มูลนิธิสื่อเพื่อเยาวชน
ว่าที่ร้อยตรี จิรศักดิ์ กรรเจียกพงษ์

ป้ายบอกสัญญานล่วงหน้า


ชีวิตหลังเกษียณอายุราชการ กับ เวลาที่ยังเหลืออยู่.....ในโลกใบนี้
ป้ายบอกสัญญานล่วงหน้า


การบอกกล่าวทฤษฎีสถาปัตยกรรมและการปฏิบัติที่หลงทิศทาง
โดย Anthony Catsimatides

2/14/99

(เรียบเรียงจาก...http://www.plannet.com/features/signposts.html)

ทุกครั้งที่ข้าพเจ้าอ่านหนังสือหรือบทความที่เกี่ยวกับทิศทางการปฏิบัติสถาปัตยกรรมปัจจุบัน ข้าพเจ้าอ่านพบทิศทางที่ไม่รู้จัก ไม่มีทฤษฎีที่ควบคุมการออกแบบและการปฏิบัติสำหรับสถาปนิก สถาปัตยกรรมถูกกล่าวว่าอยู่ในขั้นวิกฤติ ไม่มีหลักการ ไม่มีสาระ อยู่ในอาการที่ส่อเค้าหายนะ

ข้าพเจ้าอ่านพบว่า สถาปนิกไม่พียงสูญเสียทิศทาง แต่ยังหลงทางความเป็นระดับแนวหน้าทางวิชาชีพ บ่อยครั้งที่ข้าพเจ้าได้ยินว่า นักจัดสรรและหน่วยงานรัฐบาลถูกจัดไว้เป็นผู้นำด้านหลักการสำหรับสถาปัตยกรรมของชุมชน ภูมิสถาปัตยกรรมของเมือง และเมืองใหม่ของชนบท กลับทั้งเป็นผู้จ้างวานสถาปนิกเพียงการเขียนภาพและให้บริการเขียนแบบเท่านั้น

อาชีพสถาปัตยกรรมนั้น เป็นอาชีพหนึ่งที่มีเกียรติและมีศักดิ์ศรีเสมอมา มันเป็นความลำบากใจมากที่มาพบความจริงของสถานะของสถาปนิกในทุกวันนี้ โดยไม่นับคุณภาพของสถาปนิกผู้มีชื่อเสียงเพียงเล็กน้อย ส่วนที่เหลือในอาชีพนี้นั้นมีคุณภาพอย่างเฟื่อนๆและซีดเซียว ไม่มีบทความหรือหนังสือมากนักที่ข้าพเจ้าเคยอ่านแล้วกล่าวถึงทิศทางของอาชีพนี้ ลองอ่านสิ่งเหล่านี้ในรายการของบรรณานุกรมแนบท้ายบทความนี้ อย่างน้อยก็เป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าได้อ่านพบมาแล้ว

ในบทความหรือหนังสือเหล่านี้ ซึ่งข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยทั้งหมด ยกเว้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสียการควบคุมพวกนักจัดสรรและเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้น ข้าพเจ้าไม่เชื่อว่าพวกเราที่เป็นสถาปนิกจะขาดแคลนในทิศทาง ทฤษฎีและการปฏิบัติที่เป็นอยู่นั้น มีหลักฐานมากมาย ซึ่งในความเห็นของข้าพเจ้านั้น มันชี้นำการดำเนินการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน แม้กระนั้น ข้าพเจ้าก็ต้องเห็นด้วยที่ว่าสถาปนิกส่วนมาก ไม่มีความดุดันเพียงพอที่จะแสวงหาหลักการของการบูรณาการในทิศทางเดียวกัน กลับยอมให้เรื่องเศรษฐกิจเป็นสิ่งเกินเลยไปจนขาดแคลนความคิดสร้างสรรค์ นี่เป็นการแก้ตัวที่น่าสงสาร แต่ก็มีความจริงของ "การขาดแคลนในหลักการ" สำหรับสถาปนิกส่วนมากในการปฏิบัติวิชาชีพที่เป็นอยู่ขณะนี้

งานออกแบบมากมายที่ดำเนินในทุกวันนี้ ส่วนมากมีความขลาด เป็นของพื้นๆ มีสุนทรีย์ที่น่าเบื่อ บ่อยครั้งไม่สนองการใช้สอย แต่ยังมีส่วนดีที่สุดคือมีเหตุผลในแง่ปฏิบัติ นี่ไม่ใช่ความผิดทั้งหมดของสถาปนิก นอกจากสิ่งที่ควรตำหนิ คือไม่มีความดุดันเพียงพอที่จะคงหลักการที่เคยยึดถือกันมาก่อนหน้านี้ มันจึงขึ้นอยู่กับสถาปนิกที่จะกระทำสิ่งถูกต้องจากความผิดพลาดให้ได้ นับเป็นความโชคร้ายด้วย ที่เราเผอิญมีระบบนิติศาสตร์ที่หนักอึ้งในประเทศนี้ ทำให้เป็นสิ่งที่เกระทำได้ยากที่จะนำเรื่องเหล่านี้มาดำเนินการได้ด้วยตนเองตามลำพัง ในบางกรณี บางสิ่งเป็นผลดีในระยะยาว เช่นเรื่องสุขภาพ ความปลอดภัย และสวัสดิการในระบบนิติธรรมที่สร้างไว้เพื่อควบคุมสถาปนิกให้ใส่ใจและถือเป็นเรื่องสำคัญในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ถ้าท่านมีการเตรียมตัวในทางปฏิบัติ สิ่งสุดท้ายที่ท่านต้องการทำคือให้เรียกร้องสิ่งที่นอกเหนือวิธีการทางเหตุผล ที่สามารถทำให้การดำเนินการปฏิบัติของท่านเป็นไปได้ต่อๆไป แม้บางอย่างที่เป็นความหวาดกลัวของสถาปนิกรุ่นก่อนๆ แต่เดี๋ยวนี้มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องราวที่แตกต่างกันแล้ว นั่นคือความคิดสร้างสรรค์ที่แหลมคม อันเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องการเกินเลยจากประโยชน์และความสดวกสบายในชีวิต ความแหลมคมในการคิดสร้างสรรค์นี้ยังดำรงอยู่ทั้งในทฤษฎีทางสถาปัตยกรรมและคงความเข้มข้นในทางปฏิบัติตราบถึงวันนี้ อย่างน้อยก็ยังมีอยู่ในสังคมสถาปัตยกรรมเป็นส่วนใหญ่

ในฐานะความเป็นมนุษย์ เราต้องการความเชื่อที่มีบางสิ่งบางอย่างที่มากกว่า ลึกซึ้งกว่าที่เราเคยทำหรือเคยเห็น เราต้องการความเชื่อที่ว่าหน้าที่ที่สูงกว่านั้นมีอยู่ในอาณาจักร์ของเราซึ่งเราสามารถคว้าเอามาได้ ศิลปะเป็นสิ่งที่มีเสน่ห์ชวนให้หลงไหลในจิตมนุษย์ เพราะมันนำมาซึ่งความรู้สึกที่ช่วยเพิ่มรสชาดของการดำรงชีวิต โปรดระลึกไว้ว่า ข้าพเจ้ามีชีวิตยืนยาวได้เพราะได้รับของกำนัลจากความรูสึกที่เคยได้ลิ้มรสมา การสะท้อนความหลังในชีวิตของข้าพเจ้าได้นั้น เป็นเพราะศิลปะนำมันออกมาจากตัวข้าพเจ้า และข้าพเจ้าแน่ใจว่าเป็นเช่นเดียวกันกับทุกท่าน เพราะฉะนั้นเราจะสามารถกล่าวอ้างความต้องการที่พักพิงเพียงเพื่อประโยชน์หลักทางกายอย่างเดียวนั้นได้อย่างไร? จิตใจก็ต้องการบางสิ่งบางอย่างด้วย เมื่อเราบรรลุงานสถาปัตยกรรมถึงงานที่ไม่มีวันสิ้นสุดในการจัดรวมองค์ประกอบต่างๆ หรือวางประโยชน์ใช้สอย หรือขนาดต่างๆอย่างบริบูรณ์แล้ว เราต้องข้ามอาณาจักร์ของสถาปัตยกรรมไปสู่อาณาจักร์ของการรวมจิตวิญญาณของมนุษย์เพิ่มเข้าด้วยกัน ด้วยการกระทำดังนี้ เราได้ทำลายเครื่องขวางกั้นระหว่างอาคารกับสถาปัตยกรรม ลงได้

โดยการป้อนให้อาหารทางใจเพิ่มความเจริญทางจิตวิญญาณอย่างสม่ำเสมอและตลอดเวลานี้ พวกสถาปนิกก็จะมีความแตกต่างกันกับงานปฏิบัติอย่างเป็นปกติธรรมดาของช่างไม้ แม้ว่าช่างไม้ก็มีความสำคัญไม่น้อยในการสร้างอาคารให้ปรากฏ แต่ด้วยวิสัยทัศน์บวกกับความคิดใหม่ๆหรือญาณทัสนะทางปัญญา ก็จะสรรค์สร้างสถาปัตยกรรมให้บรรลุผลอันสมประสงค์แห่งยุคได้

จากรากฐานในบทบัญญัติของความทันสมัย ผ่านถึงช่วงแรกๆของยุคหลังทันสมัย จนกระทั้งการผสมผเสกันของปัจจุบันนี้ มันไม่ปรากฏว่ามีการใช้ทฤษฎีใดนำทางเป็นเบื้องหน้า หรือเป็นฐานความคิดที่ทำให้เกิดความแตกต่าง หรือกำหนดเป็นทฤษฎีที่ยอมรับกันได้ในวิชาชีพ กาลครั้งหนึ่ง บนทางเลี้ยวแห่งศตวรรษ บางที นักทันสมัยก็อ้างว่าได้ค้นพบทิศทางที่ถูกต้องสำหรับสถาปัตยกรรมได้แล้ว พวกเขาตัดสินร่วมกันว่า การประดับประดาในงานสถาปัตยกรรมนั้นไม่ช่วยให้เกิดความปิติและไม่เป็นที่โปรดปราณ แต่ละอาคารจึงถูกผลิตขึ้นมาเพียงมุ่งที่ประโยชน์และกลายเป็นที่รวมการประโยชน์ใช้สอยเหล่านั้นไว้ด้วยกันเท่านั้น

แล้วต่อมาก็เกิด แบบสมัยสากล-International Style ในราวปี 1950's. แต่ก็เป็นอยู่ไม่นาน ความเบ่งบานในอเมริกาเกิดขึ้นจากกองเถ้าถ่านของสงคราม ด้วยการรวมทุกสิ่งเข้าด้วยกันทุกเรื่อง ทั้งทางการเมือง ทุกเชื้อชาติ ทุกสังคม และทุกจริยธรรม รวมเป็นหนึ่งเดียวของประเทศอย่างมั่นคง แต่อะไรล่ะที่ทุกคนไม่พอใจในประโยชน์ของการรวมในรูปแบบบรรษัทของอเมริกา? คือการมีปริมาณลูกจ้างของสำนักงานเพิ่มมากขึ้นจนกลายเป็นเรื่องความเจ็บป่วย เพราะได้รับอากาศเสียภายในอาคาร ซึ่งไม่ให้ผลดีในเรื่องสุขภาพและสภาพแวดล้อม กระบวนระบบไม่เกิดการกระจายตัวที่เพียงพอ หรือความทันสมัยไม่พอที่จะรับมือกับเรื่องราวมากมายในปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ในระยะหลังๆ อาคารสร้างในเขตที่มีการป้องกันและควบคุมสภาพแวดล้อมทางอากาศได้ดีขึ้น แต่ความคับแคบทางความคิดในเรื่องโต้แย้งกันของประโยชน์ยังมากกว่าความสุนทรีย์ เส้นสาย รูปทรง การทับซ้อนขององค์ประกอบ ความสัมพันธ์แบบองค์รวม -gestalt ฯลฯ อันรวมเป็นลักษณะสะอาดและเรียบง่าย ทั้งๆที่ยังมีความเป็นท้องถิ่นของอเมริกาและยุโรปเป็นเสมือนหัวใจที่แฝงอยู่อย่างแท้จริง

ทฤษฎีสถาปัตยกรรมถูกชี้นำกลับไปผูกติดกับวัฒนธรรมและบริบทสภาพแวดล้อมที่สะท้อนในความรู้สึกได้ ไม่มีอีกแล้วที่จะออกแบบโดยเพื่อมุ่งประโยชน์และรูปแบบที่บริสุทธิ์แล้วสนองตอบกับความสุนทรีย์ได้อีกต่อไป สถาปนิกหลังทันสมัยต้องตระหนักถึงความเป็นท้องถิ่น ด้วยงานที่กำหนดความมุ่งหมายในการนำวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่ามาประยุกต์ไว้เป็นเนื้องานของมันเอง

ดังนั้น แม้ว่าจะไร้ทิศทาง และมันดูเหมือนการเกลี้ยกล่อมทางทัศนะคติสำหรับสถาปนิก นักวิจารณ์สถาปัตยกรรม และนักทฤษฎีส่วนมากที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ ไม่เป็นที่ยอมรับกัน ทิศทางเลยดูเหมือนเป็นความสับสน แต่ก็มีสัญญาณบางอย่างที่บอกถึงความก้าวหน้า การพอมีทิศทางเขื่อมโยงกัน และพอใช้เป็นหลักฐานแผ่ขยายไปทั่วโลก ทิศทางหนึ่งนี้ ิคือ ความรู้ความเข้าใจในระดับโลก และเป็นทิศทางที่สถาปนิกอเมริกันกำลังเพ่งตรงไปในทิศทางนี้ด้วย

ตลาดการค้าระดับโลก รวมกับการเติบโตของธุระกิจสื่อสารโทรคมนาคมเชื่อมต่อทุกส่วนของโลกเข้าด้วยกัน นำเอาวัฒนธรรมที่แตกต่างและหลากหลายเข้ามาอยู้ใกล้ชิดกัน ปรากฏการณ์นี้ชี้ให้เห็นทฤษฎีที่กำลังมาและกำกับการทำงานทุกอย่าง เราต้องออกแบบเกี่ยวข้องกับสิ่งนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต หรือแม้กระทั่งการเที่ยวระหว่างวันหยุดที่รวดเร็วไปสุดประเทศ หรือแม้ไปถึงประเทศอื่นๆที่ไกล สิ่งเหล่านี้ช่วยสร้างวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของเราได้มากกว่าบรรพบุรุษที่เคยมี ดังนั้นผลการกระทำจึงจำเป็นต้องมีความแตกต่างกว่ากันด้วย

ถ้าเราจะประนามสถาปนิกว่า ออกแบบเลวสำหรับโครงการบ้านจัดสรรทั้งหลาย กลุ่มสำนักงาน หรือศูนย์การค้า ก็จะต้องเพ่งไปที่ความมีประโยชน์ ความมีสุนทรีย์ หรือเรื่องจริยะธรรมในสิ่งที่ออกแบบนั้นๆ สถาปัตยกรรมเกี่ยวข้องกับสุนทรียศาสตร์ สถาปนิกมีอัตตา และต้องการอวดอะไรที่เขาสามารถทำได้ ข้าพเจ้าไม่ว่าเขาในเรื่องนี้ มันกลับเป็นความรู้สึกที่เยี่ยม ที่ทราบว่าเขากำลังสร้างสรรค์บางสิ่งให้มีความงดงามตลอดไป แต่ปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อสิ่งที่สุนทรีย์นั้นขัดแย้งกับความเชื่อ การโต้แย้งนี้จะเป็นข้อถกเถียงไปไกลกว่าที่ข้าพเจ้าจะสามารถประมาณได้ เราได้เรียนรู้มาในช่วงปี 1960's ว่า การนำเอานักออกแบบไปเกี่ยวข้องกับมวลอารยธรรมนั้น จะไม่สามารถรักษาหรือเยี่ยวยาความยากจน อาชญากรรม และโรคติดต่อของสังคมได้เลย

ทิศทางทุกวันนี้ ขึ้นอยู่กับการสื่อสารกันและกันในระดับโลก และเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นฐานของขับเคลื่อนตลาดการค้า ในเนื้อแท้นั้น เรากำลังทำการทดลอง เช่นงานของ Rem Koolhaas, Frank O. Gehry, Coop Himelblau, Renzo Piano, Kisho Kurokawa, Steven Holl, Peter Eisenman, Zaha Hadid และคนอื่นๆ เผยให้เห็นความแตกต่างในทิศทางที่เรากำลังดำเนินอยู่ งานของพวกเขา กล้าที่จะทำให้แตกต่างจากคนอื่น เมื่อนำมารวมกันแล้ว เป็นหลักฐานของทิศทางที่ต้องเชื่อมกับการสื่อสาร มันเป็นผลพลอยได้จากหลักธรรมชาติเบื้องต้นของการสื่อสารในระยะทางที่ไกล เราจับเอาจินตภาพที่อยู่แสนไกล และพิจารณามันให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของเรา มันไม่ใช่เรื่องปกติธรรมดาที่จะเห็นภาพลักษณ์ของวัฒธรรมที่หลากหลายมาผสมรวมกันในงานๆเดียว แต่นี่เป็นส่วนหนึ่งของโลกที่เราได้สร้างขึ้น เราได้ทำกล่องให้แตก ทำเศษแก้วและที่ว่างกระจัดกระจาย ไปไกลเกินมิติความจำก่อนหน้าที่เคยเข้าใจลักษณะของวัฒนธรรมเดิมที่เคยมีความแน่นอนและคงที่ และเรากำลังนำมันมาเป็นส่วนหนึ่งของมันด้วย

ทฤษฎีและการปฏิบัติทางสถาปัตยกรรมวันนี้ ถูกควบคุมโดยการเติบโตของตลาดการค้าระดับโลกทางการสื่อสารอีเล็กโทรนิคที่รวดเร็ว ซึ่งจะมีผลกระทบทุกวัฒนธรรมทั่วโลก การทดลองที่ยิ่งใหญ่คือ เราต้องเตรียมการไว้ ขยายการสนทนาต่อไป ให้ไกลเกินกว่าขอบเขตความเป็นธรรมดาของเรา และจัดทำความแข็งแกร่งในภาษาสถาปัตยกรรม ให้เป็นที่ยอมรับได้ในตลาดการค้าระดับโลกทุกวันนี้

บรรณานุกรม
- How Buildings Learn, Stewart Brand
- The Ethical Function of Architecture, Karsten Harris
- Each one a Hero, The Philosophy of Symbiosis, Kisho Kurokawa
- Editorial, Standing Up to Sprawl, by Rober Ivy, FAIA, Architectural Record, p15, Jan 1999
- Editorial, On the Market, by Reed Kroloff, Architecture Magazine, p11, December 1998
- How Places Affect People, by Winifred Gallagherm, Architectural Record, p75, Feb 1999


ที่มา :: http://pioneer.chula.ac.th/~yongyudh/papers/signpost.htm


หมายเลขบันทึก: 32643เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2006 10:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 เมษายน 2014 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท