KM อุปมา : ทฤษฎีขนมชั้น VS. ทฤษฎีขนมเปียกปูน


ผมจำได้ว่า   ในยุคที่  2 ของ สคส.  (ยุคแรกเป็นยุคเรียนรู้ KM จาก explicit knowledge) ตอนนั้นเรารับงานไปเป็นวิทยากรใน workshop กันบ่อยมาก   แต่ก่อนที่เราจะรับงานกับหน่วยงานใด    ก็จะมีการพูดคุย  ซักถามถึงเป้าหมายการทำ KM ของหน่วยงานว่าจะเอาไปทำอะไร   หรือต้องการใช้กับงานอะไร    และในช่วงนี้นี่เอง    ที่เราเรียนรู้ว่าหลายๆหน่วยงานออกแบบกระบวนการ KM  แยกออกจากงานประจำ    ทำให้คนทำงานรู้สึกเบื่อหน่ายกับเครื่องมือใหม่ๆที่มักนำเข้าไปใช้ตามสมัยนิยม   ให้ได้ชื่อว่าไม่ตก trend    คนทำงานรู้สึกเป็นภาระมากขึ้น  ทั้งๆที่ภาระงานเก่ายังไม่ได้ชำระสะสางกันเลย   แต่ก็ต้องทำเพราะเป็นนโยบาย

ช่วงนี้นี่เองที่  ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช  มักมีคำกล่าวบ่อยๆเวลาให้คำแนะนำ  ทั้งแก่ทีมงาน  สคส.  และหน่วยงานที่เข้ามาติดต่อ   ว่า  "การทำ KM นั้น  ต้องทำให้เนียนเป็นเนื้อเดียวกับงานประจำ  เหมือนกับเครื่องคอมพิวเตอร์  ที่มี intel inside      การที่แยก KM  เป็นงานใหม่ขึ้นมาอีกนั้น  ก็เหมือนกับ   "ขนมชั้น"    อย่างนี้จะทำไม่สำเร็จ   เพราะคนในองค์กรไม่ได้รู้สึกเป็นเจ้าของร่วม    รู้สึกว่าเป็นงานของ กลุ่มคน หรือ คณะทำงานที่รับผิดชอบตามที่รับมอบหมาย       การทำ KM ควรให้เหมือนกับ  "ขนมเปียกปูน"   เพราะส่วนผสมทั้งหมดจะคลุกเคล้าจนเป็นเนื้อเดียวกัน   คนทำงานเข้าใจและเห็นภาพความเชื่อมโยงของแต่ละงานในองค์กรว่าทุกหน้าที่มีส่วนต่อความสำเร็จขององค์กร

คำสำคัญ (Tags): #analogue
หมายเลขบันทึก: 32267เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2006 07:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 05:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • พึ่งจะเข้าใจทฤษฎีขนมชั้นและขนมเปียกปูนวันนี้เอง
  • แต่ว่าเป็นขนมอื่นไม่ได้หรือครับเช่นขนมหม้อแกงหรือขนมสังขยา (แทนขนมเปียกปูน)
  • หรือว่ามันหวานไป
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท