กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์


มารู้เรื่องกฎหมายที่น่าสนใจเกี่ยวกับสหกรณ์กันดีกว่า

พระราชบัญญัติสหกรณ์

พ.ศ. ๒๕๔๒


ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๒
เป็นปีที่ ๕๔ ในรัชกาลปัจจุบัน


  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ประกาศว่า          โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์        พระราชบัญญัติมีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙   ประกอบกับตามมาตรา ๓๕ และมาตรา ๔๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้   โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย          มาตรา ๑  พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒"          มาตรา ๒  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป          มาตรา ๓  ให้ยกเลิก        (๑) พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.๒๕๑๑        (๒) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๔๐ ลงวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๕        (๓) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔๗ ลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๕        (๔) พระราชบัญญัติสหกรณ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๒๔          มาตรา ๔  ในพระราชบัญญัตินี้        "สหกรณ์" หมายความว่า คณะบุคคลซึ่งร่วมกันดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม   โดยช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้        "สมาชิก" หมายความว่า สมาชิกของสหกรณ์ หรือสมาชิกกลุ่มเกษตรกร        "พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้        "รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้          มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มี   อำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้        กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้        

หมวด ๑
บททั่วไป

  

        มาตรา ๖ ถ้าสหกรณ์เกี่ยวข้องในกิจการใดที่กฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนสำหรับการได้มา   การจำหน่าย การยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ หรือการยึดหน่วงซึ่งกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิ   อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ การจดทะเบียนเช่นว่านั้น ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม          มาตรา ๗ ห้ามมิให้ผู้ใดนอกจากสหกรณ์และสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ใช้คำว่า   "สหกรณ์" เป็นชื่อหรือส่วนหนึ่งของชื่อในทางธุรกิจ          มาตรา ๘ ทุนกลางของบรรดาสหกรณ์ไม่จำกัดตามมาตรา ๖๑(๒) แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์   พ.ศ.๒๕๑๑ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดการฝากไว้ที่ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย จำกัด   (มหาชน) หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือฝากไว้ที่สถาบันการเงินอื่นใด   โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ หรือลงทุนตามระเบียบที่กระทรวง   เกษตรและสหกรณ์กำหนด        ดอกผลที่เกิดขึ้นจากทุนกลางให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีอำนาจจ่ายขาดให้แก่สันนิบาตสหกรณ์   แห่งประเทศไทย เพื่อใช้จ่ายในกิจการตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๑๐        

หมวด ๒
การกำกับและส่งเสริมสหกรณ์

  

          ส่วนที่ ๑        คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ          มาตรา ๙ ให้มีคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ ประกอบด้วย รัฐมนตรี เป็นประธาน   กรรมการ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นรองประธานกรรมการ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจ   การเกษตร อธิบดีกรมการค้าภายใน อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร    อธิบดีกรมประมง อธิบดีกรมปศุสัตว์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ   ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ   และสังคมแห่งชาติ ผู้แทนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ผู้แทนสันนิบาตสหกรณ์   แห่งประเทศไทย ประธานกรรมการดำเนินการชุมนุมสหกรณ์ระดับประเทศประเภทละหนึ่งคน   ประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับประเทศหนึ่งคนเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง   และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งไม่เกินห้าคนเป็นกรรมการ        ให้อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการสันนิบาตสหกรณ์   แห่งประเทศไทย เป็นผู้ช่วยเลขานุการ        ผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติซึ่งเป็นกรรมการ   โดยตำแหน่ง คัดเลือกผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเป็นที่ประจักษ์ด้านการบริหารสหกรณ์           มาตรา ๑๐ คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้        (๑) เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในเรื่องนโยบายและแนวทางในการพัฒนาการสหกรณ์   ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ        (๒) กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาการสหกรณ์ ให้สอดคล้องกับระยะเวลาของแผนพัฒนา   เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ        (๓) กำหนดแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการขยายธุรกิจและกิจการของสหกรณ์   รวมทั้งการร่วมมือกับภาคเอกชนให้มีส่วนในการพัฒนาการสหกรณ์        (๔) กำหนดแนวทางในการประสานงานระหว่างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือภาคเอกชน   เพื่อให้การส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสหกรณ์        (๕) พิจารณาแก้ไขปัญหาและอุปสรรคตลอดจนข้อขัดข้องที่ทำให้นโยบายและแผนการพัฒนา   การสหกรณ์ไม่อาจบรรลุเป้าหมาย        (๖) พิจารณาเรื่องอื่นใดที่เกี่ยวกับสหกรณ์ตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย        (๗) มีอำนาจและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้          มาตรา ๑๑ ให้กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี       ในกรณีมีการแต่งตั้งกรรมการในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง   ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งเพิ่มขึ้นหรือแต่งตั้งซ่อม ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลือ   อยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้วนั้น          มาตรา ๑๒ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๑ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ   พ้นจากตำแหน่งเมื่อ        (๑) ตาย        (๒) ลาออก        (๓) รัฐมนตรีให้ออก        (๔) เป็นบุคคลล้มละลาย        (๕) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ        (๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำ   โดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ          มาตรา ๑๓ การประชุมคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ ต้องมีกรรมการมาประชุม   ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม        ในการประชุมครั้งใดถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธาน   กรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ในกรณีที่ประธานกรรมการ และรองประธานกรรมการไม่มาประชุม   หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม        การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน   ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด        ในกรณีที่ประธานออกเสียงชี้ขาด ต้องให้มีบันทึกเหตุผลทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย          มาตรา ๑๔ คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือ   ปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติมอบหมายได้        การประชุมของคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งให้นำมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม            ส่วนที่ ๒        นายทะเบียนสหกรณ์          มาตรา ๑๕ ให้ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นนายทะเบียนสหกรณ์        ให้นายทะเบียนสหกรณ์แต่งตั้งข้าราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีตำแหน่ง   ไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าเป็นรองนายทะเบียนสหกรณ์ มีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้   ในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่นายทะเบียนสหกรณ์มอบหมาย        การแต่งตั้งตามวรรคสองให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา          มาตรา ๑๖ ให้นายทะเบียนสหกรณ์มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้        (๑) รับจดทะเบียน ส่งเสริม ช่วยเหลือ แนะนำ และกำกับดูแลสหกรณ์ให้เป็นไปตาม   บทแห่งพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น        (๒) กำหนดระบบบัญชีและมาตรฐานการสอบบัญชีตลอดจนสมุดและแบบรายงานต่าง ๆ   ที่สหกรณ์ต้องยื่นต่อนายทะเบียนสหกรณ์ รวมทั้งแบบพิมพ์อื่น ๆ ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้        (๓) แต่งตั้งผู้สอบบัญชี ผู้ตรวจการสหกรณ์ และผู้ชำระบัญชี        (๔) ออกคำสั่งให้มีการตรวจสอบ หรือไต่สวนเกี่ยวกับการจัดตั้งการดำเนินงาน หรือฐานะ   การเงินของสหกรณ์        (๕) สั่งให้ระงับการดำเนินงานทั้งหมด หรือบางส่วนของสหกรณ์ หรือให้เลิกสหกรณ์ ถ้าเห็นว่า   สหกรณ์กระทำการ หรืองดเว้นกระทำการอันอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่สหกรณ์หรือสมาชิก        (๖) ถอนชื่อสหกรณ์ออกจากทะเบียนสหกรณ์        (๗) จัดทำรายงานประจำปีแยกตามประเภทสหกรณ์เสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์   แห่งชาติ        (๘) ออกระเบียบ หรือคำสั่ง เพื่อให้มีการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ และเพื่อประโยชน์   ในการดำเนินกิจการของสหกรณ์        (๙) กระทำการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนสหกรณ์   หรือตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย        บรรดาอำนาจของนายทะเบียนสหกรณ์ในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติหรือการดำเนินการ   อื่นใดตามพระราชบัญญัตินี้ นายทะเบียนสหกรณ์อาจมอบอำนาจให้รองนายทะเบียนสหกรณ์ ผู้ตรวจการสหกรณ์   หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งนายทะเบียนสหกรณ์มอบหมายให้ปฏิบัติการแทนได้        การมอบอำนาจตามวรรคสองให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา            ส่วนที่ ๓        การกำกับดูแลสหกรณ์          มาตรา ๑๗ นายทะเบียนสหกรณ์ รองนายทะเบียนสหกรณ์ ผู้ตรวจการสหกรณ์ ผู้สอบบัญชี   หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งนายทะเบียนสหกรณ์มอบหมาย มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้คณะกรรมการ   ดำเนินการสหกรณ์ ผู้ตรวจสอบกิจการ ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่หรือเชิญสมาชิกของสหกรณ์มาชี้แจงข้อเท็จจริง   เกี่ยวกับกิจการของสหกรณ์ หรือให้ส่งเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินงาน หรือรายงานการประชุมของ   สหกรณ์ได้          มาตรา ๑๘ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนสหกรณ์ รองนายทะเบียนสหกรณ์   ผู้ตรวจการสหกรณ์ ผู้สอบบัญชี หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งนายทะเบียนสหกรณ์มอบหมาย มีอำนาจเข้าไป   ตรวจสอบในสำนักงานของสหกรณ์ในระหว่างเวลาทำงานของสหกรณ์ได้ และให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอำนวย   ความสะดวกหรือช่วยเหลือ หรือให้คำชี้แจงแก่ผู้ปฏิบัติการตามสมควร        ให้ผู้ปฏิบัติการตามวรรคหนึ่ง แสดงบัตรประจำตัวต่อผู้ซึ่งเกี่ยวข้อง        บัตรประจำตัวตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนด          มาตรา ๑๙ ให้ผู้ตรวจการสหกรณ์มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบกิจการและฐานะการเงินของสหกรณ์   ตามที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด เมื่อตรวจสอบแล้วให้เสนอรายงานการตรวจสอบต่อนายทะเบียนสหกรณ์          มาตรา ๒๐ ถ้าที่ประชุมใหญ่หรือที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ลงมติอันเป็นการ   ฝ่าฝืนกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบของสหกรณ์ ระเบียบหรือคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์ ให้   นายทะเบียนสหกรณ์หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์มีอำนาจสั่งยับยั้งหรือเพิกถอนมตินั้นได้               มาตรา ๒๑ ในกรณีที่กรรมการ ผู้จัดการ หรือเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ทำให้สหกรณ์เสียหาย   ถ้าสหกรณ์ไม่ร้องทุกข์หรือฟ้องคดี ให้นายทะเบียนสหกรณ์หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์ร้องทุกข์หรือ   ฟ้องคดีแทนสหกรณ์ได้ และให้พนักงานอัยการรับว่าต่างให้สหกรณ์ โดยให้สหกรณ์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย   ที่เกี่ยวกับการร้องทุกข์ ฟ้องคดีหรือการว่าต่างแก่นายทะเบียนสหกรณ์ รองนายทะเบียนสหกรณ์   หรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี          มาตรา ๒๒ ในกรณีที่คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์กระทำการ หรืองดเว้นกระทำการ   ในการปฏิบัติหน้าที่ของตน จนทำให้เสื่อมเสียผลประโยชน์ของสหกรณ์หรือสมาชิก หรือสหกรณ์มี   ข้อบกพร่องเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี หรือกิจการหรือฐานะการเงิน ตามรายงานการสอบบัญชี   หรือตามรายงานการตรวจสอบ ให้นายทะเบียนสหกรณ์มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ปฏิบัติการ   ดังต่อไปนี้        (๑) ให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์แก้ไขข้อบกพร่องตามวิธีการและระยะเวลาที่   นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด        (๒) ให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ระงับการปฏิบัติบางส่วนที่เป็นเหตุให้เกิดข้อ   บกพร่องหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์ของสหกรณ์หรือสมาชิก        (๓) ให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์หยุดปฏิบัติหน้าที่เป็นการชั่วคราว เพื่อแก้ไข   ข้อบกพร่องนั้นให้แล้วเสร็จตามวิธีการและภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด        (๔) ให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ หรือให้กรรมการซึ่งเกี่ยวข้อง   กับการนั้นพ้นจากตำแหน่งกรรมการ           มาตรา ๒๓ สหกรณ์ใดจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นยังไม่เกินสามปีหรือมีผลการดำเนินงานขาดทุน   ติดต่อกันเกินสองปี เมื่อสหกรณ์ร้องขอ หรือนายทะเบียนสหกรณ์ หรือคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์   แห่งชาติเห็นว่าจำเป็นต้องแก้ไข นายทะเบียนสหกรณ์จะสั่งให้ผู้ตรวจการสหกรณ์หรือพนักงาน   เจ้าหน้าที่ซึ่งนายทะเบียนสหกรณ์มอบหมายเข้าช่วยเหลือดำเนินกิจการของสหกรณ์นั้นทั้งหมด   หรือบางส่วนก็ได้        การช่วยเหลือดำเนินกิจการของสหกรณ์ให้เป็นไปตามระเบียบที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด   โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ               มาตรา ๒๔ ในกรณีที่นายทะเบียนสหกรณ์สั่งให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์พ้นจาก   ตำแหน่งทั้งคณะ ให้นายทะเบียนสหกรณ์ตั้งคณะกรรมการชั่วคราว มีอำนาจหน้าที่และสิทธิเช่น   เดียวกับคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ และให้อยู่ในตำแหน่งไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน   นับแต่วันที่แต่งตั้ง        ก่อนที่จะพ้นจากตำแหน่งให้คณะกรรมการชั่วคราวจัดให้มีการประชุมใหญ่ เพื่อเลือกตั้ง   กรรมการขึ้นใหม่ทั้งคณะตามวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับ           มาตรา ๒๕ ในกรณีที่นายทะเบียนสหกรณ์สั่งให้กรรมการบางคนพ้นจากตำแหน่ง ให้คณะกรรมการ   ส่วนที่เหลือเรียกประชุมใหญ่เลือกตั้งผู้เป็นกรรมการแทนภายในเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่กรรมการ   พ้นจากตำแหน่ง ถ้ามิได้เลือกตั้งหรือเลือกตั้งผู้เป็นกรรมการไม่ได้ตามกำหนดเวลาให้นายทะเบียนสหกรณ์   ตั้งสมาชิกเป็นกรรมการแทนในการนี้ให้ผู้ซึ่งได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งกรรกมารเท่ากับ   วาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน          มาตรา ๒๖ คำสั่งใด ๆ ตามมาตรา ๒๐ มาตรา ๒๒ มาตรา ๒๔ และมาตรา ๒๕ ให้ผู้มีส่วน   ได้เสียอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง        คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติให้เป็นที่สุด            ส่วนที่ ๔        กองทุนพัฒนาสหกรณ์          มาตรา ๒๗  ให้จัดตั้งกองทุนพัฒนาสหกรณ์ขึ้นในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรียกโดยย่อว่า   "กพส." เพื่อเป็นทุนส่งเสริมกิจการของสหกรณ์ ประกอบด้วยเงินและทรัพย์สินตามมาตรา ๒๘          มาตรา ๒๘ กพส. ประกอบด้วย        (๑) เงินอุดหนุนที่ได้รับจากงบประมาณแผ่นดิน        (๒) เงินและทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้        (๓) เงินและทรัพย์สินที่ตกเป็นของ กพส.        (๔) เงินที่ได้จากการจำหน่ายทรัพย์สินที่ได้รับมาตาม (๒) และ (๓)        (๕) ดอกผล รายได้ หรือประโยชน์อื่นใดของ กพส.        เงินและทรัพย์สินของ กพส. ตามวรรคหนึ่งให้นำส่งเข้าบัญชี กพส. โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน          มาตรา ๒๙ การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การจัดหาผลประโยชน์ การจัดการ   และการจำหน่ายทรัพย์สินของ กพส. ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของ   คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ         มาตรา ๓๐ ให้มีคณะกรรมการบริหาร กพส. ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์   เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร   อธิบดีกรมประมง อธิบดีกรมปศุสัตว์ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้แทนสำนักงบประมาณเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง   กรรมการอื่นซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้แทนของสหกรณ์ประเภทละหนึ่งคนและผู้แทนกลุ่มเกษตรกรหนึ่งคน   เป็นกรรมการ        ให้รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ซึ่งอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์มอบหมาย เป็นกรรมการและ   เลขานุการ        การเลือกผู้แทนของสหกรณ์เพื่อให้รัฐมนตรีแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่   คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติกำหนด        ให้คณะกรรมการบริหาร กพส. มีอำนาจหน้าที่บริหาร กพส. ตลอดจนตรวจสอบติดตาม   และประเมินผลงานของสหกรณ์ที่ได้รับการส่งเสริมกิจการจาก กพส. ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด   ในระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์          มาตรา ๓๑ ให้นำความในมาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๒ มาใช้บังคับแก่การดำรงตำแหน่ง   ของกรรมการบริหาร กพส. ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้แทนของสหกรณ์โดยอนุโลม          มาตรา ๓๒ ให้นำความในมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการบริหาร   กพส. โดยอนุโลม        

หมวด ๓
สหกรณ์

  

          ส่วนที่ ๑        การจัดตั้งและการจดทะเบียนสหกรณ์          มาตรา ๓๓ สหกรณ์จะตั้งขึ้นได้โดยการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องมีวัตถุประสงค์   เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของบรรดาสมาชิก โดยวิธีช่วยตนเองและช่วยเหลือ   ซึ่งกันและกันตามหลักการสหกรณ์ และต้อง        (๑) มีกิจการร่วมกันตามประเภทของสหกรณ์ที่ขอจดทะเบียน        (๒) มีสมาชิกเป็นบุคคลธรรมดาและบรรลุนิติภาวะ        (๓) มีทุนซึ่งแบ่งเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน และสมาชิกแต่ละคนจะต้องถือหุ้นอย่างน้อยหนึ่งหุ้น   แต่ไม่เกินหนึ่งในห้าของหุ้นที่ชำระแล้วทั้งหมด        (๔) มีสมาชิกซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนดในข้อบังคับภายใต้บทบัญญัติมาตรา ๔๓(๗)        ประเภทของสหกรณ์ที่จะรับจดทะเบียนให้กำหนดโดยกฎกระทรวง          มาตรา ๓๔ ผู้ซึ่งประสงค์จะเป็นสมาชิกของสหกรณ์ที่จะขอจัดตั้งขึ้นต้องประชุมกันเพื่อคัดเลือก   ผู้ที่มาประชุมให้เป็นคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์จำนวนไม่น้อยกว่าสิบคน เพื่อดำเนินการจัดตั้งสหกรณ์ โดยให้   คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ดำเนินการ ดังต่อไปนี้        (๑) พิจารณาเลือกประเภทของสหกรณ์ที่จะจัดตั้งตามที่กำหนดในกฎกระทรวงและพิจารณา   กำหนดวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ที่จะจัดตั้งนั้น        (๒) กำหนดแผนดำเนินการเกี่ยวกับธุรกิจหรือกิจกรรมของสหกรณ์ที่จะจัดตั้งขึ้นตามหลักเกณฑ์   และวิธีการที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด        (๓) ทำบัญชีรายชื่อผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกพร้อมด้วยจำนวนหุ้นที่แต่ละคนจะถือเมื่อจัดตั้งสหกรณ์แล้ว        (๔) ดำเนินการร่างข้อบังคับภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา ๔๓ และเสนอให้ที่ประชุมผู้ซึ่งจะ   เป็นสมาชิกพิจารณากำหนดเป็นข้อบังคับของสหกรณ์ที่จะจัดตั้งขึ้น           มาตรา ๓๕ การขอจดทะเบียนสหกรณ์ ให้คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน   ตามแบบที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด ยื่นต่อนายทะเบียนสหกรณ์พร้อมเอกสาร ดังต่อไปนี้        (๑) สำเนารายงานการประชุมตามมาตรา ๓๔ จำนวนสองชุด        (๒) แผนดำเนินการตามมาตรา ๓๔(๒) จำนวนสองชุด        (๓) บัญชีรายชื่อผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกพร้อมลายมือชื่อและจำนวนหุ้นที่แต่ละคนจะถือเมื่อจัดตั้ง   สหกรณ์แล้วจำนวนสองชุด        (๔) ข้อบังคับตามมาตรา ๓๔(๔) จำนวนสี่ชุด           มาตรา ๓๖ นายทะเบียนสหกรณ์ รองนายทะเบียนสหกรณ์ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่    ซึ่งนายทะเบียนสหกรณ์มอบหมาย มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้บุคคลใด ๆ ซึ่งเกี่ยวข้อง   มาชี้แจงข้อเท็จจริง หรือให้ส่งเอกสารมาเพื่อประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับการรับจดทะเบียน   สหกรณ์ได้        ในการพิจารณารายการที่เกี่ยวกับคำขอ หรือรายการในข้อบังคับของสหกรณ์ที่จะจัดตั้งขึ้น   ถ้านายทะเบียนสหกรณ์เห็นว่ารายการดังกล่าวไม่ถูกต้อง หรือยังมิได้ดำเนินการตามมาตรา ๓๔   นายทะเบียนสหกรณ์มีอำนาจสั่งให้คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์แก้ไข หรือดำเนินการให้ถูกต้องได้           มาตรา ๓๗ เมื่อนายทะเบียนสหกรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่า สหกรณ์ตามที่ขอจดทะเบียน   มีวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๓๓ คำขอจดทะเบียนมีเอกสารครบถ้วนถูกต้องตามมาตรา ๓๕ และ   การจัดตั้งสหกรณ์ตามที่ขอจดทะเบียนจะไม่เสียหายแก่ระบบสหกรณ์ให้นายทะเบียนสหกรณ์รับ   จดทะเบียนและออกใบสำคัญรับจดทะเบียนให้แก่สหกรณ์นั้น        ให้สหกรณ์ที่ได้จดทะเบียนแล้วมีฐานะเป็นนิติบุคคล           มาตรา ๓๘ ในกรณีที่นายทะเบียนสหกรณ์มีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนให้แจ้งคำสั่งพร้อมด้วย   เหตุผลเป็นหนังสือไปยังคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์โดยไม่ชักช้า        คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์มีสิทธิยื่นคำอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนต่อคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์   แห่งชาติโดยยื่นคำอุทธรณ์ต่อนายทะเบียนสหกรณ์ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง        คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติให้เป็นที่สุด          มาตรา ๓๙ เมื่อนายทะเบียนสหกรณ์รับจดทะเบียนสหกรณ์แล้ว ให้คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์   มีอำนาจหน้าที่และสิทธิเช่นเดียวกับคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์นั้นจนกว่าจะมีการเลือกตั้ง   คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ตามมาตรา ๔๐        ให้ผู้ซึ่งมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้จะเป็นสมาชิกตามมาตรา ๓๔(๓) เป็นสมาชิกสหกรณ์ตั้งแต่   วันที่นายทะเบียนสหกรณ์รับจดทะเบียนสหกรณ์และได้ชำระค่าหุ้นตามจำนวนที่จะถือครบถ้วนแล้ว        ในกรณีที่มีผู้ขอเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์ภายหลังวันที่นายทะเบียนสหกรณ์ รับจดทะเบียนสหกรณ์   ให้ถือว่าเป็นสมาชิกเมื่อได้ชำระค่าหุ้นตามจำนวนที่จะถือครบถ้วนแล้ว          มาตรา ๔๐ ให้คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์นัดสมาชิกมาประชุมกันเป็นการประชุมใหญ่สามัญครั้งแรก   ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่จดทะเบียนสหกรณ์ เพื่อตั้งคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์และมอบหมาย   การทั้งปวงให้แก่คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์          มาตรา ๔๑ ให้นายทะเบียนสหกรณ์ประกาศกำหนดประเภทของสหกรณ์ที่สามารถรับสมาชิก   สมทบได้         คุณสมบัติ วิธีรับสมัคร และการขาดจากสมาชิกภาพ ตลอดจนสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกสมทบ   ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ        ห้ามมิให้สหกรณ์ให้สิทธิแก่สมาชิกสมทบในการนับชื่อของสมาชิกสมทบเข้าเป็นองค์ประชุม   ในการประชุมใหญ่ การออกเสียงในเรื่องใด ๆ หรือเป็นกรรมการดำเนินการ          มาตรา ๔๒ ในการชำระค่าหุ้น สมาชิกจะนำค่าหุ้นหักกลบลบหนี้กับสหกรณ์ไม่ได้และ   สมาชิกมีความรับผิดเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือ        ในระหว่างที่สมาชิกภาพของสมาชิกยังไม่สิ้นสุดลง ห้ามมิให้เจ้าหนี้ของสมาชิกใช้สิทธิ   เรียกร้องในค่าหุ้นของสมาชิกผู้นั้น            ส่วนที่ ๒        ข้อบังคับและการแก้ไขเพิ่มเติม          มาตรา ๔๓ ข้อบังคับของสหกรณ์อย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้        (๑) ชื่อสหกรณ์ ซึ่งต้องมีคำว่า "จำกัด" อยู่ท้ายชื่อ        (๒) ประเภทของสหกรณ์        (๓) วัตถุประสงค์        (๔) ที่ตั้งสำนักงานใหญ่และที่ตั้งสำนักงานสาขา        (๕) ทุนซึ่งแบ่งเป็นหุ้น มูลค่าของหุ้น การชำระค่าหุ้นด้วยเงินหรือทรัพย์สินอื่น การขาย   และการโอนหุ้น ตลอดจนการจ่ายคืนค่าหุ้น        (๖) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินงาน การบัญชี และการเงินของสหกรณ์        (๗) คุณสมบัติของสมาชิก วิธีรับสมาชิก การขาดจากสมาชิกภาพ ตลอดจนสิทธิหน้าที่ของสมาชิก        (๘) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมใหญ่        (๙) การเลือกตั้ง การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่งและการประชุมของคณะกรรมการ   ดำเนินการสหกรณ์        (๑๐) การแต่งตั้ง การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การกำหนดอำนาจหน้าที่    และความรับผิดชอบของผู้จัดการ           มาตรา ๔๔ การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ จะกระทำได้ก็แต่โดยมติของที่ประชุมใหญ่ และต้อง   นำข้อบังคับที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนสหกรณ์ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ที่ประชุม   ใหญ่ลงมติ เมื่อนายทะเบียนสหกรณ์ได้จดทะเบียนแล้ว ให้มีผลใช้บังคับได้        ในกรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับโดยการเปลี่ยนชื่อสหกรณ์ ให้สหกรณ์คืนใบสำคัญรับจดทะเบียน   และให้นายทะเบียนสหกรณ์ออกใบสำคัญรับจดทะเบียนการเปลี่ยนชื่อให้แก่สหกรณ์ด้วย        การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับและการเปลี่ยนชื่อของสหกรณ์นั้น ย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิ   หรือความรับผิดใด ๆ ของสหกรณ์        ให้นำความในมาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ และมาตรา ๓๘ มาใช้บังคับแก่การแก้ไขเพิ่มเติม   ข้อบังคับโดยอนุโลม           มาตรา ๔๕ ในกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการตีความในข้อบังคับ ให้สหกรณ์ขอคำวินิจฉัยจาก   นายทะเบียนสหกรณ์ และให้สหกรณ์ถือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยนั้น            ส่วนที่ ๓        การดำเนินงานของสหกรณ์          มาตรา ๔๖ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ให้สหกรณ์มีอำนาจกระทำการ ดังต่อไปนี้ได้        (๑) ดำเนินธุรกิจ การผลิต การค้า การบริการ และอุตสาหกรรม เพื่อประโยชน์ของสมาชิก        (๒) ให้สวัสดิการหรือการสงเคราะห์ตามสมควรแก่สมาชิกและครอบครัว        (๓) ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่สมาชิก        (๔) ขอหรือรับความช่วยเหลือทางวิชาการจากทางราชการ หน่วยงานของต่างประเทศ   หรือบุคคลอื่นใด         (๕) รับฝากเงินประเภทออมทรัพย์หรือประเภทประจำจากสมาชิกหรือสหกรณ์อื่นได้ตามระเบียบ   ของสหกรณ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์        (๖) ให้กู้ ให้สินเชื่อ ให้ยืม ให้เช่า ให้เช่าซื้อ โอน รับจำนองหรือรับจำนำ ซึ่งทรัพย์สินแก่   สมาชิกหรือของสมาชิก        (๗) จัดให้ได้มา ซื้อ ถือกรรมสิทธิ์หรือทรัพยสิทธิ ครอบครอง กู้ ยืม เช่า เช่าซื้อ รับโอนสิทธิ   การเช่าหรือสิทธิการเช่าซื้อ จำนอง หรือจำนำ ขาย หรือจำหน่ายด้วยวิธีอื่นใดซึ่งทรัพย์สิน        (๘) ให้สหกรณ์อื่นกู้ยืมเงินได้ตามระเบียบของสหกรณ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์        (๙) ดำเนินกิจการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับ หรือเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของ   สหกรณ์          มาตรา ๔๗ การกู้ยืมเงินหรือการค้ำประกันของสหกรณ์ จะต้องจำกัดอยู่ภายในวงเงินที่   นายทะเบียนสหกรณ์เห็นชอบ          มาตรา ๔๘ ให้สหกรณ์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง          มาตรา ๔๙ การรับเงินอุดหนุน หรือทรัพย์สินจากทางราชการ หน่วยงานของต่างประเทศหรือ   บุคคลอื่นใด ถ้าการให้เงินอุดหนุนหรือทรัพย์สินนั้น กำหนดไว้เพื่อการใดให้ใช้เพื่อการนั้น แต่ถ้ามิได้   กำหนดไว้ ให้จัดสรรเงินอุดหนุนหรือทรัพย์สินนั้นเป็นทุนสำรองของสหกรณ์          มาตรา ๕๐ ให้สหกรณ์มีคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ ประกอบด้วย ประธานกรรมการหนึ่งคน   และกรรมการอื่นอีกไม่เกินสิบสี่คนซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งจากสมาชิก        คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปีนับแต่วันเลือกตั้ง ในวาระ   เริ่มแรกเมื่อครบหนึ่งปีนับแต่วันเลือกตั้ง ให้กรรมการดำเนินการสหกรณ์ออกจากตำแหน่งเป็นจำนวนหนึ่ง   ในสองของกรรมการดำเนินการสหกรณ์ทั้งหมดโดยวิธีจับฉลาก และให้ถือว่าเป็นการพ้นจากตำแหน่ง   ตามวาระ        กรรมการดำเนินการสหกรณ์ ซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับเลือกตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระ   ติดต่อกัน        ในกรณีที่มีการเลือกตั้งกรรมการดำเนินการสหกรณ์แทนตำแหน่งที่ว่างให้กรรมการดำเนินการสหกรณ์   ที่ได้รับเลือกตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ที่ตนแทน          มาตรา ๕๑ ให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์เป็นผู้ดำเนินกิจการ และเป็นผู้แทนสหกรณ์   ในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์จะมอบหมายให้   กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนหรือผู้จัดการทำการแทนก็ได้          มาตรา ๕๒ ห้ามมิให้บุคคลซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นหรือทำหน้าที่กรรมการหรือผู้จัดการ        (๑) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกใน
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 32123เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2006 14:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท