การพัฒนาสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลตามแนวทาง HR Scorecard (ตอนที่ 3)


การพัฒนาสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลตามแนวทาง HR Scorecard (ตอนที่ 3)

องค์ประกอบของระบบ HR Scorecard มี 4 ข้อ ดังนี้

1. มาตรฐานความสำเร็จของระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (HR Standard for Success)

2. ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ (Critical Success Factors)

3. มาตรวัดและตัวชี้วัดความสำเร็จ (Measures and Indicators)

4. ผลการดำเนินงาน (Evidence, Application and Reports)

กรอบมาตรฐานความสำเร็จด้าน HR ประกอบด้วย 5 ด้าน ดังนี้

1. ความสอดคล้องเชิงยุทธศาสตร์

2. ความพร้อมรับผิดด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล

3. ประสิทธิภาพของการบริหารทรัพยากรบุคคล

4. ประสิทธิผลของการบริหารทรัพยากรบุคคล

5. คุณภาพชีวิต : ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน

ความสอดคล้องเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic HR Alignment) ประกอบด้วย

1. นโยบาย แผนงานและมาตรการด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล สอดคล้องกับเป้าหมาย พันธกิจของส่วนราชการและจังหวัด

2. มีการวางแผนและบริหารกำลังคน

3. มีการบริหารกำลังคนกลุ่มที่มีทักษะและสมรรถนะสูง

4. มีการสร้าง พัฒนาและสืบทอดของตำแหน่ง

สิ่งที่ส่วนราชการควรดำเนินการเพื่อความสอดคล้องเชิงยุทธศาสตร์ มีดังนี้...

1. แผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล

- ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย HR เชื่อมโยงกับเป้าหมายยุทธศาสตร์

- สื่อสารแผนกลยุทธ์ HR

- ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล

2. แผนบริหารอัตรากำลัง

- วิเคราะห์ความต้องการกำลังคนทั้งในปัจจุบันและอนาคต (จำนวน สมรรถนะ)

- จัดอัตรากำลังที่เหมาะสม ขั้นการบังคับบัญชา ไม่มากเกินความจำเป็น

3. การบริหารกำลังคนที่มีสมรรถนะสูง (Talent Management)

- ระบุ "ตำแหน่งและสมรรถนะ" ที่จำเป็นต่อการบรรลุพันธกิจและวิเคราะห์หา Competency Gap

- จัดทำกลยุทธ์และการลงทุนเพื่อดึงดูด สรรหา พัฒนา รักษาไว้

4. การพัฒนาผู้นำ

- วิเคราะห์ข้อมูลกำลังคนระดับหัวหน้างาน ระดับบริหาร และข้าราชการผู้มีสมรรถนะสูง ประเมินสมรรถนะ

- วางกลยุทธ์การพัฒนา

- ทำแผนพัฒนารายบุคคล

ประสิทธิภาพของการบริหารทรัพยากรบุคคล (HR Operational Efficiency) ประกอบด้วย

1. กิจกรรมและกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล มีความถูกต้องและทันเวลา

2. มีระบบฐานข้อมูลด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ถูกต้อง เที่ยงตรง ทันสมัย

3. ค่าใช้จ่ายในกิจกรรมและกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล สะท้อนผลิตภาพกำลังคนและความคุ้มค่า

4. มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารทรัพยากรบุคคล

สิ่งที่ส่วนราชการควรดำเนินการเพื่อความมีประสิทธิภาพของการบริหารทรัพยากรบุคคล มีดังนี้...

1. ระบบงาน

- จัดระบบการทำงานเพื่อลดขั้นตอน ระยะเวลา

- การประเมินความคุ้มค่าของค่าใช้จ่ายด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล

- จัดทำฐานข้อมูลกำลังคน

- ระบบงานอัตโนมัติรองรับกิจกรรมและกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล

ประสิทธิผลของการบริหารทรัพยากรบุคคล (HRM Programme Effectiveness) ประกอบด้วย

1. การรักษาไว้ซึ่งข้าราชการที่จำเป็นต่อการบรรลุเป้าหมายพันธกิจของส่วนราชการ

2. ความพึงพอใจของข้าราชการและบุคลากร ต่อนโยบาย แผนงาน โครงการและมาตรการด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล

3. วัฒนธรรมและบรรยากาศการทำงานที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

4. มีระบบการบริหารผลงานและมีวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการที่มีประสิทธิผล ซึ่งเชื่อมโยงกับผลตอยแทน

สิ่งที่ส่วนราชการควรดำเนินการเพื่อความีประสิทธิผลของการบริหารทรัพยากรบุคคล มีดังนี้...

1. การรักษากำลังคน

- หา Competency Gaps

- กำหนดกลยุทธ์เพื่อลด Competency Gaps

2. การเรียนรู้และพัฒนา

- ระบบการจัดการความรู้ ระบบเครือข่ายเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน

3. ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management)

- การถ่ายทอดเป้าหมายยุทธศาสตร์ไปสู่ผู้บริหารระดับรองลงไป

- การจำแนกความแตกต่างและจัดลำดับผลการปฏิบัติงานของข้าราชการ

ความพร้อมรับผิดด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล (HR Accountability) ประกอบด้วย

1. การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจและผลของการตัดสินใจด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลและการดำเนินการทางวินัย บนหลักการของความสามารถ หลักคุณธรรม หลักนิติธรรม หลักมนุษยธรรม

2. ความโปร่งใสของกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคลและพร้อมให้มีการตรวจสอบ

สิ่งที่ส่วนราชการควรดำเนินการเพื่อความพร้อมรับผิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล มีดังนี้...

1. กระบวนการและการตัดสินใจด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลที่โปร่งใส

- การกำหนดกลยุทธ์การสื่อสาร/ถ่ายทอดกลยุทธ์และการดำเนินงานต่าง ๆ

- มีช่องทางให้ข้าราชการทุกระดับซักถามและรับฟังคำชี้แจงในขั้นตอน กระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล

- การสำรวจความพึงพอใจต่อการดำเนินงานที่เกี่ยว้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคล

คุณภาพชีวิตและความสมดุลของชีวิตกับการทำงาน (Quality of Work Life) ประกอบด้วย

1. ความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมในการทำงานและระบบงาน

2. การจัดสวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเติมจากสวัสดิการตามกฎหมาย

3. ความสัมพันธ์อันดีระหว่างฝ่ายบริหารกับข้าราชการผู้ปฏิบัติงานและระหว่างข้าราชการและผู้ปฏิบัติงานด้วยกันเอง

สิ่งที่ส่วนราชการควรดำเนินการเพื่อคุณภาพชีวิตและความสมดุลของชีวิตและการทำงาน มีดังนี้...

1. สภาพแวดล้อมการทำงานที่ทันสมัย

- ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับการปฏิบัติงาน การพัฒนาและการบริการประชาชน

- การสำรวจความพึงพอใจของข้าราชการต่อสภาพแวดล้อมการทำงาน

2. สวัสดิการ

- การจัดให้มีการจัดสวัสดิการภายในเพิ่มเติมจากที่กฎหมายกำหนด

- การสำรวจความพึงพอใจของข้าราชการต่อสวัสดิการ

3. การเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี

- สร้างบรรยากาศและมีกิจกรรมที่ผ่อนคลายแก่ข้าราชการ

- การสำรวจความพึงพอใจของข้าราชการต่อบรรยากาศการทำงาน

มีต่อ...(ตอนที่ 4)...ค่ะ...

หมายเลขบันทึก: 318688เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2009 14:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2016 15:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มาอ่านบันทึกย้อนหลังอีกรอบค่ะอาจารย์

ขอบคุณค่ะ^_^

สวัสดีค่ะ...คุณชาดา...

ขอบคุณค่ะ...ยินดีค่ะ...

ขอบคุณมากอาจารย์ตอนนี้ผมกำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ ขอบคุณที่อาจารย์อัพให้ได้อ่านกัน ขอบคุณครับ

ผู้ใหญ่ ม อีสาน ขอนแก่น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท