บางคำถามที่เราต้องถามตัวเอง : ประเด็นที่ผมพูดในเวทีค่ายปลายฝนต้นหนาว (ที่ผ่านมา)


ไม่เพียงแต่เฉพาะการชวนให้แต่ละคนทบทวน หรือตรวจค้นองค์ความรู้ที่มีในตัวตนของแต่ละคนเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการแลกเปลี่ยนมุมมองจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งอย่างง่ายงาม

ทุกครั้งที่นิสิตจะออกค่ายอาสาพัฒนา  ทั้งผมและทีมงาน  จะต้องจัดกิจกรรมในลักษณะการปฐมนิเทศให้กับผู้นำค่ายเสมอ  โดยอดีตนั้นเรียกว่าการปฐมนิเทศการจัดกิจกรรมนอกสถานที่  แต่พอผมเริ่มนำเอาเรื่อง KM เข้ามาใช้ในวิถีกิจกรรม  จึงเปลี่ยนชื่อที่ว่านั้นมาเป็น การจัดการความรู้สู่ผู้นำค่าย

 

ล่าสุดกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อวันที่  ๑๐-๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ ณ บ้านกุดร่อง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม   ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยมากนัก  แถมยังมีบรรยากาศความเป็นชุมชนพอเพียงให้สัมผัสไปในตัว 

 

อย่างไรก็ดี กิจกรรมในทำนองนี้  เพื่อให้ค่ายฟังดูมีบรรยากาศชวนฝันและมีอุดมคติ ผมจึงเรียกชื่อค่ายเหล่านี้ว่า ค่ายปลายฝนต้นหนาว  โดยครั้งนี้ผมรับอาสาเป็นวิทยากรสะท้อนมุมคิดของตัวเองไปยังผู้นำค่าย  ภายใต้หัวข้อที่ตั้งขึ้นเองในสไตล์ของตัวเองว่า “บางมุมมองของคนสังเกตค่ายฯ 


 

ผมใช้กระบวนการนำเสนอเนื้อหาอันเป็นแนวคิดของผมเองผ่านภาพถ่ายของค่ายต่างๆ  พร้อมๆ กับการเปิดประเด็นให้แต่ละคนได้ร่วมเสวนาไปกับผมแบบง่ายๆ สบายๆ  โดยไม่ลงรายละเอียดให้ลึกนัก  เพราะต้องการให้ผู้ฟังได้ลงแรงคิดไปกับประเด็นนั้นๆ ด้วยตนเองให้มากที่สุด   

 

ลำดับแรกนั้น  ผมเปิดประเด็นแบบกว้างๆ สำหรับการไปค่ายอาสาพัฒนาด้วยประโยคที่ว่า บางคำถามที่เราต้องถามตัวเอง  อันประกอบด้วยถ้อยคำง่ายๆ เพื่อผูกโยงการเสวนาระหว่างผมกับนิสิต  เป็นต้นว่า

  1. อะไรคือ ค่าย  
  2. อะไรคือ อาสาพัฒนา 
  3. คืออะไร บำเพ็ญประโยชน์
  4. อะไรคือ ชุมชน
  5. อะไรคือ ชนบท
  6. ทำไมค่ายต้องมุ่งไปแต่เฉพาะ ชนบท
  7. เหตุผลของการไปค่าย
  8. ไปทำอะไร...เพื่ออะไร
  9. พบเจออะไร
  10. ได้อะไรกลับมา (บ้าง)

 


เรื่องเล่าชาวค่ายที่ถือเป็นนวัตกรรมความคิดของนิสิต มมส...


การเปิดพื้นที่ให้ผู้นำค่ายได้ถกคิดกันแบบเรียบง่ายคือสิ่งที่ผมไม่เคยละเลย

 

เป็นที่น่าสังเกตว่า  คำถามที่ฟังดูเรียบง่ายเหล่านั้น  กลับกลายเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาถกคิดกันยกใหญ่พอสมควร  เพราะพื้นฐานความคิด หรือองค์ความรู้ของผู้นำค่ายในแต่ละคนยังตกผลึกไม่เท่ากัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผมพยายามเน้นย้ำให้ทุกคนถอดความ หรือแม้แต่ตีความของคำว่า ชนบท ร่วมกันอย่างยกใหญ่  เพราะคำๆ นี้เกี่ยวข้องกับวิถีค่ายอาสาพัฒนาของคนหนุ่มคนสาวในมหาวิทยาลัยมากเป็นพิเศษ  ด้วยหวังว่าพวกเขาทั้งหลายจะเข้าใจบริบทของคำว่า ชนบท”  ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น  ไม่ใช่ผูกยึดอยู่แต่เฉพาะความทุรกันดารของถนนหนทาง หรือระยะทางอันห่างไกลจากตัวเมืองเท่านั้น  พร้อมๆ กับการผูกโยงไปถึงคำว่า ขาดแคลน  เพื่อให้ผู้นำค่ายได้ตระหนักว่า บางทีการทำค่าย อาจไม่จำเป็นต้องมุ่งไปแต่เฉพาะ ชนบท  อย่างเดียว แต่บางทีควรต้องยึดเอาคำว่า “ขาดแคลน”  มาเป็นองค์ประกอบด้วยเหมือนกัน  เพราะในชุมชนเมือง ก็มีความขาดแคลนในเรื่องต่างๆ ไม่แพ้ชนบท (หรือหมู่บ้านในเขตชนบท)  และความขาดแคลนที่ว่านั้น ก็ท้าทายต่อการทำค่ายอาสาพัฒนามากไม่ใช่ย่อย  ขึ้นอยู่กับว่า  บรรดาชาวค่ายทั้งหลาย  จะกล้าหาญพอที่จะเปลี่ยนมุมคิดของตัวเองมากแค่ไหน หรือไม่เท่านั้นเอง 


        
ถัดจากนั้น  ผมก็ไม่ลืมที่จะหยิบยกประเด็นอื่นๆ มาแลกเปลี่ยนกับนิสิต  ภายใต้แนวคิดของการทบทวนความจำ และทดสอบความรู้ของผู้นำค่ายไปในตัว  เป็นต้นว่า

  • รูปแบบของค่าย  หรือประเภทของค่าย  ซึ่งเดิมมักพูดเสมอว่า มีค่ายสร้างและค่ายสอนเท่านั้น  แต่ปัจจุบันนี้  มีค่ายที่เน้นการเรียนรู้ล้วนๆ (ค่ายเรียนรู้) แล้วก็มี  รวมถึงการชี้เป้าว่าค่ายที่ดีควรเป็นค่ายที่บูรณาการ หรือสหกิจกรรม มากกว่าค่ายเชิงเดี่ยวที่พุ่งไปสู่ประเด็นใดประเด็นหนึ่งล้วนๆ
  • การได้มาของค่าย  อันได้แก่  (๑) การเดินเท้าเข้าชุมชน หรือที่เรียกกันในแวดวงว่าสำรวจค่ายนั่นแหละ  (๒) รอคนเข้ามาเสนอ ซึ่งปัจจุบันมีทั้งชุมชนขยับเข้ามาหาโดยตรง หรือไม่ก็นิสิตนั่นแหละที่เสนอชุมชนตัวเองมาให้เพื่อนๆ ได้พิจารณาไปออกค่าย (๓) พบเจอแบบสั่งการ  โดยประเด็นหลังนี้เป็นการได้มาซึ่งค่ายตามนโยบายของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับองค์กรของนิสิต  เช่นการที่ผมกำลังขับเคลื่อนให้นิสิตทำค่ายในชุมชนมหาวิทยาลัย หรือที่เข้าใจกันแล้วว่า “หนึ่งคณะหนึ่งหมู่บ้าน” หรือ "มมส ร่วมใจห่วงใยชุมชน" เป็นต้น

 


นิทรรศการภาพถ่ายชาวค่ายที่ชนะการประกวดในค่ายภาคฤดูร้อนที่ผ่านมา

 

ครับนี่คือส่วนหนึ่งของการชวนคิดชวนคุยที่ผมนำมาใช้เป็นหนึ่งในกระบวนการจัดการความรู้ร่วมกับผู้นำค่าย  ไม่เพียงแต่เฉพาะการชวนให้แต่ละคนทบทวน หรือตรวจค้นองค์ความรู้ที่มีในตัวตนของแต่ละคนเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการแลกเปลี่ยนมุมมองจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งอย่างง่ายงาม  เพราะคำๆ เดียว หรือประโยคๆ เดียวที่ผมนำมาเป็นโจทย์นั้น  วัฒนธรรมการเรียนรู้ของแต่ละองค์กร  บางทีก็ตอบโจทย์นั้นต่างกันไปด้วยก็มี ...

 

ส่วนประเด็นหลักๆ ที่ยังไม่อาจกล่าวถึงได้ในบันทึกนี้ก็คือ  ๙ ข้อคิด..(วิถีแห่งการคิดของคนค่าย)  อันเป็นแนวคิดที่ผมสกัดออกมาจากประสบการณ์ของตัวเอง  ผสมผสานกับการเรียนรู้จากแหล่งต่างๆ  ได้แก่  รู้ตัวตนโครงการ  ทุกหมู่บ้านมีเรื่องเล่า  เราไม่ใช่นัก “เสก-สร้าง”   ทุกเส้นทางมีปัญหา  คลังปัญญาชุมชน   เราคือคนต้นแบบ อย่าแยกส่วนการเรียนรู้  หันกลับไปดู “บ้านเกิด”  ก่อเกิดองค์ความรู้


แล้วค่อยว่ากันในบันทึกต่อไป นะครับ...

 

....

 

หมายเลขบันทึก: 322476เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2009 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

รู้ตัวตนของตน รู้ตัวตนของค่าย ...

เห็นหนุ่มน้อยคอยออกค่ายด้วยหนึ่งหน่อ หน่อนี้เนื้อแน่น จริงค่ะ

  ท่าทางจริงจัง จดบันทึกด้วยนิ ลูกใครหนอ ... ฝันดีค่ะ

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

จิตวิญญาณของอาสาสมัคร...ยังเข้มข้นเสมอ

ดูเเลสุขภาพด้วย เป็นห่วงครับ

บางทีก็นึกถึงคำถามเหล่านี้เหมือนกันนะคะ

  1. อะไรคือ ค่าย  
  2. อะไรคือ อาสาพัฒนา 
  3. คืออะไร บำเพ็ญประโยชน์

 แต่ยังไงก็คือชื่นชม "คนอาสาออกค่ายพัฒนา" ทุกท่าน



 

สวัสดีคะ มาทักทายยามเช้าคะ

อ่านแล้วได้อะไรมากมายเลยคะ

ขอบคุณคะ

ตามมาจากบันทึกน้องเอก

หอบกำลังใจมาให้ค่ะ

สวัสดีครับ คุณปูpoo

อากาศเช้าวันนี้สดชื่น  มีหมอกบางๆ โรยตัวแล้วค่อยๆ จากจางไปในที่สุด
นั่นคือฤดูกาลของชีวิตที่ชีวิตต้องสัมผัสเรียนรู้อย่างไม่ต้องสงสัย  เวียนมาแล้วก็ลับไป และเป็นเช่นนี้อยู่เรื่อยๆ...

ขอบคุณครับ 

สวัสดีครับ คุณเอก.จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

ผมไม่ค่อยได้เขียนบันทึกในทำนองจิตอาสาเหมือนที่ผ่านมา  เพราะรู้สึกอ่อนล้ากับภารกิจแห่งชีวิตและการงาน  แต่ยังคงขับเคลื่อนทุกอย่างเหมือนเคยนั่นแหละ  เพียงแต่เดินช้าลง และวิ่งช้าลง เพื่อมองอะไรๆ ให้ละเอียดขึ้น พร้อมๆ กับการตั้งคำถามกับสิ่งที่พบเจอมากขึ้นด้วยเช่นกัน

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ..ครู ป.1

ผมหยิบยกเรื่องเหล่านี้มาชวนคิดชวนคุย พร้อมๆ กับการตั้งประเด็นเสริมว่า  ความเป็นองค์กรแห่งจิตอาสานั้น ไม่จำเป็นต้องรอเวลาแต่เฉพาะไปออกค่ายเท่านั้น แต่ควรต้องไม่ละเลยเรื่องของการให้บริการแก่สังคมในโอกาสต่างๆ รวมถึงการเรียนรู้วิถีความเคลื่อนไหวของสังคมไปพร้อมๆ กัน

ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่า นิสิตมักนิยมไปออกค่ายในช่วงปิดเรียน  แต่ไม่พยายามที่จะจัดกิจกรรมที่ตอบสนองประเด็นทางสังคมไปเรื่อย  ไม่ต้องจัดยิ่งใหญ่หรอกนะครับ บางทีก็ควรบริจาคโลหิตบ้าง จัดนิทรรศการเรื่องควรรู้เช่น  สิ่งแวดล้อม  ศิลปวัฒนธรรม ด้วยก็ได้  จัดเป็นกระดานความคิดเล็กๆ ในมหาวิทยาลัย ชวนให้ใครๆ มาพบปะแลกเปลี่ยนทางความคิดกันบ้างก็น่าจะดี โดยไม่ต้องรอไปค่ายอย่างเดียว

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ gannigar

เช่นกันนะครับ ขอให้เช้านี้เป็นเช้าชื่นของชีวิต และมีพลังแห่งการสร้างสรรค์ตัวเองและสังคมสืบไปอย่างไม่รู้จบ

ผมเป็นกำลังใจให้อีกคนนะครับ

สวัสดีครับ พี่ฯ มนัญญา ~ natachoei ( หน้าตาเฉย)

ขอบพระคุณสำหรับกำลังใจนะครับ
พักนี้ หนักหน่วงเหลือเกินครับ

"ไม่เพียงแต่เฉพาะการชวนให้แต่ละคนทบทวน หรือตรวจค้นองค์ความรู้ที่มีในตัวตนของแต่ละคนเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการแลกเปลี่ยนมุมมองจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งอย่างง่ายงาม"

  • ชอบข้อความนี้มาก 
  • แต่ละคนตรวจสอบสิ่งดีดีที่มีคุณค่าในตัวตน
  • แล้วนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาสิ่งที่มีคุณค่าที่มีอยู่ สิ่งที่เป็นขยะจะได้ทิ้งมันไป
  • ในขณะเดียวกันก็เติมเต็มในสิ่งที่ยังขาดอยู่ลงไปตามศักยะภาพของตนเอง
  • พร้อมๆกับการต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่ไปอีกขั้นหนึ่ง
  • นอกจากนั้นยังเป็นการได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขอีกด้วย
  • ขอบพระคุณ

สวัสดีค่ะ  อ.พนัส 

ปีใหม่ขอให้อาจารย์มีความสุขมากๆนะคะ

  

 สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๓  นะค่ะ คุณแผ่นดิน =)
ขอให้คุณแผ่นดิน และครอบครัว มีความสุขกาย สบายใจ ตลอดปีใหม่ และตลอดไปค่ะ

 

ขอบคุณอาจารย์มาก ขอให้มึความสุขในปีใหม่

สวัสดีค่ะ

       แวะมาติดตามบันทึกของอาจารย์

       สวัสดีปีใหม่ค่ะ

  • ทั้งกิจกรรม ซึ่งเน้นสร้างองค์ความรู้ และภาพประกอบทุกภาพของอาจารย์..ดูง่ายงามจริงๆครับ
  • ขอบคุณความรู้ และสวัสดีปีใหม่2553ครับ

สวัสดีค่ะ

ชมภาพงาม ๆ แล้วก็มาส่งสุขปีใหม่ ค่ะ

สวัสดีครับ ท่านอ.นายประจักษ์ ปานอินทร์

  • ในการบรรยายแต่ละครั้ง
  • ผมเลือกที่จะตั้งประเด็นคุยกับผู้ฟังเป็นหลัก
  • ไม่ถึงกับต้องสรุปว่าควร หรือคิดยังไง
  • เพราะต้องการให้แต่ละคนมีบทสรุปของตัวเอง โดยประมวล หรือกรองมาจากประสบการณ์ของแต่ละคนเป็นที่ตั้ง
  • โดยเชื่อว่า วิธีการเช่นนั้น จะเป็นกระบวนการของการกระตุ้นให้พวกเขาจัดการความรู้ในตัวเองด้วยวิธีที่พวกเขาถนัด
  • ...
  • ขอบพระคุณครับ

สวัสดีปีใหม่ครับ sha-รพ.แก่งคอย จังหวัดสระบุรี

ขอให้ทุกๆ วันจากนี้ไป  เต็มไปด้วยความงดงามและพลังแห่งการสร้างสรรค์ นะครับ

ผมเป็นกำลังใจให้

สวัสดีครับ berger0123

สุขกายสบายใจกับชีวิตใหม่..วันใหม่ นะครับ

สวัสดีครับ อ.ณัฐพัชร์

สวัสดีปีใหม่ นะครับ
ขอให้ชีวิตเต็มเปี่ยมไปด้วยความหวัง และพลังแห่งความดีงาม ทั้งเพื่อตัวเองและคนรอบข้างอย่างไม่รู้จบ นะครับ

 

สวัสดีครับ เบดูอิน

ปีเก่าลับลา...
เปิดดวงตาสู่วันใหม่
ทวนบทเรียนเขียนหัวใจ
สู่การเติบใหญ่ของชีวิต

 

สวัสดีปีใหม่ครับ อิงจันทร์

ขอให้ทุกๆ วันเป็นวันแห่งชีวิต นะครับ

สวัสดีครับ อ.ธนิตย์ สุวรรณเจริญ

กลับมาอ่านบันทึกนี้อีกรอบ เพื่อประมวลประเด็นการคิดไปสื่อสารกับค่ายอาสาของผู้นำนิสิตนักศึกษาจากทั่วประเทศที่จะมีขึ้นในเร็ววันนี้ (17-20 พ.ค.54)  สิ่งที่พบจากสภาพปัจจุบันก็คือ นิสิตทำงานได้ แต่ขาดความรู้และทักษะในการลงสู่ชุมชน ขาดกระบวนการเรียนรู้ชุมชนเป็นอย่างมาก เพราะที่ผ่านมาก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ส่วนใหญ่ยึดโยงแต่การทำงานเชิงเดี่ยว เน้นการสร้าง หรือเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งจนเกินไป ...

แต่ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผมและทีมงานเน้นกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเสมอ ไปค่ายแต่ละครั้ง ถึงแม้จะเป็นค่านสร้าง ค่ายสอน หรือค่ายแนวอื่นๆ ก็ตาม เราไม่ละเลยให้นิสิตได้เรียนรู้เรื่องราวของชุมชนในด้านต่างๆ โดยเฉพาะในด้านประเพณีวัฒนธรรม"

สิ่งเหล่านี้ ไม่เพียงนิสิตได้ความรู้กลับมาเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการไปกระตุ้นให้ชุมชนได้หวนคิด ทบทวนเรื่องราวของตัวเองไปในตัวด้วยนั่นเอง

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท