การทำงานเป็นทีม


การทำงานเป็นทีม

 

  

การทำงานเป็นทีมของกองบริหารงานบุคคล

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

  

  

 
(แถวล่างจากซ้ายไปขวา) คุณนางฉันทนา  เอี่ยมวชิรากุล (พนักงานราชการ) ,
คุณนางนิตยา  กะหมาย (พนักงานมหาวิทยาลัย),
คุณนางบุษยมาศ  แสงเงิน (ข้าราชการ) และคุณนางสุนันทา  วัฒนกุลชัย (พนักงานราชการ)
(แถวบนจากซ้ายไปขวา)  คุณนายมนต์นิรันดร์  ประสิทธิผล (พนักงานราชการ),
คุณนางสาวกวิสรา  หงษ์ยนต์ (เจ้าหน้าที่ประจำตามสัญญา),
คุณนางสาวอัมรินทร์  ยืนนาน (เจ้าหน้าที่ประจำตามสัญญา
และคุณนายนพันษกรณ์  สมบูรณ์ไตรภพ (ลูกจ้างประจำ)
 

               นับจากมหาวิทยาลัยเป็นสภาพสถานะจากสถาบันมาเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ เมื่อ พ.ศ. 2547 และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ได้แบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัย เมื่อ วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 หนึ่งในห้ากองที่กำเนิดขึ้นมา ก็คือ กองบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยภายในกองบริหารงานบุคคล ได้แบ่งหน่วยงานออกเป็น 5 หน่วยงาน ดังนี้

                   1. หน่วยงานธุรการ

                   2. หน่วยงานบุคคล 1

                   3. หน่วยงานบุคคล 2

                   4. หน่วยงานสิทธิประโยชน์และสวัสดิการ

                   5. หน่วยงานวินัยและนิติการ

                  ใน 5 หน่วยงาน ประกอบด้วยบุคลากร 8 ราย จำแนกเป็น

ข้าราชการ จำนวน 1 ราย, ลูกจ้างประจำ จำนวน 1 ราย, พนักงานราชการ จำนวน 3 ราย, พนักงานมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ราย และเจ้าหน้าที่ประจำตามสัญญา จำนวน 2 ราย สำหรับการทำงานของกองบริหารงานบุคคล จะเน้นการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ โดยมีการบริหารงานบุคคลตามภาครัฐแนวใหม่ มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจ (การร่วมกันคิด + ทำ)  มีการนำสมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ มาใช้ในการบริหารงานบุคคล สำหรับบุคลากรสายวิชาการ และสมรรถนะประจำกลุ่มงาน เพิ่มเติมอีก 3 กลุ่มงาน สำหรับบุคลากรสายสนับสนุน เพื่อเป็นการรองรับการเข้าสู่สากลของการบริหารงานบุคคลของรัฐ

                  การทำงานภายในกองบริหารงานบุคคล จะไม่มีการแบ่งพรรคแบ่งพวก (ว่าใครเป็นข้าราชการ ใครเป็นลูกจ้างประจำ ใครเป็นพนักงานราชการ ใครเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยหรือเป็นเจ้าหน้าที่ประจำตามสัญญา) แต่การทำงานของพวกเราจะทำงานกันโดยมีการแบ่งภาระหน้าที่ความรับผิดชอบในการทำ โดยผู้อำนวยการกองบริหารงานบุคคล จะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ที่ปรึกษา แนะนำ กล้าในการตัดสินใจเพื่อให้งานบรรลุผลสำเร็จ (เป็นกัปตันทีม) จะทำงานกันแบบฉันท์พี่น้อง จะใช้สายบังคับบัญชาน้อยมาก การให้เกียรติซึ่งกันและกัน  การรู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง โดยเป้าประสงค์ของการทำงานในด้านการบริหารงานบุคคล เพื่อให้งานสำเร็จได้ตามวัตถุประสงค์ หรือตัวชี้วัดความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งให้เหมาะสมกับการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่

                  ผลงานที่โดดเด่น สำหรับการทำงานของ  8 ชีวิต กับการที่ได้จัดตั้งเป็นกองบริหารงานบุคคล เมื่อปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา ได้แก่

                   1. การจัดทำกฎหมายต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยต้องเป็นผู้ดำเนินการเอง โดยสภามหาวิทยาลัยเป็นผู้เห็นชอบ

                   2.  การจัดการอบรมนักบริหารระดับกลาง ของ ก.พ. จำนวน 9 รุ่น ประมาณ 590 คน (สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ 40 แห่ง, มหาวิทยาลัยศรีปทุม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ฯ ,มหาวิทยาลัยนครพนมและมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์)

                   3. การปฐมนิเทศ พนักงานมหาวิทยาลัยและพนักงานราชการของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

                   4. การจัดการอบรมให้กับบุคลากรในมหาวิทยาลัย ฯ

                   5. การจัดพิธีประดับอินทรธนูให้กับพนักงานราชการและพนักงานมหาวิทยาลัย ฯ

                   6. การจัดทำกรอบอัตรากำลังให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏ ทั่วประเทศ

                   7. การเป็นตัวอย่างในการจัดทำการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นของสายสนับสนุน (การวิเคราะห์ค่างาน + การประเมินเข้าสู่ตำแหน่ง) ให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏ และมหาวิทยาลัยราชมงคล ฯ

 

ฯลฯ

 

 

 

                  

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 325260เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2010 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เรียน ผอ.บุษยมาศ

ดีครับได้รับความรู้เรื่องของมหาวิทยาลัยราชภัฏมากครับ

ขอเสนอแนะว่าคำนำหน้าของทีมงานน่าจะเป็นนาย,นาง,นาสาว

เพราะคำว่าคุณน่าจะเป็นภาษาพูดครับผม

จาก nayniranam

 

สวัสดีค่ะ คุณ nayniranam...

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค่ะ...ได้แก้ไขตามคำแนะนำเรียบร้อยแล้วค่ะ...

อยากรู้ว่าใครเป็นนางสาวใช่ไหมล่า.......

 

 

 

อยากทราบว่า หนูจบคณะบริหารธุรกิจ  สาขา การจัดการ   หนูอยากสอบครูผู้ช่วย ที่หนูสามารถจะสอบเอกไหนได้บ้างค่ะ...ขอบคุณค่ะ

ประหยัด ธรรมสิทธิ์

สวัสดีครับ ... เป็นข้าราชการพลเรือนปี ๒๕๓๐ ตอนนั้นชุดสีกากีติดเข็มตรงกระเป๋าด้านซ้าย ... ต่อมาในปัจจุบันทราบว่าชุดสีกากีติดกระเป๋าเสื้อด้านขวา ... ส่วนชุดขาวตามที่เห็นในภาพ ติดบริเวณป้ายชื่อด้านขวา ... ไม่เห็นหนังสือสั่งการ ค้นหาก็ไม่เจอ ... อยากเห็นหนังสือสั่งการที่ชัดเจน หรือผู้รับผิดชอบงานงานด้านนี้ ได้ให้ความกระจ่าง เพื่อจะได้ประดับเข็มให้ถูกต้อง ขอขอบคุณครับ ...

เรียนท่านอาจารย์ค่ะดิฉันขอภาพการติดเข็มข้าราชการพลเรือนดีเด่นในชุดกากีและชุดปกติขาวด้วยค่ะ ใส่ไม่ถูก อยากใส่เพราะมีความภูมิใจที่ได้รับเข็มค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท