แนวคิดและแนวทางในการใช้วรรณคดีสร้างการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ (๔)


เส้นทางของประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ

การเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญเปิดการเปิดประตูใจของผู้เรียนด้วยใจของผู้สอน เป็นการถ่ายทอดคุณค่าและความเคารพในความมนุษย์ โดยอาศัยการเรียนเนื้อหาวิชาเป็นสื่อนำทาง

ในประสบการณ์ของความเป็นครูที่ผ่านมาดิฉันมักสร้างแผนการสอนโดยย้อนมองกลับกลับเข้าไปในตัวเองว่า หากดิฉันมีอายุเท่ากันกับผู้เรียน มีประสบการณ์ในชีวิตเท่ากับกันผู้เรียนแล้ว จะเข้าใจในเรื่องที่เรียนได้อย่างไร

ก่อนหน้าที่จะได้รู้จักกับกระบวนทัศน์ของจิตตปัญญา ดิฉันเข้าใจการเรียนรู้ในลักษณะนี้ว่าเป็นการเรียนเชิงลึก ที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์สุดท้ายคือการเปลี่ยนคุณภาพคน และพร้อมกันนั้นก็ได้ใช้กระบวนทัศน์ทางมานุษยวิทยาเข้ามาช่วยเพิ่มพูนมิติของความเป็นมนุษย์ให้กับการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาด้วย

การจัดกระบวนการเรียนรู้ในครั้งนั้น ได้นำแนวคิด “รู้จักและเข้าใจรสนิยมข้ามยุคสมัย” ที่ได้นำเสนอไว้แล้วในบทความนี้ไปสร้างวิธีการให้ผู้เรียนเข้าถึงวรรณคดีที่ก่อเกิดขึ้นจากวัฒนธรรมต่างยุคสมัย ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนในวิชาภูมิปัญญาภาษาถิ่น ที่โรงเรียนรุ่งอรุณเกิดความ “เข้าใจผู้อื่นในแบบที่เขาเป็น” และ “ไม่เอาคุณค่าของตัวเองไปตัดสินคนอื่น” อันเป็นเป้าหมายการเรียนรู้ที่ดิฉันได้ตั้งไว้

การไม่เอาคุณค่าของตัวเองไปตัดสินคนอื่นนี้ แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนเมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้ภาษาถิ่นโดยเริ่มต้นจากฐานความเข้าใจทางภาษาศาสตร์ แล้วไปเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมและวรรณกรรมพื้นบ้านของแต่ละภาค ว่าต่างก็มีคุณค่า และสุนทรียภาพที่แตกต่างกันไป ไม่มีใครอยู่เหนือใครนั้น สังเกตว่าผู้เรียนเกิดความเคารพในทุกวัฒนธรรม เชิดชูทุกถิ่น จากการได้เรียนรู้แต่ละเอกลักษณ์ที่กลายมาเป็นพหุลักษณ์ที่ยังอยู่ร่วมกันในสังคมไทย อันทำให้ไทยคงความเป็นไทที่เกิดจากคุณค่าของการผสมผสานมาจนทุกวันนี้ ดังจะเห็นได้จากงานเขียน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เกิดขึ้นทั้งในและนอกชั้นเรียนในโอกาสต่างๆ

จากการติดตามผลพบว่า เมื่อนักเรียนกลุ่มนี้ไปศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาก็ยังได้นำเอาแนวคิดดังกล่าวไปใช้ทำความเข้าใจกับเรื่องที่ได้เรียน ตลอดจนนำไปใช้ทำความเข้าใจกับเรื่องราวในชีวิตที่ได้พบพาน และยังได้นำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมมหาวิทยาลัย เกิดเป็นความเข้าใจที่กว้างขวางออกไปสู่กลุ่มเพื่อนในวัยเดียวกัน เกิดคำอธิบายที่ชวนให้ผู้ฟังความเคารพในความแตกต่างหลากหลาย กลายเป็นความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้คนที่ต่างไปจากตนได้อย่างดี

เมื่อดิฉันได้มาทำงานที่โรงเรียนเพลินพัฒนา จึงได้นำแนวคิดและแนวทางดังกล่าวมาสานต่อ และได้พยายามเชื้อเชิญให้คุณครูผู้สอนสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการเรียนเชิงลึกภายใต้บรรยากาศของการเรียนรู้ที่

  • ทั้งผู้สอนและผู้เรียนเปิดใจร่วมเรียนรู้ เคารพในความแตกต่าง ให้คุณค่ากับทุกความคิด
  • ทุกคาบเรียนมีช่วงเวลาของการนำวรรคทอง หรือ คำคม ที่สอนเรื่องการมองชีวิต มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือตีความตามทัศนะของแต่ละคน
  • เรียนรู้วรรณคดีที่เป็นสื่อภายนอกเพื่อสะท้อนให้เห็นโลกภายในตน

 

หมายเลขบันทึก: 322424เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2009 17:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

พี่ใหญ่สัมผัสถึงบรรยากาศแห่งความอบอุ่นและน่าเรียนรู้มากที่รร.เพลินพัฒนาค่ะ แม้เพียงระยะสั้นๆที่ได้ไปร่วมในเวทีครูเล่าเร้าพลังของมูลนิธิสยามกัมมาจล ..ขอชื่นชมนะคะ (ครูใหม่อย่าลืมยืนยืดตัวตรงๆที่พี่ใหญ่ทักไว้นะคะ..)

 

ตอนนี้พยายามฝึกอยู่ค่ะ จะได้ดูสมาร์ทอย่างพี่ใหญ่ในอนาคตอันใกล้นี้

:)

ใหม่ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท