วิจัยเรื่องที่ 8


การศึกษาและแก้ไขปัญหาเด็กมัธยม

ชื่อเรื่อง                  การศึกษาและการแก้ปัญหานักเรียนโรงเรียนศึกษานารีชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  ห้อง  6  กลุ่ม  ก.

โดยใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ผู้วิจัย                    นางทองสุข   ทับเจริญ

ปีที่วิจัย                  2548

วัตถุประสงค์การวิจัย

                        1.  เพื่อศึกษาสถานภาพส่วนตัวด้านต่าง ๆ  ของนักเรียนโรงเรียนศึกษานารี  ชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่  1  ห้อง  6  กลุ่ม  ก.

                                2.  เพื่อศึกษาผลการแก้ปัญหานักเรียน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  ห้อง  6  กลุ่ม  ก.

วิธีการดำเนินการวิจัย

            1.  ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้  ประกอบด้วยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  ห้อง  6

     กลุ่ม  ก.  จำนวน  29  คน

                2.  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

                   2.1  แบบสำรวจสถานภาพส่วนตัวของนักเรียนด้านต่าง ๆ  (ระเบียนสะสม)

                     2.2  แบบประเมินสุขภาพจิตและพฤติกรรมนักเรียน  (SDQ)

                   2.3  แบบบันทึกสถิตินักเรียนจำแนกตามกลุ่มการช่วยเหลือ

                     2.4  แบบรายงานผลการช่วยเหลือนักเรียน

การเก็บรวบรวมข้อมูล

                     1  ผู้วิจัยให้นักเรียนกรอกข้อมูลสถานภาพส่วนตัวในระเบียนสะสม

                     2  แจกแบบ  SDQ  ให้นักเรียนประเมินในห้องเรียนและให้ผู้ปกครองประเมินในวัน

                        ประชุมผู้ปกครองและผู้วิจัยเป็นผู้ประเมิน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

                เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น  2  ชุดคือ

                1.  ระเบียนสะสม  เป็นแบบบันทึกประวัตินักเรียน  ประกอบด้วยข้อมูลส่วนตัว  ข้อมูล

ส่วนตัว  ข้อมูลครอบครัว  ข้อมูลด้านการศึกษาและข้อมูลด้านสุขภาพ

                2.  แบบประเมินสุขภาพจิตและพฤติกรรมนักเรียน(SDQ)  จำนวน  21  ข้อ  แบ่งเป็น

3  ฉบับคือนักเรียนประเมินตนเอง  ครูและผู้ปกครองประเมินนักเรียน  แบ่งเป็น  5  ด้านคือ

ด้านอารมณ์  ด้านความประพฤติ  ด้านพฤติกรรมไม่อยู่นิ่ง  ด้านบุคลิกภาพและความสัมพันธ์กับเพื่อน

และด้านสัมพันธภาพทางสังคม

การสร้างเครื่องมือสำหรับการวิจัย

                     ผู้วิจัยใช้เครื่องมือในการวิจัยซึ่งสร้างโดยกรมสุขภาพจิตและงานระบบดูแลช่วยเหลือ

นักเรียนโรงเรียนศึกษานารี

การวิเคราะห์ข้อมูล

                1.  นำระเบียนสะสมมาวิเคราะห์รายด้าน  โดยใช้ค่าความถี่และร้อยละ

                2.  ข้อมูลด้านสุขภาพจิตที่วัดได้จาก  SDQ  นำมาตรวจให้คะแนนและแปลผลตามที่

กรมสุขภาพจิตกำหนดเป็น  3  กลุ่มคือ  กลุ่มปกติ  กลุ่มเสี่ยงและมีปัญหา

                3.  การรายงานผลการแก้ปัญหานักเรียนเขียนรายงานในเชิงบรรยายผลการดำเนินการ

สรุปผลการวิจัย

                ตอนที่  1  การศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับตัวนักเรียน  จำแนกเป็นรายด้านดังนี้

                1.  การศึกษาสถานภาพนักเรียนด้านสุขภาพจิตและพฤติกรรมพบว่า  กลุ่มปกติสูงสุด

ร้อยละ  100  คือด้านสารเสพติด  สำหรับกลุ่มเสี่ยงสูงสุดได้แก่  ด้านเศรษฐกิจ  ร้อยละ  31.03

และกลุ่มมีปัญหาสูงสุดได้แก่  ด้านการเรียน  ร้อยละ  10.34

                2. การศึกษาสถานภาพนักเรียนข้อมูลด้านส่วนตัวด้านอายุส่วนใหญ่นักเรียนจะมีอายุ

12  ปี  ร้อยละ  86.20  ภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพสูงสุด  ร้อยละ  82.75  ลักษณะการพักอาศัยสูงสุด

พักกับบิดา-มารดา  ร้อยละ  79.31 และที่พักส่วนใหญ่เป็นบ้านพักส่วนตัว  ร้อยละ  51.72  และ

จำนวนเงินที่ได้รับรายวันส่วนใหญ่  50 – 100  บาท  ร้อยละ  86.66

                3.  การศึกษาข้อมูลครอบครัวส่วนใหญ่บิดามีอายุ  30-40  ปี  ร้อยละ  33.33  มารดามีอายุ

ส่วนใหญ่  30 – 40  ปี  ร้อยละ  41.37  ด้านการศึกษาพบว่า  ส่วนใหญ่บิดามีการศึกษาต่ำกว่ามัธยม

ศึกษาตอนต้น  ร้อยละ  24.13  มารดาส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  ร้อยละ  31.03 ด้านอาชีพของบิดาสูงสุดร้อยละ  41.37  มีอาชีพรับจ้าง  สำหรับมารดาสูงสุดร้อยละ  24.14  ประกอบด้วย  2  อาชีพคือ  รับจ้างและแม่บ้าน

                4.  การศึกษาสถานภาพส่วนตัวด้านเศรษฐกิจและจำนวนสมาชิกในครอบครัวพบว่า

ส่วนใหญ่ไม่มีหนี้สิน  ร้อยละ  56.66  และส่วนใหญ่  ร้อยละ  26.66  มีสมาชิกในครอบครัว  4  คน

                5.  การศึกษาความถนัดและความสนใจทางด้านการเรียนพบว่า  วิชาที่นักเรียนสนใจ

อันดับ  1  มากที่สุดร้อยละ  16.66  คือวิชาภาษาไทยและคณิตศาสตร์  นอกนั้นร้อยละ  50  ไม่ระบุ

ว่าชอบวิชาใดเป็นพิเศษ

                6.  การศึกษาข้อมูลด้านสุขภาพพบว่า  นักเรียนส่วนใหญ่ร้อยละ  51.72  มีเลือดหมู่  B 

และร้อยละ  93.10  ไม่มีโรคประจำตัว  ส่วนน้อยที่เป็นโรคภูมิแพ้คือ  ร้อยละ  13.33  สำหรับ

ด้านสายตาพบว่า  นักเรียนส่วนใหญ่ร้อยละ  75.86  มีสายตาปกติ  นักเรียนส่วนใหญ่ร้อยละ  24.14

สวมใส่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์  นักเรียนร้อยละ  100  ไม่มีความบกพร่องทางการได้ยินและร้อยละ 96.56 ไม่มีความบกพร่องทางร่างกาย  สำหรับนักเรียนร้อยละ  93.10  ไม่เคยป่วยหนักหรือได้รับอุบัติเหตุร้ายแรง

                ตอนที่  2  การรายงานการแก้ปัญหานักเรียนโดยใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

                1.  การศึกษานักเรียนกลุ่มที่มีปัญหาพบว่า  การแก้ปัญหานักเรียนต้องใช้วิธีหลากหลาย

นักเรียนกลุ่มที่ผู้วิจัยรับผิดชอบมีปัญหาด้านการเรียน  3  คนคือ  โดยเฉพาะเลขที่  9  นักเรียนเรียนช้าและทำงานไม่ทันจึงจัดกลุ่มเพื่อนให้ดูแลและเชิญผู้ปกครองเพื่อมาพบและพูดคุยหาทางแก้ปัญหา

สำหรับเลขที่  28  มีปัญหาทุกด้านเนื่องจาก  นักเรียนอยู่ในชุมชนแออัดหลังโรงพยาบาลตากสิน  ผู้วิจัยเยี่ยมบ้านและพูดคุยกับผู้ปกครอง  จัดกลุ่มนักเรียนให้ช่วยเหลือ  ติดตามดูแลนักเรียนทุกวันและทุกครั้งที่เข้าสอน  ภายหลังนักเรียนพัฒนาขึ้นทำงานและการบ้านทันทุกวิชา  เลขที่  30  มีปัญหาด้านการเรียนได้ดำเนินการเช่นเดียวกับเลขที่  9  ให้ทำตารางส่งงานให้ที่ปรึกษาเซ็นรับทราบ

 

 

 

 

อภิปรายผล

            จากการศึกษาข้อมูลทั่วไปของนักเรียนด้านต่าง ๆ  เนื่องจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ห้อง  6  ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนค่อนข้างดีสอดคล้องกับการศึกษาที่พบว่า  นักเรียนส่วนใหญ่อยู่ใน

กลุ่มปกติ  มีเพียงเล็กน้อยที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือมีปัญหา  กลุ่มที่เสี่ยงเป็นการเสี่ยงด้านการเรียน

ร้อยละ  24.3  ซึ่งภายหลังการแก้ปัญหานักเรียนกลุ่มนี้ได้รับความช่วยเหลือดูแลจากที่ปรึกษา

สามารถช่วยเหลือได้สอบผ่านทุกรายวิชา  สำหรับกลุ่มเสี่ยงด้านเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่โรงเรียน

แก้ไขไม่ได้  แต่พอช่วยเหลือได้คือ  ให้ทุนการศึกษากับนักเรียน  แต่ช่วยได้ไม่มากเนื่องจากทุน

มีมูลค่าน้อยแต่พอทุเลาลงได้  สำหรับกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพ  ครูที่ปรึกษาได้พูดคุยกับผู้ปกครอง

และครูพยาบาล  พร้อมทั้งให้คำแนะนำวิธีปฏิบัติเรื่องลาโรงเรียนเมื่อต้องไปพบแพทย์และต้องลา

โรงเรียนหรือต้องมาโรงเรียนสาย  ช่วยสังเกตและบันทึกพฤติกรรมให้กับแพทย์ที่ดูแลนักเรียน

มี  1  คนที่ได้ดำเนินการ  และพบว่านักเรียนมีอาการที่ดีขึ้น  นอกจากนั้นในขณะสอนได้จัดกิจกรรม

พัฒนานักเรียนโดยใช้คำถามและให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น  ให้กำลังใจนักเรียนทั้งคำตอบที่ถูก

และผิด

                ด้านอายุของผู้ปกครองทั้งบิดามารดาพบว่ามีอายุในช่วง  30 – 40  ปี  แสดงให้เห็นว่าผู้ปกครองมีวุฒิภาวะพอที่จะอบรมสั่งสอนนักเรียน  ด้านการศึกษาส่วนใหญ่ผู้ปกครองมีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นประมาณหนึ่งในสี่ของทั้งหมด  และมีระดับปริญญาตรีบ้างเล็กน้อยซึ่งสอดคล้องกับที่ครูที่ปรึกษาได้ไปพบผู้ปกครองขณะเยี่ยมบ้านหรือพบในวันพบผู้ปกครองพบว่าผู้ปกครองบางครอบครัวไม่สามารถอบรมบุตรหลานได้  บางบ้านจะมีความเข้มงวดมากเกินไป   บางครอบครัวไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่ จากการเยี่ยมบ้าน  29 หลังพบว่า  ร้อยละ  70  ผู้ปกครองมีการดูแลนักเรียนอย่างเหมาะสม  อีกร้อยละ  30  มีคุณภาพชีวิตไม่ดี  อยู่ในสลัมและชุมชุนแออัด  เช่นชุมชนแออัดหลังโรงพยาบาลตากสิน  ชุมชนแออัดหลังวัดกัลยาณ์  ชุมชนแออัดมัสยิดในกฎีขาว  ชุมชนแออัดมัสยิดต้นสน  และชุมชนแออัดหลังบางใส่ไก่  นักเรียนเหล่านี้เมื่อใช้แบบประเมินสุขภาพจิตและพฤติกรรมนักเรียนรวมทั้ง  ศ.น.คัดกรอง  3  แล้วส่วนใหญ่มีความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ  มีเพียง  1  คนที่มีความเสี่ยงทุกด้านคือ  นักเรียนที่อยู่ในชุมชุนแออัดหลังโรงพยาบาลตากสิน

                ผลการแก้ปัญหานักเรียนทุกคนได้รับการแก้ปัญหาดีขึ้น  ยกเว้นนักเรียนที่มีปัญหาด้าน

เศรษฐกิจจะต้องได้รับการช่วยเหลือด้านทุนการศึกษาในชั้นเรียนต่อไป  สำหรับนักเรียนที่มีปัญหา

ด้านระเบียบวินัยจะต้องดูแลใกล้ชิดในชั้นเรียนต่อไป

หมายเลขบันทึก: 319486เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2009 09:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 02:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ครูเเมว เป็นครูที่ดี ทาทางรักเด็กมากนะคะ

ครูเเมวคะ คิดถึงจังเลยคะ สบายดีหรือเปล่าคะ

ครูพิณทิพย์ พงษ์ขำ

เรียน คุณครูทองสุข ทับเจริญ

ดิฉันอ่านผลงานวิจัยของท่านแล้ว มีความเห็นว่าเป็นผลงานที่ดีน่าที่จะนำไปปฏบัติในโรงเรียนที่ดิฉันสอน จึงใคร่ขออนุญาติท่าน นำวิธีการดำเนินการวิจัยของท่านไปปรับใช้ในโรงเรียนของดิฉัน

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณครูทองสุข เจ้าของงานวิจัย และขอขอบคุณคุณครูจุลลดา ผู้เผยแพร่ มาณ.โอกาสนี้

จากครูบุ๋ม โรงเรียนบ้านเขาไม้เกวียน มวกเหล็ก

ครูพิณทิพย์ พงษ์ขำ

เรียน คุณครูทองสุข ทับเจริญ

ดิฉันอ่านผลงานวิจัยของท่านแล้ว มีความเห็นว่าเป็นผลงานที่ดีน่าที่จะนำไปปฏบัติในโรงเรียนที่ดิฉันสอน จึงใคร่ขออนุญาติท่าน นำวิธีการดำเนินการวิจัยของท่านไปปรับใช้ในโรงเรียนของดิฉัน

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณครูทองสุข เจ้าของงานวิจัย และขอขอบคุณคุณครูจุลลดา ผู้เผยแพร่ มาณ.โอกาสนี้

จากครูบุ๋ม โรงเรียนบ้านเขาไม้เกวียน มวกเหล็ก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท