งานวิจัยเรื่องที่ 6


วิจัยเชิงปริมาณ

งานวิจัยเรื่อง  ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะและความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต กรณีศึกษาบริษัท พีเค จำกัด (ชื่อสมมติ) ที่ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดระยอง

ผู้วิจัย  ประพันธ์  เกิดสุขนิรันดร์

ปีที่วิจัย 2551

วัตถุประสงค์การวิจัย

                1.เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัท พีเค จำกัด (ชื่อสมมติ) ในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง

                2.เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัท พีเค จำกัด (ชื่อสมมติ) ในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง

                3.เปรียบเทียบระดับสมรรถนะในการทำงานและระดับความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตที่มีปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน

สมมติฐานการวิจัย

1. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา

ระยะเวลาการทำงาน รายได้ต่อเดือน และ ตำแหน่งงานที่แตกต่างกันส่งผลต่อระดับสมรรถนะใน

การทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัท พีเค จำกัด (ชื่อสมมติ) ที่แตกต่างกัน

2. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา ระยะเวลาการทำงาน

รายได้ต่อเดือน และ ตำแหน่งงานที่แตกต่างกันส่งผลต่อระดับความพึงพอใจในการทำงานของ

พนักงานฝ่ายผลิต บริษัท พีเค จำกัด (ชื่อสมมติ) ที่แตกต่างกัน

กลุ่มตัวอย่าง

                ขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan (1970, p. 608) ได้ขนาด

กลุ่มตัวอย่างในการสุ่มตัวอย่างเป็นจำนวนทั้งสิ้น 137 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก

การวิจัยเชิงปริมาณ

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

                เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจาก

หัวข้อที่ใช้ในการประเมินพนักงานในบริษัทและบางส่วนนำจากงานวิจัยของท่านอื่น ๆ มาปรับใช้ในงานวิจัยฉบับนี้ได้แก่ ปิยวัฒน์ บัวขาว (2547) ชลิดา คงเมือง (2548) สิทธิศักดิ์ วงศ์ศิริภัทร์ (2547)

เพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละหัวข้องานวิจัยฉบับนี้โดยแบ่งคำถามออกเป็น 4 ส่วน

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล

                การเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำไปวิเคราะห์ตามขั้นตอน ดังนี้

1. จัดเตรียมแบบสอบถามให้เพียงพอต่อจำนวนกลุ่มตัวอย่าง

2. นำแบบสอบถามออกเก็บข้อมูล โดยทิ้งแบบสอบถามให้ตอบคำถาม จำนวน 1 วัน

พร้อมนัดเวลามาเก็บ หากกลุ่มตัวอย่างพร้อมจะเก็บแบบสอบถามคืนในเวลานั้นก็ได้

3. ใช้เวลาในการเก็บระหว่าง 1 กุมภาพันธ์ 2551 ถึง 27 เมษายน 2551

4. นำแบบสอบถามที่เก็บได้และคัดเลือกฉบับที่สมบูรณ์มาทำการลงรหัสข้อมูล

สถิติที่ใช้ในการทดสอบ

                ค่าร้อยละ ,  ความถี่ , ค่าพิสัย ,  T-Test  , ANOVA

การหาคุณภาพของเครื่องมือ

1. การตรวจสอบหาความเที่ยงตรงของเครื่องมือ โดยใช้วิธี Face Validity เป็นการนำ

แบบสอบถามเสนอท่านอาจารย์ที่ปรึกษาซึ่งท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัย เพื่อตรวจสอบความ

ถูกต้องของภาษา เนื้อหาและให้คำแนะนำในการปรับปรุงแก้ไข

2. หาความเชื่อมั่นของเครื่องมือ ผู้ศึกษานำแบบสอบถามไปทำการทดสอบก่อนใช้จริง

(Pre Test) โดยวิธีการใช้แบบสอบถามจำนวน 30 ชุด เป็นการวัด แล้ววัดหาค่าความเชื่อมั่น

(Reliability) โดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบัค โดยมีรายละเอียดการวิเคราะห์ความเชื่อถือ

ได้ของตัววัดระดับสมรรถนะในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตและความพึงพอใจของพนักงาน

ฝ่ายผลิต

   2.1 ความเชื่อถือได้ของมาตรวัดระดับสมรรถนะในการทำงาน

   2.2 ได้วิเคราะห์ความเชื่อถือได้ (Reliability Analysis) ของมาตรวัดระดับสมรรถนะ

ในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต

สรุปผลการวิจัย

1. ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 72.3 มีอายุระหว่าง 25-

29 ปี ร้อยละ 62.8 และมีสถานภาพการสมรสเป็นโสด ร้อยละ 68.6 ส่วนใหญ่มีการศึกษาในระดับ

มัธยมศึกษาปีที่ 3 ร้อยละ 54.7 มีระยะเวลาการทำงานอยู่ในช่วง 2-3 ปี ร้อยละ 79.6 ตำแหน่ง

พนักงานมากที่สุด ร้อยละ 78.8 และมีรายได้รวมค่าล่วงเวลาต่อเดือน 5,000 -10,000 บาท ร้อยละ

75.9

2. พนักงานฝ่ายผลิตโดยเฉลี่ยมีสมรรถนะในการทำงานอยู่ในระดับค่อนข้างสูง โดยมีค่า

คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 นอกจากนี้หากเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านปรากฏว่า ด้านที่มีคะแนนต่ำสุด

หรือด้านที่ควรปรับปรุงอย่างเร่งด่วนคือด้านความรู้ โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.79 รองลงมาได้แก่

ด้านทักษะ ด้านพฤติกรรม และด้านความเข้าใจในงานที่ปฏิบัติตามลำดับ

3. พนักงานฝ่ายผลิตมีความพึงพอใจในงานที่ทำค่อนข้างสูง โดยมีค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจเท่ากับ 3.46 คะแนน โดยเมื่อพิจารณาในรายละเอียดของแต่ละด้านของความพึงพอใจ โดยด้านที่พนักงานฝ่ายผลิตมีความพึงพอใจสูงสุด ได้แก่ ด้านการยอมรับนับถือ โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.76คะแนน รองลงมาได้แก่ ด้านการบังคับบัญชา ด้านนโยบายและการบริการ และด้านความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.75 3.64 และ 3.59 ตามลำดับ นอกจากนี้ด้านที่พนักงานมีความพึงพอใจต่ำที่สุดได้แก่ ด้านลักษณะงานและความรับผิดชอบ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.21 รองลงมาได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านโอกาสความก้าวหน้าในงาน และด้านค่าตอบ

แทนและสวัสดิการ โดยมีค่าเท่ากับ 3.24 3.26 และ 3.30 ตามลำดับ

4. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษาสูงสุด

ระยะเวลาการทำงาน รายได้ต่อเดือน และตำแหน่งปัจจุบัน ต่างกันส่งผลต่อระดับสมรรถนะใน

การทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต ไม่แตกต่างกัน

หมายเลขบันทึก: 318685เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2009 14:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ

*** มาเรียนรู้งานวิจัย ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท