มหาวิทยาลัยกับการฝึกฝนนักศึกษาให้เติบโตไปเป็นพลเมืองที่มีจิตสาธารณะ



          ในการประชุมคณะกรรมการกิจการสภา ของมหาวิทยาลัยมหิดล   เมื่อวันที่ ๑๘ พ.ย. ๕๒   มีการหยิบยกเรื่องการสร้างจิตสำนึกสาธารณะแบบที่เกิดขึ้นประมาณช่วงปี พ.ศ. ๒๕๑๒ – ๒๕๑๙ ที่เกิดขึ้นในวงการนิสิตนักศึกษา    แล้วหลังจากนั้น กิจกรรมนักศึกษาก็ถูกบอนไซ  ให้จำกัดอยู่เฉพาะเพื่อการรื่นเริง  และ “เรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง”  


          มีผลให้การหล่อหลอมจิตสาธารณะในหมู่นักศึกษาย่อหย่อน หรือแทบไม่มีเลย   นักศึกษาจึงหันไปเอาใจใส่แฟชั่น และกิจกรรมเพื่อความบันเทิงส่วนตัว    มีการพูดกันว่า เวลากว่า ๓๐ ปี ที่กิจกรรมนักศึกษาซบเซา เป็น lost generation ของการหล่อหลอมจิตใจนักศึกษาเพื่อการเติบโตไปเป็นพลเมืองที่มีจิตสาธารณะสูง  


          กรรมการสภามหาวิทยาลัย ร้องขอให้ฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัยมหิดล ไปยกร่างแผนการดำเนินการ เพื่อการนี้    ถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการด้านหล่อหลอมคุณธรรมจริยธรรม   นำมาเสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อกำหนดเป็นนโยบายต่อไป


          นี่คืออีกตัวอย่างหนึ่ง ที่สภามหาวิทยาลัยทำหน้าที่แบบ Generative Mode

 

 

วิจารณ์ พานิช
๑๙ พ.ย. ๕๒

                       
         

หมายเลขบันทึก: 318818เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2009 09:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท