สนามหลวงโมเดล : การสร้างการมีส่วนร่วมการปรับภูมิทัศน์สนามหลวง


หากเราใช้การมีส่วนร่วมของนสนามหลวงในการปรับปรุงภูมิทัศน์สนามหลวง สิ่งที่จะได้ตามมาคือ การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ต่อการดูแลและปรับปรุงภูมิทัศน์ของสนามหลวง และยังสามารถเปิดพื้นที่การทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาอื่น ๆ ในสนามหลวงได้อีกด้วย ได้แก่ ปัญหา ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ คนเร่ร่อน คนไร้บ้าน ฯลฯ โดยจะสามารถเปิดเวทีการมีส่วนร่วมเพิ่มเติมจาก หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ได้ทำงานอย่างเป็นรูปธรรม

สนามหลวงโมเดล : การสร้างการมีส่วนร่วมการปรับภูมิทัศน์สนามหลวง

คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ได้ตกลงที่จะปรับปรุงภูมิทัศน์สนามหลวงและปริมณฑล ด้วยงบประมาณ 100 ล้านบาท ภายใต้งบประมาณ โครงการไทยเข้มแข็ง โดยมอบหมายให้ หน่วยทหารพัฒนาเข้าปรับปรุงพื้นที่ หลังจากที่กรุงเทพมหานครจัดงานปีใหม่ หลังวันที่ 9 มกราคม 2553 โดยจะมีการส่งมอบพื้นที่ให้หน่วยทหารพัฒนาเพื่อเข้ามาดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์

คำถามคือ หลักคิดพื้นฐานของ โครงการไทยเข้มแข็ง ของรัฐบาลนี้คืออะไร ?? และโครงการที่ใช้งบประมาณจำนวนมากถึง 100 ล้านบาท จำเป็นต้องผ่านขั้นตอนการเปิดซองประมูลเหมือนโครงการอื่น ๆ ของรัฐหรือไม่ ??
หากโจทย์ของโครงการไทยเข้มแข็ง คือการสร้างความเข้มแข็งให้แก่สังคมด้วย การปรับปรุงภูมิทัศน์ของสนามหลวงและปริมณฑลครั้งนี้ ก็คงเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ไม่ตอบโจทย์ทางสังคม เพราะเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ขาดการระดมการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ต้องมีส่วนได้ส่วนเสียจากโครงการดังกล่าว ?

หากเราใช้การมีส่วนร่วมของนสนามหลวงในการปรับปรุงภูมิทัศน์สนามหลวง สิ่งที่จะได้ตามมาคือ การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ต่อการดูแลและปรับปรุงภูมิทัศน์ของสนามหลวง และยังสามารถเปิดพื้นที่การทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาอื่น ๆ ในสนามหลวงได้อีกด้วย ได้แก่ ปัญหา ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ คนเร่ร่อน คนไร้บ้าน ฯลฯ โดยจะสามารถเปิดเวทีการมีส่วนร่วมเพิ่มเติมจาก หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ได้ทำงานอย่างเป็นรูปธรรม
เริ่มต้นจาก คิดแบบพื้นฐานคือ หากเรา รับสมัครคนสนามหลวง 100 คน เพื่อเป็นแรงงานในโครงการนี้ เราจะสามารถช่วยคนได้อีกอย่างน้อย 50 คนที่เป็นครอบครัวของคนที่เป็นแรงงาน จะเท่ากับว่า คนอย่างน้อย 150 คนมีงานทำ มีรายได้ และหากคิดเพิ่มในเรื่องของ การทำงานด้านอื่น ๆ เช่น บัตรประชาชน สร้างงาน การค้นหาครอบครัว กระบวนการส่งกลับ

ในส่วนของรายได้ หาก สร้างข้อตกลงกับ คนสนามหลวงที่เข้ามาเป็นแรงงานดีดี โดยคิดคำนวนจากค่าแรงขั้นต่ำ 206 บาทต่อวัน ทำงาน 300 วัน (กรณีไม่หยุด) แบ่งส่วนหนึ่ง เป็นเงินออม 1ใน3 ของเงินค่าแรง หาก ช่วยเขาเก็บโดยการให้เปิดบัญชีธนาคาร จบงาน 300 วัน คนสนามหลวงที่เข้าร่วมโครงการ จะมีเงินเก็บ 20,600 (ไม่รวมดอกเบี้ย) เพื่อเป็นเงินทุนเดินทางกลับบ้าน หรือ ตั้งต้นชีวิตใหม่หลังจบโครงการ

ระหว่างที่ร่วมโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ในฐานะคนงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ก็เข้าทำงานด้านการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตร่วมกับ NGOs ที่พร้อมร่วมโครงการ ประสานงานครอบครัว เพื่อเตรียมความพร้อมส่งกลับภูมิลำเนา เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ พร้อม ประกาศนียบัตร ยกย่องชมเชย ในฐานะให้ความร่วมมือกับรัฐในการปรับปรุงภูมิทัศน์สนามหลวง ความรู้สึกหวงแหน เป็นเจ้าของที่ได้ช่วยปรับปรุงให้สวยงาม ก็จะมีตามมมา หรือเมื่อไปสมัครงานเป็นคนงานที่ไหน บริษัทก็ใช้เป็นหลักฐานประกอบการพิจารณาทำงานต่อเนื่อง

หากคิดและเริ่มต้นทำอย่างเข้าใจในตั้งแต่แรกที่คิดจะปรับปรุงภูมิทัศน์สนามหลวง ก็จะได้มิตร ได้คนที่พร้อมหึ้วามร่วมมือมากกว่า เปิดพื้นท่แห่งความขัดแย้งในหลากหลายด้าน เพียงเพื่อริบพื้นที่จากภาคประชาชน แล้วใช้เงิน 100 ล้านบาทละลายแบบตำน้ำพริกละลายแม่น้ำไปเปล่า ๆ ปรี้ ๆ

หมายเลขบันทึก: 325570เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2010 09:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 12:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท