การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ


หลักการ แนวคิด ทฤษฎี

การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

 

“หลักการ  แนวคิด  ทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารสู่ความเป็นเลิศ”

นายจรูญ  วัฒนา

                การบริหารงานใด ๆ  ก็ตาม  จำเป็นจะต้องมีหลักการ  แนวคิด  และทฤษฎีเป็นพื้นฐาน  การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศก็เช่นเดียวกัน  เพราะหลักการ  แนวคิด  ทฤษฎีการบริหารการศึกษา  จะเป็นหลักหรือเป็นพื้นฐานในการคิด  พิจารณาและตัดสินใจ  แล้วก็จะทำให้สามารถบริหารงานได้อย่างมีทิศทางที่ตรงแน่วแน่ไปในทางใดทางหนึ่งที่พึงประสงค์  ไม่สะเปะสะปะ  เมื่อจะตัดสินใจก็มีหลักการ  และทฤษฎีเข้ามาสนับสนุน  สามารถบริหารงานในภารกิจหน้าที่ที่ตนกระทำอยู่  อย่างชาญฉลาด  มีความแนบเนียนในการปฏิบัติ  ให้งานนั้นดำเนินไปได้โดยราบรื่น  บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

หลักการ

                การบริหารที่มีประสิทธิภาพ  คือ  การบริหารที่มีผู้บริหารเพียงคนเดียวในองค์กร  (Division  of  Labor)  มีการกำหนดมาตรฐานทำงานที่ชัดเจน (Standardization)  มีเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity  of  Command)  มีการกระจายอำนาจและความรับผิดชอบให้แก่ผู้ร่วมงาน (Delegation  of  Authority  and  Responsibility)  มีการแบ่งฝ่ายงานและบุคลากรผู้รับผิดชอบให้แก่ผู้ร่วมงาน (Division  of  Labor)  มีการกำหนดมาตรฐานการทำงานที่ชัดเจน (Span  of  Control)  มีการมอบหมายการควบคุมดูแลที่เหมาะสม (Stability)  เปิดโอกาสให้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ  ในองค์กรได้ (Flexibility)  สามารถทำให้คนในองค์กรเกิดความรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย (Security)  มีการยอมรับนโยบายส่วนบุคคลที่มีความสามารถ (Personnel  Policy)  มีการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งส่วนบุคคลและองค์กร (Evaluation)

แนวคิด

                การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศหรือการบริหารที่มีประสิทธิภาพ  ขึ้นอยู่กับผู้บริหารสถานศึกษา  เพราะฉะนั้นผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องทบทวนบทบาทและพัฒนาสมรรถนะ  ดังนี้  เป็นผู้กำหนดทิศทางการบริหาร (Direction  Setter)  มีความสามารถกระตุ้นคน (Leader  Catalyst)  ต้องเป็นนักวางแผน (Planner)  ต้องเป็นผู้มีความสามารถในการตัดสินใจ (Decision  Maker)  ต้องมีความสามารถในการจัดองค์กร (Organizer)  ต้องเป็นผู้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Change  Manager)  ต้องเป็นผู้ให้ความร่วมมือ (Coordinator)  ต้องเป็นผู้ติดต่อสื่อสารที่ดี (Communication)  ต้องเป็นผู้แก้ปัญหาขัดแย้งในองค์กรได้ (Conflict  Manager)  ต้องสามารถบริหารปัญหาต่าง ๆ  ได้ (Problem  Manager)  ต้องรู้จักวิเคราะห์และจัดระบบงาน (System  Manager)  ต้องมีความสามารถในด้านวิชาการทั้งการเรียนและการสอน (Instructional  Manager)  ต้องมีความสามารถบริหารงานบุคคล (Personnel  Manager)  ต้องมีความสามารถบริหารทรัพยากร (Resource  Manager)  ต้องมีความสามารถในการประเมินผลงาน (Appraiser)  ต้องมีความสามารถในการประชาสัมพันธ์ (Public  Relater)  ต้องสามารถเป็นผู้นำในสังคมได้ (Ceremonial  Head)

ทฤษฎีทางการบริหาร

                ทฤษฎีการบริหารการศึกษาเพื่อสู่ความเป็นเลิศ  ได้แก่

                -  ทฤษฎีกำหนดรูปแบบใหม่  มีสามองค์ประกอบ  แทนที่จะมีสององค์ประกอบดังทฤษฎีของ  เฮอร์ซเบริร์ก  ด้วยการเพิ่มองค์ประกอบที่สามเข้าไป  ได้แก่  ambient  หมายถึงสิ่งแวดล้อม  ambient  นี้มีส่วนประกอบที่กล่าวถึงบ่อย ๆ  ได้แก่สิ่งที่ทำให้พึงพอใจและสิ่งที่ทำให้ไม่พึงพอใจ  สิ่งกระตุ้นในฐานะกลุ่มที่ตอบสนองต่อความพึงพอใจในการทำงานมากกว่าความไม่พึงพอใจต่อการทำงาน  การขาดแคลนตัวกระตุ้นก็อาจเป็นบ่อเกิดแห่งความไม่พึงพอใจก็ได้  องค์ประกอบของ  ambient  นั้นมีอยู่  5  ประการด้วยกัน  คือ  เงินเดือน  โอกาสที่จะได้เจริญงอกงาม  โอกาสที่จะเสียง  ความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้บังคับบัญชา  และสถานภาพ

                -  ทฤษฎีบรรยากาศ  อลัน  บราวน์  ได้เสนอกลยุทธ์สองประการสำหรับเปลี่ยนแปลงบรรยากาศของโรงเรียน  ประการแรกได้แก่กลยุทธ์ด้านคลินิก  ประการที่สอง  ได้แก่กลยุทธ์ที่มุ่งความเจริญงอกงามเป็นศูนย์กลาง  ทั้งสองกลยุทธ์ต่างก็ไม่ได้เป็นตัวเลือกแก่กันและกัน  แต่สามารถใช้ด้วยกัน  ทั้งสองกลยุทธ์ต่างก็มีความจำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลง  กลยุทธ์ด้านคลินิกเน้นที่ธรรมชาติของความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มย่อยในโรงเรียน  มุ่งดูที่ความรู้ขององค์กรต่อจากนั้นก็วิเคราะห์บรรยากาศขององค์กร  กำหนดลำดับขั้นความสำคัญของการปฏิบัติการและวางแผนดำเนินการ  เมื่อปฏิบัติสำเร็จแล้วก็มีการประเมินผลงานนั้น  ในขณะที่กลยุทธ์มุ่งความเจริญงอกงามเป็นศูนย์กลางนั้นเน้นที่การพัฒนาของเอกัตบุคคล

                -  ทฤษฎีอำนาจ และความขัดแย้งในสถาบันการศึกษา  ของวิตเตอร์  บอลด์ริดจ์  ทฤษฎีความขัดแย้งเน้นที่การแยกส่วนของระบบสังคมออกเป็นกลุ่มผลประโยชน์  ซึ่งแต่ละกลุ่มต่างก็มีเป้าประสงค์ที่ต่างกันออกไป  และแต่ละกลุ่มต่างก็พยายามที่จะได้เปรียบอีกกลุ่มหนึ่งหรือหลาย ๆ  กลุ่ม

                -  ทฤษฎีอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ  สิ่งจูงใจ  และความพึงพอใจ  ทฤษฎีที่กล่าวถึงแรงจูงใจในการทำงาน  สิ่งจูงใจในองค์กร  ความพึงพอใจในงาน  ความพึงพอใจต่อผลการปฏิบัติงาน  ได้แก่  ทฤษฎีวุฒิภาวะของอากิริส  ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์  ทฤษฎีสององค์ประกอบของเฮอร์ซเบิร์ก  ทฤษฎีการก่อตัวใหม่ (Reformulated  theory)  ทฤษฎีความคาดหวัง (Expectancy  theory) 

                การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ  มีความจำเป็นต้องอาศัย  หลักการ  แนวคิด  และทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา  เพื่อปรับการบริหารสถานศึกษาสู่การบริหารเชิงระบบ IPP  CONTEXT   ตามกระบวนการผลิตทางการศึกษา  ดังนี้

กระบวนการผลิตทางการศึกษา

INPUT                                                  PROCESS                                           PRODUCT

เด็กและเยาวชน                                   กระบวนการเรียนการสอน                   ผู้สำเร็จการศึกษา

                                                       ตามหลักสูตรการศึกษาของโรงเรียน

 

ย้อนกลับ  CONTEXT

 

หมายเลขบันทึก: 320364เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2009 08:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ่านบทความแล้วเสริมความรู้ เข้าใจฐาน/ที่มาของการบริหารเพิ่มมากขึ้น ขอบคุณที่เขียนบทความเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้

การบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ อาจต้องผ่านอุปสรรคที่จะต้องฝ่าฟันอย่าท้อแท้ ดังนั้น ใจของผู้บริหารจะต้องอดทนและยึดมั่นกับอุดมการณ์ ขอเป็นกำลังใจให้ครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท