ประวัติความเป็นมาของเพลงชาติไทย


 เพลงชาติไทย เป็น สัญลักษณ์ ประจำชาติ แสดง ความ เป็น เอกราช ของชาติ ไม่เป็น เมืองขึ้น ของใคร เป็น แหล่ง รวมใจ ของคน ในชาติ ให้เป็นจุดเดียวกัน สร้าง ความรู้สึก สำนึก ในความเป็นพี่น้อง สร้างความภูมิใจ ในศักดิ์ศรี สิทธิ เสรีภาพ ระหว่าง คนในชาติ และ เพื่อปลุกใจ ให้เกิดความรักชาติ

         ความคิดเรื่องเพลงประจำชาติ เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ในปี พ.ศ. ๒๔๑๔ โดยได้รับ อิทธิพลตะวันตก ซึ่งมีเพลง ประจำชาติมาก่อน โดยเฉพาะอิทธิพลจากประเทศอังกฤษ โดย นายทหารอังกฤษ ๒ คน ซึ่งเข้ามาเป็นครูฝึกทหารเกณฑ์       ในวังหลวงและวังหน้าในปลาย รัชกาลที่ ๔ ปี พ.ศ. ๒๓๙๕   ชื่อร้อยเอกอิมเปย์ (Impey) และร้อยเอกน๊อกซ์ (Thomas G. Knox) นายทหารอังกฤษทั้ง ๒ นายนี้ ได้ใช้เพลง       กอดเสฟเดอะควีน (God Save the Queen) เป็นเพลงฝึกสำหรับทหารแตร และอังกฤษได้ใช้เพลงกอดเสฟเดอะควีนนี้ เป็นเพลง ประจำชาติ

         ในการฝึกทหารของไทยสมัยนั้น ใช้แบบอย่างของประเทศอังกฤษหมด ดังนั้นเพลง กอด เสฟเดอะควีน (God Save the Queen)จึงใช้เป็นเพลงเกียรติยศ ถวายความเคารพต่อพระ มหากษัตริย์ ใช้สำหรับกองทหารไทยในระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๙๕ ถึง ๒๔๑๔ เรียกกันว่า "เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ"

           พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นมาใหม่โดยใช้ เนื้อ เพลงกอดเสฟเดอะควีนเดิม และตั้งชื่อเพลงขึ้นใหม่ว่า "จอมราชจงเจริญ"นับเป็นเพลงชาต ิฉบับแรกของประเทศสยาม

         ในปี พ.ศ. ๒๔๑๔ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาส เมืองสิงค โปร์ ในขณะนั้นสิงคโปร์ยังเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษอยู่    กองทหารดุริยางค์ สิงคโปร์ บรรเลงเพลงกอดเสฟเดอะควีน เพื่อถวายความเคารพ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงตระหนักดีว่าประเทศมีความจำเป็น จะต้องมีเพลงชาติที่เป็นของตัวเองขึ้น เพื่อแสดงถึงความเป็นเอกราชของชาติครั้นเมื่อทรง เสด็จกลับถึงพระนคร จึงได้โปรดให้ตั้งคณะครูดนตรีไทยขึ้น เพื่อทรงปรึกษา หาเพลงชาต ิที่มีความเป็นไทย มาใช้แทนเพลงกอดเสฟเดอะควีน คณะครูดนตรีไทย ได้เลือก เพลงทรง พระสุบัน หรือเรียกอีกอย่างว่า เพลงบุหลันลอยเลื่อน ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของ พระบาทสม เด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ โดยนำมาเรียบเรียงใหม่ ให้มีความเป็น สากลขึ้น โดย เฮวุดเซน (Heutsen) นับเป็น เพลงชาติไทยฉบับที่สอง ใช้บรรเลงในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๑๔-๒๔๓๑

      สำหรับ เพลงชาติไทยฉบับที่สาม คือ เพลงสรรเสริญพระบารมี(ฉบับปัจจุบัน)ประพันธ์ ์โดย ปโยตร์ สชูโรฟสกี้ (Pyotr Schurovsky)       นักประพันธ์ชาวรัสเซีย คำร้องเป็น พระ
นิพนธ์ ของสมเด็จฯ กรมพระนริศรานุวัตติวงศ์ ใช้บรรเลงเป็นเพลงชาติ ในระหว่างปี พ.ศ.๒๔๓๑-๒๔๗๕

     เพลงชาติไทยฉบับที่สี่ คือ เพลงชาติมหาชัย ใช้เป็นเพลงชาติ ในระหว่างการ เปลี่ยนแปลง การปกครองปี พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยอาศัยทำนองเพลงมหาชัย ส่วนคำร้องนั้น ประพันธ์โดย เจ้า พระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เพื่อใช้ขับร้อง และ   บรรเลงปลุกเร้าใจ ประชาชน ก่อให้เกิดความรักชาติและสร้างความสามัคคี ในระหว่าง ที่มีการเปลี่ยนแปลง ทาง การเมือง

     เพลงชาติไทยฉบับที่ห้า คือ เพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์ ผู้ประพันธ์ทำนองมีคำร้องประ พันธ์โดยขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ใช้เป็นเพลงชาติระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๗๗

    เพลงชาติฉบับที่หก คือ เพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์ ที่เพิ่มคำร้องของนายฉัน ขำวิไล เข้าต่อจากคำร้องของขุนวิจิตรมาตรา ใช้เป็นเพลงชาติระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๔๘๒ เป็นเพลงชาติที่เป็นฉบับของทาง "ราชการ" ฉบับแรก

     เพลงชาติฉบับปัจจุบัน คือ เพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์ ที่เปลี่ยนคำร้องประพันธ์โดย พันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ใช้เป็นเพลงชาติตั้งแต่ปี     พ.ศ. ๒๔๘๒ กระทั่งปัจจุบัน ครั้งนั้นทางรัฐบาลได้ประกาศประกวด เพลงชาติขึ้นใหม่ ในเดือน กันยายน ผลประกวดปรากฏ ผู้ชนะได้แก่ นายพันเอกหลวง สารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ซึ่งส่ง ในนาม ของ กองทัพบก

รัฐบาล ได้ประกาศใช้เพลงชาติไทย ฉบับปัจจุบัน เมื่อ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒

ทำนอง : พระเจนดุริยางค์
คำร้อง : นายพันเอกหลวง สารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์)


ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย

เป็นประชารัฐผไทของไทยทุกส่วน

อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล

ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี

ไทยนี้รักสงบแต่ถึงรบไม่ขลาด

เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่

สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี

เถลิงประเทศชาติไทยทวีมีชัย ชโย

ภาพจาก

คัดลอก ดัดแปลงจาก ห้องสมุดทางทหาร กองทัพบกไทย และบทความของ ดร.สุกรี เจริญสุข

ขอบคุณ ที่ให้ข้อมูล

หมายเลขบันทึก: 320365เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2009 09:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

สวัสดีค่ะน้องครูโย่ง

มาอ่านความรู้ใหม่เลยนะคะเนี่ย ...

ภูมิใจในเพลงชาติ ภาคภูมิในความเป็นไท

ร่วมรักสามัคคีไว้ เพื่อในหลวงปวงประชาค่ะ

เพลงชาติไทยเป็นเอกลักษณ์ของไทย......ถ้าเป็นไปได้นำเรื่องราวของธงชาติไทยตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบันมาให้ได้ชมบ้างนะค่ะ....ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณPpoo

  • ใช่แล้วครับพี่ปู
  • ภูมิใจในเพลงชาติ ภาคภูมิในความเป็นไท
  • ร่วมรักสามัคคีไว้ เพื่อในหลวงปวงประชา
  • ขอบคุณพี่ปูมากครับผม

ขอบคุณพี่นุชPnuch

  • เห็นด้วยครับพี่
  • ถ้านำนำเรื่องราวของธงชาติไทยตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบันมาให้ได้ชมก็จะดีมากใช่ไหมครับ
  • ขอบคุณพี่นุชมากครับผม

มาทักทายและขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมที่เชียงราย

ขอให้มีความสุขในปีใหม่นี้

...มาร่วมสร้างฝันวันใหม่ให้ขวานไทยใจหนึ่งเดียว"

แวะมาทักทายครับ

ขอบคุณPฤทธิชัย

  • ขอบคุณที่แวะมาทักทายครับ
  • เชียงรายน่าเที่ยวมากครับผม
  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเช่นกันครับ
  • ขอให้มีความสุขในปีใหม่นี้ เช่นกันครับ

ขอบคุณPเสียงเล็กๆ فؤاد

  • ขอบคุณมากครับผมที่แวะมาทักทาย
  • ขอบคุณที่แวะมาร่วมสร้างฝันวันใหม่ให้ขวานไทยใจหนึ่งเดียว
  • ขอบคุณครับผม

สวัสดีครับ

ผมเคยได้ยินเนื้อเพลงเก่า ที่ขึ้นต้นด้วย "ประเทศสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง" ไม่ทราบว่าเป็น Version ไหนครับ พอจะหาเนื้อเพลงเต็มๆ ได้มั้ยครับ

ขอบคุณครับ

ขอบคุณPไทเลย-บ้านแฮ่

ประเทศสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง

คงจะเป็น เวอร์ชั่นนี้ ครับ

“สยามอยู่คู่ฟ้าอย่าสงสัย เพราะชาติไทยเป็นไทยไปทุกเมื่อ
ชาวสยามนำสยามเหมือนนำเรือ ผ่านแก่งเกาะเพราะเพื่อชาติพ้นภัย
เราร่วมในรักสมัครหนุน วางธรรมนูญสถาปนาพรรษาใหม่
ผลสยามยิ่งยงธำรง ให้คงไทยตราบสิ้นดินฟ้า”

ขอบคุณครับ

  • แวะมาทักทายค่ะP
  • เนื้อหาเพลงชาติบ่งบอกถึงความเสียสละและความสามัคคี...
    ร้องอย่างเดียวไม่พอต้องปฏิบัติด้วยจึงจะเข้าถึงความเป็นไทยที่แท้จริง
  • "...ทุกวันนี้ศึกไกลยังไม่ห่วง   แต่หวั่นทรวงศึกใกล้ไล่ข่มเหง
    ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง   จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง..."
  • ขอบพระคุณค่ะ

แวะมาทักทายค่ะ...

แหม..ร้องเพลงชาติมาตั้งนาน เพิ่งรู้ประวัติแจ่ม ๆ วันนี้เอง..

เบิกบานกับเพลงชาติที่หน้าเสาธงทุกวันจันทร์-ศุกร์พร้อมกับเด็ก ๆ นะคะ..^__^..

ขอบคุณPธรรมทิพย์

  • ขอบคุณจริง ๆ ครับ
  • เนื้อหาเพลงชาติบ่งบอกถึงความเสียสละและความสามัคคี...
    ร้องอย่างเดียวไม่พอต้องปฏิบัติด้วยจึงจะเข้าถึงความเป็นไทยที่แท้จริง
  • "...ทุกวันนี้ศึกไกลยังไม่ห่วง   แต่หวั่นทรวงศึกใกล้ไล่ข่มเหง
    ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง   จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง..."
  • ขอบคุณมากครับผม

ขอบคุณPใบไม้ย้อนแสง

  • ขอบคุณที่แวะมาทักทายครับ
  • ร้องเพลงชาติกับนักเรียนทุกเช้าเลยครับผม
  • ขอบคุณครับ

ขอบคุณข้อมูลที่ควรรู้ค่ะ

ดีจัง

(^___^)

ขอบคุณพี่โก๊ะPคนไม่มีราก

  • ขอบคุณมากครับ
  • ที่แวะมาเยี่ยมครับผม
  • พี่โก๊ะสบายดีนะครับ
  • ข้อมูลนี้คนไทยควรรู้ใช่ไหมครับ
  • ขอบคุณครับ

ขอบคุณสำหรับความรู้เรื่องเพลงชาติไทยมีความเป็นมาที่น่าสนใจมากค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท