อยากให้เด็กเก่งคิด


ปฐมวัยนาทีทองของชีวิต
ปฐมวัย นาทีทองของชีวิต
                                                               ดิฉันได้มีโอกาสไปร่วมประชุม ฟังนักวิชาการ คุณหมอ ผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเด็ก หลายครั้งต่อเนื่องกันนับสิบปี   วันนี้ กระแสสังคมกำลังหันมาให้ความสนใจในการพัฒนาเด็กบนพื้นฐานการพัฒนาสมองอีกครั้ง  หลังจากการพัฒนาแนวนี้ ได้เริ่มมาแล้วนับ ทศวรรษ ในประเทศไทย   ตัวบ่งชี้ที่สนับสนุนข้อความนี้ คือแนวทางการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ปรากฏในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ทั้งฉบับพ.ศ.2540และพ.ศ. 2546  แต่เมื่อกระแสสังคมเห็นว่าเป็นเรื่องใหม่ เหมือนเพิ่งค้นพบ  ก็ไม่ว่ากัน  สิ่งที่จะเกิดกับเด็กขอให้เกิดขึ้น และยั่งยืนเท่านั้น ยิ่งมีมือหลายๆมือมาช่วยกันทำ ก็เป็นผลดีแก่เด็กทั้งสิ้น     ส่วนจะทำโดยใคร   เมื่อไหร่หาใช่เรื่องสำคัญ วันนี้จึงไปค้นสมุดบันทึกเก่าๆเกี่ยวกับเรื่องแนวทางพัฒนาเด็กที่เก็บไว้  มาแกะรอย บอกต่อ  เผื่อจะเกิดประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องได้นำไปใช้  และเนื่องจากเป็นบันทึกจากการฟังการประชุมไม่ได้ตั้งใจจะนำมาเขียนเผยแพร่ จึงไม่ได้จดบันทึกชื่อผู้บรรยาย  หรือบางเรื่องก็จะมีอยู่ บ้าง    ในที่นี้ ขออ้างอิงชื่อรวมๆที่จำได้ว่าได้ฟังเรื่องเหล่านี้มาตามลำดับ ได้แก่  คุณหมอนิตยา คชภักดี    อาจารย์นงเยาว์ แข่งเพ็ญแข  หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา     คุณหมออุดม  เพชรสังหาร    อาจารย์ดร.จิตตินันท์ เดชะคุปต์   อาจารย์ดร.พัชรี  ผลโยธิน และท่านอื่นๆที่ไม่ได้เอ่ยนาม ต้องขออภัยไว้ณ ที่นี้ด้วยอ
พัฒนาการของสมองมนุษย์
                ไข่ + สเปอร์ม ผสมกัน       กลายเป็นไขสันหลัง และปลายท่อไขสันหลังคือ สมอง ซึ่งเซลจะแบ่งตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จำนวนเซลไม่ได้หมายถึง ความฉลาด แต่การเชื่อมต่อของ cell ต่างหาก
ที่จะบ่งบอกถึงความฉลาด
                ภายใต้สมองจะมีเซลซึ่งแตกกิ่งก้านสาขาออกมา เซลที่ถูกกระตุ้น จะแตกกิ่งก้านออกมาต่อเชื่อมกัน เซลที่ไม่ถูกกระตุ้นจะเกิดการทำลายตนเอง
การเชื่อมต่อของเซลสมองจะดีมากในช่วงอายุ 6 ปีแรก หลังอายุ 16 ปีเซลที่ไม่ได้ใช้จะ
บางลง เพราะเซลที่ไม่ได้ใช้จะถูกทำลายลง เพื่อเปิดพื้นที่ให้สิ่งที่จำเป็น
แรกเกิด เซลสมองยังไม่เชื่อมต่อเท่าไร แต่จะเริ่มเมื่ออายุ 6 เดือน โดยถ้าสมองได้รับการกระตุ้นทางเสียง เช่น เปิดเพลงให้ลูกฟัง และจะเชื่อมต่อได้ดีมากไปจนถึงอายุ 6 ปี
กฎของสมอง
การกระตุ้นทำให้เกิดวงจร
ทำซ้ำทำให้วงจรเกิดมากขึ้น
เด็กที่เป็น Down syndrome คือไม่ได้รับการกระตุ้น ไม่มีการเชื่อมต่อ ถ้าเด็กได้รับการกระตุ้นตอนหลัง ก็สามารถเติบโตได้
               
                หน้าต่างแห่งโอกาส Windows of opportunity นาทีทองของชีวิตภายใน 6 ปีแรก เด็กควรได้รับการพัฒนาเรื่อง
1.       การเคลื่อนไหว           
2.       สายตา
3.       ภาษา
4.       ดนตรี
5.       คณิตศาสตร์
6.       การเข้าสังคม
7.       การควบคุมอารมณ์
ปัจุบัน เด็ก 3 ขวบ เล่นคอมพิวเตอร์ รับประทานขนมถุง ขนมกรุบกรอบ เด็กแย่ทั้งเรื่องสายตาและอาหาร
ความสำคัญของปฐมวัย
·       เป็นจุดเริ่มต้นพื้นฐาน สำหรับความสามารถของมนุษย์
·       เป็นช่วงที่มีศักยภาพในการเติบโตของวงจรสมองสูงที่สุด
·       มีความคุ้มค่าในเชิงเศรฐศาสตร์ของการพัฒนา มีงานวิจัยว่า ลงทุนกับเด็ก 1 บาท จะได้คืนกลับมา 13 – 14 บาท
ปัจจัยที่เอื้อต่อการเจริญงอกงามของสมองและการเรียนรู้
·       ความสัมพันธ์กับผู้เลี้ยงดูที่เต็มไปด้วยความรัก และความอบอุ่น
·       สิ่งแวดล้อมที่มีคนพูดดัง
·       มีโอกาสได้เล่น
·       มีการกระตุ้นการเรียนรู้ที่เหมาะสม
·       พันธุกรรม
·       เสียงพูดของมารดา
สิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญงอกงามของสมอง และการเรียนรู้ของมนุษย์
(Enriched Environment)
·       สิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญงอกงามของสมอง และการเรียนรู้ของมนุษย์
·       สภาพทางกายภาพ สี เสียง อุณหภูมิ ความปลอดภัย
·       มีปฏิสัมพันธ์อบอุ่น เป็นมิตร
·       ท้าทายให้อยากเรียนรู้
·       ประสาทสัมผัสทั้งหมดได้ทำงาน
วงจรแห่งความพอใจ Reward Circuit
                แรงจูงใจมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาสมองของมนุษย์ เราจะทำอย่างไรให้โรงเรียนเสร้างแรงจูงใจให้เด็กอยากมาเรียน     จะสร้างความพึงพอใจอย่างไร  การให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่น เป็นการสร้างแรงจูงใจที่ดีวิธีหนึ่ง    เด็กจะมีความสุขและมีจินตตนาการ  จินตนาการเป็นสิ่งสำคัญมาก จะส่งผลต่อการเชื่อมต่อของสมองได้ดี
 
การเล่นทำให้เกิดผลในเด็ก
·       แรงจูงใจ
·       ความคิด                 สมองซีกซ้ายทำงาน
·       จินตนาการ           สมองซีกขวาทำงาน
ของเล่นที่ทำให้เด็กใช้ความคิด จินตนาการมากเท่าไร จะทำให้สมอง แบ่งออก เชื่อมต่อ มากขึ้นเท่านั้น ปัจจุบันโรงเรียนมักจะไม่ให้เด็กได้เล่น เรากำลังบั่นทอนจินตนาการลูกหลานของเราลงไปเรื่อยๆ การให้เด็กได้เล่น อย่าจำกัดจินตนาการ อย่าคิดว่าของเล่นแพงๆจะทำให้เด็กฉลาด
การอ่านทำให้เกิดวงจรการมองเห็น เชื่อมกับการได้ยิน เชื่อมกับความจำก่อให้เกิดภาษาและนำไปสู่การเรียนรู้หนังสือ ภาษามีเนื้อหา (Content) เด็กได้ข้อมูลความรู้สะสมต่อไปเรื่อยๆ บางเรื่องมีเนื้อหากล่อมเกลาทางภาษา ความรู้ ปัญญา จินตนาการ คุณธรรม
เด็กได้อะไรจากการเล่านิทาน อ่านหนังสือ ให้ฟัง
เกิดนิสัยรักการอ่าน
·       การอ่านคือ ความสุข
·       วงจรปฐมภูมิ
·       เกิดความไว้ใจในโลก ไว้ใจผู้อื่น
-          พื้นฐานทัศนะในการมองโลก
-          พื้นฐานของบุคลิกลักษณะ
·       โอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
·       รักการอ่าน
ดนตรีกับการพัฒนาสมองมนุษย์
เสียง
·       การได้ยิน
·       พัฒนาการทางภาษา
·       ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ จากการฟัง การเล่นดนตรี
·       การเรียนรู้เกิดเมื่อตื่นและมีสมาธิ  เพลงของโมสาร์ท มีผู้วิจัยค้นพบว่า กระตุ้นสมองได้ดี  ผู้ศึกษาวิจัย คือ ดร.Francis H Ranscher ผู้ค้นพบโมสาร์ท เอฟเฟค (Mozart Effect)
·       ดนตรีต้องไม่ปิดกั้นความคิด  เสียงร้องจะปิดกั้นความคิด  ต้องไม่มีเสียง
·       การใช้ดนตรี เป็นสื่อในการเรียนรู้  ทำนองและจังหวะช่วยให้เกิดการจำ
·       ดนตรีคือ ความเป็นชาติ เป็นเผ่าพันธุ์ ฝึกให้เด็กฟังเพลงเป็นของทุกเผ่าพันธ์  รักความเป็นไทย แต่รักเคารพความแตกต่างในเชื้อชาติเผ่าพันธ์
·       เพลงเร้าให้เกิดความคิดและการแสดงออก
·       ทำนองและจังหวะช่วยให้เกิดการจำ
ศิลป  กระบวนการพัฒนาด้านศิลปะของเด็ก
·       ช่วยให้คิดได้สังเกต มองเห็น  เรียนรู้ ซึมซับสิ่งที่มองเห็นจากสิ่งที่เรียบง่ายไปสู่สิ่งที่ซับซ้อน  กระบวนการเรียนรู้ทางศิลปะ    การสังเกต  เรียนรู้  ซึมซับ   ตีความ ถ่ายทอดออกมาถ้าเด็กได้รับการพัฒนา จะพัฒนาวิธีคิดของเด็ก
·       การใช้ศิลปเพื่อพัฒนาเด็ก ไม่สนใจชิ้นงาน แต่สนใจสิ่งที่เกิดขึ้นในสมองเด็ก
·       ไม่ใช่การสอนเพื่อให้เป็นจิตรกร  ไม่สนใจผลผลิตเป็นชิ้นงานแต่สนใจพัฒนาการที่เกิดขึ้นกับเด็ก เป็นพัฒนาการของแต่ละคน
·       กิจกรรมที่หลากหลาย เด็กควรได้เห็นงานศิลปะดีๆ เช่น ภาพ รูปปั้น  เซรามิค
เรารู้สึกผิดกับความผิดพลาดของเรา แต่สิ่งที่ผิดพลาดของเราคือ เราละเลยต่อการพัฒนาเด็ก   ทุกสิ่งทุกอย่างรอได้  แต่เด็กรอไม่ได้  ขณะนี้  กระดูกของเด็กกำลังรอการเติมต่อ  เราต้องทำตั้งแต่วันนี้
To  him we can not answer tomorrow   His name is  today.
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 32456เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2006 13:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 05:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท