การพัฒนาของโรงเรียนเอกชนกับโรงเรียนชานเมือง


เสียงหนึ่งดังมาแว่ว ๆ ไม่มีเด็กนะดีแล้ว รับเงินเดือนเท่าเดิม

             เสียงนี้ดังก้องหัวผู้เขียนหลังการประชุม การศึกษาของเราจะพัฒนาทั้งระบบ พัฒนาครูทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน พัฒนาให้เด็กมีคุณภาพ และส่งเสริมความเป็นไทย.....ไทยยยยยยยย..          

        ผู้เขียนขี่รถผ่านโรงเรียนรอบเมืองใกล้ ๆ ตัวอำเภอ หลายโรงเรียนที่ผู้เขียนเคยผ่านประจำ บางโรงเรียนเห็นสภาพแล้วผู้เขียนได้แต่ถอนใจ สภาพโรงเรียนทรุดโทรมอาคารเรียนเก่า คร่ำคร่าห้องน้ำห้องส้วมผุพัง  สนามหญ้ารก นักเรียนที่เดินไปโรงเรียน มีน้อยลงทุกวัน....................................

        แต่แปลก ในโรงเรียนมีแต่รถใหม่ ๆ  ครูเกินจนไม่มีใครย้ายเข้ามาได้  มีครู ซี 8  เต็มโรงเรียน...

        ยามเช้ารถของโรงเรียนเอกชนสีเหลืองวิ่งว่อนรับส่งนักเรียน แข่งกัน......ยามเสาร์อาทิตย์ รถตู้รับส่งเด็กเรียนพิเศษในเมือง...วิ่งขวักไขว่

          หน้าโรงเรียนเอกชนของศาสนาคริสต์เวลา 8.30 มีรถครูและผู้อำนวยการโรงเรียนประถมชานเมือง มาส่งกันจนรถติด  ไม่มีใครส่งลูกเรียนกับครูชำนาญการพิเศษ ในโรงเรียนตนเอง

            ผู้เขียนย้ายจากโรงเรียนชนบทที่พบกับนักเรียนเรียนอ่อน ครอบครัวแตกแยก  ยากจน  ในที่สุดก็มาเจอสถานการณ์เดิมแต่เป็นชานเมือง ไม่ใช่ชนบทห่างไกล

           ครูพูดเรื่องการเมืองเหลืองแดง  พูดเรื่องทำผลงาน และธุรกิจสร้างเงิน ลูกหลานไปนอก ไปไกล แต่อย่าเป็นครูเหมือนพ่อแม่ มันลำบาก  สำหรับผู้เขียนวนเวียนคิดว่าแล้วจะทำอย่างไร ให้โรงเรียนมีสถานที่ วิชาการ บรรยากาศการเรียนรู้ คุณภาพนักเรียน พอที่จะสู้กับโรงเรียนเอกชนได้ หรือปล่อยตามบุญตามกรรม

             เสียงหนึ่งดังมาแว่ว ๆ  ไม่มีเด็กนะดีแล้ว รับเงินเดือนเท่าเดิม  ทำให้มานะเกิดว่า

เดี๋ยวเถอะ จะทำให้ดู เสียงเดียวจะสู้หลายเสียง หลายคนได้ยังไง

  

หมายเลขบันทึก: 325301เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2010 23:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท