นัทนาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน


จากการสำรวจความคิดเห็นของชาวอเมริกาเกี่ยวกับเรื่องคุณภาพชีวิตและองค์ประกอบที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนอเมริกัน โดยแบ่งออกเป็น 12 ประการตามลำดับความสำคัญดังต่อไปนี้ (Kraus, 1984)การยอมรับผู้อื่น และตนเองรวมถึงความมั่นใจในตนเอง

กระผมได้มีโอกาสเข้าไปศึกษาเรียนรู้กิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน และพิจารณาแล้วว่า เป็นประโยชน์แก่ นักเรียนและบุคคลทั่วๆไป รวมทั้งผู้ปกครองของนักเรียนด้วย จึงนำมาถ่ายทอดให้ได้รับรู้กันอย่างกว้างขวางกระจายขจร

นัทนาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน

                ในปัจจุบันต้องยอมรับว่านักเรียนของเราใช้เวลาว่างไปในทางที่ไม่เหมาะสม  และไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด ๆ เช่น  เที่ยวตามสถานการณ์แหล่งบันเทิงต่าง ๆ เดินเล่นตามศูนย์การค้า  เป็นต้น  และใช้เวลาว่างไปกับยาเสพติด  เช่น  ดื่มสุรา  กินยาบ้า  กินยาอี  สูบบุหรี่  สูบกัญชา  เป็นต้น  จนทำให้เกิดปัญหากับสังคม  ดังจะเห็นได้จากการศูนย์บำบัดยาเสพติดภาคตะวันออกเฉียงเหนือจังหวัดขอนแก่น  สังกัดกรมการแพทย์  กระทรวงสาธารณสุข  พบว่า ผู้ป่วยที่มีอายระหว่าง  16 – 25  ปี  มีจำนวนถึงร้อยละ  51  ซึ่งถือว่าสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ  และพบว่า  เป็นนักเรียนถึงร้อยละ  34  ของผู้ป่วยทั้งหมด  และพบว่าร้อยละ  94  ของผู้ป่วยใช้สารเสพติดประเภทยาบ้า  (สุรชาติ,  2540)   ซึ่งมีแนวโน้มการแพร่ระบาดของยาบ้าจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ  และจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต  ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดจากการที่นักเรียนมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี  จึงใช้เวลาว่างไปในทางที่ไม่เหมาะสมดังกล่าว  ดังนั้นแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างหนึ่งคือการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับนักเรียน

                คุณภาพชีวิตของชาวออสเตรีย  หมายถึง   การสร้างสมดุลทางสภาพแวดล้อมของบุคคลทั้ง  4  ด้าน  คือ  ทางกาย  ทางสังคม  ทางจิตใจ  และทางวัฒนธรรม  เพื่อที่จะนำไปสู่ความสุข  สำเร็จในชีวิตเท่าที่บุคคลพึงจะกระทำได้โดยสรุปลักษณะคุณภาพชีวิตไว้ดังนี้  (Howell  and  Howell,  1987)

  1. มีชีวิตปราศจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งทางร่างกายและจิตใจ
  2. มีโอกาสที่จะพัฒนาความสามารถและการศึกษาให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จขั้นสูงสุดที่บุคคลพึงกระทำได้
  3. มีเวลาว่างและโอกาสที่เพียงพอที่บุคคลพึงมีส่วนร่วมในกิจกรรม  เวลาว่างหรือนันทนาการ
  4. มีที่อยู่อาศัยที่สะดวกสบายและเพียงพอและมีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย
  5. มีความมั่นคงและปลอดภัยในส่วนบุคคลและชุมชน
  6. มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมดีพอสมควร
  7. มีรายได้หรือสื่ออำนวยความสะดวกทางเศรษฐกิจที่เพียงพอ  สามารถจับจ่ายใช้สอยในสิ่งที่จำเป็นเพื่อเกิดความพึงพอใจได้
  8. มีโอกาสพัฒนาขีดความสามารถขั้นสูงสุดในหน้าที่การงาน  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต

จากการสำรวจความคิดเห็นของชาวอเมริกาเกี่ยวกับเรื่องคุณภาพชีวิตและองค์ประกอบที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนอเมริกัน  โดยแบ่งออกเป็น  12  ประการตามลำดับความสำคัญดังต่อไปนี้  (Kraus,  1984)

  1. การยอมรับผู้อื่น  และตนเองรวมถึงความมั่นใจในตนเอง
  2. ความสัมฤทธิ์ผล  กล่าวคือ  บุคคลควรจะเข้าร่วมกิจกรรมที่ส่งเสริมความสัมฤทธิ์ผล
  3. สุขภาพ  การมีสุขภาพทางกาย  และสุขภาพจิตที่ดี
  4. มีความรัก  ความเข้าใจ  รวมทั้งความผูกพันเกี่ยวข้องกับชุมชน
  5. มีอิสรภาพแห่งตนในเรื่องสิทธิเสรีภาพของบุคคล  และสังคม
  6. การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของกลุ่มและสังคม
  7. มีความมั่นคง  และปลอดภัยในชีวิต
  8. มีเศรษฐกิจสะพัด  รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอ
  9. มีกิจกรรมที่ท้าทาย  กิจกรรมก่อให้เกิดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
  10. มีสถานภาพทางชุมชน  มีชื่อเสียง  เป็นที่ยอมรับในชุมชน
  11. มีความคิดสร้างสรรค์
  12. นำกลุ่ม  และควบคุมสถานการณ์ได้ตลอดจนมีผู้ใต้บังคับซึ่งให้ความร่วมมือ

การกีฬาและนันทนาการสามารถพัฒนาได้ในด้านสุขภาพ  บุคลิกภาพ  และลักษณะนิสัยและช่วยพัฒนาเยาวชนและเด็กได้ดังนี้  (จรวยพร,  2533)

  1. สามารถแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
  3. มีค่านิยมที่ดี
  4. มีเหตุผลเชิงจริยธรรม
  5. มีความเข้าใจในพฤติกรรมของมนุษย์
  6. มีสุขภาพและสมรรถภาพที่ดี
  7. มีความคาดหวังในอนาคต

กล่าวโดยสรุปปัจจัย  องค์ประกอบ  หรือกิจกรรมที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน  ได้แก่

  1. การมีสุขภาพทางกาย  และสุขภาพจิตดี
  2. มีที่อยู่อาศัยที่สะดวกสบาย  เพียงพอ  และปลอดภัย
  3. มีรายได้  เศรษฐกิจที่เพียงพอ  และปลอดภัย
  4. มีโอกาสที่จะพัฒนาศักยภาพ  ขีดความสามารถของคนสู่ความสำเร็จขั้นสูงสุด
  5. มีเหตุผล  คุณธรรม  และจริยธรรมที่ดี
  6. มีโอกาสและเวลาที่จะเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการในช่วงเวลาว่าง
  7. มีจุดหมาย  และเป้าหมายในชีวิต
  8. มีมนุษยธรรมที่ดีต่อชุมชน  และมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน
  9. มีความคิดสร้างสรรค์และคิดในทางที่ดี
  10. มีอิสระแก่ตนเอง  และในสังคม

                จากองค์ประกอบเหล่านี้จะสามารถหาได้จากกิจกรรมนันทนาการซึ่งสามารถส่งเสริมปัจจัยเหล่านี้ได้มากทีเดียว  งานวิจัยสำรวจความคิดเห็นของคนอเมริกันที่เกี่ยวกับลำดับความสำคัญของกิจกรรมนันทนาการที่มีส่วนพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลและสังคม  โดยเสนอเป็นตัวเลขร้อยละว่า  (Kraus,  1984)

                1.  อิสรภาพบุคคล   และสังคม                                          71%

                2.  การมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องกับกลุ่ม                   63%

                3.  ความรัก  ความเข้าใจ                                                      61%

                4.  ความสัมฤทธิ์ผล                                                              59%

                5.  สุขภาพกาย  จิต                                                               58%

                6.  ส่งเสริม  การท้าทาย  เสี่ยง                                            56%

                7.  การยอมรับตนเองและผู้อื่น                                          54%

                8.  ส่งเสริมความปลอดภัย                                  51%

                9.  อำนวยความสะดวก                                                       50%

                10. ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์                                        50%

                11. ส่งเสริมสถานภาพ                                                       37%

                12. ส่งเสริมปมเด่น                                                              26%

                ดังนั้นนันทนาการจึงเป็นกระบวนการที่จะใช้กิจกรรมเวลาว่าง  หรือนันทนาการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต  ฉะนั้นลักษณะพฤติกรรมของนักเรียนที่จะเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ  (สมบัติ,  2540)

  1. 1.       พฤติกรรมพื้นฐานทางสังคม  (Social  behaviors) 

กิจกรรมนันทนาการหลายประเภทส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มการสร้างมนุษยสัมพันธ์ของชุมชน  เช่น  กิจกรรมเต้นรำ  งานปาร์ตี้  การเยี่ยมญาติ  และเพื่อนฝูง  เป็นต้น

  1. พฤติกรรมเกี่ยวข้องผูกพัน  (associative  behaviors)

กิจกรรมนันทนาการส่งเสริมผู้ที่มีส่วนร่วม  หรือสมาชิกกลุ่มให้ความผูกพัน  สนใจร่วมกันในชุมชน   เช่น  สโมสรผู้รักสัตว์  กลุ่มสะสมแสตมป์  งานอดิเรก  กลุ่มอนุรักษ์โบราณวัตถุ  ชมรมท่องเที่ยว  เป็นต้น

  1. 3.       พฤติกรรมเชิงแข่งขัน  (competitive  behaviors)

กิจกรรมที่ส่งเสริมสภาพการแข่งขัน  การประกวดหรือทดสอบความสามารถ  กิจกรรมท้าทายใฝ่สัมฤทธิ์ของมนุษย์  เช่น  เกมกีฬาเพื่อการแข่งขัน  การแสดงละคร  การประกวดความสามารถ  ศิลปะหัตกรรม  เป็นต้น

  1. 4.       พฤติกรรมเสี่ยงอันตรายท้าทายความสามารถ  (risk – talking  behaviors)

โดยธรรมชาติมนุษย์ต้องการกิจกรรมเสี่ยงอันตรายและท้าทายความสามารถ  หรือพิสูจน์

ความสามารถเพื่อความเป็นเลิศ  เช่นกิจกรรมกีฬาแข่งรถ  แข่งเรือ  กระโดดร่ม  เครื่องร่อนประเภทต่าง ๆ  ล่องแก่ง  กีฬาประดาน้ำ   กีฬาไต่เขา  เป็นต้น

  1. 5.       พฤติกรรมบุกเบิกค้นหา  (exploratory   behaviors)

กิจกรรมนันทนาการที่ส่งเสริมการบุกเบิกค้นหา  เช่น  การตั้งค่ายพักแรม  การเดินป่า  การไต่เขา  การสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติ   การผจญภัยใต้น้ำ  เป็นต้น

  1. 6.       พฤติกรรทดแทนหรือสร้างเสริม  (vicarious  behavitos)

กิจกรรมประเภทอ่าน  พูด  เขียน  ในวรรณกรรมช่วยเสริมสร้างความรู้สึก  และประสบการณ์

ทดแทนได้  รวมทั้งรายการโทรทัศน์   วีดีโอ  วิทยุ  การแสดงละคร  นาฎศิลป์    และศิลปกรรม  เป็ฯต้น

  1. 7.       สิ่งกระตุ้นทางประสาทสัมผัส  (sensory    stulation)

กิจกรรมนันทนาการสังคม  และนันทนาการพิเศษต่าง ๆ  ส่วนใหญ่จะส่งเสริมกิจกรรมสังสรรค์  เฉลิมฉลองความสุข   สนุกสนาน  เช่น  งานวันเกิด   การดูคอนเสิร์ต  เป็นต้น

  1. 8.       การแสดงออกทางร่างกาย  (physical   expression)

                กิจกรรมนันทนาการที่แสดงออกทางด้านร่างกาย  เช่น  เกมกีฬา  การเต้นรำ   กิจกรรมเข้าจังหวะ  

ระบำบัลเล่ต์  แจสแดนซ์  เป็นต้น

 

                กิจกรรมนันทนาการสำหรับนักเรียน

                                การจัดกิจกรรมนันทนาการเป็นกระบวนการที่ใช้กิจกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยเสริมสร้างประสบการณ์และปรับปรุงคุณภาพชีวิตของนักเรียน  ในช่วงเวลาว่างเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาอารมณ์สุขในทางที่พึงประสงค์ของสังคม  ดังนั้น  โรงเรียนควรจัดโครงการนันทนาการสำหรับนักเรียน  ดังนี้

  1. กีฬาสี  ส่งเสริมความรัก  และเข้าใจกีฬา
  2. มหกรรมส่งเสริมกีฬา  และสมรรถภาพ
  3. เทศกาลปีใหม่  คริสต์มาส   ตรุษจีน   สงกรานต์  ส่งเสริมความเข้าใจอันดีในด้านวิถีชีวิตวัฒนธรรม  ประเพณีของชุมชนและสังคม
  4. เทศกาลแห่งความรัก  วันครู  วันเด็ก  วันพ่อ  วันแม่  ส่งเสริมคุณธรรม
  5. วันอาสาพัฒนาชุมชน  เช่น  โรงเรียน  วัด  ส่งเสริม  คุณค่าการให้และการรับการบริการเพื่อ

                                        ตอบสนองเพื่อนมนุษย์

  1. นิทรรศการ  เทศกาลดนตรีประเภทต่าง ๆ  ทำให้เกิดการเรียนรู้และความซาบซึ้ง
  2. การประกวดศิลปะ  การฝีมือ  และการงานหัตถกรรมของนักเรียน  ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ที่ดี
  3. นันทนาการทางสังคม  เช่นงานแสดงของโรงเรียน  งานปิกนิก  การแสดงละคร  การเต้นรำ   ส่งเสริมมนุษยสัมพันธ์  และการเรียนรู้
  4. กิจกรรมกลางแจ้งและนอกเมือง  เช่น  การอยู่ค่ายพักแรม  กิจกรรมลูกเสือ  เนตรนารี  ยุวกาชาด   ซึ่งผสมผสานกิจกรรมอื่น  เช่น  เดินทางไกล  แคมป์ไฟ   ไต่เขา  ศึกษาธรรมชาติ  อนุรักษ์ธรรมชาติ  การศิลปะหัตกรรม  ดนตรี  ละคร  เต้นรำ  เป็นการสังคมในกลุ่มต่าง ๆ
  5. กิจกรรมทัศนศึกษา  และท่องเที่ยว  ช่วยส่งเสริมประสบการณ์ใหม่    การเรียนรู้ในชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน  ชนบท  ธรรมชาติ

 

 

บทสรุป

                                การจัดกิจกรรมนันทนาการสำหรับนักเรียนเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี  และเพื่อเป็นการสนองความต้องการของนักเรียน  ทำให้นักเรียนเกิดการพัฒนาทางด้านร่างกายและจิตใจ   ดังนั้นนักเรียนจะประสบความสำเร็จหรือมีความเจริญเติบโตได้มากน้อยหรือรวดเร็วต่างกันขึ้นอยู่ว่านักเรียนมีโอกาสร่วมกิจกรรมเวลาว่างให้เป็นประโยชน์   ดังนั้นโรงเรียนจะต้องจัดกิจกรรมนันทนาการให้ครบถ้วนเพื่อให้นักเรียนสามารถที่จะค้นพบสิ่งที่เขาต้องการ  และความถนัดตามธรรมชาติของตัวเขาเองได้เป็นอย่างดี  ทำให้เขาสามารถพัฒนาตนเองไปในทางที่เหมาะสม  และตรงตามที่สังคมต้องการ

 

 

 

บรรณานุกรม

จรวยพร   ธรณินทร์.  2533.  การแนะแนวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต.  เอกสารคำสอน.  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

สมบัติ  กาญจนกิจ.  2540.  นันทนาการชุมชนและโรงเรียน.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพมหานคร  :  คณะครุศาสตร์  

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุชาติ   ตรีทิพย์คุณ.  2541.  แนวทางแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา.  ม.ป.ท.  (เอกสารอัดสำเนา)

Howell,  R.  and  Howell,  M.  1987.  Foundation  of  Health.  Alberta,  Canada.

Kraus.R.G.  1984. Recreation  and  Leisure  in  Modern  Society.  3rd  ed.  Glenview,  III  :  Scorr,  Foreman  and 

Company.

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 322421เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2009 16:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 16:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีปีใหม่ค่ะ

                 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท