สุนทรียปรัศนี ที่โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก ตอนที่ ๓ แก้ปมในใจ


การแก้ปมในใจเด็ก

     บันทึกนี้ ขอบันทึกถึงเรื่องการแก้ปมในใจของเด็ก  จากการสุนทรียปรัศนีกับแม่นี  ที่โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก

 

 

     เนื่องจากนักเรียนจากโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก  เป็นเด็กที่มีปมในใจมาด้วยกันทั้งนั้น เพราะเป็นเด็กที่มาจากเด็กกำพร้า  เด็กยากจน เด็กที่ประสบปัญหาถูกกระทำทารุณ และ เด็กครอบครัวแตกแยก

 

 

      เมื่อพูดถึงการแก้ปมในใจเด็ก  "แม่นี" พูดมาอยู่คำหนึ่งครับ ที่ผมประทับใจ คือ คำว่า Self-esteem(คลิก)

 

 

     แม่นีบอกว่าจะแก้ปมในใจเด็ก ต้องแก้ด้วยการสร้างให้เด็กมี Self-esteem ผ่านกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดให้   ที่โรงเรียนจะมีหลักสูตร Self-esteem โดยเฉพาะ เพื่อแก้ปมในใจเด็ก

 

     การแก้ปมในใจ  ต้องวิเคราะห์ปมในใจเด็กก่อนว่า คือ อะไร มีสาเหตุมาจากอะไร  ส่วนใหญ่จะเกิดมาจากครอบครัว   เมื่อวิเคราะห์ได้แล้ว ก็ใช้กลไกทางจิตวิทยามาแก้   จะแก้อย่างไร จะไปอย่างไร  ต้องใช้กระบวนการทางจิตวิทยา

 

    การแก้ปมในใจด้วยการใช้กระบวนการทางจิตวิทยาในการสร้าง Self-esteem   ผ่านกิจกรรมต่างๆที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ตั้งแต่ให้เด็กได้แสดงออกโดยการสร้างผลงานต่างๆ ขึ้นมา แล้วให้การยอมรับ  รวมไปถึงเวทีประชาธิปไตย  ให้มีการยอมรับความคิดเห็นของเด็ก   ทำกิจกรรมพวกนี้บ่อยๆ เด็กก็จะค่อยๆรู้สึกว่าตัวเขาเองมีคุณค่า  Self-esteem ก็จะค่อยๆก่อตัวขึ้น

 

    แม่นีบอกว่า ต้อง "เปิดม่านแห่งความกลัว" ของเด็กออก ด้วย Self-esteem  เมื่อเปิดม่านแห่งความกลัวออกไปได้ เด็กก็จะกล้าพูด กล้าแสดงออก กล้าแสดงความรู้สึก

 

 

      แม่นี เสริมต่อไปว่า  เคยไปดูงานประชาธิปไตยของโรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่ง  พอเด็กพูด  ครูก็จะใช้คำถามที่ไม่ยอมรับการพูดของเด็ก  เด็กเหมือนถูก "แทงข้างหลัง"  พูดไประแวง ระวัง ไป   ต่อไป เด็กก็จะไม่กล้าพูด  เพราะรู้ว่าพูดก็จะถูกแทงข้างหลัง นั่นคือ ไม่ปลอดภัย จากการพูด

 

    ครับ  ผมเห็นด้วยกับแม่นีทุกประการครับ และ ที่ผมชอบมากๆ คือ  การเปิดม่านแห่งความกลัว ให้เด็กกล้าคิด กล้าพูด กล้าแสดงออก ด้วย Self-esteem

 

      ในวงการการศึกษาที่บ่นๆ กันมาว่าเด็กไทยวิเคราะห์ไม่เป็น   ผมว่าลึกๆแล้ว ก็มาจาก "ความไม่ปลอดภัยและความกลัว " ที่จะถูก "แทงข้างหลัง" นั่นเองครับ จะแก้ปัญหาให้เด็กคิดวิเคราะห์ ต้องแก้ด้วยการเปิดม่านแห่งความกลัวด้วย Self-esteem ครับ

คำสำคัญ (Tags): #ครูเพื่อศิษย์
หมายเลขบันทึก: 322294เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2009 08:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

เรียน ท่านอาจารย์ small man

  • จะเปิดม่านแห่งความกลัว คงต้องสร้าง Trust ก่อนกระมังครับ

สวัสดีค่ะ

เปิดม่านแห่งความกลัว... เพื่อนำไปสู่การสร้างเสริมSelf-esteem เป็นสิ่งจำเป็นมาก ๆ ค่ะ ก็เพราะเราไม่มีSelf-esteem เรากลัวการถูกแทงข้างหลัง เรากลัวอยู่ตลอดเวลา ความคิดสร้างสรรค์... จึงขาดแคลนในเด็กไทย

สู้เงียบ ๆ ไว้ดีกว่า ไม่ถูกตำหนิและ...ไม่ถูกแทงข้างหลัง...ด้วย

(^____^)

ตอนเป็นครูอาสาสมัครอยู่หมู่บ้านเด็ก ผมพบเด็กๆๆที่ถูกกระทำหลายคนมากๆๆ มีคนหนึ่งน่าสงสารถูกพ่อเลี้ยงทำร้าย จะกลัวคนแปลกหน้าทุกคน ใช้เวลานานมากกว่าจะหายเป็นปกติ ขอบคุณมากครับที่นำมาเล่า

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

อาตมาว่าเป็นทั้งสังคมเลยหรือเปล่า

สังเกตเด็กเวลาเพื่อนพูดอะไรมีสาระบ้างจะถูกโห่ ใจเสียเลย

ถูกกดไว้ด้วยความรู้สึกว่าต้องคิดคล้ายตนถ้าคิดต่างเมื่อไรโดนโห่แน่ จ๋อยละทีนี้

ผู้ใหญ่ก็ดุจกันใครพูดเข้าท่าดูดีก็ถูกมองว่าแกนี่ไม่น่าเป็นคนมีแก่นสารกับเขา กลายเป็นแสดงอะไรออกมาต่างตนจะโดนแน่

เหมือนไก่คอยจิกกันจนเลือดอาบโงหัวไม่ขึ้น อาจพากันเจ็บป่วยทั้งเข่งทั้งเล้า ทั้งสังคม

วิเคาระห์แบบชาวบ้านสังคมเราขาดมุทิตาชื่นชมยินดี ไม่ค่อยให้กำลังใจกัน อิจฉาขัดขวางกันละก็ชอบนักแล

ยาวเลยนะอาจารย์ไม่รู้เข้าประเด็นไหม

P อาจารย์ JJ ครับ

  ครับ    trust     เป็นพื้นฐานในการเปิดม่านแห่งความกลัวครับ

                      ขอบคุณมากครับ

Pคุณคนไม่มีรากครับ

  *   เราไม่มีSelf-esteem เรากลัวการถูกแทงข้างหลัง เรากลัวอยู่ตลอดเวลา ความคิดสร้างสรรค์... จึงขาดแคลนในเด็กไทย  (แก้การศึกษา คงต้องแก้ที่ตรงนี้นัครับ)

*    สู้เงียบ ๆ ไว้ดีกว่า ไม่ถูกตำหนิและ...ไม่ถูกแทงข้างหลัง...ด้วย  (คุณครูหลายๆท่านก็เป็นแบบนี้ ส่งผลมาถึงเด็กครับ)

       ขอบคุณมากครับที่เข้ามาเสริมเติมเต็ม

Pอาจารย์ขจิตครับ

   แนวคิดของ "แม่นี" เป็นประโยชน์ในวงการการศึกษามากครับ  ขอบคุณอาจารย์มากครับที่กรุณาแนะนำให้ผมรู้จัก

นมัสการพระมหาแลครับ

*  สังเกตเด็กเวลาเพื่อนพูดอะไรมีสาระบ้างจะถูกโห่ ใจเสียเลย (นี่แหละครับ ทำให้เด็กรู้สึกไม่ปลอดภัย เหมือนถูกแทงข้างหลัง)

*  ถูกกดไว้ด้วยความรู้สึกว่าต้องคิดคล้ายตนถ้าคิดต่างเมื่อไรโดนโห่แน่ จ๋อยละทีนี้ (นี่แหละครับ ทำให้เด็กไทยคิดไม่เป็น ไม่คิด)

*  ผู้ใหญ่ก็ดุจกันใครพูดเข้าท่าดูดีก็ถูกมองว่าแกนี่ไม่น่าเป็นคนมีแก่นสารกับเขา กลายเป็นแสดงอะไรออกมาต่างตนจะโดนแน่ ( สังคมไทยเจริญทางความคิดช้ากว่าเขา ก็เพราะดหตุนี้แหละครับ)

*    เหมือนไก่คอยจิกกันจนเลือดอาบโงหัวไม่ขึ้น อาจพากันเจ็บป่วยทั้งเข่งทั้งเล้า ทั้งสังคม  (สังคมไทยเหมือนไก่ในเข่งครับ)

*  วิเคาระห์แบบชาวบ้านสังคมเราขาดมุทิตาชื่นชมยินดี ไม่ค่อยให้กำลังใจกัน อิจฉาขัดขวางกันละก็ชอบนักแล  (สังคมไทยถนัด "จับผิด" มากกว่า "มุทิตา" ครับ)

*  ยาวเลยนะอาจารย์ไม่รู้เข้าประเด็นไหม (ตรงประเด็นชัดๆเลยครับ)

 

แก้ปมที่ใจของเด็ก ต้องอาศัยให้พ่อแม่มีส่วนร่วมในการแก้ค่ะ

ส่วนตัวคิดว่า ความรักและกำลังใจของพ่อแม่ บวกกับคำพูดดี

คุยกับลูกในทุกๆเรื่องที่ลูกสนใจ

  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • ความจริง ปัจจุบันเด็กหลายคน self esteem สูงนะคะ หากได้รับการสนับสนุน ได้รับความไว้วางใจ จะเสริมพลังให้เด็กอีกแน่นอนเลยค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

การสอนให้คนเราเห็นคุณค่าของตัวเอง หรือคุณค่าและความงามของการมีชีวิตอยู่..คือทักษะชีวิตชั้นเลิศที่มนุษย์พึงมีและได้รับจากคยรอบกาย...หรือแม้แต่การเรียนรู้ด้วยตนเอง

ขอบพระคุณครับ

ท่านเข้าใจความรู้สึกของเด็กได้ดี

บางทีอยู่ในสถานการณ์ที่สงสารเด็กจับใจ

แต่การเป็นแค่ครู ป.1 ช่วยอะไรไม่ได้เลย


 

Pคุณbeger0123ครับ

  พ่อแม่มีส่วนสำคัญมากๆๆๆเป็นอันดับแรกเลยครับ ในการสร้าง Self-esteem

  ด้วย ความรักและกำลังใจของพ่อแม่ บวกกับคำพูดดี  คุยกับลูกในทุกๆเรื่องที่ลูกสนใจ

                                       ขอบคุณครับ

Pป้าแดงครับ

self esteem

*  ได้รับการสนับสนุน

*  ได้รับความไว้วางใจ

           ขอบคุณมากครับ ที่เข้ามาเสริมเติมเต็ม

 

Pอาจารย์แผ่นดินครับ

*    การสอนให้คนเราเห็นคุณค่าของตัวเอง หรือคุณค่าและความงามของการมีชีวิตอยู่..คือทักษะชีวิตชั้นเลิศ

       ทักษะชีวิตชั้นเลิศ = Self esteem

                   ขอบคุณมากครับ

 

Pครู ป 1 ครับ

*   บางทีอยู่ในสถานการณ์ที่สงสารเด็กจับใจ

     ผมเองตอนเป็นผู้บริหารโรงเรียน  ก็เป็นครับ

                ขอบคุณมากครับ

 

Pคุณbeger01213ครับ

     วันพรุ่งนี้ สำนักงานผมจัดงานปีใหม่ในวันคริสต์มาสต์พอดีครับ

                         ขอบคุณครับ

การที่ให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นโดยไม่ไปสกัดกั้นเขา เราจะมองเห็นอะไรอีกมากมาย เด็กก็เป็นครูของเราอีกคนหนึ่ง ที่ทำให้เราเกิดการเรียนรู้ ขอบคุณสำหรับบันทึกดีๆ ค่ะ

สวัสดีปีใหม่ครับคุณsmall man

มาร่วมเรียนรู้ด้วยครับ

ผมติดตามงาน "สุนทรียปรัศนี"ของอ.หมออุทัยวรรณ (ผ่านทางลูกศิษย์คุณsmall manและคุณมนัญญา) กำลังนำไปสังเคราะห์ในงานวิจัยส่วนตัวเล็กๆครับผสมกับ "สุนทรียสาธก"คุณหมอโกมาตร และอ.ดร.ภิญโญจาก มข. ผสมแล้วจะเป็นตัวอะไรก็ไม่รู้หรืออาจจะเป็น"สุนทรียปรัศนาสาธก" (ฮาๆๆๆ)อะไรทำนองนี้ครับ

ขอบคุณครับสวัสดีปีใหม่ครับคุณsmall man

คุณไม่แสดงตนครับ(ความจริงเขียนชื่อมาอีกบันทึกหนึ่ง พอดีผมเผลอลบไปต้องขออภัย)

ขอบคุณมากครับที่เข้ามาเสริมเติมเต็ม

Pคุณสุเทพครับ

  ขอบคุณมากครับ  ที่ได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เรื่อง สุนทรีย.......ต่างๆ

  ต่อไปคงได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเพิ่มมากขึ้นนะครับ

              ขอบคุณครับ

 

ขอบคุณ คุณsmallmanครับ

หากทราบว่ามีใครที่สนใจAI และมีบันทึกไว้

บอกเป็นลายแทงด้วยครับ

กำลังสนใจติดตามเรียนรู้ครับ

Pคุณสุเทพครับ

   ของ อ.โย   คุณสุเทพลองติดตามดูนะครับ

                     ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท