ความเสมอของการลงทุนทางการศึกษา (7)


ความเสมอภาคของการลงทุนทางการศึกษา

ความเสมอภาคของการลงทุนทางการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  จังหวัดสระแก้ว

ผู้วิจัย :  ประสาน  เลือดทหาร

สาขาการบริหารการศึกษา ม.บูรพา

ตุลาคม  2547

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

 

 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2542  ซึ่งถือเป็นกฎหมายการศึกษาฉบับแรกของประเทศที่กำหนดแนวทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่ประชาชนชาวไทยให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ กล่าวไว้ในมาตรา 10  ระบุว่า การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิ และโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี (ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา)

ความเสมอภาคทางการศึกษา มีความหมายครอบคลุมถึงความเสมอภาคในโอกาสการเข้ารับบริการทางการศึกษา  การกระจายโอกาสให้แก่บุคคล  กลุ่มผู้ยากไร้  ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา และความเสมอภาคในการจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษา ซึ่งหมายถึงการจัดสรรทรัพยากรของรัฐ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2532, หน้า 95)

ความจำเป็นในการพัฒนาประเทศด้านการศึกษารัฐบาลจัดสรรงบประมาณมาเพื่อดำเนินการเป็นรายจ่ายในการลงทุนทางการศึกษา  โดยจัดสรรมายังกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้กรมต่างๆ หรือหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการดำเนินงานตามแผนงาน และโครงการต่อไป (กรมสามัญศึกษา, 2544 หน้า 28-30) 

การลงทุนทางการศึกษามีปัญหาหลายประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับมัธยมศึกษาประการแรกเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณการศึกษาโดยวิธีรวมอำนาจซึ่งจะส่งผลต่อความไม่เสมอภาคทางการศึกษาโดยตรง ประการที่สองคือ เกิดจากรัฐไม่กระจายทรัพยากรที่ไม่เสมอภาคกันไปในที่ขาดแคลน และประการที่สามคือ ความแตกต่างของความมั่งคั่งของทรัพยากรก่อให้เกิดความไม่เสมอภาคทางการศึกษา จากปัญหาดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษา และคุณภาพการศึกษาได้โดยตรง (บุญทิวา  สิริธรังศรี, 2541, หน้า 2-3)

 วัตถุประสงค์ของโครงการ

 เพื่อศึกษาสภาพการลงทุนทางการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสระแก้ว ตามขนาดของโรงเรียน ประจำปีงบประมาณ 2543 2544 และ 2545

       2. เพื่อศึกษาความเสมอภาคของการลงทุนทางการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ 

             การศึกษา จังหวัดสระแก้ว ตามขนาดของโรงเรียน ประจำปีงบประมาณ 2543 2544 และ 2545

 ความสำคัญของการวิจัย

          1.  ผลของการศึกษาทำให้ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้บริหารโรงเรียนทราบถึงการลงทุนการศึกษาและความเสมอภาคของการลงทุนทางการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  จังหวัดสระแก้ว

                2.  ผลของการศึกษาจะเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายด้านการจัดสรรงบประมาณการศึกษาเพื่อให้เกิดความเสมอภาคในการลงทุนทางการศึกษา  สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  จังหวัดสระแก้ว

สมมตติฐานของการวิจัย

                 1.  สภาพการลงทุนทางการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  จังหวัดสระแก้ว  ในปีงบประมาณ มีสภาพการลงทุนทางการศึกษาเพิ่มขึ้นทุกปี

                2.  ความเสมอภาคของการลงทุนทางการศึกษา  โดยส่วนรวมในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษา  จังหวัดสระแก้ว  ประจำปีงบประมาณ  2543, 2544 และ 2545  มีความเสมอภาคขึ้นตามลำดับ

                3.  ความเสมอภาคของการลงทุนทางการศึกษา  ตามขนาดของโรงเรียน  ประเภทของงบประมาณในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  จังหวัดสระแก้ว  ประจำปีงบประมาณ 2543, 2544 และ 2545  มีความเสมอภาคแตกต่างกัน

วิธีดำเนินการวิจัย

   1. ประชากร   ที่ใช้ในการศึกษาคือ โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดสระแก้ว ปีงบประมาณ 2543  2544 และ 2545  ซึ่งมีทั้งหมด  21  โรงเรียน เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ จำนวน 5  โรงเรียน  โรงเรียนขนาดกลาง  จำนวน  11  โรงเรียน และโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน  5  โรงเรียน

  2.  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 

                แบบสอบถาม

 3.  วิธีสร้างเครื่องมือ

                3.1 ศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร  ตำราและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และทำความเข้าใจรวมกับประสบการณ์ทำงาน  นำข้อมูลที่ได้มารวบรวมแล้วสร้างเป็นแบบสำรวจขึ้นนำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน  5  ท่าน  และนำมาแก้ไขปรับปรุง

                3.2  ผู้วิจัยนำแบบสำรวจที่แก้ไขปรับปรุงไปให้อาจารย์ที่ปรึกษางานนิพนธ์ตรวจสอบแก้ไขอีกครั้งหนึ่ง  หลังจากนั้นจึงนำไปจัดพิมพ์เป็นแบบสำรวจฉบับที่สมบูรณ์  โดยในแบบสำรวจประกอบด้วย  การสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนมัธยมศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดสระแก้วและการจัดสรรงบประมาณ  ข้อมูลที่สำรวจ ได้แก่ข้อมูลทั่วไปของโรงเรียน จำนวนครู  จำนวนนักเรียน  รายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนเงินงบประมาณ  เงินนอกงบประมาณของโรงเรียนโดยใช้ข้อมูลของปีงบประมาณ  2543,2544 และ 2545

4.  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  

      4.1.  วิเคราะห์สภาพการลงทุนทางการศึกษา  โดยส่วนรวมในแต่ละปีงบประมาณของโรงเรียนมัธยมศึกษา  โดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่

           4.1.1  หาอัตราร้อยละ 

           4.1.2  ค่าคะแนนเฉลี่ย

    4.2. วิเคราะห์ความเสมอภาคทางการลงทุนทางการศึกษา โดยใช้โค้งลอเรนซ์และดรรชนีจินิ(Lorenz Curve and Gini Index)

       ดรรชนีจินิ เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าโค้งลอเรน์ห่างจากเส้นตรงแห่งความเสมอภาคในอุดมคติมากน้อยเพียงใด  โดยคำนวณได้จากสูตร  (Hickrod, 1980,p.49)  อ้างถึงใน เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์, 2524,หน้า 46

 สรุปผลการวิจัย

   1.สภาพทั่วไปและสภาพการลงทุนทางการศึกษา ของโรงเรียนมัธยมศึกษา  มีจำนวนนักเรียนและงบประมาณโดยรวม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งในช่วง 3 ปีงบประมาณที่ศึกษา พบว่า โรงเรียนขนาดต่างๆ ใช้เงินงบประมาณ ในหมวดเงินเดือน ค่าจ้าง สูงที่สุด รองลงมาคืองบประมาณในหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้าง และงบประมาณในหมวดหมวดค่าวัสดุ ตามลำดับ  โดยค่าใช้จ่ายต่างๆเหล่านี้  ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณมากกว่าเงินนอกงบประมาณ  โรงเรียนขนาดใหญ่มีค่าเฉลี่ยรายหัวจากเงินนอกงบประมาณมากกว่าขนาดกลาง และขนาดเล็ก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยรายหัวน้อยที่สุด

 2.  ความเสมอภาคทางการลงทุนการศึกษา ของโรงเรียนมัธยมศึกษา  พบว่า เงินงบประมาณในแต่ละปีนั้นมีความเสมอภาคในการลงทุนทางการศึกษามากกว่าเงินนอกงบประมาณ และในปีงบประมาณ 2545  โรงเรียนขนาดใหญ่  ขนาดกลาง และขนาดเล็ก มีความเสมอภาคในการลงทุนทางการศึกษาโดยรวมมากที่สุด  โดยความเสมอภาคในการลงทุนการศึกษามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปีและความเสมอภาคในการลงทุนทางการศึกษาในโรงเรียนแต่ละขนาดมีความแตกต่างกันไปตามประเภทของเงินงบประมาณ ในแต่ละปีและความเสมอภาคการลงทุนทางการศึกษา  ในโรงเรียนแต่ละขนาดมีความแตกต่างกันไปตามประเภทของเงินงบประมาณ  และปีงบประมาณ

 

               

หมายเลขบันทึก: 320150เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2009 09:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท