คุณภาพชีวิตการทำงาน


"คนไม่ใช่เครื่องจักรกล นอกจากให้ทำงานด้วยสมองแล้วต้องให้อาหารใจด้วย งานจึงจะก้าวหน้า"

แนวคิดคุณภาพชีวิตการทำงาน   (QWL)

โดย...นางสาวประภารัตน์  เต็มเปี่ยม

 

แนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต

คุณภาพชีวิต (Quality of Life)   การมีชีวิตที่ดี (Good – Life) หมายความรวมไปถึงตั้งแต่เกิดในครอบครัวที่ดี ได้รับการเลี้ยงดูที่ดี มีการศึกษาดี มีงานทำที่ดี สภาพแวดล้อมที่อยู่ดี อยู่ในที่ที่มีสาธารณูปโภคต่าง ๆ ดี มีความปลอดภัย ตลอดจนการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศ และรวมไปถึง การกินดีอยู่ดีมีสุข (Well – being) หมายความรวมไปถึง การได้มีที่อยู่อาศัยที่ดี (โดยไม่จำเป็นต้องหรูหรา ราคาหลายล้าน) การได้กินอาหารที่ดี ถูกหลักโภชนาการ การได้รับดูแลรักษาดี เมื่อได้รับความเจ็บป่วย  ดังนั้น “การมีคุณภาพชีวิตที่ดี จะต้องดีโดยทั้งตนเองและครอบครัว” การดำรงชีวิตอยู่ด้วยการมีสุขภาวะที่สมบูรณ์ และมีความมั่นคง ซึ่งครอบคลุมถึงด้านต่าง ๆ ได้แก่           

สุขภาวะทางกาย (Physical Well – being) คือ ภาวะ การรับรู้และดำรงรักษาสุขภาพร่างกายให้มีความแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข โดยมีการปฏิบัติกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์

สุขภาวะทางอารมณ์ (Emotional Well – being) คือ ภาวะ การณ์รับรู้ของสภาพอารมณ์ความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น และสามารถบริหารจัดการอารมณ์ของตนเองและผู้อื่นได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์

-   สุขภาวะทางสังคม (Social Well – being) คือ ภาวะ การรับรู้เรื่องการมีสัมพันธภาพของตนเองกับบุคคลอื่นทั้งในกลุ่มเพื่อนร่วมงานและต่อสาธารณะชน

-   สุขภาวะทางจิตวิญญาณ/ปัญญา (Spiritual Well – being/Internal Wisdom) คือ ภาวะ การรับรู้เรื่องของความรู้สึกสุขสงบ มีความพึงพอใจในการดำรงชีวิตอย่างมีเป้าหมาย เข้าใจธรรมชาติและความเป็นจริงของชีวิต รวมทั้งการมีสิ่งยึดเหนี่ยวที่มีความหมายสูงสุดในชีวิต

 

แนวคิดคุณภาพชีวิตการทำงาน  (QWL)

                คำที่มีความหมายคล้ายกัน  เช่น  Humanization of Work ;  Working Environment and Democratization  ;  Worker’ S Protection   ;  Improving of Working Conditions of the Workplace  คุณภาพชีวิตในการทำงาน หมายถึงการจัดการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับชีวิตการทำงาน ที่ประกอบด้วยค่าจ้าง ชั่วโมงการทำงาน ประโยชน์เกื้อกูล บริการต่าง ๆ โอกาสความก้าวหน้า และมนุษยสัมพันธ์ สภาพแวดล้อม นอกจานี้ยังหมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานกับสิ่งแวดล้อมที่ให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์

 

มิติคุณภาพชีวิตการทำงาน 5 มิติ ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ

QWL by The International  Labour  Organization  (ILO)

1. การจัดการปัญหาพื้นฐานในการทำงาน เช่น ชั่วโมงทำงานที่ยาวนาน ความไม่ปลอดภัย การเอารัดเอาเปรียบเรื่องค่าจ้าง การเลิกจ้าง ฯลฯ

2. การได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม (Fair Treatment at Work)

3. การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (Influence on Decision)

4. การได้ทำงานที่ท้าทายความสามารถ (Challenge of Work Content) อาทิ การหมุนเวียนงาน การขยายขอบเขตงาน การทำงานเป็นกลุ่ม

5. ความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานกับการดำเนินชีวิตส่วนตัว (Work and Life Cycle)

ปัจจัยชี้วัดคุณภาพชีวิตการทำงาน  องค์ประกอบด้านลักษณะของงาน สภาพแวดล้อมการทำงานต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดคุณภาพชีวิตการทำงาน ได้แก่

  • ลักษณะงาน ได้แก่  ความท้าทายของงาน  ความยากง่ายของงาน  ความหลากหลายของงาน  ความมีคุณค่าของงาน  ความเสี่ยงภัยในงาน เป็นต้น
  • การบริหาร  ได้แก่  การมีภาวะผู้นำ    การมีความยืดหยุ่น  และมีการกระจายอำนาจ
  • ความสัมพันธ์ในการทำงาน  ได้แก่   ภาวะแปลกแยก  ภาวะความขัดแย้ง  กิจกรรมแรงงานสัมพันธ์  และพฤติกรรมของเพื่อนร่วมงาน
  • สภาพแวดล้อมทางกายภาพ  ได้แก่  เสียง  อุณหภูมิ  สี, แสง   การระบายอากาศ  ขนาดของห้อง  พื้นที่สีเขียว  ระยะทางจากบ้าน  เป็นต้น
  • รายได้  ผลตอบแทนการทำงานที่เป็นตัวเงิน  ได้แก่  เงินเดือน  ค่าจ้าง  โบนัส  เบี้ยขยัน  ค่าเป้าหมายในการทำงาน  เป็นต้น
  • สวัสดิการและสิทธิประโยชน์  ผลประโยชน์ตอบแทนการทำงานที่นอกเหนือจากค่าจ้างเงินเดือน  เพื่อจูงใจการทำงาน  ได้แก่  รถรับ – ส่ง  ชุดยูนิฟอร์ม   อาหาร  ค่ารักษาพยาบาล, ประกันชีวิต  เป็นต้น
  • ความก้าวหน้า
  • ความมั่นคง ปลอดภัยในการทำงาน  ได้แก่  ความปลอดภัยด้านกายภาพ  ความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัย   ความปลอดภัยจากการบาดเจ็บในงาน  เป็นต้น
  • ความภาคภูมิใจในองค์กร

การจัดสวัสดิการกับคุณภาพชีวิตการทำงาน  หลักการจัดสวัสดิการ เพื่อสนองวัตถุประสงค์การจัด เอื้อประโยชน์ต่อผู้ให้และผู้รับ ได้แก่  หลักแห่งการสนองตอบความต้องการที่แท้จริง  หลักแห่งการจูงใจ และการสร้างขวัญกำลังใจ  หลักแห่งประสิทธิภาพ ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ  หลักแห่งความเสมอภาพและยุติธรรม  หลักแห่งประโยชน์ต่อองค์กรและลูกจ้าง  หลักแห่งความสะดวก และเหมาะสมต่อสถานการณ์  หลักแห่งการยืดหยุ่น ต่อเพศ อายุ สถานภาพ  และหลักแห่งงบประมาณ และความประหยัด  ซึ่งจะต้องร่วมด้วยช่วยกันสร้างคุณค่าให้กับผลงานในองค์การ โดยเริ่มต้นจากความเชื่อ  ทำความเข้าใจร่วมกัน  ถ่ายทอดอย่างทั่วถึง  ส่งเสริมให้เกิดคุณภาพงานกับคุณภาพชีวิต  ความจริงจังของผู้บริหาร  ให้ความจริงใจเป็นกัลยาณมิตรมากกว่าการให้บริการ  และมีการวัดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ  ซึ่งองค์กรที่มีระบบการดำเนินงานที่ดี  จะมีระบบที่ลูกค้าเข้ารับบริการได้ง่าย  ไม่ยุ่งยาก  มีความยืดหยุ่น และปรับเข้ากับลูกค้าได้ดี   มีวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best  Practices)  มีกลไกการสำรวจตรวจสอบตนเอง  มีการปรับปรุงงานอยู่เสมอ  ที่สำคัญคือ ความจริงจังของผู้บริหาร  โดยผู้บริหารต้องมีความมุ่งมั่นของผู้บริหารต้องชัดเจน รับรู้และจัดการสิ่งที่องค์กรต้องการ  นำแนวคิดหรือวิธีการต่าง ๆ เข้าสู่ระบบนั้น ทำไปเพื่ออะไร ให้มีเป้าหมายที่ชัดเจน บริหารงานด้วยความเป็นผู้นำ

 

แนวทางปฏิบัติให้เกิดการมีส่วนร่วมของบุคลากร

1.  สร้างความตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบต่องานที่รับมอบหมาย  ต่อความร่วมมือกับเพื่อนร่วมงาน  และความสำเร็จขององค์กร

2.  สร้างการยอมรับในความเป็นส่วนหนึ่งและเป็นส่วนสำคัญขององค์กรในการสร้างความสำเร็จและช่วยแก้ปัญหาขององค์กร

3.  สร้างความกระตือรือร้นต่อการปรับปรุงการทำงานทั้งของตัวเองและของหน่วยงาน

4.  สร้างความกระตือรือร้นในการเพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์การทำงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเต็มตามศักยภาพของตนเอง

5.  ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ระหว่างเพื่อนร่วมงาน

6.  สร้างความเป็นตัวแทนขององค์กรที่ลูกค้าและบุคคลทั่วไปในสังคมยอมรับ

7.  สร้างความพึงพอใจในงานที่ทำ

8.  สร้างความภาคภูมิใจในองค์กรของตนเอง

"คนไม่ใช่เครื่องจักรกล นอกจากให้ทำงานด้วยสมองแล้วต้องให้อาหารใจด้วย งานจึงจะก้าวหน้า"

 

หมายเลขบันทึก: 323800เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2009 10:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณคะ ขอให้มีความสุข สุขภาพดีตลอดปีและตลอดไปนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท