ดูงาน


และที่น่าสนใจคือเวลานำเสนอไม่เอาดัชนีชี้วัดมากมายมาให้ดูเวียนหัว แต่จะเน้นที่ วิสัยทัศยน์ พันธกิจ และปรัชญาในการดำเนินงานขององค์กรเป็นหลัก

     การได้มีโอกาสดูงานต่างประเทศนับเป็นรางวัลชีวิตที่ยิ่งใหญ่ของหมอบ้านนอกอย่างผม อย่างน้อยก็สามารถไปคุยอวดชาวบ้านได้ว่าไอ้ที่เขาเล่ามานั้นผมได้ไปเห็นกับตามาแล้ว แต่สิ่งที่ได้นอกเหนือจากการดูงานคือได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนที่ทำงานคล้ายๆกัน ได้รับทราบมุมมองใหม่ๆที่อาจจะปิ๊งขึ้นมาในช่วงใดช่วงหนึ่งของการสนทนาก็ได้

    ผมมาสิงคโปร์เป็นครั้งที่สอง ครั้งแรกพาพ่อกับแม่มาเที่ยวกับคณะทัวร์ จำได้ว่าเป็นการขึ้นเครื่องบินครั้งแรกของทั้งสองท่าน ตื่นเต้นน่าดู ครั้งนี้คณะพาผมมาพักที่โรงแรม Royal Queens เป็นที่น่าแปลกคือผมจำได้เลาๆว่าครั้งก่อนผมก็น่าจะพักอยู้โรงแรม Oxford ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับที่พักปัจจุบัน วันแรกที่มาถึงก็ได้เห็นแสงสีของเมืองแห่งเศรษฐกิจเอเชีย ได้นั่งรถเมล์สองชั้นเปิดหลังคา เขาว่าเหมือนฮ่องกง หรืออังกฤษยังงัยยังงั้น ที่นี่อยู่ในช่วงของการฉลองคริสมาส อันที่จริงผมก็งงๆอยู่ว่าจะมาดูอะไร เจ้าภาพที่พามาก็บอกว่าฉุกละหุกเลยให้รายละเอียดได้น้อยมาก กะว่าจะเข้าคอร์สภาษาซะหน่อยก็ไม่ทัน ก็ได้เรื่องจริงๆ ผมนั่งฟังการบรรยายแล้วบอกตรงๆว่ามึน ก็หมอบ้านนอก ได้ยินแต่ภาษาอิสานกับภาษาภูไทยทุกวันมันจะฟังภาษาอังกฤษสำเนียงสิงค์โปร์รู้เรื่องได้ยัง ดีนะที่ได้ลองค้นข้อมูลทางเนตมาบ้าง เลยพอพยักหน้าตามเขาได้บ้าง

   ช่วงเช้าวันแรกไปที่กระทรวงสาธารณสุขเขาเล่าถึงความเป็นมาการพัฒนาระบบสาธารณสุขของที่นั่น ฟังดูนิ่มันเทียบได้แค่ กทม.ของเราเท่านั้นเอง พยายามเปรียบเทียบกับจังหวัด อำเภอ ของเราก็ลำบากเต็มที ระบบของที่นี่ฟังดูไม่ค่อยซับซ้อนเหมือนบ้านเรา ไม่มีการดังแล้วแยกวงออกมาเป็น สปสช.เหมือนบ้านเรา

    และที่น่าสนใจคือเวลานำเสนอไม่เอาดัชนีชี้วัดมากมายมาให้ดูเวียนหัว แต่จะเน้นที่ วิสัยทัศยน์ พันธกิจ และปรัชญาในการดำเนินงานขององค์กรเป็นหลัก

หมายเลขบันทึก: 325200เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2010 15:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีคะคุณหมอสีอิฐ ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่นำมาแชร์คะ

เห็นด้วยคะว่า สิงคโปร์ทั้งประเทศ เทียบได้กับ กทม.เรานี่เอง

ด้วยความที่คนสิงคโปร์เป็นคนเมือง 100% การบริหารจัดการจึงดูเหมือนจะง่ายกว่า

แต่ยอมรับว่า คนสิงคโปร์ทำงานทุ่มเท ทำอะไรแล้วทำจริงจังให้ดีที่สุด

ดูแล้วขนาดประเทศเขารวยขนาดนี้ยังมีส่วนร่วมจ่ายมาก....รัฐจ่ายแค่ 25%

ผมว่าข้อดีของการร่วมจ่าย...คือเมื่อผู้ป่วยถือเงินตนเองก็มีอำนาจต่อรอง...ผู้ให้บริการก็จะรู้สึกถึงบุญคุณมากขึ้น(มีคนเอาถือเงินมาให้)

ส่วนข้อเสียก็น่าจะเยอะเมือนกัน

สวัสดีครับคุณ หมอ ตามมารับรู้การดูงานของคุณหมอในบริหารดูแลสุขภาพของคนสิงคโปร์ครับหมอ

แวะมาเยี่ยมครับผมพี่ เป็นความทรงจำที่ดีที่เราได้ไปดูงานร่วมกันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท