3 ประสาน สู่ 3 ระดับ เพื่อพัฒนาสวัสดิการชาวนครศรีธรรมราช


3 ประสาน สู่ 3 ระดับ

“เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ

ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์  

มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู

                จ.นครศรีธรรมราชเมืองมากด้วยวัฒนธรรมและความอุดมสมบูรณ์  และการช่วนเหลือเกื้อกูลกันจนพัฒนาเป็นเครือข่ายทางสังคมหรือเครือข่ายองค์กรชุมชน ซึ่งได้พื้นฟูระบบสวัสดิการชุมชนท้องถิ่น  เพื่อให้สามารถเป็นหลักประกันความมั่นคงในการดำรงชีวิตบนฐานของการพึ่งตนเอง การช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกันของคนในชุมชน โดยคนในชุมชนสามารถดูแลกันเองได้อย่างทั่วถึง โดยมีฐานความคิดสำคัญคือ การสร้างหลักประกันเพื่อความมั่นคงของคนในชุมน โดยชุมชนท้องถิ่น ซึ่งหมายรวมถึงทุกอย่างที่จะทำให้คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  ทั้งในรูปของ ทุน น้ำใจ การช่วยเหลือด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนกระทั่งจากโลกใบนี้ไป หัวใจของการจัดการสวัสดิการชุมชนคือ  การพึ่งตนเองและการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ยึดหลัก “ให้อย่างมีคุณค่า และรับอย่างมีศักดิ์ศรี” โดยมีกระบวนการดำเนินงานที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้หลักศาสนา และการมีส่วนร่วมของคนอย่างกว้างขวาง

                ในช่วงปี 2547-2549 ที่ผ่านมา รัฐบาลได้เล็งความสำคัญ ในการจัดระบบสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นอีกระบบหนึ่งที่จะเติบโตเป็นระบบสวัสดิการหลักและไปเสริมสังคมของประเทศได้ ให้ครอบคลุมถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องมาเป็นลำดับ ในช่วงปี  2549 ได้สนับสนุนการพัฒนาสวัสดิการชุมชน จำนวน 8 พื้นที่ (ตำบล) ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ผ่านกลไกศูนย์ประสานงานเครือข่ายองค์กรชุมชน ภาคประชาชน สนับสนุนการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน (ศตจ.ปชช.)  และเกิดการขับเคลื่อนสวัสดิการสังคมเพื่อให้เกิดความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง

                ปี 2550 ถึง ปัจจุบัน ได้ขยายพื้นที่ปฏิบัติการเป็น 20 ตำบล และเกิดการยกระดับสวัสดิการชุมชนสู่นโยบายการจัดสวัสดิการสังคม โดยมีเป้าหมายเพื่อขยายให้ครอบคลุมทุกตำบลของจังหวัดนครศรีธรรมราช ในปี  2553  อย่างเป็นรูปธรรม จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ได้เกิดการทำงานที่เป็นรูปธรรม โดยอาศัยหลักการ 3 ประสาน คือ ภาครัฐเป็นผู้เกื้อหนุนเสริมช่วยพัฒนาระบบกลไก ภาคท้องถิ่นพัฒนาแนวทางความร่วมมือสร้างแผนกลไกรองรับระดับพื้นที่ และภาคประชาสังคม ภาคประชาชน เป็นผู้ขับเคลื่อนและทำให้กองทุนสามารถคงอยู่ได้ ดังนั้นจึงเป็นแนวคิดที่เรียกว่า 3 ประสาน พัฒนากลไกดำเนินงานสวัสดิการสังคม ตั้งแต่ระดับจังหวัดจนมาถึงระดับพื้นที่ (อำเภอ ตำบล)  หรือ แนวคิด 3 ประสาน สู่ 3 ระดับ รวมถึงในโครงการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน ที่กำลังดำเนินการ ภายใต้งบประมาณ 727.3 ล้านบาทนั้น ยิ่งเห็นแนวทางการดำเนินงานและการประสานงานกันมากขึ้นอย่างชัดเจน นับเป็นปราการณ์หนึ่งที่เป็นการผลักดันกระบวนการสวัสดิการชุมชน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ยุทธศาสตร์สวัสดิการสู่แนวทางปฏิบัติ ผลัก :ขับเคลื่อน : ประสาน

                การดำเนินภายใต้แนวทางและโครงสร้าง 3 ประสาน และจัดสวัสดิการชุมชนท้องถิ่น เป็นการวางแผนและแนวทางไปสู่การสร้างความมั่นคงในชีวิตที่ครอบคลุมพื้นที่ทั่วทั้งจังหวัดนั้น เพื่อพัฒนาขบวนสวัสดิการจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งแต่ละท้องถิ่นอาจมีระบบและรูปแบบที่หลากหลายตามความต้องการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน แต่สามารถสรุปหลอมรวมกลายเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญได้ ดังนี้

                1. ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม ภาคี ภาครัฐฯ ภาคประชาชน ชุมชนท้องถิ่น เป็นเจ้าของ มีการบริหารจัดการโดยชุมชน

               2.ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ของคน องค์กรและภาคีการทำงานที่ “หน่วยงานส่วนกลาง” เป็นหลักและเป็นการ  “สงเคราะห์ ” เฉพาะกลุ่มองค์กร มาเป็นการดำเนินงาน โดย 

ชุมชนเป็นหลัก

                3.ใช้การจัดสวัสดิการเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน/ชุมชนท้องถิ่น

 

เป้าหมายสวัสดิการชาวนครศรีฯ สู่ความเป็นจริง ภายใต้ โครงการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน 

                จากยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนงาน  และขบวนการ 3 ประสาน 3 ระดับ เป้าหมายแผนการปฏิบัติการสวัสดิการชุมชนท้องถิ่น ปี 2551 – 2553 จึงมีความชัดเจนมากขึ้น และเพื่อกำหนดทิศทางไว้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมในการพัฒนาการทำงานเรื่องสวัสดิการชุมชนต่อไป  มุ่งเน้นการดำเนินการเพื่อให้เกิดระบบโครงข่ายคุ้มครองทางสังคม ให้เกิดคุณภาพเป็นการสร้างความรู้ ความสามารถ เกิดกลไกการจัดการสวัสดิการพัฒนาร่วมกันของชุมชนท้องถิ่น พัฒนาความรู้ให้เกิดรูปแบบการจัดการที่ชุมชนมีส่วนร่วม ให้เกิดการพัฒนาที่ต่อเนื่องยั่งยืน  หรือ 5 เกิด

1. เกิดการจัดระบบสวัสดิการพื้นบ้านโดยชุมชนเป็นหลักในการดูแลร่วมกับท้องถิ่น

2. เกิดเป็นการพื้นระบบความสัมพันธ์ ความเอื้ออาทรของสังคมให้เกิดการดูแลและ 

    ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

3.  เกิดการขยายผลการจัดสวัสดิการในรูปแบบที่หลากหลาย

 4. เกิดกลไกการจัดสวัสดิการชุมชนในทุกระดับ ชุมชน / ตำบล / จังหวัด

5. เกิดการเชื่อมโยงแผนพัฒนาสวัสดิการร่วมกับแผนท้องถิ่นอย่างบูรณาการ

สวัสดิการชุมชนคนนครศรีฯ คงยังยืนและเป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้  สู่สังคมนครศรีธรรมราชคนไม่ทอดทิ้งกัน

 

แผนงานเป้าหมายการปฏิบัติการจังหวัดนครศรีธรรมราช 

ปี 

2549

ปี 

2550

ปี

2551

ปี

2552

ปี

2553

8 ตำบล

20 ตำบล

46 ตำบล

49 ตำบล

49 ตำบล

 

 

จังหวัดนครศรีธรรมราช

สวัสดิการสังคม

คนไม่ทอดทิ้งกัน

 


[1] สัมภาษณ์ คุณสง่า ทองคำ  ประธานเครือข่ายสวัสดิการสังคม จังหวัดนครศรีธรรมราช 5 มกราคม 2553

หมายเลขบันทึก: 325563เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2010 08:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 18:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กิจกรรมที่ 12 ม.ค.2553  “ พวกเรามีนัดพบกับอ.เอกและทีมงานครับ”

ณ.ห้องประชุมชั้น 1 กับกิจกรรมการสัมมนาติดตามผลและการยกระดับการเรียนรู้ในเรื่อง“การถอดบทเรียนองค์ความรู้ในงานพัฒนา” (AAR&R)

  ช่วงเช้า

  •  กิจกรรมสานสัมพันธ์ร้อยรัดหัวใจ CODI. โดย ดร.ขจิต ฝอยทอง
  •  นำเสนอผลงาน "โชว์ แชร์ และ เชียร์การถอดบทเรียนองค์ความรู้ในงานพัฒนา  (AAR. การถอดบทเรียนองค์ความรู้ในงานพัฒนา  จาก ภูเขางามจนถึงวันนี้ที่ พอช. /นำเสนอ Show & Share บทเรียนความสำเร็จที่เริ่มต้น /แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการความรู้)

ช่วงบ่าย

  •  กิจกรรมผ่อนพัก ตระหนักรู้ โดย ดร. ขจิต  ฝอยทอง
  •  Dialogue “การถอดบทเรียนองค์ความรู้ในงานพัฒนา” และ จากบทเรียนองค์ความรู้ในงานพัฒนาสู่การจัดทำเป็นเรื่องเล่าเร้าพลัง
  •  กระบวนการ AAR.
  •  รูปแบบการเคลื่อนงาน CODI_KM จะขับเคลื่อนไปอย่างไร

ทีมวิทยากรกระบวนการ  3 หนุ่มสามมุมครับ ( อ.จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร / ดร.ขจิต ฝอยทอง/ อ. เกียรติศักดิ์  ม่วงมิตร)

สถานที่ :  มีการอำนวยความสะดวกด้านไอที รวมไปถึงการจัดลานชุมชน ที่อาจปูด้วยผ้า หรือ เสื่อ ที่สามารถนอน นั่งได้

การแต่งกาย : ให้ผู้เข้าร่วมแต่งกายตามสบาย ผู้หญิงให้สวมกางเกงจะสะดวกต่อการนอนและนั่งระหว่างการสัมมนา

อุปกรณ์ : โน้ตบุ้ก(ส่วนตัว), ส่วนอุปกรณ์อื่นๆใช้ของเดิมจากที่เคยทำกระบวนการในเวทีที่ภูเขางามรีสอร์ต

 

ครับ พี่สุเทพ มาโชว์ แอนด์เชียร์กันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท