กี้
นาย นายสันติ กี้ เบ็ญจศิล

วิจัยในชั้นเรียน


ติดติดตามพฤติกรรมการเรียนร่วมกับผู้ปกครอง

ชื่อเรื่อง  การติดตามแก้ไขปัญหาการขาดเรียนวิชาเครื่องวัดไฟฟ้า ( 3104-1002) นักศึกษาระดับชั้นปวส.1 (สาย ม.6) แผนกวิชาไฟฟ้ากำลัง

ชื่อผู้วิจัย นายสันติ  เบ็ญจศิล   ตำแหน่ง  ครูอันดับคศ. 2
ประเภทของงานวิจัย  ส่วนบุคคล  (งานวิจัยในชั้นเรียน)
ความเป็นมาของการวิจัย
 จากประสบการณ์ของผู้วิจัยซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้สอน ในรายวิชาเครื่องวัด ( 3104-1002) นักศึกษาระดับชั้น ปวส.1 (สาย ม.6 ) แผนกวิชาไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยการอาชีพบึงกาฬ จำนวน 26 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551
ปัญหาที่เกิดขึ้น กับนักศึกษาส่วนมากนักศึกษาจะเข้าเรียนสายเป็นประจำและเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นักศึกษาเกิดแนวความคิดไม่เข้าเรียนจึงทำให้ขาดเรียนเป็นประจำและอีกสาเหตุหนึ่งที่นักศึกษาไม่เข้าเรียนก็คือแต่งตัวออกจากบ้านมาแล้วแต่ไม่เข้ามาเรียน
 ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้เล็งเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการขาดเรียนของนักศึกษา ระดับชั้นปวส.1 (สาย ม.6 )  แผนกวิชาไฟฟ้ากำลัง ที่เรียนในรายวิชาเครื่องวัด ( 3104-1002)  โดยการ ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองในการแก้ไขปัญหาการขาดเรียนของนักศึกษาเพื่อไม่ให้ติด ขร มส. ในรายวิชานี้

วัตถุประสงค์การวิจัย

 
       1.  เพื่อติดตามการขาดเรียนราย วิชาเครื่องวัดไฟฟ้า ( 3104-1002) นักศึกษาระดับชั้นปวส.1 (สาย ม.6 ) แผนกวิชาไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยการอาชีพบึงกาฬ
       2.  เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาไม่ให้นักศึกษา ติด มส และ ขร ในรายวิชาเครื่องวัดไฟฟ้า นักศึกษาระดับชั้นปวส.1 (สาย ม.6 ) แผนกวิชาไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยการอาชีพบึงกาฬ
3. ทำให้ผู้ปกครองได้ทราบสาเหตุการขาดเรียนของบุตรหลานตนเอง
วิธีดำเนินการวิจัย

กลุ่มเป้าหมาย
        กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือนักศึกษาระดับชั้น ปวส.1(สาย ม.6 )   แผนกวิชาไฟฟ้ากำลังจำนวน 26 คน  วิทยาลัยการอาชีพบึงกาฬ  อำเภอบึงกาฬ  จังหวัดหนองคายที่เรียนในรายวิชาเครื่องวัดไฟฟ้า ( 3104-1002)   
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย
  1.   สมุดบันทึกเวลาเรียนของอาจารย์ผู้สอน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551
  2 .  แบบสำรวจข้อมูลติดตามการขาดเรียนของนักศึกษาชั้น ปวส.1(สาย ม.6 )   แผนกวิชาไฟฟ้ากำลัง ที่เรียนวิชาเครื่องวัดไฟฟ้า ( 3104-1002)  ระหว่างเดือน ตุลาคม 2551 ถึง เดือน ธันวาคม2551
ระยะเวลาดำเนินการ
   ระหว่างเดือน ตุลาคม ถึง เดือน ธันวาคม ของ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551
การรวบรวมข้อมูล

      1. ชี้แจงแนวทางการติดตามการเรียนให้นักศึกษา ระดับปวส.1 (สาย ม.6) แผนกวิชาไฟฟ้ากำลังได้ทราบเกี่ยวกับการติดตามการขาดเรียนของนักศึกษา โดยตรวจเช็คจากการเข้าเรียนของนักศึกษา
     2. แบบฟอร์มหนังสือแจ้งการขาดเรียนของนักศึกษาให้ผู้ปกครองทราบระหว่างเดือน ตุลาคม 2551 ถึง เดือน ธันวาคม 2551
     3.  นักศึกษาที่ขาดเรียน  2 - 3 ครั้ง แจ้งเตือนบันทึกข้อตกลง และนักศึกษาที่ขาดเรียน 4 ครั้ง เชิญผู้ปกครองมาพบอาจารย์ประจำวิชา
การวิเคราะห์ข้อมูล ดำเนินการดังนี้ 
  วิเคราะห์ข้อมูลโดย วิธีการคิดคำนวณนักศึกษาที่ขาดเรียนได้จำนวนไม่เกินกี่ชั่วโมงในราย วิชาเครื่องวัดไฟฟ้า ( 3104-1002) ดังนี้
จำนวนชั่วโมงที่นักศึกษาขาดเรียนได้ไม่เกิน  =  คิดเป็น  11  ชั่วโมง เมื่อ  ค่า  54  =  จำนวนชั่วโมงทั้งหมด 18 สัปดาห์  X  3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์  ค่าตัวเลข  20 =  คิดเวลาเรียนของนักศึกษา  80 %  นักศึกษาจะขาดได้ไม่เกิน 11 ชั่วโมง ( ขาดได้ไม่เกิน 4 ครั้ง )
 จากข้อมูลติดตามการเข้าเรียนของนักศึกษาระดับปวส.1 (สาย ม.6 ) ที่ขาดเรียนรายวิชาเครื่องวัดไฟฟ้า ( 3104-1002)  ระหว่าง ตุลาคมถึง เดือน ธันวาคม รวม 3 เดือน แสดงผลตามการขาดเรียนตารางที่ 1
 ตารางที่ 1  แสดงผลการติดตามตรวจเช็คของนักศึกษาระดับปวส.1 (สาย ม.6 ) ที่ขาดเรียนรายวิชาเครื่องวัดไฟฟ้า ( 3104-1002)  ระหว่าง ตุลาคมถึง เดือน ธันวาคม รวม 3 เดือน
ลำดับ
ชื่อ-สกุล
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค,
รวม
หมายเหตุ
1
นายวัชรพล  พันหล้า
-
-
-
-
 
2
นายเจษฎา  ป้องกัน
1
1
1
3
 
3
นายวัชรา  ขันเงิน
1
1
-
2
 
4
นายชินกร  เนินทราย
1
-
-
1
 
5
นาย พงศ์ธร  ทุมซ้าย
1
1
-
2
 
6
นายมาโนช  พลพักดี
-
-
2
2
 
7
นายทรงศักดิ์  สมคำ
-
-
1
1
 
8
นายอวยชัย  ต้นสุวรรณ
1
1
1
3
 
9
นายสามารถ  คำมุงคุณ
1
2
1
4
 
10
นายประสิทธิ์  ปัญญา
-
-
-
-
 
11
นายธีระพงษ์  พุทธาระ
-
-
-
-
 
12
นายจิระ  แสนอุบล
-
1
-
1
 
13
นายอรรถพล คำมุงคุณ
-
-
-
1
 
14
นายณัฐพล  ดวงจำปา
-
-
-
-
 
15
นายจิระพงษ์  วิลาศรี
1
-
1
2
 
16
นายเอกชัย  สุวรรณไตย
-
-
-
-
 
17
นายสิทธิชัย  ปัดบุญทัน
-
1
-
1
 
18
นายวีระศักดิ์  ศรีโพธิ์ลี
-
-
1
1
 
19
นายชนะ  ห้วยซาย
1
-
-
1
 
20
นายอชิระ  พ่อครวงค์
-
1
-
1
 
21
นายวัฒนา  พันละออ
1
2
1
4
 
22
นายณัฐพล  บุญอุ้ม
-
-
-
-
 
23
นายอิทธิ  ศรีหานาม
1
2
-
3
 
24
นายนวพล  เอื้ออรัญโชติ
1
1
1
3
 
25
นายหิรัญ  แสงโสมศรี
-
-
-
-
 
26
นายจีระศักดิ์  เขียวสังข์
1
-
-
1
 
 จากตารางที่ 1 ติดตามการขาดเรียนของนักศึกษาที่ขาดเรียนจำนวนวน 2 – 3  ครั้ง โดยคิดเป็นชั่วโมงขาดเรียนไม่เกิน 11 ชั่วโมง พบว่าในช่วงการตรวจเช็คการเข้าเรียนของนักศึกษาที่เรียนในในรายวิชาเครื่องวัดไฟฟ้า ( 3104-1002)  ระหว่าง เดือน ตุลาคมถึง เดือน ธันวาคม รวม 3 เดือน
นักศึกษาขาดเรียนจำนวน 8 คน ประกอบด้วย นายเจษฎา  ป้องกัน , นายวัชรา  ขันเงิน ,นาย พงศ์ธร  ทุมซ้าย , นายมาโนช  พลพักดี ,นายอวยชัย  ต้นสุวรรณ , นายจิระพงษ์  วิลาศรี ,นายนวพล  เอื้ออรัญโชติ , นายอิทธิ  ศรีหานาม  
 นักศึกษาที่ขาดเรียน  2-3  ครั้ง ดำเนินการตักเตือนบันทึกข้อตกลงให้นักศึกษารับทราบระกับครูผู้สอนเพื่อป้องกันไม่ให้ขาดเรียนอีกในครั้งต่อไป
นักศึกษาที่ขาดเรียนจำนวนวน 4  ครั้ง โดยคิดเป็นชั่วโมงขาดเรียนเกิน 11 ชั่วโมง พบว่า ในช่วงการตรวจเช็คการเข้าเรียนของนักศึกษาที่เรียนในในรายวิชาเครื่องวัดไฟฟ้า ( 3104-1002)  ระหว่าง เดือนตุลาคม ถึง เดือน ธันวาคม รวม 3 เดือน นักศึกษาขาดเรียนจำนวน 2 คน ประกอบด้วย  นายสามารถ  คำมุงคุณ , นายวัฒนา  พันลออ
 นักศึกษาที่ขาดเรียน 4  ครั้งขึ้นไปถือว่าเป็นนักศึกษาที่อาจจะมีเวลาเรียนไม่ถึง 80 % อาจจะมีผลทำให้หมดสิทธิ์สอบหรือติด ขร ในรายวิชานี้ จึงมีวิธีการดำเนินการโดยการทำหนังสือแจ้งผู้ปกครองแลละเชิญผู้ปกครองให้มาพบอาจารย์ประจำวิชาและอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาไม่ให้นักศึกษาขาดเรียนอีกในครั้งต่อไป
 
สรุปผลการวิจัย
จากผลการวิจัยในการติดตามการขาดเรียนของนักศึกษาที่เรียนในรายวิชาเครื่องวัดไฟฟ้า ( 3104-1002)  พบว่า ผลจากการบันทึกข้อมูลจากตารางที่ 1 ทำให้อาจารย์ประจำวิชาได้ทราบการขาดเรียนของนักศึกษาแต่ละคนได้ทราบการขาดเรียนของนักศึกษาที่ใกล้จะหมดสิทธิ์สอบและโดยคิดตามเกณฑ์แล้วมีเวลาเรียนไม่ถึง 80 %
ผู้วิจัยได้ดำเนินการกับนักศึกษาที่ขาดเรียน 2-3 ครั้ง โดยการตักเตือนบันทึกข้อตกลงให้นักศึกษารับทราบกับครูผู้สอน ถ้าขาดอีกในครั้งต่อไปจะทำหนังสือเชิญผู้ปกครองมาพบ และนักศึกษาที่ขาดเรียน 4  ครั้งขึ้นไปเชิญผู้ปกครองมาพบ
จากผลการดำเนินการกับนักศึกษาที่ขาดเรียน 4 ครั้งโดยเชิญผู้ปกครองมาพบและร่วมการแก้ปัญหาการเรียนของ นายนายสามารถ  คำมุงคุณ , และนายวัฒนา  พันลออ นั้น พบว่าผู้ปกครองให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เป็นผลทำให้นักศึกษามีความตั้งใจดีขึ้น
ข้อเสนอแนะ
1.  ควรติดตามการขาดเรียนของนักศึกษาร่วมกับอาจารย์ผู้สอนทุกรายวิชาทุกๆ 1 สัปดาห์
2 . ควรให้อาจารย์ที่ปรึกษาทุกชั้นปีทำข้อมูลนักศึกษาเรียนขาดเรียนทุกรายวิชาไว้เพื่อทุก ๆ1 สัปดาห์เพื่อเป็นแนวทางแก้ปัญหานักศึกษาขาดเรียน
               
                               
 
                                                                                                                     
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ภาคผนวก
               
 
 
 
 
 
 
 
 
 
เชิญผู้ปกครองร่วมแก้ไขปัญหาการขาดเรียนของนักศึกษา
(นายวัฒนา  พันลออ นักศึกษาปวส. 1 ม.6 ไฟฟ้ากำลัง)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
เชิญผู้ปกครองร่วมแก้ไขปัญหาการขาดเรียนของนักศึกษา
(นายสามารถ  คำมุงคุณ นักศึกษาปวส. 1 ม.6 ไฟฟ้ากำลัง)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
หมายเลขบันทึก: 320476เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2009 16:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณมากที่ ให้ความรู้ ...................... ดีมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท