"โรงเรียนดี ๓ ระดับ"


หลักการสำคัญคือ ๑) ต้องมีความเป็นเลิศทางวิชาการ ๒) มีระบบบริหารจัดการที่เน้นการมีส่วนร่วมจากองค์กรต่างๆ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันศาสนา ผู้ปกครอง ชุมชน ภาคเอกชนเข้ามาช่วยโรงเรียน ๓) ต้องมีปัจจัยพื้นฐาน ที่มีความชัดเจนแล้วว่าจะต้องมีอาคารสถานที่ มีภูมิทัศน์พร้อม มีห้องสมุด ๓ ดี (หนังสือดี-บรรยากาศดี-บรรณารักษ์ดี) มีคอมพิวเตอร์ในสัดส่วน ๑ เครื่องต่อนักเรียน ๑๐ คน และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างน้อย ๒ เมกะบิต

เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๒ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยถึงข้อสรุปโรงเรียนดี ๓ ระดับ ในระหว่างการเดินทางไป จ.อุบลราชธานี เพื่อบันทึกเทปรายการ Tutor Channel และเปิดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ ๕๙
"โรงเรียนดี ๓ ระดับ" ว่าจะมีทั้งสิ้น ๑๐,๐๐๐ โรงเรียน คือ โรงเรียนดีระดับสากล ๕๐๐ โรง โรงเรียนดีประจำอำเภอ ๒,๕๐๐ โรง และโรงเรียนดีประจำตำบล ๗,๐๐๐ โรง โดยมีหลักการสำคัญคือ ๑) ต้องมีความเป็นเลิศทางวิชาการ ๒) มีระบบบริหารจัดการที่เน้นการมีส่วนร่วมจากองค์กรต่างๆ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันศาสนา ผู้ปกครอง ชุมชน ภาคเอกชนเข้ามาช่วยโรงเรียน ๓) ต้องมีปัจจัยพื้นฐาน ที่มีความชัดเจนแล้วว่าจะต้องมีอาคารสถานที่ มีภูมิทัศน์พร้อม มีห้องสมุด ๓ ดี (หนังสือดี-บรรยากาศดี-บรรณารักษ์ดี) มีคอมพิวเตอร์ในสัดส่วน ๑ เครื่องต่อนักเรียน ๑๐ คน และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างน้อย ๒ เมกะบิต
นอกจากนั้น จะมีเกณฑ์ตัวชี้วัดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น

โรงเรียนดีประจำตำบล
จะต้องมีครูที่สอนตรงตามวิชาเอกหรือได้รับการพัฒนาจนมีความพร้อมที่จะสอนตรงตามวิชาที่เด็กเรียนอย่างน้อยใน ๕ กลุ่มสาระหลัก โดยใช้งบประมาณในการดำเนินการ ๔,๐๐๐ ล้านบาท 

โรงเรียนดีประจำอำเภอ
จะใช้เกณฑ์เช่นเดียวกับโรงเรียนดีใกล้บ้าน และโครงการ ๑ อำเภอ ๑ โรงเรียนในฝัน และจะต้องมีครูที่ตรงตามวิชาเอกหรือได้รับการพัฒนาขึ้นมาครบทั้ง ๘ กลุ่มสาระ โดยตั้งงบประมาณในการพัฒนาโรงเรียนดีประจำอำเภอรวม ๑,๐๐๐ ล้านบาท 

โรงเรียนดีระดับสากล
นั้น สิ่งใหม่ที่จะเกิดขึ้นคือ จะมีการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษก่อน เพราะต้องยอมรับความจริงว่าจะมีการสอนครบทุกรายวิชายังไม่ได้ จึงจะเริ่มต้นนับหนึ่งเฉพาะโรงเรียนและบางห้องเรียนที่มีความพร้อมและขยายฐานออกไป โดยจะดูความพร้อมว่า โรงเรียนใดมีความพร้อมที่จะดำเนินการก่อน และพร้อมกี่ห้องเรียน โดยมีการจัดทำแผนชัดเจนว่าภายในระยะเวลากี่ปีจะทำให้ครบ ๕๐๐ โรง สำหรับเกณฑ์ของการเป็นผู้บริหารโรงเรียนระดับสากล ได้มอบเป็นนโยบายไปแล้วว่า จะต้องมีศักยภาพ ไม่ใช่ใครก็ได้ มีการคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนอย่างมีระบบและชัดเจน โดยใช้งบฯดำเนินการ ๑,๕๐๐ ล้านบาท
ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหม่ที่จะเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบในต้นปีการศึกษา ๒๕๕๓ และถือเป็นการยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนครั้งใหญ่ของ ศธ.

อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/websm/2009/dec/448.html

ศธ.เร่งพัฒนาโรงเรียนดีระดับสากล

          ศธ. เร่งพัฒนาโรงเรียนดีระดับสากล ยกคุณภาพสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เป็นภาษาอังกฤษ  ที่ใดพร้อมเปิดสอนได้ทันที  ปีการศึกษา 53 ใช้งบฯ SP2 เฉียด 6,000 ล้านบาท  “จุรินทร์” ฟุ้งเริ่มนับหนึ่งจากฐานที่มั่นคง มุ่งสู่การจัดการศึกษาระดับสากล

          นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยผลการประชุมโครงการโรงเรียนดี 3 ระดับ เมื่อเร็วๆ นี้ว่า ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับการดำเนินโครงการดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนดีระดับสากล  500 โรง  โรงเรียนดีระดับอำเภอ 2,500 โรง และ โรงเรียนดีระดับตำบล  7,000  โรง โดยมีหลักการว่าโรงเรียนดีระดับตำบล จะต้องเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการ รวมทั้งเน้นการมีส่วนร่วมจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และ ภาคเอกชน  ซึ่งโรงเรียนที่จะพัฒนาสู่การเป็นโรงเรียนดีระดับตำบลนั้น จะต้องมีเกณฑ์ตามที่กำหนด อาทิ อาคารสถานที่จะต้องมีความพร้อม มีห้องสมุด 3 ดี  มีคอมพิวเตอร์ในสัดส่วน 1/10 คน จากที่ปัจจุบันมีมีอยู่ 1/40 คน  ซึ่งจะทำให้นักเรียนมีคอมพิวเตอร์ใช้เพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันจะต้องมีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 2 เมกกะบิต  นอกจากนี้ครูจะต้องจบวิชาเอก หรือได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพตรงกับวิชาที่สอนอย่างน้อย 5 กลุ่มสาระวิชาหลัก  ส่วนโรงเรียนดีระดับอำเภอจะใช้หลักเกณฑ์เดียวกับโรงเรียนดีระดับตำบล โดยจะมีลักษณะเดียวกับโรงเรียนในฝัน  และโรงเรียนดีใกล้บ้าน ซึ่งครูจะต้องจบตรงตามวิชาที่สอนครบทั้ง 8 กลุ่มสาระวิชา

          นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า สำหรับโรงเรียนดีระดับสากล จะมีการจัดการเรียนการสอนในวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เป็นภาษาอังกฤษ โดยในเบื้องต้นจะพิจารณาว่าโรงเรียนใดมีความพร้อม และพร้อมเปิดสอนกี่ห้อง ก็จะให้เริ่มสอนตามนั้นไปก่อน  และจะต้องขยายให้ครบทั้ง 500 โรงเรียนต่อไป ทั้งนี้สาเหตุที่สอนเป็นภาษาอังกฤษนั้น เพื่อมุ่งเน้นที่จะเดินไปสู่คุณภาพระดับสากล ซึ่งถือเป็นการยกระดับคุณภาพการศึกษาครั้งใหญ่

          “คงจะไม่สอนเป็นภาษาอังกฤษได้ทุกวิชา เพราะยังเป็นไปไม่ได้ ทั้งนี้ได้มีบทเรียนจากประเทศมาเลเซียที่เริ่มต้นสอนภาษาอังกฤษ ทั้งวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนทุกแห่ง แต่ในที่สุดก็ต้องย้อนกลับมาที่เดิมเพราะพัฒนาครูไม่ทัน เด็กเองยังไม่มีศักยภาพที่จะเรียนได้ ซึ่งเราจะต้องนับหนึ่งจากฐานที่มั่นคง จะเริ่มเฉพาะโรงเรียนที่มีความพร้อม และเฉพาะห้องเรียนที่พร้อมก่อน แล้วค่อยขยายฐานออกไป ซึ่งถือเป็นการนับหนึ่งที่เป็นรูปธรรมที่สุดครั้งหนึ่งที่จะมุ่งสู่การยกระดับคุณภาพการศึกษา”

          รมว.ศึกษาธิการ  กล่าวและว่า  ทั้งนี้ได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปจัดทำเกณฑ์คัดเลือกผู้บริหารที่จะเข้ามาเป็นผู้บริหารโรงเรียนดีระดับสากล รวมทั้งนักเรียนว่าจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ซึ่งปัจจุบันมีบางโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนในลักษณะนี้อยู่แล้ว เช่น โรงเรียนสองภาษา ทั้งนี้จะเริ่มดำเนินการทันทีในปีการศึกษา 2553 โดยจะใช้งบประมาณจากโครงการ SP2 มาดำเนินการพัฒนาโรงเรียนดีระดับสากล  จำนวน 1,500 ล้านบาท  โรงเรียนดีระดับอำเภอ 1,000 ล้านบาท และโรงเรียนดีระดับตำบล 4,000 ล้านบาท ซึ่งสาเหตุที่ต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมากนั้น เพื่อต้องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานก่อนเป็นลำดับแรก

อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=14304&Key=hotnews

ขอชื่นชมกับการพัฒนาการศึกษา และดีใจกับนักเรียนที่อยู่ห่างไกลจะได้มีโอกาสมากยิ่งขึ้น
ตามมาตรฐานการศึกษาที่จะต้องทัดเทียมกัน...คงเห็นได้อีกไม่นานเกินรอ

หมายเลขบันทึก: 319912เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2009 07:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

น่าภาคภูมิใจมาก...ถ้าทำได้จริงครับ

สวัสดีครับคุณครู
P พิสูจน์
ขอบคุณครับที่มาทักทาย
เป็นสิ่งที่น่าภูมิใจมากครับ

สวัสดีค่ะ

  • โรงเรียนดีระดับสากล   ครูอ้อย เคยนำเสนอที่โรงเรียน เมื่อปีกลาย  หากเข้าร่วมโครงการ  ป่านนี้ ได้เป็น โรงเรียนดีระดับสากลแล้ว....

โครงการนั้นคือ   การสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ (CLIL)

สวัสดีครับพี่อ้อย

ก็เป็นมิติใหม่ของการศึกษาเราครับ

ผมเคยไปประชุมเรื่องการศึกษากับนักการศึกษา

ที่มาจากต่างประเทศประมาณ 8 ปีที่แล้ว

..และการศึกษาเราปัจจุบันกำลังไปสู่ทิศทางที่เป็นสากลมากขึ้น

..แต่อย่างไรต้องไปลืมรากเง้าของวัฒนธรรมไทยก็เป็นสากลได้เช่นกันครับ

(ความเป็นชาติ)

ของคุณมากครับพี่อ้อยกับโครงงานที่นำมาเสนอครับ

  • นักเรียนที่อยู่ห่างไกลจะได้มีโอกาสมากยิ่งขึ้น...อันนี้คิอหัวใจ !!!

สวัสดีค่ะ

  • ไม่กี่วันที่ผ่านมา  ได้มีโอกาสไปร่วมสังเคราะห์งานวิจัยนโยบายการจัดการศึกษาของ ๔ ประเทศใกล้ ๆบ้านเรา
  • ผู้เชี่ยวชาญท่านหนึ่งบอกว่า...นโยบายดีอย่างไร  แต่ไม่แน่ใจว่าครูไทยจะนำนโยบายไปใช้พัฒนาให้ถึงตัวเด็ก
  • ขอขอบพระคุณกับข่าวดีค่ะ

ผมได้อ่านที่หนังสือพิมพ์เช่นกันครับ ก็กำลังนั่งคิดอยู่พอดี

มีห้องสมุด ๓ ดี (หนังสือดี-บรรยากาศดี-บรรณารักษ์ดี) มีคอมพิวเตอร์ในสัดส่วน ๑ เครื่องต่อนักเรียน ๑๐ คน และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างน้อย ๒ เมกะบิต

... โรงเรียนเล็ก ๆ หาครูบรรณารักษ์ที่จบโดยตรง ร้อยละเท่าใด ?

... สัดส่วนคอมฯ ๑ : ๑๐ ... ไม่มีจริงในโรงเรียนห่างไกล

ทำให้ได้จะดีต่อการศึกษาไทย แต่ไม่แน่ใจว่า ไปถูกทางหรือเปล่าครับ

ขอบคุณข่าวสารครับ ;)

สวัสดีครับครูคิม และคุณWasawat Deemarn

ขอบคุณที่เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นครับ

วามจริงแล้วการศึกษาทุกท่านก็ผ่านมาไม่เหมือนกันหรอกครับ

อันนี้เป็นความเชื่อของผู้เขียน...เพราะความแตกต่างของโรงเรียน

มีอยู่สูงมาก จะให้ทัดเทียมกันผมว่าต้องรอเวลาอีกนานมาก

...แต่หากการกระจายองค์กรที่จะเป็นนิติบุคคลมากขึ้น

หักกลับมาดู...แหล่งพัฒนาคน(โรงเรียน)ที่จะทำให้คนไปสร้างชาติในอนาคต

...แต่ผมก็เห็นผู้นำทางวิชาการ..แต่ก็จบโรงเรียนวัด...โรงเรียนตามชุมชนที่ห่างไกล

แต่ท่านเหล่านี้มีโอกาสที่ดีกว่า...ดังนั้นโอกาสที่ดีกว่าจึงนำมาซึ่งการพัฒนา

... โรงเรียนเล็ก ๆ หาครูบรรณารักษ์ที่จบโดยตรง ร้อยละเท่าใด ?

ตอบ = ก็นำครูที่มีอยู๋มาช่วยทำหน้าที่แทนครับ เพราะอัตราถ้าเทียบครู 1 คน ต่อนักเรียน 20 คนล

โรงเรียนบางโรงที่อยู่ห่างไกลมาก ๆ มีนักเรียนทั้งโรงเรียน 10 - 20 คน คิดเป็นสัดส่วนครู

มีอย่างมากก็ 1-2 คนรวมทั้งผู้อำนวยการโรงเรียนก็ 3 คน

... สัดส่วนคอมฯ ๑ : ๑๐ ... ไม่มีจริงในโรงเรียนห่างไกล

ตอบ = .=ใช่ครับ

ทำให้ได้จะดีต่อการศึกษาไทย แต่ไม่แน่ใจว่า ไปถูกทางหรือเปล่าครับ

ตอบ = อันนี้ไม้ทราบครับเป็นอนาคต แต่ก็เป็นความโชคดีของเด็ก ๆ

ที่อยู่ห่างไกลที่จะได้เรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่

(ผู้เขียนนเองเคยไปเช่าคอมพิวเตอร์มาสอนนักเรียนซึ่งสมัยก่อนไม่มีงบประมาณสนับสนุน

ให้กับโรงเรียน เราเลยต้องไปเป็นหนี้เองแล้วก็จัดอบรมหารายได้จนลุกหนี้ เครื่องก็ตกรุ่นแล้ว

สมัยก่อนเครื่องรุ่น 286 จอโมโนโครม...ปัจจุบันถือว่าโชคดีกว่า...ก็หวัวว่าจะประสบความสำเร็จ

...คนที่เป็นตัวจักรสำคัญก็คือคุณครูทุกคนนั่นเองครับ)...ไม่รู้ว่าคุณครูยังต้องลงขันช่วยเด็กนักเรียน

อยู่หรือเปล่าเพราะสมัยก่อนผู้เขียนเองก็ทำเช่นนั้น...เพราะงบประมาณไม่เพียงพอ

ขอบูชาคุณครูครับ

เป็นข้อมูลที่สำคัญในการเตรียมโรงเรียนสมัครโรงเรียนดีประจำตำบล สรุปแล้วมีโควต้าเขตละกี่โรงเรียนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท