จะก้าวสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ อย่างไร?


จะก้าวสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ อย่างไร?

จะก้าวสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ อย่างไร?

 

                การสร้างขีดความสามารถในการเรียนรู้องค์การนั้น แม้จะดูเหมือนกับว่าต้องมีการนำความคิดใหม่ ๆ ที่ยุ่งยากซับซ้อนเข้ามาเผยแพร่ให้ทุกคนในองค์การเข้าใจและยอมรับ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว การทำให้องค์การเรียนรู้นั้นสามารถใช้เทคนิควิธีการปฏิบัติงาน และเทคนิคการปรับปรุงการบริหารต่าง ๆ ที่องค์การเคย หรือกำลังปฏิบัติอยู่แล้วก็ได้ เช่น การจัดการเชิงกลยุทธ์ การปรับโครงสร้างองค์การ หรือกิจกรรมการเพิ่มผลผลิต เพียงแต่พยายามทำให้คนในองค์การเห็นว่า ทุกสิ่งที่เขาทำอยู่แล้วนั้นล้วนเป็นการเรียนรู้ทั้งสิ้น เขาจะต้องเห็นถึงกระบวนการในการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น และสามารถเก็บเกี่ยวความรู้จากประสบการณ์นั้น ๆ ไว้เป็นสินทรัพย์ทางปัญญา  ที่สามารถเก็บสะสมไว้สำหรับเลือกนำมาใช้ในอนาคต หรือจะเลือกนำมาแบ่งปันให้แก่คนอื่น ๆ ตามกระบวนการเรียนรู้ของทีมก็ได้ ซึ่งจะช่วยให้เพื่อนร่วมงานที่ต้องปฏิบัติงานร่วมกันได้มีความรู้ความเข้าใจในระดับใกล้เคียงกัน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานให้ทุก ๆ คนในองค์การได้ร่วมกันบุกเบิก เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อความเจริญก้าวหน้าต่อไปอีก การสร้างความมั่นใจในความสำเร็จที่นำหน้าความล้มเหลว ความตระหนักเช่นนี้ ทำให้ไม่ประมาท “องค์กรแห่งการเรียนรู้” ก็คือศาสตร์ที่จะช่วยให้องค์การประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน  เนื่องจากจะทำให้องค์การสามารถยืนและปรับตัวเผชิญสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ในมุมมองผู้เขียนที่ทำงานด้านเทคโนโลยีและได้ศึกษาติดตามเกี่ยวกับ นวัตกรรมและองค์การ มาตลอดจะเห็นว่าองค์การรูปแบบใหม่จะต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจสังคมที่มีข้อ กำหนดจากประชาคมโลกและการแข่งขันมีมากขึ้น มาตรฐานด้านคุณภาพเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การทุกระดับจะต้องเกิดขึ้น เพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน เราจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการ เรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะการทำงานของบุคคลและใช้ทุกสิ่งจากการทำงานเป็นฐานความรู้ที่สำคัญประกอบกับใช้กลยุทธ์การแสวงหาความรู้การแบ่งปันความรู้ การสร้างองค์ความรู้ และการใช้ความรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง Michael Beck (1992) อธิบายว่า “องค์การเอื้อการเรียนรู้ คือ องค์การที่เอื้ออำนวยการเรียนรู้ และพัฒนาบุคลากรทุกคน ขณะเดียวกันก็มีการปฏิรูปองค์การอย่างต่อเนื่อง” การจัดการความรู้นั้น เริ่มแรกคงต้องสร้างให้บรรยากาศขององค์กรหรือหน่วยงานให้มีมุมมอง หรือทิศทางเดียวกันก่อน โดยการสร้างภาคีหรือกัลยาณมิตรให้เกิดในองค์กร ว่าวันนี้เราจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนองค์กร เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ให้กับทุกคนโดยองค์การต้องให้ความรู้ ความเข้าใจกับบุคลากรทุกระดับ ด้วยการสื่อความเข้าใจในทุกรูปแบบ ถึงกระบวนการต่าง  

                 ความไม่สำเร็จในกระบวนการสร้างวิสัยทัศน์อาจเกิดได้จาก 4 สาเหตุคือ

ความเห็นไม่สอดคล้อง มีความเห็นที่แตกต่างออกไปมากขึ้นเรื่อย ๆ    

ถอดใจ  เพราะเห็นว่าช่องว่างระหว่างวิสัยทัศน์กับความเป็นจริงห่างกันเหลือเกิน  หมดแรง   เพราะสภาพความเป็นจริงก่อปัญหาหรือมีภาระงานให้ต้องดำเนินการมากจนหมดแรง  ขาดกระบวนการกลุ่ม  ทำให้คนบางคนหรือบางกลุ่มเปลี่ยนใจหรือไม่เอาด้วย

                องค์การ คือเครื่องมือทางสังคมที่ใช้สำหรับช่วยให้มนุษย์สามารถนำศักยภาพที่มีอยู่ในตัวของแต่ละคนออกมาใช้ร่วมกันอย่างมีคุณค่า และยังสามารถเรียนรู้เพื่อเพิ่มเติมศักยภาพให้สูงขึ้นไปอีกด้วย  ดังนั้นองค์การที่เรียนรู้จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเสริมคุณค่าที่แท้จริงของความเป็นมนุษย์ให้แก่คนที่เป็นสมาชิกขององค์การ   

                 ในการจัดการองค์ความรู้  ควรจัดให้เป็นหมวดหมู่และเหมาะแก่บุคลากรแต่ละกลุ่มในการใช้องค์ความรู้ เพื่อเสริมสร้างการปฏิบัติงานในส่วนงานประจำให้มีประสิทธิภาพและเสริมสร้างปัญญาในส่วนที่สนใจเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กรและบุคลากร ซึ่งองค์กรควรกำหนดมาตรฐานในการเรียนรู้สำหรับบุคลากรแต่ละกลุ่ม เช่นระดับผู้ปฏิบัติงานควรเรียนรู้เรื่องใดบ้าง ระดับหัวหน้าภาค/หัวหน้าฝ่าย หรือ คณบดี/ผู้อำนวยการสำนัก/ผู้อำนวยการสถาบัน หรือรองอธิการบดี ควรรู้เรื่องใดบ้าง ซึ่งจะทำให้บุคลากรมีความรู้เกี่ยวการดำเนินงานในแต่ละกลุ่มและเมื่อเกิดปัญหาในการปฏิบัติ ก็สามารถเรียกขึ้นมาดูเพื่อแก้ปัญหาได้ สิ่งที่ไม่ไกลเกินตัวถ้าแต่ละหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นคณะ/สำนัก/สถาบัน สร้างฐานความรู้ในสิ่งที่ตนเองมีความรู้ความเชี่ยวชาญโดยในเบื้องต้นอาจจะรวบรวมความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ในหน่วย งานให้เป็นฐานความรู้ในระบบดิจิตอล และรวบรวมแหล่งความรู้จากเวปต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นแหล่งความรู้สำหรับบุคลากร หรือ ประชาชน สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งอาจจะเป็นบนเครือข่ายอินเทอร์ก็ได้

 

 

หมายเลขบันทึก: 321432เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2009 12:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณค่ะ เขียนได้ดีค่ะ จะติดตามอ่านต่อไปนะคะ

สวัสดีคะ

อยากเรียนถามว่า แล้วจะเริ่มต้นอย่างไรดีค่ะ

เป็นกำลังใจให้อาจารย์ครับ

อาจารย์เป็น อาจารย์สารพัดช่างอุดรเหรอครับ

ผมก็เคยเข้าเรียน ระยะสั้นที่นั่นครับ

ตอนนี้ก็เป็นที่ปรึกษาธุรกิจ ศึกษาด้าน องค์กรแห่งการเรียนรู้ เช่นกันครับ

ทำงานหลัก อยู่อุดร ขายอะไหล่รถกระบะที่อุดร ครับ

ติดต่อผมได้ที่ ม่อน 081-965-4832

ALMON : Mr. จับถูก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท