บุษบา
นางสาว บุษบา จุ๋ม วงวิพัฒน์

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475


วิเคราะห์ ปฏิวัติ 2475 จุดหมายหลักคือ ?

         ถ้ากล่าวไปถึงเหตุการณ์ การเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองครั้งยิ่งใหญ่ของไทย คือ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่อำนาจทั้งหมดเป็นของพระมหากบัตริย์ มาเป็นระบอบประชาธิประไตย 

    โดยกลุ่ม  คณะราษฎร   มีบทบาทสำคัญในการ เปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย นำโดย นาย ปรีดี พนมยงค์ ฝ่ายพลเรือน และฝ่ายทหาร คือ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ซึ่งรายละเอียดสามารถค้นได้ที่ การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 - วิกิพีเดีย

    แต่ประเด็นที่ผู้เขียนสนใจ คือ การปฏิวัติครั้งนี้ แท้จริงแล้ว   คณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย ต้องการที่จะให้อำนาจการปกครองเป็นของประชาชนจริงหรือ?

        ซึ่งก่อนหน้านั้นตามที่ผู้เขียนได้อ่านในแถลงการณ์ เรื่อง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ ก็ได้มุมมองแนวคิดหลายๆอย่าง เช่น…ก่อนหน้าที่จะมีการปฏิวัติการเมืองการปกครอง รัชกาลที่ ๗ ได้ทรงคิดไว้แล้วว่า จะให้สยามประเทศได้มีการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยประชาชนมีสิทธิ์ที่จะออกเสียงในการดำเนินการปกครองประเทศและนโยบายต่างๆ ซึ่งจะเป็นผลดีแก่ประชาชนทั่วไป  แต่เมื่อมีการปฏิวัติเกิดขึ้น  ข้าพเจ้าคิดว่า  การที่คณะราช ได้กระทำการลงไปก่อนนี้  อาจเป็นเหตุผลบางอย่าง  โดยอาจไม่พอใจในการปกครอง ซึ่งอำนาจทุกอย่างอยู่ที่กษัตริย์เพียงผู้เดียว  ขุนนางชั้นผู้น้อยไม่ได้รับความเสมอภาคกัน  และสิ่งสำคัญคือ การคิดอยากมีอำนาจบริหารบ้านเมือง แทนอำนาจของกบัตริย์ เหมือนชาวตะวันตก ของกลุ่มขุนนางบางกลุ่ม  ซึ่งก็คือ กลุ่มที่ทำการปฏิวัตินั่นเอง

        จะเห็นได้จากการที่ทำการปฏิวัติสำเร็จแล้ว  ผู้ที่มีอำนาจในการปกครองประเทศจะเป็นกลุ่มของคณะผู้ก่อการและผู้ที่สนับสนุนเป็นพวกพ้องเท่านั้น ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในอำนาจนี้อย่างแท้จริงทั้งสิ้น ซึ่งในขณะนั้นประชาชนชาวไทยยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับการเมืองการปกครองมากนัก รัฐบาลสั่งให้ทำอะไรก็ทำตาม โดยไม่มีข้อคิดเห็น หรือข้อขัดแย้งใดๆ ซึ่งเหตุผลนี้ผู้เขียนคิดว่า น่าจะเป็นเหตุผลของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ยังคิดว่าประชาชนชาวสยามประเทศ ยังไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครอง 

         จากคำกล่าวของ พระยาพหลพลพยุหเสนา ที่ว่า "การที่คิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินครั้งนี้ มิได้หมายจะช่วงชิงเอาราชบัลลังก์ หรือคิดจะล้มราชบัลลังก์แต่อย่างใดเลย ความมุ่งหมายจำกัดอยู่แต่เพียงว่า ให้องค์กษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ และให้มีสภาการปกครองแผ่นดิน เพื่อที่จะเปิดโอกาสให้ผู้น้อยและประชาราษฎรได้แสดงความคิดเห็นในราชการบ้านเมืองได้บ้าง"  จากบทความนี้ ผู้เขียนคิดว่า ขัดแย้งต่อการกระทำทั้งสิ้น การที่จะเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นนั้น เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองเรียบร้อยแล้ว…

         

      อำนาจทุกอย่างก็ตกอยู่แต่เพียงกลุ่มคนบางกลุ่มเท่านั้น  ฉนั้นแล้ว การที่มีการปฏิวัติการเมืองการปกครองของไทย ผู้เขียนคิดว่า เป็นสิ่งที่ดี  ถ้ารูปแบบการปกครองประเทศเป็นของประชาชนโดยแท้จริง ตามที่พระยาพหล ท่านได้กล่าวเอาไว้ การกระทำของคณะราช ซึ่งมีพระยาพหล เป็นหัวหน้าการปฏิวัติ ผู้เขียนคิดว่า เป็นการชิงสุกก่อนห่าม  ที่ยังไม่ถึงจุดสุกงอมของประเทศในสมัยนั้น โดยที่ประเทศไทยยังล้าหลังกลุ่มประเทศทางตะวันตกอย่างมาก  แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เกิดขึ้น โดยประชาชนยังไม่พร้อม  ทำให้ส่งผลกระทบในหลายๆด้าน ของประเทศ   •ทั้งด้าน การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม เป็นต้น  ปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตส่งผลกระทบมาจวบจนทุกวันนี้ โดย  อำนาจการบริหารประเทศไม่ได้ตกอยู่ที่ประชาชนเป็นหลัก  แต่ไปขึ้นตรงกับกลุ่มนักการเมืองบางส่วน  และนายทุนซึ่งหวังผลประโยชน์จากรัฐบาล โดยการทุจริต คอล์รัปชั่นต่างๆ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ไม่รู้เห็นด้วยกับการกระทำของผู้บริหารประเทศ……

........................................

น.ส. บุษบา วงวิพัฒน์

 

  •ยี่สิบสี่ มิถุนา ประชาธิปไตย
วันแห่งความ ยิ่งใหญ่ ชาวไทยผอง
อภิวัฒน์ เปลี่ยนแปลง การปกครอง
มุ่งสนอง สู่ประชา ธิปไตย 

  •จากวันนั้น ถึงวันนี้ เจ็ดสิบเจ็ดปี
ยังต้องมี การต่อสู้ อยู่หวั่นไหว
อภิชน หวงอำนาจ บาตรใหญ่
มีประชา ธิปไตย ไม่แท้จริง

  •อำมาตยา ธิปไตย ใหญ่ค้ำฟ้า
เล่นลีลา อีแอบ แยบยลยิ่ง
คอยควบคุม เสรีสิทธิ์ คอยปลิดทิ้ง
คอยช่วงชิง อำนาจ ประชาชน

  ลุกขึ้นเถิด ประชาชน หัวใจแดง
จงร่วมแรง ร่วมใจ ให้เป็นผล
สู้กับ อำนาจแฝง แรงฤทธิ์ล้น
สู้พวกปล้น ประชา ธิปไตย

                  บทประพันธ์นี้ แต่ง โดย ความคิดเห็น : ใจ อึ๊งภากรณ์ : 24 มิ.ย. 2475 นิยายและความจริง ...

     

 

......................................................

แล้วผู้อ่านมีความคิดเห็นอย่างไรกันบ้างค่ะ?

 

หมายเลขบันทึก: 323994เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2009 23:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีปีใหม่..นะครับ

สุขกาย สบายใจ
มีความฝัน
ความหวัง..
และพลังแห่งการขับเคลื่อนชีวิตและสังคม สืบไป

นะครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท