รังสีไม่ดีตรงไหน


การเอกซเรย์กระดูกสันหลังจะต้องใช้ปริมาณรังสีสูง อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์
          ห้องเอกซเรย์โรงพยาบาลแก่งคอย  ให้บริการตรวจเอกซเรย์ผู้ป่วย อุบัติเหตุฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง     นอกจากการทำงานในหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพแล้ว    การดูแล ใส่ใจในผู้รับบริการ     ความพยายามที่จะจัดท่าเอกซเรย์ให้ผู้ป่วยเจ็บน้อยที่สุด

ฉันรักเธอทั้งที่ไม่รู้จัก ฉันรักเธอตั้งแต่แรกพบหน้า

ภาพประกอบจากเน็ต

        วันหนึ่งข้าพเจ้าขึ้นเวรบ่ายมีอุบัติเหตุหลายราย ที่ห้อง ER (อุบัติเหตุฉุกเฉิน)  มีผู้ป่วยหญิงได้รับอุบัติเหตุ ส่งเอกซเรย์  ด้วยอาการปวดหลังมาก  ชาท่อนล่างของลำตัว   ไม่สามารถยกหรือขยับขาด้วยตัวเองได้  แพทย์สั่ง เอกซเรย์ L-S spine (เอกซเรย์หลัง)  ข้าพเจ้าสังเกตเห็นว่าผู้ป่วย  ยังมีอาการตกใจจากเหตุการณ์อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น  จึงพูดคุยปลอบใจ   พร้อมทั้งประเมินอาการโดยสอบถามชื่อ-สกุลและถามว่าเจ็บตรงไหนบ้าง  ก่อนการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยขึ้นเตียงเอกซเรย์    สิ่งที่เป็น Trigger   สำหรับข้าพเจ้ามากที่สุดตอนนั้นคือ  ผู้ป่วยเป็นหญิงวัยเจริญพันธุ์  ดังนั้นสิ่งที่ข้าพเจ้าต้องทำคือสอบถามประวัติการมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่   ผู้ป่วยคิดทบทวนแล้วบอกว่าประจำเดือนขาดไป 2  เดือน   และไม่ได้คุมกำเนิดเลย    ไม่ทราบว่าตนเองตั้งครรภ์หรือไม่เพราะยังไม่ได้ไปตรวจ
        “ท้องเอกซเรย์ไม่ได้หรือคะ”  ผู้ป่วยถามข้าพเจ้าด้วยใบหน้าที่มีความวิตกกังวลเพิ่มขึ้นอีกไหนจะห่วงตัวเองไหนจะห่วงลูก   

หมอนรองกระดูกเสื่อม

        ข้าพเจ้าปลอบใจและ อธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าถ้าตั้งครรภ์การเอกซเรย์กระดูกสันหลังจะต้องใช้ปริมาณรังสีสูง   อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์จะปรึกษาแพทย์ก่อน    จึงได้ประสานงานห้องอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน  ปรึกษาแพทย์เวร   แพทย์เวรได้สั่งสวนปัสสาวะตรวจ การตั้งครรภ์   เพราะผู้ป่วยปัสสาวะเองไม่ได้   ผลการตรวจปัสสาวะพบว่าผู้ป่วยตั้งครรภ์  แพทย์จึงงดเอกซเรย์ และแพทย์ได้โทรปรึกษาแพทย์โรงพยาบาลศูนย์สระบุรีก่อน Refer (ส่งต่อ)   ผู้ป่วยไปรักษาต่อ  ข้าพเจ้าได้อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่า   หมอยังไม่เอกซเรย์ให้เนื่องจากกลัวอันตรายจากรังสีที่จะมีต่อทารกในครรภ์    แต่จะส่งตัวไปเพื่อรักษาต่อกับแพทย์เฉพาะทางที่โรงพยาบาลสระบุรี   
        “ไม่ต้องกังวลนะคะ   หมอจะดูแลให้ปลอดภัยทั้งแม่และลูก”  ข้าพเจ้าได้พูดปลอบใจและให้กำลังใจผู้ป่วย  ก่อนพนักงานเปลจะเข็นผู้ป่วยออกจากห้อง  ผู้ป่วยขอบคุณที่ห่วงใยตัวเขากับลูก   
        ข้าพเจ้าได้นำเหตุการณ์ที่ตนเองพบมาเล่าให้เพื่อนร่วมงาน ฟังในการประชุมหัวหน้าพาทำคุณภาพ  ว่าพบเหตุการณ์  เกือบพลาด    เพื่อเจ้าหน้าที่ทุกคนไม่ลืมสอบถามการตั้งครรภ์ ถึงแม้จะเป็นอุบัติเหตุ มาคนเดียวหรืออุบัติเหตุหมู่ อย่าเพิ่งรีบร้อน ให้ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติ(WI)      เมื่อพบผู้ป่วยที่เป็นหญิงแม้จะมีคำนำหน้าว่านางสาว  ขออย่าให้ลืมซักประวัติการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย  หรือประวัติการตั้งครรภ์  และบอกเหตุผลของการซักถามเพราะอาจมีอันตรายทากรกในครรภ์เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจ  และไม่ปิดบังเรื่องการตั้งครรภ์  โดยเฉพาะในเด็กนักเรียนที่มากับผู้ปกครอง  ซึ่งต้องมีเทคนิคในการซักถาม  การ Approach  บางครั้งต้องเลี่ยงการถามต่อหน้าผู้ปกครอง  ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์น้อยกว่า 16 สัปดาห์  ยังไม่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดทางหน้าท้อง    และผู้ป่วยอาจไม่ได้บอกให้แพทย์ทราบว่ากำลังตั้งครรภ์    หรือผู้ป่วยอาจจะยังไม่ทราบว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์      เพื่อการเฝ้าระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์   เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย   
       จากเหตุการณ์ที่พบทำให้ข้าพเจ้าไม่เคยที่จะลืมสอบถามการตั้งครรภ์ก่อนการเอกซเรย์   และจดจำความรู้สึก ดี ๆ    ที่ได้รับจากการปกป้องทารกในครรภ์ยังคงอยู่ในใจเสมอ
ปรานอม   พิมพ์ทอง
งานรังสี
หมายเลขบันทึก: 318738เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2009 19:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

สวัสดีคะ ทำหน้าที่ด้วยหัวใจจริงๆค่ะ

มาให้กำลังใจค่ะ

สวัสดีค่ะ

แวะมาอ่านค่ะ

ขอบคุณสำหรับเรื่องราวจากบันทึกดีๆ เกี่ยวกับรังสี

ขอบคุณค่ะ^^

สวัสดีครับคุณ sha รพ.แก่งคอย ผมก็ถูกน้องพยาบาลใช้ให้ไปสัมภาษณืผู้ป่วยบ่อยครับ ได้พบได้ฟังจากผู้ป่วยหลายอย่าง วันหลังจะลองสังเคราะห์มาบันทึกครับ

วันที่9 วาดหวังว่าจะแวะชิมชาที่แก่งคอยแล้วจะผ่านไปพิษณูโลกครับ

สวัสดีค่ะ

มาเรียนรู้เรื่องรังสีฯ และขอบคุณที่ไปทักทายที่ blog นะคะ^_^

ให้กำลังใจทีมรังสีเอ็กซ์

รพ.แก่งคอย จ.สระบุรีค่ะ

โดยเฉพาะเวรนอกเวลา งานเข้าตลอด

มาให้กำลังใจป้านอมชิดขอบสนามกับนักรังสีฯ

นอกจากงานรังสี  ป้ายังทำหน้าที่เชียร์อัฟ  นำซ้อมเชียร์ทุกปี

ขอยกนิ้วโป้ง 2 ข้างให้ป้าค่ะ

    

ขอบคุณค่ะ ทุกท่านที่ให้กำลังใจ   รังสี ส.ว.(สูงวัย) แต่ยังมีไฟอยู่นะคะ ยังต้องขึ้นเวรบ่ายดึกเพราะบุคลากรวิชาชีพนี้ใน รพ.ชุมชนมีน้อยและห่วงใยผู้ป่วย เมื่อท่านได้อ่านบันทึกนี้แล้วไม่ต้องกลัวรังสีเอ็กซ์นะคะ  เมื่อมาถึงห้องเอกซเรย์ที่ปิดมิดชิดภายในมีเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยจากรังสี ให้คำแนะนำการเอกซเรย์ท่านจะได้รับรังสีเท่าที่จำเป็นต่อการวินิจฉัยโรคเท่านั้น  เพื่อผลการตรวจรักษาที่ถูกต้อง

สวัสดีค่ะ

- เกือบพลาด ต้องเรียนรู้แลกเปลี่ยน

- ขนาดจิ้งจกยังพลาดตกผนังบ้านเลยค่ะ

555

  • ตามมาให้กำลังใจทีม sha แก่งคอยและพี่ปรานอมครับ
  • เพิ่งกลับมาจากที่นี่ครับ
  • http://gotoknow.org/blog/yahoo/319953
  • สบายดีนะครับ
  • ขอบคุณค่ะ พี่เพชรน้อย  555 สี่เท้าอย่างจิ้งจกยังรู้พลาด  ประสาอะไรกับสองมือ  สองขา อย่างเรา  ก็มีพลาดกันบ้าง
  • ขอบคุณค่ะ อ.ขจิต  เชียร์และให้กำลังใจอาจารย์เช่นกันค่ะ

สวัสดีคะ

เรื่องนี้ดีคะ

มาส่งความสุขให้นะคะ

 

สวัสดีปีใหม่..นะครับ
ขอให้มีพลังเพื่อการสร้างสรรค์สังคม-สืบไป...

สวัสดีค่ะ  แม่ต้อย
ขอให้แม่ต้อยมีความสุขมากๆนะคะ

สวัสดีค่ะ  อ.แผ่นดิน

ขอบคุณอาจารย์ปีใหม่นี้ขอให้อาจารย์มีความสุขและสุขภาพแข็งแรงนะคะ

โล่งอกไปที นึกว่าชาวรังสีเป็นจำเลยซะเแล้ว

สวัสดีปีใหม่2553

  • ขอบคุณค่ะ คุณเพชรน้อย ขอให้มีความสุขพบแต่สิ่งดี ๆ ตลอดไปค่ะ
  • ขอบคุณ อาจารย์ขจิตมากค่ะ ขอให้มีความสุข สดชื่น สมหวัง ตลอดปีใหม่ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ อาจารย์แผ่นดิน ขอให้มีความสุขพบแต่สิ่งดี ๆ ตลอดไปค่ะ
  • ขอบคุณ แม่ต้อยมากค่ะ ขอส่งความสุขให้เช่นกันคะ
  • ขอบคุณ อาจารย์หมอเต็มศักดิ์มากค่ะ ปีใหม่นี้ขอคุณพระรัตนตรัยอำนวยพรให้อาจารย์มีความสุข สุขภาพแข็งแรง พบแต่สิ่งดี ๆ ตลอดไปค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท