Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

โครงการเสริมศักยภาพอาจารย์เพื่อบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการเรียนรู้


การน้อมนำเอาพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาดำเนินการและเผยแพร่โดยสถาบันอุดมศึกษานั้น สามารถกระทำผ่านได้ 3 ช่องทาง ช่องทางที่หนึ่ง คือ การเรียนการสอน ช่องทางที่สอง คือ การวิจัย และ ช่องทางที่สาม คือ การบริการวิชาการแก่สังคม

            ในการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยจะต้องเตรียมความพร้อมให้สมบูรณ์ ซึ่งประกอบด้วย (1) หลักสูตรวิชาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (2) บุคลากรที่เกี่ยวข้องทางตรง คือ อาจารย์ผู้ที่จะต้องสอนวิชาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (3) บุคลากรที่เกี่ยวข้องทางอ้อม คือ อาจารย์ที่สอนในรายวิชาอื่นๆและ บุคลากรฝ่ายสนับสนุนวิชาการ (4) กระบวนการ วิธีการ กลยุทธ์ และ เทคนิค ในการสอนวิชาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  (5) สื่อและเครื่องมือต่างๆ ที่เหมาะสมที่จะใช้ในการเรียนการสอน (6) กระบวนการ วิธีการ กลยุทธ์ และ เทคนิค ในประเมินการสอนวิชาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

            การจัดฝึกอบรมบุคลากรเพื่อเตรียมความพร้อม ใน 6 องค์ประกอบข้างต้น จึงมีความจำเป็นเป็นอย่างมาก สำนักบริการวิชาการและศูนย์พัฒนาการเรียนการสอน ได้ร่วมมือจัดโครงการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาอาจารย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้และเข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถูกต้อง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง แก่นักศึกษา เพื่อนร่วมงาน มหาวิทยาลัย และ ชุมชน 

           

วัตถุประสงค์หลัก

  1. เพื่อพัฒนาหลักสูตรวิชาหลักเศรษฐกิจพอเพียงในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยสยาม
  2. เพื่อพัฒนาอาจารย์ให้มีความรู้เชิงลึกสามารถสอนวิชาหลักเศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกต้องอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
  3. เพื่อนำความรู้หลักเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางในการการพัฒนานักศึกษาและอาจารย์
  4. เพื่อนำความรู้หลักเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางในการบริการวิชาการแก่สังคม

 

กลุ่มเป้าหมาย

  1. อาจารย์ในภาควิชาต่างๆ ที่ผ่านการคัดเลือกโดยมหาวิทยาลัยเข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 45 คน
  2. บุคลาการฝ่ายสนับสนุนวิชาการ ที่ผ่านการคัดเลือกโดยมหาวิทยาลัยเข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 5 คน

กิจกรรมของโครงการ 

  1. สำนักบริการวิชาการและศูนย์พัฒนาการเรียนการสอน สำรวจความต้องการในการเข้ารับการอบรมของ อาจารย์และบุคลากรฝ่ายสนับสนุนวิชาการ  โดยแจ้งไปยังภาควิชา/สำนัก/ศูนย์ ต่างๆ โดยแนบรายละเอียดเกี่ยวกับ ความสำคัญและความจำเป็นของการอบรม นโยบายของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง วันเวลาในการอบรม และ สิ่งที่ผู้เข้าอบรมจะได้หลังการฝึกอบรม 
  2. สำนักบริการวิชาการและศูนย์พัฒนาการเรียนการสอน ส่งรายชื่อผู้สมัครเข้ารับการอบรมทั้งหมด ให้มหาวิทยาลัยคัดสรรผู้ที่เหมาะสม ที่จะได้รับการพิจารณาเข้ารับการอบรม จำนวน 50 คน (อาจารย์ 45 คน และ บุคลากรฝ่ายสนับสนุน 5 คน)
  3. สำนักบริการวิชาการและศูนย์พัฒนาการเรียนการสอน แจ้งผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับการอบรมทั้ง 50 คน ได้รับทราบ
  4. ดำเนินการจัดฝึกอบรม
  5. ประเมินผลการดำเนินงาน

 

วิธีการประเมินโครงการ 

  1. ประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการดำเนินงาน
  2. ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
  3. คำอธิบานรายวิชาหลักเศรษฐศาสตร์และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ (วัดได้) 

  1. ร้อยละของจำนวนเวลาที่เข้าอบรมของผู้เข้ารับการอบรม
  2. จำนวนผลงานของผู้เข้ารับการอบรม

 

ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ (อธิบายได้) 

1.   คุณภาพของผลงานของผู้เข้ารับการฝึกอบรม         

2.  ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม

 

ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ (ระบุ วัน เวลา ในการดำเนินการ)

  1. สำนักบริการวิชาการและศูนย์พัฒนาการเรียนการสอน สำรวจจำนวนผู้มีความประสงค์อย่างเต็มใจในการขอเข้ารับการฝึกอบรม โดยความร่วมมือจากภาควิชา/สำนัก/ศูนย์ ต่างๆ ในมหาวิทยาลัย  

                        วันที่สำรวจ         (วันที่ 25 ธ.ค. 2552 – 5 ม.ค. 2553)

2. มหาวิทยาลัยเลือกสรรผู้สมัครที่เหมาะสมที่สมควรได้รับการฝึกอบรม จำนวน 50 คน

                        วันที่แจ้งผลการคัดเลือก (วันที่ 20 ม.ค. 2553 – 23 ม.ค. 2553)

3. ดำเนินการจัดการจัดฝึกอบรม (วันที่ 28  ม.ค. – 30  ม.ค. 2553 )

4. ประเมินผลการดำเนินการ  (วันที่ 8 – 12  ก.พ.  2553)

 

ตารางการฝึกอบรม

 

วันที่ฝึกอบรม

09.00 – 12.00 น.

13.00 – 16.00 น.

 

วันพฤหัสบดีที่

28 ม.ค. 2553

- ประธานเปิดงาน

- องค์มนตรี บรรยายเรื่องแนวคิดทฤษฎีเศรษฐกิจ

  พอเพียงตามแนวพระราชดำริ

- วิทยากร บรรยายเรื่อง แนวคิดทฤษฎีเศรษฐกิจ

   พอเพียง ตามแนวพระราชดำริ กับการพัฒนา

   หลักสูตรการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา

- วิทยากร บรรยายเรื่องเทคนิคการเรียนการสอนและ

  การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในกระบวนการเรียน

 

วันศุกร์ที่

29. ม.ค. 2553

ศึกษาดูงานศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ นครนายก

ศึกษาดูงานศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ นครนายก

 

วันเสาร์ที่

30 .ม.ค. 2553

การทำ Workshop

- วิทยากร จัด Work Shop การพัฒนาหลักสูตรวิชาหลัก

  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของมหาวิทยาลัยสยาม

 

การทำ Workshop

- วิทยากร จัด Work Shop เทคนิคการเรียนการสอน

   และการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในกระบวน

  การเรียนการสอนวิชาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

กำหนดการ

โครงการพัฒนาอาจารย์เพื่อบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการจัดการเรียนการสอน

และการบริหารจัดการสู่มหาวิทยาลัยพอเพียง

วันที่ ๒๘–๓๐ มกราคม ๒๕๕๓

ณ อาคาร อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๑๙ ชั้น  ห้อง ๑๙-๑๐๐๓  

เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๖.๑๕  น.

***********************************************

วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ ม.ค. ๒๕๕๓

08.15 – 08.40 น.          ลงทะเบียน

08.45 – 09.00 น.          ประธานกล่าวเปิดการอบรม 
                                 โดย อธิการบดีมหาวิทยาลัยสยาม

09.00 – 10.30 น.          ทำไมจึงต้องพอเพียง และแนวคิดการเป็นมหาวิทยาลัยพอเพียง
                                 โดย ดร.ชูเกียรติ ชูโต

10.30 – 10.45 น.          พักรับประทานอาหารว่าง

10.45 – 12.30 น.          การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในภาคการศึกษา

                                โดย ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ 

12.30 – 13.00 น.          พักรับประทานอาหารกลางวัน

12.50 – 13.00 น.          ลงทะเบียน

13.00 – 14.30 น.          การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในหลากหลายมิติ

                                 สถานการณ์องค์ความรู้ในปัจจุบัน โดย รศ.ดร. อดิศร์  อิศรางกูร  ณ อยุธยา

14.30 – 14.45 น.          พักรับประทานอาหารว่าง

14.45 – 16.15 น.          แนวทางการพัฒนาหลักสูตร เพื่อจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับ

                                 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ 
                                 โดย รศ.ดร. อดิศร์  อิศรางกูร  ณ อยุธยา

 

วันศุกร์ที่ ๒๙ ม.ค. ๒๕๕๓

06.30 – 07.00 น.          ลงทะเบียน

07.00 – 08.45 น.          เดินทางถึงศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ จังหวัดนครนายก

09.00 – 12.00 น.          ศึกษาดูงานภายในศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ

12.00 – 13.00 น.          พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 16.00 น.          ศึกษาดูงานภายในศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ (ต่อ)

16.00 – 17.30 น.          เดินทางกลับถึงมหาวิทยาลัยสยาม

 

วันเสาร์ที่ ๓๐ ม.ค. ๒๕๕๓

08.20 – 08.45 น.          ลงทะเบียน

09.00 – 12.00 น.          Workshop การพัฒนาหลักสูตรวิชาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยสยาม

                                แบ่งกลุ่มย่อยตามความถนัดและสมัครใจ

                               โดย ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ และ คณะ

                                    (รับประทานอาหารว่าง ในเวลาที่เหมาะสม)

12.00 – 12.45 น.          พักรับประทานอาหารกลางวัน

12.45 – 13.00 น.          ลงทะเบียน

13.00 – 14.15 น.          Workshop (ต่อ)  โดย ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ และ คณะ

14.15 – 14.30 น.          พักรับประทานอาหารว่าง

14.45 – 16.00 น.          นำเสนอผลงานการระดมความคิด กลุ่มย่อย

                                 วิพากย์และชี้แนะเพิ่มเติม โดย ดร.ปรียานุช  พิบูลสราวุธ และคณะ

16.00 – 16.15 น.          มอบวุฒิบัตรและปิดการฝึกอบรม

 

***********************************************

หมายเลขบันทึก: 325580เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2010 10:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท