โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

สอนนิสิตแพทย์ ตอนที่ 2 "คุยกันเรื่องจิตวิญญาณ"


ผมถามน้องกลับว่า "เราจะดูแลจิตวิญญานเขาอย่างไร?"น้อง ๆ ก็เงียบกับไปพักหนึ่ง ไม่มีคำตอบครับ...แต่มีคำถาม "จิตวิญญานต้องเป็นความดีเสมอไปหรือเปล่าคะ"

วันนี้ผมไปสอนนิสิตแพทย์ เป็น case conference ที่มีประเด็นเรื่องจิตวิญญาน

น่าสนใจที่ นสพ. พูดถึงจิตวิญญาน อยู่ในเรื่องการดูแลแบบองค์รวม

"เราต้องดูแลจิตวิญาน"

ความยากของมันอยู่ที่ "จิตวิญญาน"เป็นเรื่องที่ทุกคนถือกำเนิดมาก็มีกันทุกคน แต่พอถามว่ามันคืออะไร....คนส่วนใหญ่ก็ทำหน้างง..

ยิ่งถ้าถามว่า จิตวิญญานของคุณคืออะไร...อันนี้หลายคนยังตอบไม่ได้

"หลายท่านพูดถึง...การแสวงหาความหมายของชีวิต"

"บางท่านพูดว่า...มีปัญญา (สช. นิยาม)"

"หลายคนพูดถึงสิ่งที่เขายึดเหนี่ยว..เพื่อความสุขสงบภายใน"

กลับมาที่เรื่อง นสพ. บอกว่า "จะดูแลจิตวิญญาน"

ผมถามน้องกลับว่า "เราจะดูแลจิตวิญญานเขาอย่างไร?"

น้อง ๆ ก็เงียบกับไปพักหนึ่ง ไม่มีคำตอบครับ...แต่มีคำถาม

"จิตวิญญานต้องเป็นความดีเสมอไปหรือเปล่าคะ"

คำถามนี้ผมรู้สึกว่า "เป็นสิ่งที่ผมอยากได้มากกว่าคำตอบ....เป็นคำถามที่ผมไม่เคยนึกถึงเหมือนกัน .....เล่นเอาอึ้งไปพักนึง

ผมบอกว่า ดีเลวใครจะตัดสินได้ "โจรเองก็อาจปล้น ชิง วิ่งราว แต่เขาก็ยังมีจิตวิญญาน....สิ่งที่พลักดันให้เขาเลือกวิถีชีวิต...จริงลึก ๆ ก็คงเป็นสิ่งที่เขาเลือกเป็นอย่างดีแล้วว่าไม่มีทางเลือกอื่นเพื่อการเลี้ยงชีพ เขาก็ค้นหาบางอย่างในชีวิตและเขาทำเพราะมันตอบสนองต่อความต้องการลึก ๆ.....เขาอาจจะบอกว่า ทำสิ่งนั้นเพื่อลูกเมียและความอยู่รอด...เขารักครอบครัว-ครอบครัวคือจิตวิญญานของเขา"

"มหาตมะ คานธี ในยุคที่ยังมีชีวิต....ในมุมมองของชาวอินเดีย เขาคือ hero ในขณะที่อังกฤษมองท่านเป็น...คนที่เป็นสัตรูของอังกฤษ"

"ในสงคราม car bomb คนที่ทำเป็น hero ของคนบางกลุ่มเพราะยอมสละชีพต่อต้านผู้รุกราน...เป็นจิตวิญญานแห่งความรักชาติ..โลกตะวันตกมองพวกนี้ว่าผู้ก่อการร้าย"

ผมบอกกับน้องว่า "จิตวิญญานคือสิ่งที่ผลักดันให้ผู้คนแต่ละคนมีความแตกต่าง ทำให้แต่ละคนมีความเป็นปัจเจก...ทำให้คนผู้นั้นใช้เป็นแนวทางดำเนินชีวิต เกี่ยวกับศาสนาหรือไม่ก็ได้"

"การจะดูแลจิตวิญญานนั้น เพียงเราเข้าใจเขา-ฟังเขา-ยอมรับในสิ่งที่เขาเป็น-หาจำเป็นไม่ที่จะต้องตัดสินว่าดีเลว.....สุดท้ายเมื่อเรายอมรับเขาอย่างหมดใจ-เข้าใจเขาอย่างแท้จริง....เมื่อนั้นคือการเชื่อมโยงเรากับเขา....นี่อาจจะเป็นการดูแลจิตวิญญานในทัศนะของผม"

ท่านผู้อ่านเห็นเป็นประการใดครับ?

คำสำคัญ (Tags): #spiritual care#จิตวิญญาน
หมายเลขบันทึก: 323759เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2009 23:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

อาจารย์ทิ้งประเด็นได้หนักหน่วงจริงๆ ขอเวลาครุ่นคิดซักหน่อยแล้วจะกลับมาแลกเปลี่ยนครับ

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคุณหมอประเด็นนี้สักเล็กน้อย

มนุษย์สร้างฝั่งให้ตัวเองไว้มากมายแล้วตัวเองอีกนั่นแหละมักติดฝั่งที่สร้างไว้ ฝั่งก็เลยกลายเป็นกับดักตัวเอง

มอง(จิตวิญญาณ)ทะลุฝั่งให้ได้ ถ้าแยกไม่ออกก็ยากเต็มที(อาจตกเป็นเหยื่อได้โดยง่าย)

ฝั่งแห่งสีผิว

ฝั่งแห่งเชื้อชาติ

ฝั่งแห่งสีเสื้อ

ฝั่งแห่งความโกรธเกลียด

ฝั่งแห่งความเคียดแค้น

ฝั่งแห่งความอาฆาต

การเห็นความทุกข์ความเดือดร้อนและความดีของคนอื่นแล้วเราก็จะข้ามพ้นฝั่งได้.

  • จิตวิญญาณของแต่ละคนต่างกันนะครับ
  • แต่ทำอย่างไรว่าที่แพทย์จะดูแลคนไข้แบบมีจิตวิญญาณของ Humanized Health Care ได้นี่น่าสนใจนะครับ
  • มาทักทายคุณหมอและสวัสดีปีใหม่ครับ

นมัสการพระคุณเจ้า....พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

ข้อคิดเห็นเป็นประโยชน์ให้ฉุกคิดเป็นอย่างดีครับ

สวัสดี

P
ที่ตอนไปที่แสนปาล์ม พลาดโอกาสพบอาจารย์เสียดายจัง (เห็นอาจารย์เต็มบอกว่าอาจารย์เอาขนมมาฝาก)

เสียดายจริงๆๆด้วย แต่คงมีโอกาสได้พบกันครับ

ยินดีครับอาจารย์ขจิต

สวัสดีปีใหม่ 2553 ค่ะ

ประเด็นการดูแลจิตวิญญาณดังที่คุณหมอกล่าวไว้..."การจะดูแลจิตวิญญานนั้น เพียงเราเข้าใจเขา-ฟังเขา-ยอมรับในสิ่งที่เขาเป็น-หาจำเป็นไม่ที่จะต้องตัดสินว่าดีเลว.....สุดท้ายเมื่อเรายอมรับเขาอย่างหมดใจ-เข้าใจเขาอย่างแท้จริง....เมื่อนั้นคือการเชื่อมโยงเรากับเขา....นี่อาจจะเป็นการดูแลจิตวิญญานในทัศนะของผม"

เป็นประเด็นซึ่ง "คนทำงานกับคน" ควรใคร่ครวญ ไตร่ตรองอย่างยิ่ง เพื่อไม่ให้ "หลงทาง" ไปสู่หนทางของการทำร้ายจิตวิญญาณของกันและกัน

สังคมมนุษย์ปัจจุบันตัดสินกันด้วย "เปลือก" ที่หุ้มห่ออยู่ตามที่สังคมให้ ... คนนี้เป็นหมอ เป็นพยาบาล เป็นทนาย เป็นเจ้านาย เป็นลูกน้อง เป็นชาวบ้าน เป็นคนป่วย...

"เปลือก" เหล่านี้จำแนกคนออก พร้อมทั้งจำกัดสิทธิในการเป็น "มนุษย์" ไปด้วยในบางครั้ง จิตวิญญาณภายในจึงถูกละเลยไปอย่างน่าเสียดาย

ตาสีตาสา ยายมียายมา ... อาจมีจิตวิญญาณสูงส่งกว่าข้าราชการตำแหน่งใหญ่โตบางคนก็ได้

การให้ความสำคัญกับ "จิตวิญญาณ" ดังที่คุณหมอกล่าว จึงจำเป็นและควรคิดยิ่ง แอบหวังไว้อยากให้มีการตั้งคำถามกับเด็กรุ่นใหม่ของเราให้มาก ๆ ในเรื่องเหล่านี้ค่ะ

(^___^)

สวัสดีปีใหม่ครับ

คนไม่มีราก

  • สวัสดีวันแรกของปี 2553
  • สุขกายสบายใจ

ตอนเกิด วิวาทะ ว่าจะใช้คำไทยว่าอย่างไรกับ spiritual ดี

เหตุผลหนึ่งที่ เลือกใช้ ปัญญา แทน จิตวิญญาณ ก็เพราะ จิตวิญญาณ อาจจะเป็นได้ทั้งดีและไม่ดี

แต่ผมก็เห็นด้วยครับ จะดีหรือไม่ แต่เข้าใจเขาสำคัญกว่า แต่สิ่งนั้นจะต้องไม่ไปทำร้ายผู้อื่นด้วย

 

  • ปีใหม่นี้ขอให้โรจน์ ศึกษาสำเร็จทุกประการ นะครับ

ขอบคุณอาจารย์เต็มศักดิ์คำอวยพรจากครูที่ผมเคารพรักอีกท่านหนึ่งครับ

จิตวิญญาณคืออะไร

สำหรับตัวผม คือสิ่งที่มีคุณค่าและความหมายในชีวิต

ซึ่งแต่ละคน ไม่เหมือนกันแน่นนอน

บางช่วงชีวิตก็รู้สึกถึงความบกพร่องทางจิตวิญญาณหรือทางปัญญา Where is my soul?

สวัสดีปีใหม่ครับ

แล้วแต่คิดครับ ถ้าจะโพกัสให้แคบลง คำนิยามของจิตวิญญาณวิชาชีพ น่าจะมีความหมายให้ครุ่นคิดหลากลายครับ

การดูแลด้วยจิตวิญญาณ

น่าจะคล้ายๆดูแลจากใจสู่ใจ

พุทธศาสนาเน้นเรื่องจิตเยอะมากนะครับ ถ้าลองศึกษาให้ลึกๆน่าจะเป็นประโยชน์นะครับ

น้องวชัรพงษ์...ขอบคุณสำหรับนิยามจิตวิญญานในความหมายของน้อง

คุณวรรัตน์....จิตวิญญานในวิชาชีพหลายคนก้ถือว่าเป็นสิ่งที่ยึดถือในการดำเนินชีวิตครับ

Phornphon  ครับทางศาสนาจะว่าเป็นแหล่เรียนรู้และพัฒนาในด้านจิตวิญญาน แต่จิตวิญญานของหลายคนก็มิใช่ศาสนา...ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นที่เปิดโลกทรรศน์ให้ผมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท