งิจัยด้านวิชาการ


หัวใจสำคัญ

ชื่อเรื่อง                  ปัญหาการดำเนินงานวิชาการในโรงเรียนเทศบาลขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดกรมการปกครอง 

กระทรวงมหาดไทย

ผู้วิจัย                      สมยศ  ผูกโอสถ

ปีที่วิจัย                   2542

วัตถุประสงค์        1.เพื่อการศึกษาปัญหาการดำเนินงานวิชาการในโรงเรียนเทศบาลขยายโอกาสทางการศึกษา  ตาม

  ความคิดครูวิชาการ  จำแนกตามเพศและการเข้ารับการอบรม

                                2.เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนเทศบาลระหว่างครูวิชาการชายกับครู

  วิชาการหญิง

3.เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนเทศบาลระหว่างครูวิชาการที่เข้ารับการ

  อบรมและครูวิชาการที่ไม่ได้เข้ารับการอบรม

วิธีวิจัย                    มีขั้นตอนศึกษาค้นคว้า ดังนี้

                                1.ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

                                                -  ประชากร  ประกอบด้วยพนักงานครูเทศบาลในสังกัดโรงเรียนเทศบาลในเขตการศึกษา 12

                                                -  กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่  ครูวิชาการในโรงเรียนเทศบาลขยายโอกาสทางการศึกษา  สังกัด

   สำนักงานการศึกษาท้องถิ่น  เขตการศึกษา  12  จำนวน  114  คน

                                2.เครื่องที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

-  แบบสอบถาม  เกี่ยวกับปัญหาการดำเนินงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา     

   สังกัดสำนักบริหารการศึกษาท้องถิ่น  เขตการศึกษา  12  แบ่งเป็น  2  ตอน  ดังนี้

                1.แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาการดำเนินงานวิชาการในโรงเรียนเทศบาลขยาย

   โอกาสทางการศึกษา  สังกัดสำนักงานบริหารการศึกษาท้องถิ่น  เขตการศึกษา  12 

   ในงาน  4  ด้าน  คือ  ด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้  ด้านการจัดกิจกรรมการเรียน

   การสอน  และสื่อการสอน  ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอน และด้านการ

   นิเทศการสอน  ลักษณะเป็นแบบการเลือกตอบ

                                3.ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

                                                1.  ศึกษาวิธีสร้างเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิจัย

                                                2. ศึกษาจากเอกสารที่มีผู้วิจัย

3.  นำแบบสอบถามที่สร้างเสร็จแล้วเสนอประธานและคณะกรรมการที่ปรึกษางานนิพนธ์

     ระดับสูงเพื่อตรวจสอบและพิจารณาแก้ไขให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

4.  นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแล้วให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความเที่ยงตรง  สมบูรณ์ของ

     เนื้อหา  ความเหมาะสมและความสอดคล้องของข้อคำถาม

5.  นำแบบสอบถามที่ได้รับการตรวจแก้ไขเสนอประธานและกรรมการควบคุมงานนิพนธ์

6.  นำแบบสอบถามที่หาค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .20  ขึ้นไป ไปคำนวณหาความเชื่อมั่น

     แบบสอบถามทั้งฉบับโดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์เอลฟ่า  ของครอนบาค

                               

 

 

4.การเก็บรวบรวมข้อมูล

-  นำขอหนังสือจากภาควิชาบริหารการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพาถึง

    ผู้อำนวยการโรงเรียนบ่อทองวงษ์จันทร์วิทยา  ขอความอนุเคราะห์เพื่ออำนวยความสะดวก

    ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ปกครองในการกรอกแบบสอบถาม

-  กำหนดวันในการเก็บรวบรวมแบบสอบถามและวิจัยดำเนินงานการเก็บรวบรวม

    แบบสอบถามด้วยตนเอง

-  จำนวนแบบสอบถามที่ส่งไป  114  ฉบับได้รับกลับคืนมาจำนวน  114 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100

                                5.สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

                                                -  สถิติพื้นฐาน  ได้แก่  ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                                                -  เปรียบเทียบความคาดหวังของผู้ปกครองนักเรียนที่มีอาชีพต่างกัน  ต่อการบริหารงานของ

โรงเรียนแตกต่างกัน โดยใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่า ที – เทส

                                5.  ผลการวิจัยพบว่า

                                                1.  ปัญหาการดำเนินงานวิชาการในโรงเรียนเทศบาลขยายโอกาสทางการศึกษาตามความ

     คิดเห็นของครูวิชาการชาย  ครูวิชาการหญิง  ครูวิชาการที่เข้ารับการอบรม  ครูวิชาการที่

     ไม่ได้เข้ารับการอบรม  อยู่ในระดับปานกลางทั้งโดยรวมและในแต่ละรายด้าน

2.  ครูวิชาการชายและครุวิชาการหญิง  มีความเห็นต่อปัญหาการดำเนินงานด้านวิชาการใน

    โรงเรียนเทศบาลขยายโอกาสทั้งโดยรวมและทุกรายด้าน  แตกต่างกันโดยครูวิชาการชายมี

     ระดับความคิดเห็นต่อปัญหาการดำเนินงานสูงกว่าครูวิชาการหญิง

3.  ครูวิชาการที่เข้ารับการอบรบกับครูวิชาการที่ไม่ได้เข้ารับการอบรมมีความเห็นต่อปัญหา

    การดำเนินงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาโดยรวมและด้านหลักสูตร

    และการนำหลักสูตรไปใช้   ด้านกิจกรรมการจัดการเรียนการสอน  รวมทั้งด้านการนิเทศ

    การสอนไม่แตกต่าง  ยกเว้นเฉพาะด้านการวัดผลประเมินผลการเรียนการสอน  ซึ่งครู

   วิชาการมีความเห็นแตกต่างกัน  โดยครูวิชาการที่เข้ารับการอบรมมีความคิดเห็นต่อปัญหา

    สูงกว่าครูที่ไม่ได้เข้ารับการอบรม

คำสำคัญ (Tags): #วิจัยเรื่องที่ 7
หมายเลขบันทึก: 319340เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2009 13:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 07:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คิดถึงจังเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท