ผัดไทยปลอม ผัดไทยแท้ และองค์กรแห่งการเรียนรู้


Appreciative Inquiry เพื่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ (ตอนที่ 30)

เมื่อสี่ห้าปีก่อนผมมีโอกาสไปสหรัฐอเมริกา เรามีไกด์นำเที่ยวเป็นสุภาพสตรีสาวสวย ลูกหลานคนไทย เธอเล่าให้ฟังว่าคุณพ่อคุณแม่ของเธอ ทำร้านอาหารไทยอยู่แคนาดา ถามว่าดีไม๊ เธอบอกว่าดี แต่บางทีก็รู้สึกเบื่อ ผมเลยถามต่อ ว่าทำไมเบื่อ เธอเล่าให้ฟังว่าบางทีก็เบื่อลูกค้าน่ารำคาญ เช่นตอนหลังเจอลูกค้ารายหนึ่ง เข้ามาที่ร้าน หลังจากกินผัดไทยไปแล้ว ก็โวยวายว่า “นี่ไม่ใช่ผัดไทยของแท้” เธอก็งงไปไก่ตาแตก พยายามอธิบายว่าร้านเธอทำแต่ผัดไทยของแท้ ไม่มีปลอม พ่อแม่ก็ทำให้เอง และทำเป็นมาจากเมืองไทย ก่อนย้ายมาตั้งรกรากที่นี่ซะอีก ผัดไทยในเมืองไทยก็ทำอย่างนี้”หลังจากอธิบายอย่างไรฝรั่งก็ไม่ฟังก็ยังยืนยันอีกว่า “เขารู้สึกแย่มากที่ได้กินผัดไทยของปลอม”  OK ไม่ว่าหมดแรงอธิบายแล้ว เธอจึงถามต่อว่า “แล้วไอ้ของแท้ที่เคยกินมานะเป็นอย่างไร”  ฝรั่งรายนั้นเลยอธิบายว่า “ของแท้ที่เคยกินมา ต้องราดด้วยซ๊อสพริกจนชุ่ม แบบแดงๆเลย”  เธอเลยถึงบางอ้อว่าคุณฝรั่งต้องเข้าใจผิดแน่นอน พอถามไปถามมาก็เลยบอกว่าเคยไปกินอีกร้านหนึ่ง (ร้านอาหารจีน) เขามีเมนูนี้ก็สั่งกินมานานเพราะอร่อย และในนั้นก็เขียนว่าผัดไทยเหมือนกัน ในที่สุดเธอก็เข้าใจแล้วครับว่าเกิดอะไรขึ้น

ตัดภาพมาตรงนี้ครับ จากการคุยครั้งนั้น ทำให้ผมได้บทเรียนต่อไปนี้ครับ

บทเรียนแรก ผมว่าสิ่งที่ SME ขาดคือ การบอกให้คนอื่นทราบว่า “ของแท้คืออะไร” โดยเฉพาะร้านอาหารในต่างประทศ เมื่อถูกเลียนแบบ แบบผิดๆ ทำให้ “ของปลอม กลายเป็นของแท้” ในที่สุด น่ากลัวไหมครับ  ตอนหลังเวลาผมอบรม SME ผมจะไม่ลืมอบรม workshop แบบไม่สอนอย่างเดียว แต่ช่วยกันออกแบบให้ทุกคนเจอเอกลักษณ์ของตนให้ได้ โดยเล่าเรื่องนี้ให้เขาฟังแล้วถามว่า “ของแท้คืออะไร” ไม่จำเป็นต้องเป็น Design อาจเป็นแบบเหมือนหัน แต่ของ บ้านไผ่แท้ แหนมต้องไม่สีแดง เพราะว่าไม่ใส่สีเป็นต้น อะไรทำนองนี้ครับ เราจะช่วยกันหาอะไรที่ “แท้” จนเจอ

บทเรียนอย่างที่สอง เรื่องนี้ปฏิวัติความคิดผม ทำให้ผมได้ Workshop ใหม่ๆในเรื่อง Product Differentiation ที่จะช่วย SME ได้จริง  เพราะวันนั้นผมไม่ผูกขาดการพูดครับ ผมฟัง ฟังอย่างตั้งใจ ตรงนี้คล้าย Dialogue ไหมครับ เลยทำให้ผมเปลี่ยนมุมมอง (Mental Model) จนคิด Workshop ที่ผู้ประกอบการณ์ชอบมากที่สุดตัวหนึ่งที่เคยสอนมาทีเดียวครับ จริงๆแล้วเรื่องนี้สำคัญที่สุด ครับ คนเราขาดการฟังครับ หลายคนมีผลประโยชน์แอบแฝง ประมาณว่าถ้าไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย ไม่เกี่ยวกันก็ไม่ฟังอันนี้น่าเสียดายครับ

สมการการเรียนรู้วันนี้คือ

Listening = Innovation ครับ

 

สวัสดีปีใหม่ครับ

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry#learning organization
หมายเลขบันทึก: 324727เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2010 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 17:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีปีใหม่ค่ะ อ่านแล้วได้ความรู้ และได้ข้อคิดดีมากค่ะ เคยไปอยู่อเมริกา  6 เดือน ต้องไปไชน่าทาวน์ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ เพื่อไปรับประทานก๋วยเตี๋ยวที่นั่น อร่อยมากจนติดใจมาถึงทุกวันนี้ค่ะ

อ่านแล้วน่ากลัวเลยครับอาจารย์ เราเป็นของแท้ แต่กลับถูกมองว่าเป็นของปลอมซะงั้น

และถ้าถูกมองว่าเป็นของปลอมแล้ว เราจะแก้ไขยังไงดีครับอาจารย์ เพราะมันเป็นอะไรที่ลูกค้าตัดสินเราไปแล้วหนะครับ

เดี๋ยวผมหา case มาเล่าให้ฟังคุณไพรัชช์

จิรนันทพร (จิ) MBA.KKU.Y#4

ชอบจังค่ะอาจารย์ แล้วจิจะมาอ่านบ่อยๆนะคะ

สวัสดีคุณจิ

ไม่เจอนาน สบายดีหรือ

เคยไปซื้อของ SME แห่งหนึ่ง ร้านนี้มีกล่องทิชชูผ้า สวยทีเดียว ปักลายสีทอง แวววาว

ผมถาม .. แม่ค้าครับ อันนี้ที่แพงๆ เนี่ย เอาไว้ขายให้ใคร

แม่ค้า .. ขายให้คนรวย

ผมถาม .. แล้วแม่ค้ารู้เหรอครับ ว่าคนรวยเค้าใช้แบบไหน

แม่ค้า ....??

"""""

ต้องใส่ชุดความรู้อะไรให้กับ ผู้ประกอบการ SME ดีครับ กรณีนี้

คุณบีเวอร์ เป้นคำถามที่ดี ผมจะตอบในตอนต่อๆไปครับ ผมจะเขียน AI สำหรับ SME ครับ

เจ้าของร้านอาหารไทย: แล้วผัดไทยของแท้ที่เคยกินมาเป็นยังไง

ฝรั่ง:“ของแท้ที่เคยกินมา ต้องราดด้วยซ๊อสพริกจนชุ่ม แบบแดงๆเลย”

เจ็บจริงๆแฮะ คำพูดนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท