kaizen


การนำหลักการ kaizenไปใช้

การประยุกต์ใช้ไคเซนกับการปรับปรุงลักษณะนิสัยประหยัด

น้ำของนักเรียน

วัตถุประสงค์

การประยุกต์ใช้ไคเซน กับการปรับปรุงลักษณะนิสัยประหยัดน้ำของนักเรียน

โรงเรียนบ้านคำบอนมีวัตถุประสงค์ดังนี้

1.เพื่อสร้างจิตสำนึกในการปรับปรุงการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอให้แก่คณะครูและนักเรียน

2.เพื่อเสริมสร้างกระบวนการปฏิบัติงานใด ๆ ที่เป็นอยู่ในโรงเรียน ไม่ว่างานนั้น ๆ จะเป็นงานเล็ก หรืองานใหญ่ที่จะนำโรงเรียนไปสู่ความสำเร็จที่มุ่งหวัง

                3.เพื่อประกันคุณภาพการจัดการศึกษา

 

  1. 1.              สภาพปัญหา

ปัจจุบันน้ำมีความจำเป็นมากต่อการดำรงชีวิต ทั้งความเป็นอยู่และการทำงาน ผู้จัดทำมีความคิดที่ต้องการจะประยุกต์ใช้ไคเซน กับการปรับปรุงลักษณะนิสัยประหยัดน้ำของนักเรียนโรงเรียนบ้านคำบอน การสูญเสียเล็กๆน้อยๆ ทำให้เกิดการสะสม และกลายเป็นเรื่องที่ต้องสูญเสีย อย่างมากมาย การใช้น้ำของนักเรียนก็เป็นปัญหาหนึ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างยิ่ง นักเรียนบางคนใช้น้ำอย่างไม่เห็นคุณค่าเปิดน้ำแรงๆเวลาล้างมือก็ทำให้สูญเสียน้ำเกินความจำเป็น จึงควรมีการปรับปรุงเรื่องการใช้น้ำของนักเรียนใหม่เพื่อให้รู้จักการใช้น้ำอย่างประหยัด และคุ้มค่าที่สุด

 

 

  1. 2.              วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากวิธีการที่ไร้ประโยชน์

นัก เรียนต้องเป็นคนชอบสังเกต และเมื่อพบว่ามีความสูญเสียเกิดขึ้นต้องตระหนัก ทันทีว่ามีปัญหาเกิดขึ้นแล้ว ไม่ใช่ว่าเป็นเรื่องของส่วนรวมจึงไม่คิดแก้ไข เพราะทำให้สิ้นเปลืองน้ำอย่างไร้ประโยชน์ รวมทั้งทางโรงเรียนต้องเสียค่าน้ำประปามากขึ้นในแต่ละเดือน

  1. ข้อเสนอที่จะให้มีการปรับปรุงวิธีการใหม่
    ผู้จัดทำจึงนำ Kaizen มาใช้นักเรียนโดยให้นักเรียนหาจุดที่ควรปรับปรุงจากการสังเกตสิ่งที่มีความสูญเสีย ด้วยตาเปล่า แล้วนำมาตั้งคำถามโดยใช้เทคนิค 5W/1H และ Why-why แต่ในระดับนี้เราจะมาเรียนการหาจุดที่ควรปรับปรุงที่เกี่ยวกับขั้นตอนการทำ งาน เช่น การเปิดน้ำใช้ของนักเรียนจากก๊อกน้ำ

 

วิเคราะห์ขั้นตอนการเปิดน้ำใช้ของนักเรียนจากก๊อกน้ำในหนึ่งสัปดาห์       

ก๊อกน้ำให้บริการนักเรียนสำหรับอุปโภคบริโภค จำนวน  15 ตัว                                                                                    

ระดับชั้น

จำนวนครั้งที่ใช้น้ำเกินความจำเป็น

รวม

วันจันทร์

อังคาร

พุธ

พฤหัสบดี

ศุกร์

อนุบาล 1

2

4

2

4

3

15

อนุบาล 2

3

1

3

2

4

13

ป.1

1

2

2

2

2

9

ป.2

1

2

1

4

2

10

ป.3

3

2

3

2

1

11

ป.4

1

3

1

1

2

8

ป.5

1

2

-

1

1

5

ป.6

1

2

1

1

2

4

 

75

จำนวนครั้งที่ใช้น้ำเกินความจำเป็นมีทั้งสิ้น 75 ครั้ง

จุดประสงค์ในการวิเคราะห์ขั้นตอน คือ การค้นหาสาเหตุที่ทำให้นักเรียนต้องใช้น้ำเกินความจำเป็น นั่นหมายความว่าสูญเสียน้ำอย่างไร้ประโยชน์

 

4. ปรึกษาหาวิธีการแก้ไข

นักเรียนทุกคนต้องช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิด ตระหนักถึงความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับโรงเรียน ในการแก้ไขปัญหานี้ผู้จัดทำให้นักเรียนแต่ละชั้น คิดค้นวิธีแก้ไขปัญหาเขียนส่งครูประจำชั้น แล้วนำมารวมกันในคาบกิจกรรมวันศุกร์ และให้ครูประจำชั้นร่วมเป็นที่ปรึกษา และคัดเลือกความคิดเห็นที่ดีที่สุดมาเพื่อนำไปสร้างนวัตกรรม

5. วิธีแก้ไขและสร้างนวัตกรรม

วิธีแก้ไขที่สรุปได้ตามความคิดเห็นของนักเรียนมีดังนี้                                                                             1. แต่ละชั้นปรึกษาหารือเรื่องการใช้น้ำอย่างประหยัด

 2.เขียนป้ายรณรงค์เรื่องการใช้น้ำอย่างประหยัดติดให้เห็นได้ชัดใกล้ก๊อกน้ำ

3. มอบหมายให้หัวหน้าห้องแต่ละห้องคอยสังเกต และเตือนคนที่ใช้น้ำไม่ถูกต้อง

 

6.ขั้นปฏิบัติการ

นักเรียนที่ได้รับมอบหมาย ให้คอยสังเกตการณ์ใช้น้ำที่บริเวณใกล้ก๊อกน้ำ และคอยตักเตือน

 

7.ตรวจสอบผลการปฏิบัติ

เมื่อได้ข้อสรุปและลงมือสร้างนวัตกรรมแล้วลงมือปฏิบัติ แต่งตั้งผู้สังเกตการณ์แต่ละชั้นเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ผลการปฏิบัติมีดังนี้

ระดับชั้น

จำนวนครั้งที่เปิดสวิตช์ผิด

รวม

วันจันทร์

อังคาร

พุธ

พฤหัสบดี

ศุกร์

อนุบาล 1

1

-

-

1

-

2

อนุบาล 2

-

1

2

-

-

3

ป.1

-

-

-

1

1

2

ป.2

1

-

-

-

-

1

ป.3

-

-

-

1

-

1

ป.4

-

-

1

-

-

1

ป.5

-

-

-

-

-

0

ป.6

-

-

-

-

-

0

 

10

จำนวนครั้งที่ใช้น้ำเกินความจำเป็นมีทั้งสิ้น 10 ครั้ง

จากการตรวจสอบผลการปฏิบัติ คณะครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลใน คาบกิจกรรมวันศุกร์ พบว่าเป็นกิจกรรมที่ดี น่าส่งเสริมให้ยึดถือถือปฏิบัติต่อไป  และครูเน้นให้นักเรียนนำกิจกรรมนี้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ให้ยึดถือเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของโรงเรียนบ้านคำบอน จากการดำเนินงาน ตลอด 1 เดือนพบว่าค่าน้ำของโรงเรียนลดลงร้อยละ 30 ซึ่งถือว่าเป็นที่น่าพอใจของคณะครูและนักเรียนที่ช่วยกัน นำกระบวนการ kaizen ประยุกต์ในโรงเรียน

                8. การปลูกฝังความตระหนักในการปรับปรุงและพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ดีทางโรงเรียนจึงปลูกฝังความรู้จักประหยัดน้ำให้กับนักเรียนให้กับนักเรียน ให้คิดว่าโรงเรียนเป็นเหมือนบ้าน และจะนำ กระบวนkaizen งานของโรงเรียนด้านอื่นๆอีกด้วย บางครั้งปัญหาไม่ได้หมดไปอย่างสิ้นเชิง นักเรียนต้องสังเกตและคิดอีกว่าจะมีความคิดอะไรอีกที่จะช่วยทำให้ปัญหา นั้นหมดไปได้ หรือบางครั้งปัญหานั้นหมดไป นักเรียนต้องคิดอีกว่าจะมีวิธีใดที่จะป้องกันไม่ให้ปัญหานั้นเกิดขึ้นมาอีก มนุษย์ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีปัญญา   เราควรใช้ปัญญานี้มาพัฒนาให้สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวของเราดีขึ้น เมื่อทุกคนมีความคิดที่อยากจะปรับปรุงการทำงานให้ดีอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าการปรับปรุงในเรื่องนั้นจะเป็นสิ่งเล็กๆน้อยๆก็ตาม แต่ถ้านำมารวมกันก็จะทำให้เกิดประสิทธิผลที่ยิ่งใหญ่ นำไปสู่การพัฒนาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรื่อง และมีการพัฒนาแบบยั่งยืน

คำสำคัญ (Tags): #kaizen
หมายเลขบันทึก: 321436เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2009 13:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ครูอ้อยขออนุญาตนำเข้าห้องสมุดของครูอ้อยแล้วนะคะ

เป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์มาก

ขอบคุณมากครับที่นำสิ่งดีๆมาฝาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท