นุ่มนิ่ม
นายศักดิ์สิทธิ์ ครูตร้อม แก้วมณี

หลักธรรมสร้างมนุษยสัมพันธ์


หลักคำสอน

หลักศาสนาที่ช่วยสร้างมนุษยสัมพันธ์

การสร้างมนุษยสัมพันธ์มีวิธีการสร้างหลายวิธี เราพยายามศึกษาหาวิธีต่าง ๆ โดยที่มองข้ามสิ่งที่ใกล้ตัวมากที่สุด และสิ่งที่ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด นั่นคือ “ ความเป็นคนไทยและนับถือศาสนาพุทธ” เรามีหลักคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นหลักในการดำเนินชีวิต

หลักธรรมสำหรับตนเอง

คือ สอนให้รู้จักและพัฒนาตนเอง ประกอบไปด้วย

 

1. สติสัมปชัญญะ

สติ คือธรรมชาติหนึ่ง ที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต อาศัยอารมณ์เดียวกับจิต ที่เรียกว่าเจตสิก นั่นเอง แต่เป็นเจตสิกฝ่ายดีงาม (โสภณเจตสิก) ทำหน้าที่ระลึกในอารมณ์ มีลักษณะที่เป็นกุศลเพราะช่วยให้ระลึก ได้ในสิ่งที่ดีงาม

สัมปชัญญะคือความรู้ที่ถูกต้อง ที่เรียกอีกนัยหนึ่งว่า ปัญญา (ญาณ) ที่ตั้งอยู่บนรากฐานของสัมมาสตินั่นเอง ( http://www.vipassanacm.com/th/view_dharma.aspx?id=4 )

2. หิริโอตตัปปะ

หิริ คือ ความละอายบาป เป็นความรู้สึกรังเกียจ ไม่อยากทำบาป เห็นบาปเป็นของสกปรกจะทำให้ใจของเราเศร้าหมอง จึงไม่ยอมทำบาป

โอตตัปปะ  คือ ความเกรงกลัวต่อบาป

( http://guru.sanook.com/search , http://board.palungjit.com )

3. ขันติโสรัจจะ

ขันติ แปลว่า ความอดทน หมายถึง ความสามารถที่จะทนต่อความลำบาก มีจิตใจเข้มแข็งที่จะทำความดี และสามารถควบคุมตนเองได้

โสรัจจ หมายถึง ความสงบเสงี่ยม ความมีอัธยาศัยงดงาม ความประณีตความเรียบร้อยรวมถึงความไม่หรูหรา

ขันติ โสรัจจะ เป็นธรรมสองข้อที่ไปด้วยกันเมื่อแปลจะได้ความหมาย ธรรมอันทำให้งาม

คนงาม ต้องงามดังนี้

๑.     มีจิตใจเข้มแข็งน่ายกย่อง

๒.     มีวาจาไม่ก้าวร้าว ไม่หยาบคาย

๓.     มีการกระทำที่อยู่ในกรอบที่เหมาะสม

คนจะงามตามที่พระธรรมโกศาจารย์อธิบายคือ

๑.     ขยันขันแข็ง กล้า ยอมตายถ้าถูกธรรม

๒.     สุภาพ อ่อนโยน เชื่อฟังผู้เฒ่าผู้แก่

๓.     กตัญญู รับรู้คุณ แม้สิ่งไม่มีชีวิตแม้อุปสรรค ศัตรู

๔.     มีศีล มีสัตย์ เปิดเผย บริสุทธิ์ใจ

๕.     ประหยัด สันโดษ รู้จักทำสิ่งร้ายให้กลายเป็นดี

๖.     มีเมตตา กรุณา มีน้ำใจ ไม่มีเขาไม่มีเรา

๗.     อดกลั้น อดทน ด้วยใจแจ่มใส คอยได้รอได้

๘.     เป็นฝ่ายยอมได้ให้อภัยได้ เพื่อให้อะไรๆ มันลงกันได้

๙.     ไม่ตามใจกิเลส แต่เลือกข้างถูกธรรม

 

( http://socialscience.igetweb.com/index.php?mo=3&art=13788 )

4. ความสันโดษ

คือความพอใจ ความยินดีด้วยของของตนซึ่งได้มาด้วยความเพียร ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และโดยชอบธรรม โดยทั่วไปมีความหมาย 3 ประการ คือ

4.1 ยถาลาภสันโดษ ยินดีตามได้ คือตนได้สิ่งใดมาหรือเพียรหาสิ่งใดมาได้ ไม่ว่าจะหยาบหรือประณีตแค่ไหนก็ยินดีพอใจด้วยสิ่งนั้น ไม่ติดใจอยากได้สิ่งอื่น ไม่เดือดร้อนกระวนกระวายเพราะสิ่งที่ตนไม่ได้มา ไม่ปรารถนาสิ่งที่ตนไม่พึงได้ หรือเกินไปกว่าที่ตนจะพึงได้โดยถูกต้องชอบธรรม ไม่เพ่งเล็งปรารถนาสิ่งของที่คนอื่นได้ จนเกิดความริษยา

4.2 ยถาพลสันโดษ ยินดีตามกำลัง คือ ยินดีแต่พอแก่กำลังร่างกายสุขภาพและวิสัยของตน มีความพอใจในการจัดสรรหน้าที่การงาน จัดสรรการศึกษาศิลปวิทยา และจัดสรรคุณธรรมเพื่อปฏิบัติให้สมกับกำลังสติปัญญาของตนเอง เลือกทำในสิ่งที่ตนเองถนัดแล้วตั้งใจปฏิบัติให้ก้าวหน้าไปตามกำลังแต่ละ อย่างด้วยความขยันหมั่นเพียร

4.3 ยถาสารุปปสันโดษ ยินดีตามสมควร คือ ยินดีตามที่เหมาะสมกับภาวะ ฐานะ แนวทางชีวิต และจุดหมายแห่งการบำเพ็ญกิจของตน ไม่นึกคิดอยากได้ทรัพย์สมบัติที่ล้ำค่าเกินฐานะของตนเอง บางครั้งแม้จะได้สิ่งที่เกินฐานะของตนเองมาก็ไม่ลุ่มหลงว่าเป็นสิทธิ์ที่ควร จะได้ กลับเห็นว่าสิ่งที่ได้มานั้นล้ำค่า ควรให้คนอื่นได้มีส่วนร่วมดูแลรักษาหรือบริโภคใช้สอยด้วย โดยการทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและแก่สังคมรอบข้าง

( พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. ๙). 2552. ) ( http://www.tumsrivichai.com/index. )

 

5. อิทธิบาทสี่

ธรรมแห่งความสำเร็จในการทำงาน มี  4  ประการ คือ

                5.1 ฉันทะ ได้แก่ ความพึงพอใจในสิ่งที่ทำอยู่บุคคลควรรักงานรักเพื่อนร่วมงาน รักหมู่คณะ และสถาบัน เมื่อบุคคลมีความพอใจมีความรักในสิ่งที่ตนทำ สิ่งต่างๆที่ตนแสดงพฤติกรรมออกมาก็จะดีด้วย มนุษย์ควรให้ความรักแก่กัน ตั้งแต่รักกันภายในครอบครัว รักกันในกลุ่มงานและสังคม

                                5.2  วิริยะ ได้แก่ ความเพียรพยายามการมีความขยัน อดทนมีมานะ บากบั่นจนประสบผลสำเร็จ ดังสุภาษิตที่ว่า มีความพยายามที่ไหนที่นั่นย่อมประสบความสำเร็จ เช่น ต้องการเรียนเก่ง นักศึกษาก็ต้องหมั่นท่องอ่านทำรายงาน ทำแบบฝึกหัด รับผิดชอบต่อการเรียนมีวินัย ความพยายามจะทำให้นักศึกษาสอบได้ดี

                                5.3 จิตตะ ได้แก่ ความตั้งใจ การฝักใฝ่อย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นการเรียนหรือการทำงานเอาใจใส่ต่องานที่ทำ มีความตั้งใจว่าจะทำทุกอย่างให้ดี ทำให้ได้ มีเจตนาแน่วแน่ทุกอย่างย่อมสำเร็จ 

                5.4 วิมังสา ได้แก่ ความสุขุม รอบคอบพินิจพิจารณาสิ่งที่ทำด้วยปัญญา มีการตรวจตราอยู่สม่ำเสมอ เหมือนที่กล่าวว่ามีความฉลาดอย่าขาดเฉลียว หมายถึงการทำการใดๆ ให้รอบคอบมีความละเอียดลออในงานที่เราได้กระทำ ( http://gotoknow.org/blog/dhamma-study/67694 )

 

6. อคติ

                                อคติ  หมายความว่า  การกระทำอันทำให้เสียความเที่ยงธรรม  มี 4 ประการ

6.1  ฉันทาคติ    ลำเอียงเพราะรักใคร่

6.2  โทสาคติ     ลำเอียงเพราะโกรธ

6.3  โมหาคติ     ลำเอียงเพราะเขลา

6.4  ภยาคติ       ลำเอียงเพราะกลัว

                                อคติ 4 นี้ ผู้บริหาร/ผู้ใหญ่  ไม่ควรประพฤติเพราะเป็นทางแห่งความเสื่อม

( http://area10.excise.go.th/file/knowledge/Buddha.htm )

7. สัปปุริสธรรม

ธรรม ที่ทำให้คนเป็นสัปบุรุษ หรือ เป็นคนดี มี 7 ประการ คือ

7.1  ธัมมัญญุต ( การรู้จักเหตุ ) คือ การรู้จักวิเคราะห์สาเหตุของสถานการณ์และความเป็นไปของชีวิตหรือรู้จักหลักความจริง จะคิด จะทำอะไรก็มีหลัก รู้ว่าเมื่อกระทำสิ่งนี้จะได้ผลตอบแทนเป็นความสุข แต่ถ้ากระทำอีกอย่างหนึ่งจะได้ผลเป้นความทุกข์ เช่น ถ้าหมั่นขยันศึกษาเล่าเรียนก็จะได้รับความความรู้ความเข้าใจวิชาการต่างๆ เมื่อถึงเวลาสอบก็จะสามารถสอบได้คะแนนดี เป็นต้น

7.2 อัตถัญญุตา ( การรู้จักผล ) หมายถึง เมื่อมีเหตุก็ย่อมมีผล เมื่อมีปัญหาอันใดเกิดขึ้นเราจะต้องใช้หลักเหตุผลมาพิจารณาปัญหาเหล่านั้น เพราะผลเกิดจากเหตุเสมอ การรู้จักเปรียบเทียบเหตุและผล จะทำให้เราเป็นคนใจกว้างยอมรับฟังเหตุผลของผู้อื่น

7.3 อัตตัญญุตา ( การรู้จักตน ) ความเป็นผู้รู้จักตน คือรู้จักตนเองโดยฐานะ ภาวะ เพศ วัย ความรู้ ความสามารถ และคุณธรรมอื่นๆ มีศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา เป็นต้น แล้วประพฤติตนให้เหมาะสมแก่ภาวะของตน และเมื่อรู้ว่า บกพร่องในเรื่องใด ก็ปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

7.4 มัตตัญญุตา ( การรู้จักประมาณ ) หมายถึง ความพอดี ความพอเหมาะพอสมควรการรู้จักประมาณ คือการร้จักทำทุกสิ่งทุกอย่างหรือดำเนินชีวิตให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม เป็นต้น การ รู้จักประมาณนี้เป็นทางสายกลางที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้บุคคลต่างๆ ได้ประพฤติปฏิบัติกันมา

7.5 กาลัญญุตา ( การรู้จักกาล ) หมายถึง การรู้จักเวลาที่เหมาะสมในการทำกิจกรรมต่างๆ และรู้จักปฏิบัติตนให้ถูกกับกาลเทศะ กล่าวคือ รู้ว่าในเวลาเช่นไรควรจะทำอะไร การรู้จักกาลเวลาจะทำให้ไม่ดำรงตนอยู่ในความประมาณ ไม่ทำให้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์

7.6 ปริสัญญุตา (  การรู้จักชุมชน ) คือ การรู้จักหมู่คณะหรือกลุ่มชนว่าดีหรือไม่ดีควรคบหาสมาคม ควรเข้าไปอยู่เป็นพวกหรือไม่ เมื่ออยู่ในชุมชนหรือที่ประชุมนั้นๆ ควรว่างตัวอย่างไรควรทำอะไร ควรพูดอย่างไร เช่น เมื่อเข้าหาผู้ใหญ่ควรแสดงอาการนอบน้อมมีสัมมาคารวะ เมื่อเข้าวัดควรสำรวม กาย วาจา ใจ ไม่แสดงอาการตลกคึกคะนอง เป็นต้น ความเป็นผู้รู้จักบริษัท คือรู้จักชุมชนและสังคม รู้กริยาที่จะพึงประพฤติ แล้วประพฤติตนให้เหมาสมต่อชุมชนและสังคมนั้นๆ

7.7 ปุคคโลปรปรัญญุตา ( การรู้จักบุคคล ) ได้แก่ การรู้จักประเภทบุคคลแต่ละคนว่าฉลาดหรือโง่ เป็นคนพาลหรือเป็นบัณฑิต มีความสามารถหรือไม่ มีคุณธรรมหรือไม่ แล้วเลือกคบหาให้เป็นประโยชน์ เลือกใช้ให้เหมาะสมกับกิจการ หรือเพื่อปฏิบัติกับเขาได้อย่างเหมาะสมและที่สำคัญก็คือ จะสนทนากับเขาอย่างรู้เรื่องและราบรื่น ( http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/ )

 

หลักธรรมที่สอนให้รู้จักบุคคลอื่น

เป็นหลักธรรมที่อธิบายถึงธรรมชาติของมนุษย์ว่า คนเราเกิดมาย่อมต่างจิตต่างใจ จึงสามารถใช้หลักธรรมดังต่อไปนี้ได้

1. สาราณียกรรม

หลักแห่งความสามัคคี ประกอบด้วย

1.1  เมตตามโนกรรม หมายถึง การคิดดี การมองกันในแง่ดี มีความหวังดีและปรารถนาดีต่อกัน รักและเมตตาต่อกัน คิดแต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ต่อกัน ไม่อิจฉาริษยา ไม่คิดอคติ ไม่พยาบาท ไม่โกรธแค้นเคืองกัน รู้จักให้โอกาสและให้อภัยต่อกันและกันกันอยู่เสมอ

1.2 เมตตาวจีกรรม หมายถึง การพูดแต่สิ่งที่ดีงาม พูดกันด้วยความรักความปรารถนาดี รู้จักการพูดให้กำลังใจกันและกัน ในยามที่มีใครต้องพบกับความทุกความผิดหวังหรือความเศ ร้าหมองต่างๆ โดยที่ไม่พูดจาซ้ำเติมกันในยามที่มีใครต้องหกล้มลง ไม่นินทาว่าร้ายทั้งต่อหน้าและลับหลัง พูดแนะนำในสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ พูดอย่างใดก็ทำอย่างนั้น ไม่โกหกมดเท็จ

1.3 เมตตากายกรรม หมายถึง การทำความดีต่อกัน สนับสนุนช่วยเหลือกันทางด้านกำลังกาย มีความอ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักสัมมาคารวะ ไม่เบียดเบียนหรือรังแกกัน ไม่ทำร้ายกัน ให้ได้รับความทุกขเวทนา ทำแต่ในสิ่งที่ถูกต้องต่อกันอยู่ตลอดเวลา

1.4 สาธารณโภคี หมายถึง การรู้จักแบ่งปันผลประโยชน์กันด้วยความยุติธรรม ช่วยเหลือกัน ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ไม่เอารัดเอาเปรียบ และมีความเสมอภาคต่อกัน เอื้อเฟื้อซึ่งกันและกันอยู่เสมอ

1.5 สีลสามัญญตา หมายถึง การปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อบังคับหรือวินัยต่างๆอย่าง เดียวกัน เคารพในสิทธิเสรีภาพของบุคคล ไม่ก้าวก่ายหน้าที่กัน ไม่อ้างอำนาจบาตรใหญ่ ไม่ถืออภิสิทธิ์ใดๆทั้งปวง

1.6 ทิฏฐิสามัญญตา หมายถึง มีความคิดเห็นเป็นอย่างเดียวกัน คิดในสิ่งที่ตรงกัน ปรับมุมมองให้ตรงกัน รู้จักแสงหาจุดร่วมและสงวนไว้ซึ่งจุดต่าง ของกันและกัน ไม่ยึดถือความคิดของตนเป็นใหญ่ รู้จักยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นอยู่เสมอ

                ( http://www.geocities.com/moralcamp/maindham.html ,

http://blog.spu.ac.th/monkeyammy/2008/06/25/entry-2 )

 

 

2. พรหมวิหาร 4

เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนดำรงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ ประกอบด้วยหลักปฏิบัติ 4 ประการ คือ

2.1    เมตตา  ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นมีความสุข

2.2    กรุณา  ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นพ้นทุกข์

2.3  มุทิตา  ความยินดีที่ผู้อื่นมีความสุขในทางที่เป็นกุศล

2.4  อุเบกขา  การวางจิตเป็นกลาง การมีเมตตา กรุณา มุทิตา เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าตนไม่สามารถช่วยเหลือผู้นั้นได้ จิตตนจะเป็นทุกข์ ดังนั้น ตนจึงควรวางอุเบกขาทำวางใจให้เป็นกลาง และพิจารณาว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมที่ได้เคยกระทำไว้ จะดีหรือชั่วก็ตาม กรรมนั้นย่อมส่งผลอย่างยุติธรรมตามที่เขาผู้นั้นได้เคยกระทำไว้อย่างแน่นอน

http://th.wikipedia.org/wiki/

 

3. สังคหวัตถุธรรม

หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่

3.1  ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว เราควรคำนึงอยู่เสมอว่า ทรัพย์สิ่งของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้

3.2  ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับกาลเทศะ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับการพูดเป็นอย่างยิ่ง เพราะการพูดเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้น วิธีการที่จะพูดให้เป็นปิยวาจานั้น จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

เว้นจากการพูดเท็จ
เว้นจากการพูดส่อเสียด
เว้นจากการพูดคำหยาบ
เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

3.3  อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

3.4  สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้เราเป็นคนมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความนิยม และไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย

( http://www.learntripitaka.com/scruple/sank4.html )

 

4. ฆราวาสธรรม

คุณสมบัติของผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตทางโลก ประกอบด้วยธรรมะ 4 ประการ คือ

                    4.1  สัจจะ หมายถึง ความซื่อตรงจริงใจ พูดจริงทำจริง ผู้ที่มีสัจจะนั้นจะเป็นหลักประกันแห่งเกียรติคุณ มีคนเชื่อถือ และเป็นที่ไว้ใจของทุกคน

                    4.2 ทมะ หมายถึง การฝึกฝนตนเอง ควบคุมจิตใจด้วยการใช้ปัญญา จะทำให้ชีวิตก้าวหน้าประสบความสำเร็จ ทำอะไรเกิดความผิดพลาดน้อยมาก

                    4.3 ขันติ หมายถึง ความอดทนอดกลั้น มีหลายประการ เช่น ความอดทนต่อความยากลำบาก ความอดทนต่อความเจ็บปวด ความอดทนต่อความโกรธความผูก

พยาบาท ความอดทนต่ออำนาจกิเลส เป็นต้น ผู้ที่มีขันตินั้นจะเป็นเครื่องประกันฐานะทางสังคมได้อย่างดี และจะเป็นผู้ที่มีความอดทนไม่เกิดความท้อแท้โดยง่าย

                    4.4 จาคะ หมายถึง ความเสียสละ ความแบ่งปัน การมีน้ำใจ เสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม ผู้ที่มีจาคะนั้นจะเกิดความสัมพันธ์อันดีในสังคมได้

 ( http://www.geocities.com/peera_pin/page13.html )

5. กัลยาณมิตร

“กัลยาณ” ว่า หมายถึง งาม, ดี และ “มิตร” หมายถึง เพื่อนรักใคร่ที่สนิทสนมคุ้นเคย   ดังนั้น กัลยาณมิตร จึงมีความหมายว่า เพื่อนที่ดี, เพื่อนที่งาม  หรือเพื่อนที่รักใคร่คุ้นเคยที่ดี, เพื่อนรักใคร่คุ้นเคยที่งาม

กัลยาณมิตร  มิได้หมายถึงเพื่อนที่ดีตามความหมายทั่วไปเท่านั้น  แต่เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม  มีความตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรม  ทำหน้าที่ของชาวพุทธที่ดี  เพื่อยังประโยชน์ให้ถึงพร้อมทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น  ผู้สั่งสอนแนะนำ   ชักนำไปในหนทางที่ถูกต้องดีงาม

 

 

 

 

คุณสมบัติของกัลยาณมิตร  7  ประการ

  1. น่ารัก
  2. น่าเคารพ
  3. น่าเทิดทูน
  4. ฉลาดพูด แนะนำ ตักเตือน
  5. อดทนต่อถ้อยคำ
  6. แถลงเรื่องที่ลึกล้ำได้
  7. ไม่ชักนำไปในสิ่งที่เสื่อมเสีย

( http://www.kalyanamitra.org/kal/kal_page3.html )

 

 

6. ทศพิธราชธรรม

ธรรมะ ที่คนที่เป็นผู้นำต้องถือควรปฏิบัติทุกคน มี  10  ประการ  คือ

  1. ทาน (ทานํ) การให้ หมายถึงการให้ การเสียสละ นอกจากเสียสละทรัพย์สิ่งของแล้ว ยังหมายถึงการให้น้ำใจแก่ผู้อื่นด้วย
  2. ศีล (ศีลํ) คือความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา และใจ ให้ปราศจากโทษ ทั้งในการปกครอง อันได้แก่ กฎหมายและนิติราชประเพณี และในทางศาสนา
  3. บริจาค (ปริจาคํ) คือ การเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขส่วนรวม
  4. ความซื่อตรง (อาชชวํ) คือ ความซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต
  5. ความอ่อนโยน (มัททวํ) คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพในเหตุผลที่ควร มีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอ่อนโยนต่อบุคคลที่ เสมอกันและต่ำกว่า
  6. ความเพียร (ตปํ) หรือความเพียร มีความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน โดยปราศจากความเกียจคร้าน
  7. ความไม่โกรธ (อกฺโกธ) หรือความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ไม่มุ่งร้ายผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล
  8. ความไม่เบียดเบียน (อวีหึสา) การไม่เบียดเบียน หรือบีบคั้น ไม่ก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น
  9. ความอดทน (ขันติ) การมีความอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาอาการ กาย วาจา ใจให้เรียบร้อย
  10. ความยุติธรรม (อวิโรธนํ) ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก ไม่เอนเอียงหวั่นไหวด้วยคำพูด อารมณ์ หรือลาภสักการะใดๆ

 ( http://th.wikipedia.org/wiki )

 ( สุรีรัตน์ สรรคพงษ์. 2544. )

( http://www.school.net.th/library/create-web/10000/religion/10000-1194.html )

 

 

คำสำคัญ (Tags): #พุทธธรรม
หมายเลขบันทึก: 324726เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2010 11:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ คุณนุ่มนิ่ม สำมะปี(คงเป็นอีสาน)

ตอนเรียนบริหาร จำได้ว่า

กฎมนุษย์ทองคำเขาว่า ถ้าอยากให้ใครเขาปฏิบัติต่อเราเช่นไร ก็จงปฏิบัติสิ่งนั้นต่อเขาก่อน

หลักการของขงจื้อ ลิง 3 ตัว ปิดหู ปิดตา ปิดปาก

สิ่งที่ผู้บริหารใช้มาก ที่สุดคือ รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง

ส่วนผมจะใช้ จำชื่อให้ได้ ใช้คำถามสื่อนำ ทำด้วยความจริงใจ พูดได้ไพเราะ

สูตรการบริหาร จึงไม่สูตรสำเร็จตายตัว อยู่ที่เงื่อนไข เวลา สถานการณ์ครับ

สาธุ...มีประโยชน์มากเลย เมื่อได้อ่านแล้วก้ถึงการเกิดของมนุษย์แล้ว

เพราะฉะนั้น  เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์  ต้องทำ  ความสำนึกคืนให้มากๆ  น่ะครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท