การจัดทำทะเบียนประวัติแรงงาน ๓ สัญชาติ


แรงงานต่างด้าว

 การจัดทำทะเบียนประวัติแรงงานต่างด้าว ๓ สัญชาติและบุตร

ใครบ้างคือกลุ่มเป้าหมาย และอย่างไร

            นโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวทั้งระบบ ปรากฏให้เห็นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๔๗ และวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๔๗ ซึ่งเห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชาที่อาศัยทำงานอยู่ในประเทศไทยโดยผิดกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว ด้วยการให้กระทรวงมหาดไทยใช้อำนาจตามมาตรา ๑๗ แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ออกประกาศอนุญาตให้คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ๓ สัญชาติทั้งตัวผู้ที่เป็นแรงงานและผู้ติดตามของแรงงานไม่ว่าจะเป็นญาติพี่น้อง สามี ภริยาหรือบุตรหลานอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับและให้ทำงานได้เป็นระยะเวลา ๑ ปี และให้กรมการปกครอง (สำนักทะเบียนกลาง) จัดทำทะเบียนประวัติและออกบัตรประจำตัวเป็นหลักฐาน ซึ่งกรณีดังกล่าวถือเป็นครั้งแรกที่ให้มีการจัดทำทะเบียนประวัติแรงงานต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรและเป็นครั้งแรกที่ให้สิทธิอาศัยครอบคลุมถึงผู้ติดตามแรงงานด้วย โดยผู้ที่เป็นแรงงานและผู้ติดตามที่ไปรายงานตัวจัดทำทะเบียนประวัติ ท.ร.๓๘ ได้เลขประจำตัวเป็นบุคคลประเภท ๐๐ ทุกคนจะได้รับสิทธิอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับจนถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๘ ในครั้งนั้นมีคนต่างด้าวมารายงานตัวจัดทำทะเบียนประวัติ จำนวน ๑,๑๖๑,๐๑๓ คน เป็นผู้ที่ขออนุญาตทำงานจากกรมการจัดหางาน จำนวน ๘๗๖,๗๖๒ คน     

             ต่อมาได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๘ เห็นชอบให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาวและกัมพูชาที่ได้จัดทำทะเบียนประวัติเมื่อปี ๒๕๔๗ และผู้ติดตาม อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับต่อไปอีก ๑ ปีจนถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๙ แต่มีเงื่อนไขว่าผู้ที่เป็นแรงงานจะต้องขออนุญาตทำงานภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๘  มิฉะนั้นสถานะของการได้รับอนุญาตให้อยู่ชั่วคราวในประเทศไทยก็เป็นอันสิ้นสุดซึ่งหมายรวมถึงผู้ติดตามแรงงานด้วย  ในครั้งนี้มีแรงงานต่างด้าวมารายงานตัวและได้รับอนุญาตทำงานจากกรมการจัดหางานประมาณ ๗ แสนคน  ซึ่งหมายความว่าตัวผู้ที่เป็นแรงงานจำนวนประมาณ ๑.๗ แสนคนและผู้ติดตามแรงงานกลุ่มนี้อีกจำนวนหนึ่งต้องสิ้นสุดสถานะของการได้รับอนุญาตให้อยู่อาศัยในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๘ เป็นต้นมา  

            ในปี ๒๕๔๙ ได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙ เห็นชอบให้แรงงานต่างด้าวที่ใบอนุญาตทำงานสิ้นสุดในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๙ หรือก็คือผู้ที่ได้ขออนุญาตทำงานเมื่อปี ๒๕๔๘และผู้ติดตาม อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับต่อไปอีก ๑ ปีจนถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๐ ซึ่งมีแรงงานต่างด้าวมารายงานตัวและได้รับอนุญาตทำงานจากกรมการจัดหางาน จำนวนประมาณ ๔.๖ แสนคนจาก ๗ แสนเศษ  และต่อมาได้มีมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่างด้าวกลุ่มนี้อย่างน้อย ๓ มติ ได้แก่ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๙ เห็นชอบให้แรงงานต่างด้าวที่ใบอนุญาตทำงานสิ้นสุดในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๐ และผู้ติดตาม อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับต่อไปอีก ๑ ปีจนถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๑  มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๐ เห็นชอบให้แรงงานต่างด้าวที่ใบอนุญาตทำงานสิ้นสุดในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๑ และผู้ติดตามที่เป็นบุตรของแรงงาน อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับต่อไปอีก ๒ ปีจนถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ โดยมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ให้ยุติการอนุญาตผู้ติดตามแรงงานต่างด้าวจำพวกอื่นและคงเหลือเฉพาะผู้ติดตามที่เป็นบุตรของแรงงานต่างด้าวที่จดทะเบียนในปี ๒๕๔๗ และได้รับอนุญาตทำงานต่อเนื่องจนถึงปี ๒๕๕๐ ให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอส่งกลับเท่ากับระยะเวลาที่แรงงานต่างด้าวได้รับการผ่อนผัน

            โดยสรุปแล้ว แรงงานต่างด้าว ๓ สัญชาติและบุตรที่ได้รับการจัดทำทะเบียนประวัติ ท.ร.๓๘ ตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ ถ้าได้รายงานตัวขออนุญาตทำงานต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี จะได้รับสิทธิอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓

ให้โอกาสคนเดิมและเปิดโอกาสคนใหม่

            นอกจากกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่จัดทำทะเบียนประวัติและขออนุญาตทำงานตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ จนถึงปัจจุบันดังกล่าวแล้ว  รัฐบาลยังได้เปิดให้มีการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาวและกัมพูชา เพิ่มเติมอีกหลายครั้ง ได้แก่

            ๑. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๘  เห็นชอบให้แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ๓ สัญชาติที่ลักลอบเข้ามาอยู่ในประเทศไทยอยู่แล้วแต่ไม่เคยจัดทำทะเบียนประวัติ (คนใหม่/ไม่มี ท.ร.๓๘/๑) และแรงงานต่างด้าวที่เคยจัดทำทะเบียนเมื่อปี ๒๕๔๗  แต่ไม่ขออนุญาตทำงานต่อภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๘ (คนเก่า/มี ท.ร.๓๘/๑)  ให้สามารถทำงานได้ โดยการอนุญาตให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับและทำงานเป็นระยะเวลา ๑ ปีจนถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ และให้กรมการปกครอง (สำนักทะเบียนกลาง) จัดทำทะเบียนประวัติและบัตรประจำตัวให้เป็นหลักฐานในการขออนุญาตทำงาน การจัดทำทะเบียนประวัติและการให้สิทธิอาศัยอยู่ในประเทศไทยจะได้เฉพาะตัวผู้ที่เป็นแรงงานเท่านั้น ไม่รวมถึงผู้ติดตาม  ในครั้งนั้นมีแรงงานต่างด้าวมาจัดทำทะเบียนประวัติและขออนุญาตทำงานจำนวนประมาณ ๒ แสนคน

            ต่อมาได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๙ เห็นชอบให้แรงงานต่างด้าวดังกล่าวอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับและทำงานต่อไปอีก ๑ ปีจนถึงวันที่  ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑  และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๐  เห็นชอบให้แรงงานต่างด้าวที่ใบอนุญาตทำงานสิ้นสุดในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับต่อไปอีก ๒ ปีจนถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓

             ๒.  มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๐ เห็นชอบให้มีการจัดทำทะเบียนประวัติแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา (คนใหม่/ไม่มี ท.ร.๓๘/๑) ตามมาตรการสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจใน ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่จังหวัดยะลา  ปัตตานี  นราธิวาส  สตูล  และสงขลา ๔ อำเภอคืออำเภอจะนะ นาทวี  เทพา  และสะบ้าย้อย โดยผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวดังกล่าวอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับตามระยะ เวลาที่ได้รับอนุญาตทำงานแต่ไม่เกินวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๑ ซึ่งมีคนต่างด้าวมาจัดทำทะเบียนประวัติและขออนุญาตทำงานประมาณ ๙.๕ พันคน การจัดทำทะเบียนประวัติและการให้สิทธิอาศัยอยู่ในประเทศไทยจะได้เฉพาะตัวผู้ที่เป็นแรงงานเท่านั้น ไม่รวมถึงผู้ติดตาม   และต่อมาได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๐  เห็นชอบให้แรงงานต่างด้าวกลุ่มนี้อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับต่อไปอีก ๒ ปีจนถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓

             ๓.  มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๐ เห็นชอบให้แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่เคยจัดทำทะเบียนประวัติ (คนเก่า/มี ท.ร.๓๘/๑)  แต่การผ่อนผันสิ้นสุดลงแล้วเนื่องจากไม่ขออนุญาตทำงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย  ได้รับผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับและทำงานได้เป็นระยะเวลา ๒ ปีจนถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ซึ่งการจัดทำทะเบียนประวัติและการให้สิทธิอาศัย อยู่ในประเทศไทยจะได้เฉพาะตัวผู้ที่เป็นแรงงานเท่านั้น ไม่รวมถึงผู้ติดตาม

             ๔. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เห็นชอบการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่อยู่นอกระบบผ่อนผันซึ่งลักลอบทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน ทั้งกลุ่มที่ไม่เคยจัดทำทะเบียนประวัติ (คนใหม่/ไม่มี ท.ร.๓๘/๑) และคนที่เคยจัดทำทะเบียนประวัติไว้แล้วแต่การผ่อนผันสิ้นสุดลง (คนเก่า/มี ท.ร.๓๘/๑) ได้รับผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับไม่เกินวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ โดยให้กรมการปกครอง (สำนักทะเบียนกลาง) จัดทำทะเบียนประวัติเพื่อเป็นหลักฐาน ซึ่งการจัดทำทะเบียนประวัติและการให้สิทธิอาศัย อยู่ในประเทศไทยจะได้เฉพาะตัวผู้ที่เป็นแรงงานเท่านั้น ไม่รวมถึงผู้ติดตาม  ในครั้งนี้มีแรงงานต่างด้าวไปรายงานตัวเพื่อจัดทำทะเบียนประวัติ จำนวน ๑,๐๖๔,๘๙๕ คน

             อย่างไรก็ตาม ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ เห็นชอบให้จัดทำทะเบียนประวัติและให้สิทธิอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับแก่บุตรของแรงงานต่างด้าวกลุ่มนี้ที่มีอายุไม่เกิน ๑๕ ปีโดยให้ได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับเท่ากับระยะเวลาที่บิดาหรือมารดาซึ่งเป็นแรงงานได้รับอนุญาต ซึ่งการจัดทำทะเบียนประวัติบุตรแรงงานกลุ่มนี้จะสิ้นสุดในวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๒

 

บุตรแรงงานได้รับสิทธิอาศัยทุกคนหรือไม่

            การที่จะพิจารณาว่าบุตรของแรงงานต่างด้าวที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เกิดในประเทศไทยหรือเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านก็ตาม ได้รับสิทธิอาศัยอยู่ในประเทศไทยชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือไม่ ก็ต้องไปตรวจดูมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองซึ่งมีหลายมติตามที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น ซึ่งพอจะสรุปให้เห็นภาพรวมของปัจจุบันได้  ดังนี้

            ก. บุตรที่ได้รับการผ่อนผัน ซึ่งได้รับอนุญาตให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวจนถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ประกอบด้วยสองกลุ่ม ได้แก่

            (๑) บุตรของแรงงานต่างด้าวที่จดทะเบียนพร้อมบิดามารดาตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ โดยบิดาหรือมารดาได้ขออนุญาตทำงานกับกรมการจัดหางานอย่างต่อเนื่องทุกครั้ง เช่นกรณีของเด็กชายหม่อง  ทองดี  กลุ่มนี้ย่อมได้รับการผ่อนผันอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับบิดา มารดา (กลุ่มนี้ไม่เกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒)

            (๒) บุตรของแรงงานต่างด้าวที่จดทะเบียนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ไม่ว่าบิดา มารดาจะเป็นแรงงานที่เคยจดทะเบียนมาก่อน (มี ท.ร. ๓๘/๑) หรือเป็นกลุ่มใหม่ที่ไม่เคยจดทะเบียนเลย (ไม่มี ท.ร.๓๘/๑) ก็ตาม ถ้าเป็นเด็กที่มีอายุไม่เกิน ๑๕ ปีและบิดาหรือมารดาที่เป็นแรงงานนั้นพาไปรายงานตัวเพื่อจดทำทะเบียนประวัติ ท.ร.๓๘ ภายในวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๒  (ต้องรายงานตัวทุกคนไม่ว่าเด็กจะเคยมี ท.ร.๓๘/๑ หรือไม่ก็ตาม) บุตรแรงงานกลุ่มนี้ก็จะได้รับการผ่อนผันเช่นเดียวกับบิดา มารดา ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒

           ข. บุตรที่ไม่ได้รับการผ่อนผัน ประกอบด้วยสองกลุ่ม ได้แก่

            (๑) บุตรของแรงงานต่างด้าวที่จดทะเบียนพร้อมบิดามารดาตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ แต่บิดาหรือมารดาไม่ได้ขออนุญาตทำงานกับกรมการจัดหางานเมื่อปี ๒๕๔๘ ถึงแม้จะขออนุญาตทำงานภายหลังเมื่อปี ๒๕๔๙ ปี ๒๕๕๐ หรือปี ๒๕๕๑ ก็ตาม บุตรของแรงงานต่างด้าวกลุ่มนี้จะไม่ได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยถึงแม้จะเคยจัดทำทะเบียนประวัติ มี ท.ร.๓๘/๑ ก็ตาม

            (๒) บุตรของแรงงานต่างด้าวที่จดทะเบียนใหม่ภายหลังปี ๒๕๔๗ เช่น จดทะเบียนเมื่อปี ๒๕๔๙ และปี ๒๕๕๐ กรณีจดทะเบียนแรงงานตามมาตรการสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจใน ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ บุตรของแรงงานต่างด้าวกลุ่มนี้จะไม่ได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยและไม่มี ท.ร.๓๘/๑

            นอกจากนี้ยังมีเด็กอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้รับการผ่อนผันให้สิทธิอาศัยชั่วคราวในประเทศไทยแต่สาเหตุของเรื่องไม่ได้เกิดจากนโยบายของรัฐ แต่เป็นความผิดพลาดของบิดามารดาที่ไม่ได้พาบุตรไปรายงานตัวเพื่อจัดทำทะเบียนประวัติตามระยะเวลาที่ราชการกำหนด  หรือไม่ก็เป็นบุตรที่เข้ามาในประเทศไทยภายหลังบิดามารดาได้จดทะเบียนแรงงานไปแล้ว จึงขาดสิทธิที่จะได้รับการผ่อนผันให้สิทธิอาศัยชั่วคราวตามบิดามารดา เช่น บิดามารดาจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวเมื่อปี ๒๕๔๗ และขออนุญาตทำงานต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี  แต่ในการจดทะเบียนเมื่อปี ๒๕๔๗ ไม่ได้พาบุตรไปจัดทำทะเบียนประวัติด้วย หรือบุตรเข้ามาอยู่ในประเทศไทยกับบิดามารดาเมื่อปี ๒๕๔๘ บิดามารดาจะได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราวจนถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ แต่บุตรไม่ได้รับการผ่อนผันแต่อย่างใด 

 

การจัดทำทะเบียนประวัติแรงงานต่างด้าว ๓ สัญชาติและผู้ติดตาม

            การจัดทำทะเบียนประวัติแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ก่อนปี ๒๕๕๒ จะมีระเบียบที่เกี่ยวข้องอยู่สองฉบับ ได้แก่ ระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนประวัติของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗  กำหนดให้นายทะเบียนจัดทำทะเบียนประวัติกลุ่มแรงงานต่างด้าว ๓ สัญชาติที่อาศัยทำงานอยู่ในเขตพื้นที่สำนักทะเบียนตามแบบ ท.ร.๓๘ ให้เลขประจำตัวประชาชน ๑๓ หลักนำหน้าสองหลักแรกด้วยเลข ๐๐ ส่วนหลักฐานทะเบียนที่แรงงานต่างด้าวสามารถขอคัดเป็นเอกสารไว้กับตัวได้แก่ ท.ร.๓๘/๑  โดยในการรายงานตัวของคนต่างด้าว ๓ สัญชาติเพื่อขอจัดทำทะเบียนประวัตินั้น สำนักทะเบียนกลางได้กำหนดแบบคำร้องในการขอจดทะเบียนของคนกลุ่มนี้ เรียกว่าแบบ ท.ต.๑ เพื่อให้คนต่างด้าวได้กรอกรายการเกี่ยวกับประวัติของตัวเองและผู้ที่เกี่ยวข้อง สำหรับเป็นข้อมูลในการบันทึกรายการบุคคลลงในระบบฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร

            ระเบียบอีกฉบับได้แก่ระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำบัตรประจำตัวของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ กำหนดให้นายทะเบียนจัดทำบัตรประจำตัวให้กับคนต่างด้าว ๓ สัญชาติที่ได้จัดทำทะเบียนประวัติ ท.ร.๓๘ แล้ว และมีอายุตั้งแต่ ๑๒ ปีขึ้นไป โดยจะเป็นบัตรพลาสติกสีชมพู มีสองประเภท คือถ้าเป็นแรงงานที่ขออนุญาตทำงานกับกรม การจัดหางาน จะได้บัตรที่ด้านหน้าเป็นรายการบุคคลผู้ถือบัตรส่วนด้านหลังจะเป็นใบอนุญาตทำงาน แต่ถ้าเป็นกลุ่มผู้ติดตามแรงงาน จะได้บัตรที่ด้านหน้าเป็นรายการบุคคลผู้ถือบัตรส่วนด้านหลังเป็นคำเตือนและเงื่อนไขการใช้บัตร

              หลังจาก พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ใช้บังคับในวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นมา กระทรวงมหาดไทยและสำนักทะเบียนกลางได้ออกกฎกระทรวงและระเบียบสำนักทะเบียนกลางซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดทำทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวของกลุ่มแรงงานต่างด้าว ๓ สัญชาติได้แก่ กฎกระทรวงกำหนดให้คนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยปฏิบัติเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎีและกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยกำหนดให้คนต่างด้าวที่จัดทำทะเบียนประวัติ จะต้องทำบัตรประจำตัวเมื่อมีอายุตั้งแต่ ๕ ปีบริบูรณ์ และต้องทำบัตรใหม่ถ้าบัตรเดิมสูญหายหรือถูกทำลาย โดยกฎกระทรวงฉบับนี้ได้ระบุถึงค่าธรรมเนียมที่ราชการต้องเรียกเก็บจากคนต่างด้าว เช่น การขอเอกสาร ท.ร.๓๘/๑ ต้องเสียค่าธรรมเนียมฉบับละ ๒๐ บาท  การทำบัตรประจำตัวต้องเสียค่าธรรมเนียมฉบับละ ๖๐ บาท เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้กำหนดให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับคนต่างด้าวในบางกรณีด้วย เช่น การทำบัตรประจำตัวครั้งแรกเมื่อมีอายุยังไม่ถึง ๑๕ ปี ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม แต่ถ้าได้บัตรไปแล้วทำบัตร การขอทำบัตรใหม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแล้วแม้อายุจะไม่ถึง ๑๕ ปีก็ตาม

             นอกจากกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว ก็มีระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำบัตรประจำตัวของคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งเป็นการยกเลิกระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำบัตรประจำตัวของต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ แล้วกำหนดแนวทางปฏิบัติใหม่ให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงข้างต้น แต่สาระสำคัญของวิธีการปฏิบัติและแบบบัตรคงไม่แตกต่างจากระเบียบเดิม คือแบบบัตรจะมีทั้งประเภทแรงงานและไม่ใช่แรงงาน ส่วนการจัดทำทะเบียนประวัติยังคงใช้ระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนประวัติของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ ต่อไปเพราะระเบียบฉบับนี้ไม่มีประเด็นที่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรฉบับใหม่จึงได้รับการรับรองผลการใช้บังคับได้ตามมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑  

หมายเลขบันทึก: 319212เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2009 21:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Welcome to our online store,We are the professional website for wholesale handbags

<A href="http://www.ebagshoponline.com " > Knockoff Designer Handbags</A>!

<A href="http://www.ebagshoponline.com " >Replica Handbags </A>!

<A href="http://www.ebagshoponline.com/louis-vuitton-c-1.html " > Replica LV Handbags</A>

Go shopping <A href="http://www.ebagshoponline.com/louis-vuitton-monogram-jokes-c-1_11.html " > knockoff Louis vuitton</A>,

<A href="http://www.ebagshoponline.com/louis-vuitton-monogram-canvas-c-1_8.html " > cheap lv handbags</A>

<A href="http://www.ebagshoponline.com/gucci-c-20.html " > Cheap Gucci Handbags</A>

<A href="http://www.ebagshoponline.com/louis-vuitton-c-1.html " > Cheap louis vuitton</A>

<A href="http://www.ebagshoponline.com/gucci-c-20.html" > Knockoff Gucci Handbags</A>

<A href="http://www.ebagshoponline.com/gucci-shoulder-c-20_26.html " > Cheap Gucci Handbags</A>

<A href="http://www.ebagshoponline.com/gucci-tote-c-20_27.html " > Replica Gucci Handbags</A>

<A href="http://www.ebagshoponline.com/gucci-hobo-c-20_24.html " > Cheap Gucci</A>,

<A href="http://www.ebagshoponline.com/gucci-c-20.html " > Replica Gucci </A>!

<A href="http://www.ebagshoponline.com/balenciaga-c-34.html " > replica balenciaga</A>

<A href="http://www.ebagshoponline.com/bally-c-35.html " > knockoff bally handbags</A> to buy!

<A href="http://www.ebagshoponline.com/givenchy-c-65.html " > knockoff Givenchy</A>,

<A href="http://www.ebagshoponline.com/coach-c-57.html " > Cheap Coach</A> on sale!

We provide high quality <A href="http://www.ebagshoponline.com/fendi-c-62.html " > replica Fendi</A>,

<A href="http://www.ebagshoponline.com/burberry-shouldertote-c-46_49.html " > replica burberry</A>,

<A href="http://www.ebagshoponline.com/christian-dior-purses-c-48_51.html " > replica purses</A>,

ผมคนไทยใหญ่พอดีอยากลงทะเบียนบัตรหัว0ครับ0657507695พง์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท