ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

I and You Message


                         

    หลายครั้ง สถานการณ์ความขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างบุคคลต่อบุคคล หรือ กลุ่มบุคคลต่อกลุ่มบุคคล เพราะมีที่มาจากการใช้คำ ๒ นี้ ไม่ถูกเหตุ ผล ตน ประมาณ กาล ชุมชน และบุคคล

     "I message" คือ การพูดถ้อยคำออกมาโดยเน้นไปที่ "เรา หรือตัวเองเป็นที่ตั้ง" ส่วน "ํYou message" เป็นการใช้ถ้อยคำที่เน้น "คนอื่น หรือสิ่งอื่น" เป็นที่ตั้ง

หลักการใช้ "I message"

  • เน้นกระบวนการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ที่อาศัยทักษะการส่งหรือสื่อความหมายที่ชัดเจน “ที่ไม่ใช่การตำหนิ” เกี่ยวกับสถานการณ์ที่ผู้ส่งหรือสื่อสารออกไปสัมพันธ์อยู่ขณะนั้น (พูดถึงความรู้สึกที่เกิดกับ “ฉัน” เท่านั้น)
  • ผู้รับ หรือผู้ฟังความหมายที่สื่อออกมาจากข้อความที่ใช้คำว่า “ฉัน”  “จะไม่รู้สึกว่าถูกกล่าวหา”  หรือถูกขู่ และก็จะไม่ตอบโต้หรือปกป้องข้อกล่าวหา เหมือนการใช้คำว่า “คุณนั่นแหละ"

หลักการใช้ "You message"

  • เน้นวิธีการสื่อสารที่มุ่งไปที่ "การจับผิด" และ "จำเลยเพื่อรองรับการกระทำผิด" โดยมีลักษณะเด่นอยู่ที่ "การตำหนิ" คู่กรณี หรือคนอื่นๆ
  • ผู้รับ หรือผู้ฟังจะมีความรู้สึกว่า "กำลังถูกต่อว่า หรือถูกกล่าวว่า" ว่าเป็นต้นเหตุของความผิดพลาดบกพร่อง ในขณะเดียวกัน ผู้ฟังจะรู้จักว่า "เรากำลังเป็นตัวปัญหา" อันเกิดจากการพิพากษาของคนอื่น

ตัวอย่างของประโยค "I message" กับ  "You message"

  • ตัวอย่าง : You message

     แกไปไหนมา  เมื่อคืนทั้งคืน กลับเอาป่านนี้  แก นี่เลวมาก  บอกกี่ครั้งกี่หนก็ไม่จำ ดีนะที่แกไม่ถูกตำรวจเขาจับ

  • ตัวอย่าง : I-Message
  • แม่รู้สึก ห่วงกังวลมาก เมื่อ ลูกไม่กลับมาบ้านเมื่อคืน            เพราะ : แม่รักลูก  แม่อยาก  ให้ลูกกลับบ้านเร็วกว่านี้

สูตรของประโยคที่ใช้คำว่า “ฉัน” (I-Message)

      ฉันรู้สึก__________เมื่อ__________เพราะ__________
ฉันต้องการ(อยาก)_____________________

ประโยคที่ใช้คำว่า “ฉัน” แบบผิด ๆ (False I-Message)

            “ฉัน อยากให้คุณไปพ้น ๆ หน้าฉัน”

            “ฉันรู้สึกว่าเจ้าหล่อนน่าจะหยุดทำบ้า ๆ นั่นเสียที”

             (ใช้ “ฉัน” แต่ พุ่งประเด็นไปสู่การตำหนิคนอื่น)

     สังคมไทยในปัจจุบัน เป็นสังคม "นกกระจาบ" มักจะสื่อสารโดยใช้ "You message" เป็นส่วนใหญ่ โดยมุ่งเน้น หรือจับผิดกันและกันว่า "คุณนั่นแหล่ะเป็นตัวปัญหา" หรือ "เป็นตัวการที่ทำให้ประเทศชาติ สังคม และองค์กรเป็นแบบนี้"  หากคุณไม่ทำแบบนั้น แบบนี้ สังคม และองค์กรของเราจะไ่ม่เป็นแบบนี้  เชื่อมั่นว่า "ในที่สุด นายพรานจะเดินกระหยิ่มยิ้มย่องว่า วันนี้เราโชคดีเหลือเกินที่จะได้นกกระจาบทั้งฝูงไปปรุงเป็นอาหาร" แล้วจะมี "นกกระจาบสักกี่ตัว ที่จะรอดพ้นจากตาข่ายของนายพรานได้"

 

ด้วยธรรมะ พร และเมตตา

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,ผศ.ดร.
มหาุวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ (Tags): #i message#you message
หมายเลขบันทึก: 328370เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2010 19:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

นมัสการครับ

     ผมไปประชุมที่กรุงเทพฯ  ช่วงแบ่งกลุ่มย่อยและออกมานำเสนอ ส่วนใหญ่ก็มักจะนำเสนอแบบ  You   message  โดยลืมไปว่านิ้วชี้ที่ชี้ออกไปต่อว่าคนนั้นคนนี้ว่าผิด  ที่เหลืออีกสี่นิ้ว ชี้เข้าหาตัวเองครับ

     ในองค์กรที่หลายองค์กร  มักจะสื่อสารแบบYou   message  กันครับ   ก็เลยต้องอยู่กันอย่างระแวง ระวัง   ห่วงหน้าพะวงหลัง เลยการพัฒนาไม่ค่อยขยับ เพราะมัวแต่ระวังตัว  

ครู Small man,

  • เป็นเหตุผลเชิงประจักษ์ที่ครูอธิบาย และให้ตัวอย่างได้ดีมาก
  • คงต้องปรับวิธีคิด และการมองใหม่
  • เพื่อว่า เราสุข ครอบครัวสุข นักเรียนสุข ครูสุข สังคมสุข และประเทศชาติสุข มิฉะนั้น เราอาจจะเห็นความ "สุก" แทนที่
  • เจริญพร

นมัสการครับ

    พอดีนึกถึง I  message

    *   ช่วงที่ทานอาหารกับเพื่อนที่กรุงเทพ   เพื่อนผมเขาตีลูกอายุ 3  ขวบ   เขาบอกว่าลูกไม่รู้เรื่อง จึงต้องตี    ผมบอกเพื่อนว่า ไม่ควรไปตีลูก    เพราะลูกเขารู้เรื่อง   แต่ต้องพูดกับเขาดีๆ  ก่อนอื่นต้องสะกดอดกลั้นอารมรณ์ตัวเองก่อน   แล้วคุยความรู้สึกให้เขาฟัง  ว่าเราไม่ชอบให้ลูกทำพฤติกรรมแบบไหน   ชี้แจงด้วยเหตผลดีๆ  โดยอย่าไปดุด่า ตำหนิ หรือ  จับผิด  ลูกจะยิ่งดื้อและต่อต้าน

     วิธีเลี้ยงลูกของฝรั่ง   เขาก็จะเน้นให้สื่อสารด้วย  I  message ครับ

      แต่ของไทย มักจะเลี้ยงลูกแบบ "รักวัวให้ผูก  รักลูกให้ตี"   ก็เลยต้องใช้การสื่อสารแบบ You   message  ให้สอดคล้องไปกับการตี

ครู Small man,

  • มุมมองครูน่าสนใจมาก
  • วัฒนธรรมการเลี้ยงลูกของฝรั่งกับไทยต่างกัน
  • วัฒนธรรมแบบ "รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี" อาจจะเหมาะกับ "สังคมแบบเกษตรกรรม" ที่มีต้องพึ่งพา "วัวและควาย"
  • ปัจจุบันนี้ เราพึ่งพาวัวและควายน้อยน้อย วัฒนธรรมเข้าสู่แบบอุตสาหกรรมมากขึ้น สุภาษิตแบบเดิมจะเหมาะกับลูกๆ ที่เกิดมาในสังคมสมัยหรือไม่
  • แต่สังคมฝรั่งบางแห่งเค้าเลี้ยงแพะ กับ แกะ แล้วส่งผลต่อการเลี้ยงลูกไหม
  • น่าสนใจทั้งหมด และน่าสนใจทำวิัจัย

นมัสการพระอาจารย์

สังคมไทยเดินมาไกลมาก จนชินกับการใช้ You   message 

คงต้องค่อยแก้ค่ะ

นมัสการพระคุณเจ้า

ขอบพระคุณสำหรับสาระสำหรับการพัฒนาตนเองเจ้าค่ะ

โยมแก้ว และโยมณัฐ

  • อนุโมทนาที่แวะมาแลกเปลี่ยน
  • สังคมไทยเดินทางอยู่ตลอดเวลาตามกฏอนิจจัง
  • แต่สิ่งที่ต้องเดินตามให้ทัน คือ "การใช้ You message"
  • หรือว่าความจริง ภูมิปัญญาแบบนี้เราก็เคยใช้ เ่ช่น "เหนื่อยไหมลูก ลูกต้องการอะไรไหม แม่จะหามาให้" 
  • แต่เมื่อเผชิญกับจุดเปลี่ยนแห่งยุคสมัย ติดไำฟ "เหลืองแดง" จนขยับไม่่ค่อยได้ เราก็เลยหลงๆๆ ลืมๆๆ ภูมิปัญญาไทยเรา

นมัสการพระอาจารย์

ค้นเรื่อง I message เลยมีโอกาสมากราบอาจารย์ครับ

อ่านภาษาฝรั่งไม่ค่อยเข้าใจ อ่านบันทึกอาจารย์เลยเข้าใจครับ

เจริญพร คุณหมอ

อาตมาดีใจที่ได้เห็นสิ่งที่นำมาเสนอได้รับการศึกษา เรียนรู้ และขยายผลต่อไป ขอให้ใช้ I Message กันเยอะๆ

เจริญพร

นมัสการครับ

    วันนี้ แวะเข้ามาใช้บริการความรู้อีกรอบครับ  กำลังพัฒนาครูเรื่องการสื่อสารอย่างสันติ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท