เครือข่าย UKM


รายงานกิจกรรม F2F เมื่อวันที่ ๒๔ - ๒๕ มิย. ๔๘

เครือข่าย UKM จะประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๔๘ ในวันที่ ๒ - ๓ กย. ๔๘ นี้

ผมถามหา "ขุมความรู้" ที่ได้จากการประชุมครั้งก่อนจากคุณธวัช    ต้องตามกันอยู่นาน จึงได้มาจาก มน. ผมจึงเอามาลงไว้

         สิ่งที่ผมกังวลมี ๒ เรื่อง

 ๑. ไม่มีการนำ "ขุมความรู้" ที่ได้ มาใช้อย่างต่อเนื่อง    ก็จะกลายเป็นเครือข่าย KM ปลอม    ไม่มีการ re-use ความรู้ แล้วยกระดับความรู้ แล้ว re-use อีก    เป็นวงจรไม่รู้จบ

 ๒. ไม่มีการ ลปรร. แบบ B2B คือหวังแต่ ลปรร. ใน F2F ซึ่งจัด ๓ เดีอนครั้ง    ก็จะเป็น KM ปลอมอีกเช่นกัน 

รายงานสรุปกิจกรรมจัดการความรู้
วันที่ 24  มิถุนายน  2548
เป้าหมายของการเสวนา (Knowledge vision) คือ  การบริหารงานวิจัยอย่างไร ให้ได้รับผลสำเร็จ

Work shop 1 : 13.00 น. – 15.00 น.

•       การเล่าเรื่อง (Story  telling) ในกลุ่ม  (แบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่ม คละผู้บริหารงานวิจัย / นักวิจัย จากมหาวิทยาลัยทั้ง 5) KF, NT  ประสานงานกลุ่ม  KP ช่วยกันจัดกลุ่มประเด็นที่เหมือน/คล้ายกัน  ไว้ด้วยกัน ติดบน Flip chart เพื่อจะได้ดูพร้อมๆ กัน ใช้ข้อความ  หรือถ้อยคำ  ที่สื่อถึงความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit K) หรือเป็นความรู้จากการปฏิบัติ  ไม่ใช่ทฤษฎี
•       การสร้าง ขุมความรู้ (Knowledge Assets)  KF  ตรวจสอบ  ขุมความรู้  ของกลุ่มอีกครั้ง   ว่าถ้อยคำที่ใช้นั้นสื่อถึงความรู้เชิงปฏิบัติเพียงใด
•       สังเคราะห์ ขุมความรู้เป็น แก่นความรู้ (Core competence)  แต่ละกลุ่มนำกระดาษการ์ดที่เขียนประเด็น ขุมความรู้มารวมกันทั้งหมด ช่วยกันพิจารณาว่า  มีประเด็นใดที่ซ้ำกันบ้าง?  และมีประเด็นใดบ้างที่เข้าข่ายเป็นกลุ่ม หรือ ประเภทเดียวกัน ช่วยกันจัดกลุ่มประเด็น ขุมความรู้  ออกเป็นหมวดหมู่  ไม่น้อยเกินไป หรือไม่มากเกินไป สร้างถ้อยคำหรือข้อความของหมวดหมู่ประเด็นขุมความรู้ที่ต้องการสื่อถึงในลักษณะ ความสามารถ/สมรรถนะที่ทำให้งานวิจัยประสบผลสำเร็จ  เป็นแก่นความรู้

ขุมความรู้ที่ได้จากเรื่องเล่า
แก่นความรู้ที่ได้

·        มีการสร้างความตระหนักให้นักวิจัย

·        ส่งเสริมการทำงานวิจัยที่ตรงกับความสนใจและความถนัดของนักวิจัย และสนับสนุนตามศักยภาพ
·        มีการกำหนดเป้าหมายทุนวิจัยจากภายนอก (......ทุน/คน)
1.        นโยบายและทิศทางการวิจัย
·        มีฐานข้อมูลเพื่อการวิจัย (ข้อมูลวิจัย , นักวิจัย , ผลงานวิจัย)
·        รวบรวมข้อมูลสารสนเทศเพื่อเผยแพร่ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
·        มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ที่เอื้อต่อการทำวิจัย
2.        ระบบฐานข้อมูลเพื่อการวิจัย

·        มีการบริหารจัดการด้านการเงินที่คล่องตัว
·        มีกองทุนวิจัย
·        มีระบบการบริหารจัดการทุนวิจัย
·        มีทุนวิจัยจากเงินรายได้คณะเพื่อสนับสนุนนักวิจัยรุ่นใหม่และรุ่นกลาง
·        มีทุนสนับสนุนงานวิจัยขั้นพื้นฐาน
·        มีการเปิดรับทุนวิจัยปีละ 2 ครั้ง
·        มีเงินรางวัลแก่นักวิจัยที่ได้รางวัล หรือเงิน Top-up
3.        ระบบสนับสนุนด้านการเงิน

ขุมความรู้ที่ได้จากเรื่องเล่า
แก่นความรู้ที่ได้
·        มีสถานที่อำนวยความสะดวก และมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการทำงานวิจัย
·        มีครุภัณฑ์การวิจัยที่ครบถ้วน
·        มีการบริหารจัดการเครื่องมือที่ดี และมีระบบการสนับสนุน / ซ่อมบำรุงที่ดี (มีการรับประกันเครื่องมือ)
·        ดึง Expertise เฉพาะทาง (บางสาขา) เช่น นัก IT มาช่วยงาน (Out come)
·        สร้างหลักสูตรกลางเพื่อลดงานสอนแก่นักวิจัย
·        มีการประชาสัมพันธ์ให้นักวิจัยได้เตรียมตัว
·        เชิญหน่วยงานที่ให้ทุนวิจัยมาบรรยายแก่นิสิต อาจารย์ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง
·        เจรจาส่วนแบ่งทางการตลาดมาใช้บริหารงานวิจัย
4.        ระบบสนับสนุนงานวิจัย

·        การให้นักวิจัยได้สัมผัสกับปัญหาชุมชุนเพื่อสร้างโจทย์วิจัยในการแก้ปัญหาหรือตอบปัญหาสังคมได้ หรือวิจัยจากปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติงาน
·        ทำความเข้าใจกับชุมชนให้ชุมชนเห็นความสำคัญ
·        Impact ชัดเจน
·        วิเคราะห์บริบทของคนไทยเพื่อเป็นจุดเริ่มการวิจัย
·        เริ่มทำวิจัยให้สอดคล้องกับความสนใจ +ตลาด+แหล่งทุน
5.        การสร้างโจทย์วิจัย

·        มีการสร้างและพัฒนาความร่วมมือด้านการวิจัยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายใน/ภายนอกมหาวิทยาลัย
·        มีการทำวิจัยที่เชื่อมโยงกันระหว่างอาจารย์+นักศึกษา+แหล่งทุน+แหล่งงาน
·        มีการบริหารชุดโครงการภายในศูนย์วิจัยเฉพาะทาง
·        มีการส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัยสหสาขา  และมีการบูรณาการโครงการวิจัยหลาย ๆ ศาสตร์เข้าด้วยกัน  (Project Matching)  รวมถึงมีการพัฒนาชุดโครงการวิจัย
·        มีระบบช่วยเหลือนักวิจัยให้สามารถเข้ากลุ่มทำโครงการวิจัย
·        จัดกลุ่มของเรื่อง และรวมกลุ่มผู้สนใจตามหัวเรื่อง
·        มีระบบ เลขานุการให้กับงานวิจัยเชิงสหสาขา
·        ผลักดันให้นักวิจัยแสวงหาแหล่งทุนจากภายนอก
6.        การสร้างทีมวิจัย/เครือข่าย/ชุมชน

ขุมความรู้ที่ได้จากเรื่องเล่า
แก่นความรู้ที่ได้
·        กระจายหน้าที่ตรวจสอบ proposal ของโครงการวิจัย ให้กับหน่วยงานภายใน และภายนอก  เช่น คณะกรรมการของคณะ  คณะกรรมการวิจัยในมนุษย์ , คณะกรรมการสัตว์ทดลอง ฯลฯก่อนการวิจัย
·        กระจายหน้าที่ติดตามความก้าวหน้าของโครงการวิจัยเป็นระยะๆ แก่หน่วยงานภายใน  ระหว่างการวิจัย
·        รวบรวมและเผยแพร่ผลงานวิจัยที่เสร็จสมบูรณ์ จำแนกให้เป็นสถิติ ตามหน่วยงาน เพื่อกระตุ้น ให้เกิดการแข่งขัน หลังการวิจัย
·        มีระบบการติดตามและประเมินผลโครงการที่ชัดเจน
·        มีการกำหนด KPI ด้านการวิจัย และด้านผลงานวิจัยให้ชัดเจน
7.        ระบบการควบคุมคุณภาพ

·        พัฒนาศักยภาพของบุคลากรสายสนับสนุน (สาย ข., ค.) ให้สามารถทำงานในเชิงรุก
·        มีระบบรองรับอาจารย์ที่เพิ่งจบการศึกษา ให้มีการทำวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
·        ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำวิจัยตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการนำผลการวิจัยไปใช้
·        มีพี่เลี้ยงนักวิจัย (Mentor)  และระบบพี่เลี้ยงกลุ่มวิจัย
·        อบรมการเขียน Proposal
·        เริ่มจากการลงมือปฏิบัติ
8.        การพัฒนาคุณสมบัตินักวิจัย

·        มีการบูรณาการการเรียนการสอนกับการวิจัยเข้าด้วยกัน
·        นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้ร่วมงานวิจัย
·        มีนิสิตช่วยงานวิจัย ทั้งนิสิตใหม่และเก่า และมีการพัฒนาทักษะของนิสิต
·        มีทุนการศึกษานิสิตระดับบัณฑิตศึกษา
9.        ระบบบัณฑิตศึกษากับงานวิจัย
·        จัดทำวารสารระดับคณะ
·        มีเงินสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย
·        มีการให้ทุนสนับสนุนโดยมีเงื่อนไข ตีพิมพ์ (อาจารย์/บัณฑิตทุกระดับ)
·        มีหน่วยงานที่สนับสนุน /ให้คำปรึกษาแก่นักวิจัย (การตีพิมพ์เผยแพร่ ทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมาย ฯลฯ) 
10.     ระบบการเผยแพร่งานวิจัย

Work shop 2 : 15.10 น. – 16.30 น.

สร้าง ตารางแห่งอิสรภาพ
•       แต่ละกลุ่มนำเอา แก่นความรู้ที่ได้จากขั้นตอนที่ผ่านมา    นำมาสร้างเกณฑ์วัดระดับความสำเร็จ
•       แบ่งเกณฑ์ความสำเร็จ   เป็น 5 ระดับ
•       ระบุคุณลักษณะในแต่ละเกณฑ์ความสำเร็จ  เพื่อใช้ในการประเมินตนเอง
•       ทบทวนเกณฑ์ที่ได้ว่าอ่านแล้ว  เข้าใจยาก  หรือวัดยากมากน้อยเพียงใด
WS 3 : 15.00 น. 15.30 น.
ประเมินตนเองจาก ตารางอิสรภาพ และ จัดทำธารปัญญา (River  diagram) และ บันไดแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Stair Diagram)
วันที่ 25  มิถุนายน  2548
8.45 น. 9.00 น.

วิเคราะห์ ธารปัญญา  และ บันไดแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

WS 4 : 9.00 น. 9.30 น.
                จับคู่แลกเปลี่ยนเรียนรู้  ภายหลังจาก รู้เขา  รู้เรา
ประเด็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มี 3 เรื่อง  ประกอบด้วย
กลุ่มที่ 1               การสนับสนุนด้านการเงิน
                        ผู้ให้ ได้แก่                    1. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.)
                                                            2. มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)
                                ผู้รับ ได้แก่                        1. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.)
                                                                2. มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.)
                                ผู้นำเสนอ ได้แก่                        อาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
                        คุณลิขิต    ได้แก่                      นางสาวสิริกร  ชูแก้ว
สรุปความรู้ที่ได้จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น :  
·       มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะเป็น "มหาวิทยาลัยวิจัย"
·       มีเงินรายได้มาสนับสนุนปีละประมาณ 10 ล้านบาท
·       กำหนดหัวข้อเรื่องที่จะทำวิจัย โดยกำลังตั้งกรรมการในการกำหนดหัวข้อเรื่องในปีที่จะถึง (ไม่เกี่ยวกับ 13 ศูนย์ฯ)
·       คณะ ต้องมีทุนวิจัยเพื่อการเริ่มต้นงานวิจัยที่ดี รวมถึงมีวารสารระดับคณะเพื่อรองรับและสนับสนุนการตีพิมพ์เผยแพร่ของอาจารย์ฝึกหัดทำวิจัย
·       รูปแบบของการสนับสนุน ควรเป็น..เขียนโครงการอย่างไร..เขียนรายงานอย่างไรให้ได้รับการตีพิมพ์
·       อาจารย์ที่ไม่อยากทำวิจัย มักจะมีข้ออ้างมากมาย เช่น ไม่มีทุน,งานสอนเยอะ  มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีวิธีการคือ ให้แต้มตัวเอง มีคณะกรรมการที่เลือกมาจากคณะเอง โดยประเมินเป็นลายลักษณ์อักษร หากเห็นว่า ไม่ยุติธรรม ก็ร้องเรียนศาลปกครองได้ เป็นลายลักษณ์อักษรเช่นกัน
สรุปความรู้ที่ได้จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ :
·       เงินรายได้ของคณะ :  5% เป็นทุนสนับสนุนการวิจัย เช่น เสนอผลงานฯ ตีพิมพ์  10% เป็นกองทุนวิจัยของคณะ
·       มีทุนวิจัยของอาจารย์ เพื่อสร้างความเข้มแข็ง
·       สนับสนุนให้ตั้งกลุ่มวิจัย 20,000.-/3ปี
·       ทุนเชื่อมโยงนิสิตบัณฑิตศึกษา  ทุนกำหนดหัวข้อ ฯลฯ
·       ในส่วนของงบประมาณแผ่นดิน และ เงินรายได้ที่ให้ทุนนั้น มีการแต่งตั้งกรรมการ เป็น  peer review และ กรรมการกลั่นกรอง
·       นักวิจัย และ กลุ่มวิจัย มีการทำ Commit  กับคณะและนักวิจัย
·       ความ โชคดีของ "มอ." คือ วางฐานรากมาดี โดยมีการกำหนดทุนสนับสนุนให้นิสิต ป.โทและเอกทุกคน ได้ทุนสำหรับวิจัยโดยเฉพาะ (คปก.น้อย) สายวิทย์ ประมาณ 30,000.- สายสังคม ประมาณ 10,000.- (ไม่เกี่ยวกับทุนกองกิจฯ)
สรุปความรู้ที่ได้จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  :
·       เป็นมหาวิทยาลัยใหม่ จัดตั้งขึ้น 10 ปี
·       กำลังเชื่อมโยงเรื่องทุนวิจัยกับบัณฑิตศึกษา และเรียนรู้การจัดทำระบบบริหารงานวิจัยในมหาวิทยาลัย
กลุ่มที่ 2                         การควบคุมคุณภาพ
                                ผู้ให้ ได้แก่                    1. มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)
                                                                                2. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.)

                                ผู้รับ ได้แก่                        1. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.)
                                                                2. มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.)
                                ผู้นำเสนอ ได้แก่                        ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสมอ  ถาน้อย       
                        คุณลิขิต    ได้แก่                      นางจรินทร  จันทร์นฤมล
สรุปความรู้ที่ได้จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)       :
การบริหารงานวิจัยของศูนย์อนุกรมวิธาน    
·       ศูนย์อนุกรมวิธาน มข. ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากมหาวิทยาลัยในการดำเนินงาน ระยะเริ่มต้น จำนวน 500,000 บาท ซึ่งทางศูนย์ได้กำหนดดัชนีชี้วัด (KPI) ที่ชัดเจนไว้ว่าจะต้องมี out-put , out-come อะไรบ้าง และเมื่อทางศูนย์ฯ สามารถดำเนินการตามนั้นได้แล้ว มหาวิทยาลัยจะมีเงิน top-up ให้แก่ศูนย์ และนักวิจัย เพื่อดำเนินกิจกรรมต่อไป
สรุปความรู้ที่ได้จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.)   :
การบริหารทุนวิจัยเงินงบประมาณแผ่นดินของมอ.
·       ในกรณีที่เงินงบประมาณส่งมาล่าช้า มหาวิทยาลัยจะให้นักวิจัยยืมเงินออกไปก่อน และเมื่องบประมาณมามหาวิทยาลัยจะมอบให้แต่ละคณะเป็นผู้จ่ายให้นักวิจัยเอง
·       ในกรณีที่นักวิจัยมีงานวิจัยติดค้างอยู่จะให้ชะลองานวิจัยที่ขอใหม่ไว้ก่อน
กลุ่มที่ 3                         การสร้างทีมวิจัย
                   ผู้ให้ ได้แก่                    มหาวิทยาลัยมหิดล
                                ผู้รับ ได้แก่                        มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.)
                                ผู้นำเสนอ ได้แก่            ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภิรมย์  อ่อนเส็ง           
                        คุณลิขิต    ได้แก่          นางสาวมีนา  สุนันตา
สรุปความรู้ที่ได้จากมหาวิทยาลัยมหิดล :
1.       ต้องมีนโยบายของมหาวิทยาลัยที่จะสร้างเครือข่ายการวิจัยที่ชัดเจน (เช่น มีทุนวิจัยมุ่งเป้า , มีศูนย์วิจัยเฉพาะทาง)
2.       มีความต่อเนื่องของทีมวิจัย,การสร้างทีมวิจัย และทีมวิจัยระดับคณะจะดีกว่าทีมวิจัยขนาดใหญ่
3.       มีความร่วมมือกับองค์กรภายนอกมหาวิทยาลัย (ระดับประเทศ เช่น กระทรวงสาธารณสุข  / ระดับโลก เช่น WHO , องค์การอนามัยโลก)
4.       มีการสร้างเครือข่ายกับท้องถิ่น มักเป็นเครือข่ายระดับใหญ่ซึ่งมีความหลากหลายของศาสตร์สาขาต่าง ๆ เช่น เครือข่ายลุ่มน้ำท่าจีน แม่กลอง
5.       มีนักวิจัยรุ่นใหม่ ซึ่งถือเป็นโอกาสในการพัฒนางานวิจัยได้ดี

ย้ำอีกทีนะครับว่า ข้อสรุปข้างบน สคส. ได้มาจาก มน.

วิจารณ์ พานิช

คำสำคัญ (Tags): #ukm#อุดมศึกษา
หมายเลขบันทึก: 3203เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2005 08:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรียน ท่านผู้อ่านขุมความรู้ทุกท่าน

เนื่องจากตัวอักษรอาจทำให้อ่านยาก  เพื่อความสะดวกในการอ่านสำหรับทุกท่านที่สนใจ  สามารถเข้าไปอ่านบันทึกของอาจารย์มาลินี  ที่ได้บันทึกขุมความรู้ UKM 2/2548 ในเรื่อง "การบริหารงานวิจัย"  เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2548  ตาม link ด้านล่างนี้ได้นะคะ

http://gotoknow.org/archive/2005/07/19/07/41/30/e1374

ขอบคุณค่ะ

เรียน ท่านผู้อ่านขุมความรู้ทุกท่าน

เนื่องจากตัวอักษรอาจทำให้อ่านยาก  เพื่อความสะดวกในการอ่านสำหรับทุกท่านที่สนใจ  สามารถเข้าไปอ่านบันทึกของอาจารย์มาลินี  ที่ได้บันทึกขุมความรู้ UKM 2/2548 ในเรื่อง "การบริหารงานวิจัย"  เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2548  ตาม link ด้านล่างนี้ได้นะคะ

http://gotoknow.org/archive/2005/07/19/07/41/30/e1374

ขอบคุณค่ะ

เรียน ท่านผู้อ่านขุมความรู้ทุกท่าน

เนื่องจากตัวอักษรอาจทำให้อ่านยาก  เพื่อความสะดวกในการอ่านสำหรับทุกท่านที่สนใจ  สามารถเข้าไปอ่านบันทึกของอาจารย์มาลินี  ที่ได้บันทึกขุมความรู้ UKM 2/2548 ในเรื่อง "การบริหารงานวิจัย"  เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2548  ตาม link ด้านล่างนี้ได้นะคะ

http://gotoknow.org/archive/2005/07/19/07/41/30/e1374

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท