นใครง่วงปั๊บ ต้องหาวิธีการกระตุ้นให้ทั้งห้องครึกครื้นค่ะ

ประชุมครั้งนี้เป็นหัวข้อ Non-Cancer- palliative care ใช่มั๊ยคะ เสียดายจังไม่ได้ไปร่วมตอนนี้พี่ก็เริ่มดูงานเเละลงมือทำใน case

โรคไตค่ะ วันก่อนเข้าร่วมประชุมกับท่านอาจารย์ศรีเวียงเเละทีมเเละได้ให้การช่วยเหลือคนไข้เเละครอบครัวในส่วนของ spiritual care มีความสุขมาค่ะเพราะทำให้ครอบครัวยิ้มได้ทั้งน้ำตาอย่าลืม ตามไปอ่านบันทึกล่าสุดพี่กุ้งนะคะคุณหมอปัทมา

ขอบคุณคุณครู poo ที่มาแวะเยี่ยมคะ

ง่วงประจำ แต่ไม่เคยนอนที่โรงเรียน ในเวลาสอนค่ะ

ช่วงนี้ไม่ค่อยได้เข้า G2K

  • วันนั้นผมไม่ได้ reflect เพราะไม่มีจังหวะแทรก
  • ตอนผมสัมภาษณ์ ผมอินและฟังน้องเขาเล่าอย่างอยากรู้อยากเห็น
  • แต่พอหันหลังกลับมามองคนอื่น  ตายแล้ว หลับไปครึ่งห้อง
  • ช่วงนั้นผมรู้สึกกรุ่นๆนะว่า อะไรวะ เรื่องน่าสนใจแทบแย่ หลับได้ลง 
  • มันทำให้เราเข้าใจเลยว่า เรื่องของเราน่าสนใจเสมอ แต่คนอื่นเขาอาจไม่คิดอย่างนั้น 
  • เป็นผมถ้าต้องมาฟังเสียง monotone ของตัวเองช่วงหลังอาหารเที่ยงแบบนั้น ผมก็หลับ

ง่วงก็ได้ แต่อย่าหลับให้เด็กๆเห็น

มาสอน ป.1 แล้วก็จะรู้จักคำว่า"หลับตาไม่ลง"

มาสอน ป.1 แล้วก็จะรู้จักคำว่า"หลับตาไม่ลง"

พูดเสียเห็นภาพเลยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท