เทคนิคการบริหาร แนวทางสู่ความเป็นเลิศ


แนวคิด

                การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศหรือการบริหารที่มีประสิทธิภาพ  ขึ้นอยู่กับผู้บริหารสถานศึกษา  เพราะฉะนั้นผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องทบทวนบทบาทและพัฒนาสมรรถนะ  ดังนี้  เป็นผู้กำหนดทิศทางการบริหาร (Direction  Setter)  มีความสามารถกระตุ้นคน (Leader  Catalyst)  ต้องเป็นนักวางแผน (Planner)  ต้องเป็นผู้มีความสามารถในการตัดสินใจ (Decision  Maker)  ต้องมีความสามารถในการจัดองค์กร (Organizer)  ต้องเป็นผู้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Change  Manager)  ต้องเป็นผู้ให้ความร่วมมือ (Coordinator)  ต้องเป็นผู้ติดต่อสื่อสารที่ดี (Communication)  ต้องเป็นผู้แก้ปัญหาขัดแย้งในองค์กรได้ (Conflict  Manager)  ต้องสามารถบริหารปัญหาต่าง ๆ  ได้ (Problem  Manager)  ต้องรู้จักวิเคราะห์และจัดระบบงาน (System  Manager)  ต้องมีความสามารถในด้านวิชาการทั้งการเรียนและการสอน (Instructional  Manager)  ต้องมีความสามารถบริหารงานบุคคล (Personnel  Manager)  ต้องมีความสามารถบริหารทรัพยากร (Resource  Manager)  ต้องมีความสามารถในการประเมินผลงาน (Appraiser)  ต้องมีความสามารถในการประชาสัมพันธ์ (Public  Relater)  ต้องสามารถเป็นผู้นำในสังคมได้ (Ceremonial  Head)

ทฤษฎีทางการบริหาร

                ทฤษฎีการบริหารการศึกษาเพื่อสู่ความเป็นเลิศ  ได้แก่

                -  ทฤษฎีกำหนดรูปแบบใหม่  มีสามองค์ประกอบ  แทนที่จะมีสององค์ประกอบดังทฤษฎีของ  เฮอร์ซเบริร์ก  ด้วยการเพิ่มองค์ประกอบที่สามเข้าไป  ได้แก่  ambient  หมายถึงสิ่งแวดล้อม  ambient  นี้มีส่วนประกอบที่กล่าวถึงบ่อย ๆ  ได้แก่สิ่งที่ทำให้พึงพอใจและสิ่งที่ทำให้ไม่พึงพอใจ  สิ่งกระตุ้นในฐานะกลุ่มที่ตอบสนองต่อความพึงพอใจในการทำงานมากกว่าความไม่พึงพอใจต่อการทำงาน  การขาดแคลนตัวกระตุ้นก็อาจเป็นบ่อเกิดแห่งความไม่พึงพอใจก็ได้  องค์ประกอบของ  ambient  นั้นมีอยู่  5  ประการด้วยกัน  คือ  เงินเดือน  โอกาสที่จะได้เจริญงอกงาม  โอกาสที่จะเสียง  ความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้บังคับบัญชา  และสถานภาพ

                -  ทฤษฎีบรรยากาศ  อลัน  บราวน์  ได้เสนอกลยุทธ์สองประการสำหรับเปลี่ยนแปลงบรรยากาศของโรงเรียน  ประการแรกได้แก่กลยุทธ์ด้านคลินิก  ประการที่สอง  ได้แก่กลยุทธ์ที่มุ่งความเจริญงอกงามเป็นศูนย์กลาง  ทั้งสองกลยุทธ์ต่างก็ไม่ได้เป็นตัวเลือกแก่กันและกัน  แต่สามารถใช้ด้วยกัน  ทั้งสองกลยุทธ์ต่างก็มีความจำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลง  กลยุทธ์ด้านคลินิกเน้นที่ธรรมชาติของความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มย่อยในโรงเรียน  มุ่งดูที่ความรู้ขององค์กรต่อจากนั้นก็วิเคราะห์บรรยากาศขององค์กร  กำหนดลำดับขั้นความสำคัญของการปฏิบัติการและวางแผนดำเนินการ  เมื่อปฏิบัติสำเร็จแล้วก็มีการประเมินผลงานนั้น  ในขณะที่กลยุทธ์มุ่งความเจริญงอกงามเป็นศูนย์กลางนั้นเน้นที่การพัฒนาของเอกัตบุคคล

                -  ทฤษฎีอำนาจ และความขัดแย้งในสถาบันการศึกษา  ของวิตเตอร์  บอลด์ริดจ์  ทฤษฎีความขัดแย้งเน้นที่การแยกส่วนของระบบสังคมออกเป็นกลุ่มผลประโยชน์  ซึ่งแต่ละกลุ่มต่างก็มีเป้าประสงค์ที่ต่างกันออกไป  และแต่ละกลุ่มต่างก็พยายามที่จะได้เปรียบอีกกลุ่มหนึ่งหรือหลาย ๆ  กลุ่ม

                -  ทฤษฎีอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ  สิ่งจูงใจ  และความพึงพอใจ  ทฤษฎีที่กล่าวถึงแรงจูงใจในการทำงาน  สิ่งจูงใจในองค์กร  ความพึงพอใจในงาน  ความพึงพอใจต่อผลการปฏิบัติงาน  ได้แก่  ทฤษฎีวุฒิภาวะของอากิริส  ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์  ทฤษฎีสององค์ประกอบของเฮอร์ซเบิร์ก  ทฤษฎีการก่อตัวใหม่ (Reformulated  theory)  ทฤษฎีความคาดหวัง (Expectancy  theory) 

                การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ  มีความจำเป็นต้องอาศัย  หลักการ  แนวคิด  และทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา  เพื่อปรับการบริหารสถานศึกษาสู่การบริหารเชิงระบบ IPP  CONTEXT   ตามกระบวนการผลิตทางการศึกษา 

 

หมายเลขบันทึก: 325176เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2010 13:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 11:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ อาจต้องผ่านอุปสรรคที่จะต้องฝ่าฟันอย่าท้อแท้ ดังนั้น ใจของผู้บริหารจะต้องอดทนและยึดมั่นกับอุดมการณ์ ขอเป็นกำลังใจให้ครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท