วิจัยเรื่องที่ 5


วิจัยเชิงคุณภาพ

งานวิจัยเรื่อง  การเพิ่มพูนสมรรถนะของพนักงานระดับปฏิบัติการโดยการฝึกอบรมกรณีศึกษา 5 บริษัทในเครือซัมมิทกรุ๊ป

ผู้วิจัย  ปิยรัตน์  ชุณหศรี

ปีที่วิจัย 2548

วัตถุประสงค์การวิจัย

                1.เพื่อศึกษาหลักสูตรการฝึกอบรม วิธีการจัดการฝึกอบรม การนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ และผลการปฏิบัติงานของพนักงานหลังได้รับการฝึกอบรม ในการสร้างเสริมและพัฒนาสมรรถนะใน 3 ด้าน คือ ด้านทักษะ ด้านความรู้ และด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้

                2.เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาสมรรถนะของพนักงานที่ผ่านการฝึกอบรม สมรรถนะของพนักงานระหว่างสาขาที่ปฏิบัติงาน และเปรียบเทียบระหว่างหลักสูตรที่ได้รับการฝึกอบรมที่มีผลต่อการพัฒนาสมรรถนะของพนักงานระดับปฏิบัติการ

สมมติฐานการวิจัย

                1.หลักสูตรการฝึกอบรม วิธีการจัดการฝึกอบรม การนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ และผลการปฏิบัติงานของพนักงานหลังได้รับการฝึกอบรม มีผลต่อการสร้างเสริมและพัฒนาสมรรถนะใน 3 ด้าน คือ ด้านทักษะ ด้านความรู้ และด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้ของพนักงาน

                2.หลักสูตรที่แตกต่างกันมีผลต่อการสร้างเสริมและพัฒนาสมรรถนะทางด้านทักษะ ความรู้ และความสามารถในการประยุกต์ใช้ของพนักงานระดับปฏิบัติการที่แตกต่างกัน

                3.พนักงานที่ผ่านการฝึกอบรม พนักงานปฏิบัติงานในสาขาที่แตกต่างกัน และพนักงานที่ได้รับการฝึกอบรมในหลักสูตรที่แตกต่างกัน มีการพัฒนาสมรรถนะต่างกัน ในด้านทักษะ ความรู้ ความสามารถและการประยุกต์ใช้

กลุ่มตัวอย่าง

                พนักงานระดับปฏิบัติการใน 5 บริษัทในเครือซัมมิทกรุ๊ป จำนวน 97 คน

การวิจัยเชิงปริมาณ

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

แบบสอบถาม 2 ชุด และแบบสัมภาษณ์สำหรับผู้บริหาร 1 ชุด

                   แบบสอบถามชุดที่ 1 เป็นแบบสอบถามสำหรับพนักงานระดับปฏิบัติการที่เข้ารับการฝึกอบรมและผ่านการฝึกอบรมในปี 2546

                   แบบสอบถามชุดที่ 2 เป็นแบบสอบถามสำหรับหัวหน้างาน เกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการที่ผ่านการฝึกอบรม และการประเมินหลักสูตรการฝึกอบรม

                   แบบสอบถามชุดที่ 3 เป็นแบบสัมภาษณ์สำหรับหัวหน้างานใน 5 บริษัทในเครือซัมมิท กรุ๊ป

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล

                1.ผู้วิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยส่งหนังสือขอความอนุเคราะห์ในการตอบแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยนำแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ไปขอความร่วมมือจากพนักงานของบริษัททั้ง 5 บริษัท โดยผ่านทางผู้จัดการฝ่ายบุคคลของบริษัทแต่ละสาขาเป็นผู้ประสานงาน

                2.คัดเลือกแบบสอบถามที่ไม่สมบูรณ์ออก

                3.จัดแยกประเภทแบบสอบถาม

                4.นำมาประมวลผลเฉพาะชุดที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ในการตอบเพียงพอแก่การประมวลผลทางสถิติ

                5.นำข้อมูลดิบประมวลลงตารางหาค่าความถี่เฉลี่ยและร้อยละ โดยช่องที่มีตัวเลยที่ได้เป็นค่าความถี่จากกลุ่มตัวอย่างน้อยกว่า 5 จะทำการรวมในช่องถัดไป หรือช่องก่อนหน้า

6.นำข้อมูลในตารางความถี่และร้อยละไปประมวลผลโดยใช้สถิติไค-สแควร์

สถิติที่ใช้ในการทดสอบ

                ค่าเฉลี่ย  ร้อยละ  ฐานนิยม  ไค-สแควร์

การหาคุณภาพของเครื่องมือ

                1.ศึกษาตำรา เอกสาร รายงาน สิ่งพิมพ์ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมพนักงานของบริษัท

                2.สร้างแบบสอบถามให้มีความครอบคลุมในหลักสูตรการฝึกอบรมพนักงาน รวมถึงสมรรถนะตลอดจนการประเมินผลหลักสูตรการฝึกอบรม

                3.นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเสนอให้ประธานกรรมการที่ควบคุมวิทยานิพนธ์และผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อตรวจสอบแก้ไขหาความเที่ยงตรงตามเนื้อหา

                4.ปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถามตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วนำเสนอต่อประธานกรรมการและกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ เพื่อพิจารณาปรับปรุงแก้ไขเป็นขั้นตอนสุดท้าย ก่อนนำไปทดสอบใช้ต่อไป

                5.นำแบบทดสอบที่ผ่านการทดลองแล้วเสนอประธานกรรมการที่ปรึกษาและกรรมการคุมวิทยานิพนธ์ เพื่อพิจารณาตรวจสอบเป็นครั้งสุดท้าย และจัดทำเป็นฉบับสมบูรณ์ เพื่อใช้เก็บรวบรวมข้อมูลต่อไป

สรุปผลการวิจัย

1.หลักสูตรการฝึกอบรม วิธีการจัดการฝึกอบรม การนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ และผลการปฏิบัติงานของพนักงานหลังได้รับการฝึกอบรมมีผลต่อการสร้างเสริมและพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะ ด้านความรู้ และด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้ ของพนักงานระดับปฏิบัติการ โดยภาพรวมหลักสูตรการฝึกอบรม วิธีการจัดการฝึกอบรมในหลักสูตรทั่วไปสามารถสร้างเสริมและพัฒนาสมรรถนะให้กับพนักงานระดับปฏิบัติการได้ดีกว่าหลักสูตเฉพาะ สำหรับการนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการและผลการปฏิบัติงานของพนักงานหลังได้รับการฝึกอบรม พบว่า หลังการฝึกอบรมพนักงานสามารถพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะในการปฏิบัติงานได้มากที่สุด รองลง คือ ด้านความรู้ และด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้ ตามลำดับ

                2.พนักงานมีความคิดเห็นว่าหลักสูตรที่ต่างกันมีผลต่อการสร้างเสริมและพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะ ด้านความรู้ และด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้ของพนักงานระดับปฏิบัติการแตกต่างกัน แต่ไม่ถึงระดับนัยสำคัญ พบว่าทั้งสูตรทั่วไปและหลักสูตรเฉพาะได้ผลเหมือนกัน

                3.พนักงานที่ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตร สามารถพัฒนาสมรรถนะในด้านต่าง ๆ ได้แตกต่างกันอย่างยิ่ง ทั้งนี้จากการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานหลังการฝึกอบรมของหัวหน้างาน โดยภาพรวมพนักงานที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้วสามารถพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะได้ดีที่สุด รองลงมาคือ ด้านความรู้ และด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้ ตามลำดับ และเมื่อประเมินในรายด้าน ทั้ง 3 ด้าน พบว่า สมรรถนะด้านทักษะ ทักษะในการทำงานเป็นทีมมีการพัฒนามากที่สุด  ด้านความรู้ พบว่า ความรู้ในการซ่อมบำรุงอย่างมีประสิทธิภาพพัฒนามากที่สุด และด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้ พบว่า คามสามารถในการปฏิบัติการดับเพลิง

หมายเลขบันทึก: 318683เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2009 14:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อืม น่าสนใจมากครับ ตั้งใจมากเลยขอให้ประสบความสำเร็จเร็ว ๆ นะครับ แล้วจะตามไปติด ๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท