พยาบาลจำหน่ายผู้ป่วย KM (2)


พยาบาลจำหน่ายผู้ป่วย KM (2)

ต่อจากฉบับที่แล้วครับ

ถ้าหากหน้าที่ทั้งสามประการของการจำหน่ายผู้ป่วย คือ การป้องกัน การปรับเปลี่ยนแนวทางดำเนินชีวิต และการรักษาต่อเนื่องจะได้รับการดูแลครอบคลุมทั้งหมด เราจะเริ่มเข้าใจว่ากระบวนการ "จำหน่าย" ผู้ป่วยนั้น ไม่ได้เป็นแค่กระบวนการ "ธุรการ" หรือ "การเงิน" เท่านั้น แต่เป็นส่วนหนึ่งของ mission ของการดูแลคนไข้จนถึงที่สุดด้วย

นอกเรื่องสักนิด ก็น่าสนใจอีกว่า เวลาเราประเมินผลงานของโรงพยาบาล เราประเมินไปถึงแค่ไหน เอาแค่ตอนคนไข้อยู่ "ใน" โรงพยาบาลของเรา (mortality rate, survival rate, admission rate,  etc-rates) หรือว่าเรามองไปว่าคุณภาพการดูแลมันต้องออกไปถึง ณ ชุมชน และครอบคลุมมิติความสุขของประชาชนด้วย เพราะการประเมินนั้น เรานำมาใช้่เพื่อปรับปรุงต่อไป อะไรที่ "หลุด" ประเมินไป ก็จะมีคุณค่าที่น้อยลงไปในสายตาของคนในองค์กรตามไปด้วย

และผมสรุปไว้ว่าจะทำ discharge planning ที่ดี สุดท้ายดีแค่ไหนขึ้นอยู่กับเรา "เข้าใจ" คนไข้และคนไข้เข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นกับเขาเพียงไรและอย่างไร

มันก็ต้องใช้เวลา ใช้สมาธิ ใช้ความรู้และทักษะ

เป็นที่มาของ KM หรือกิจกรรมการเสวนา palliative care ในครั้่งนี้ เนื่องจากการทำ palliative care เราจะไม่สามารถละเลยมิติการดูแลต่อเนื่องที่บ้านไปได้ และทั้งด้านการป้องกัน การปรับเปลี่ยน lifestyles และการดูแลต่อเนื่องนั้น คนไข้ของเรายิ่งมีความต้องการพิเศษในเรื่องเหล่านี้มากกว่าคนไข้ในกลุ่มอื่นๆ และเมื่อไปพบปะเสวนากับพี่ๆพยาบาล head wards หลายๆคน ก็พบว่า อืม.. เขามีวิธีแก้ปัญหา (หรือพัฒนา) ในเรื่องนี้ได้น่าสนใจ อยากจะรู้ว่าทำกันที่ไหนบ้าง ทำกันอย่างไร จึงเป็นที่มาของ "เสวนา palliative care: Interview with the Discharge Planners"

เนื่องจากวันจัด ผมต้องเดินทางไปขอนแก่น (งาน SHA) จึงอยู่ได้ไม่รอดทั้งงาน ต้องออกมาก่อนประมาณ 1 ชั่วโมง (ที่จริงตามโปรแกรมคือ 13-15 น. แต่ปรากฏว่าคุยกันไม่ยอมเลิกจนถึง 15.30 น.) หวังว่าคนที่ฟังจนจบ (อาทิพี่เต็ม พี่จุฑ พี่รินทร์) จะมาต่อให้จบสมบูรณ์ ผมจะสะท้อนออกมาจนถึงเท่าที่ได้นั่งฟังอยู่เท่านั้น

The Source

ในการทำ KM จะไม่มี "วิทยากร" เพราะ "วิทยา" หรือความรู้ จะเป็น tacit and first-hand knowledge จากการปฏิบัติ ใช้ชีวิต ไม่ได้เป็นการมา "เล่าว่าอ่านอะไรมา" แต่เป็นการมา "เล่ามาทำอะไรมา ทำอย่างไร ทำแล้วเกิดอะไรขึ้น" ตแ่เราก็จะเตรียม "คนเล่า" หลักๆมาก่อน แล้วค่อยให้เวทีขยับขยายพลังชีวิตไปเองตามธรรมชาติ

ผมเริ่มด้วย head wards สองท่านคือ พี่รินทร์ จาก ward อญ (อายุรกรรมหญิง) และ พี่เกศ จาก ward neuro โจทย์ที่ให้เป็นร่างของเรื่องเล่าคือ "ที่มา ทำอะไร เกิดอะไรขึ้น"

งานคือการพัฒนา

พี่รินทร์เล่าว่า พี่เริ่มจากงานประจำของเรา เพราะเรามีเตียงที่จำกัด เต็มตลอดกาลว่างั้นเถอะ แปลว่าไร แปลว่าเรามีคนคอยจะเข้ามานอน รพ.ตลอดเวลา รอรับการรักษาพยาบาล ดังนั้น การบริหารเตียงไม่เพียงแต่สำคัญ แต่เป็นเรื่องที่ถุกต้องตามจริยธรรมด้วย แต่ว่างานของเราก็ไม่ได้มองหาแต่คนมานอนใหม่ๆอย่างเดียว เราจะต้องดูแลคนที่อยู่เก่า การันตีว่าเขาได้รับการบริการที่ดีจริงๆกลับไป มิฉะนั้นแล้วก็จะเกิดความไม่พึงพอใจจากคนไข้ จากญาติ จากมากมายหลายแหล่งที่มา

พี่รินทร์เชื่ออีกประการว่า "พยาบาลมีศักยภาพสูง​" เพียงแต่เราทำอย่างไร จึงจะ "ดึง" เอาศักยภาพที่แท้ออกมาใช้ให้ได้ ถ้าหากเราทำได้ งานของเราก็จะไม่เป็นแค่งานประจำ แต่เราจะมีการเพิ่มศักยภาพ ให้เราได้ทำในสิ่งที่เราจริงๆแล้วสามารถทำได้ เป็นพยาบาลที่เก่งขึ้น รอบตัวขึ้น และข้อสำคัญคือทั้งหมดนี้ base ตามคนไข้ของเราที่จะได้รับการดูแลที่สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น

พี่รินทร์เล่าปุ๊บ ผมก็เกิดมองเห็น "กระบวนทัศน์" ในการทำงานขึ้นมาทันที อ๋อ นี่พี่แกใช้ SWOT ออกมาในภาคปฏิบัตินี่เอง จึงได้เกิด protocol นี้ขึ้นมา เริ่มจาก strength ของพยาบาล weakness ของจำนวนคนที่จำกัด (ที่เราไม่อาจจะฝันไปว่าวันพรุ่งนี้ จะมีคนมาเพิ่มเท่าที่เราต้องการ) มองปัญหาความคุกคามจากภายนอก ทั้งการที่เราเพิิ่ม accountability ต่อ stake-holders คือ ประชาชน ญาติ การฟ้องร้อง ภาพลักษณ์ความยุติธรรมในสังคม นำเอา force เหล่านี้มาเป็นโอกาสในการพัฒนา

ตอนนี้ ward พี่รินทร์ และ pilot อีกสองสาม ward ได้มีการมอบหมายหน้าที่ discharge planning ให้แก่หนึ่งคนในทีม คือ หลุดออกจากงานประจำปกติไปเลย ให้ทำแต่ discharge planning อย่างเดีย ขึ้นเวรเช้าและบ่าย (เพราะเวรดึกคนน้อย และอาจจะไม่เหมาะที่จะทำ discharge planning กันเวรดึก) เพราะหลังจากที่เราทำความเข้าใจกัน เราก็พบว่าทำ discharge planning ไป ร่วมกับงานประจำของ ward ไป บางทีก็เกิดปัญหาที่ว่าเราไม่สามารถจะ focus ได้นานเท่าที่ควรจะทำ เพราะจะเกิดการเบี่ยงเบนความสนใจไปยังงานหน้าที่ด้านอื่นๆตลอดเวลา

แต่ทำอย่างนี้ แล้วคนอื่นจะมีปัญหาไหมล่ะ? เพราะกลายเป็น discharge planners จะไม่ต้องทำงานไหม?

แน่นอน เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ พี่รินทร์ make sure ว่าเกิดการสื่อสารให้เข้าใจที่ถูกต้องจากทุกคนในทีมว่า discharge planners ไม่ได้เป็นการพักร้อนใน ward แต่มี full-time job ที่ต้องทำ และในกรณีที่จำเป็น อาทิ มีคนไข้ arrest มากกว่า 1 เตียง (กรณีฉุกเฉิน) discharge planners ก็จะสลายตัวกลายร่างมาเป็น fulltime nurse at once ทันทีทันใด มาช่วยเพื่อนทำงาน (ที่ต้องรอมากกว่า 1 เตียง เพราะในงานประจำ เรามีคนเพียงพอที่แบ่งงานทำในกรณีแบบนี้อยู่แล้ว ไม่ต้องไป scrum ทั้ง ward) เมื่อจัดสรรเวลา และอธิบายให้ทีมเข้าใจทั้งหมดแล้ว discharge planners ก็จะไม่รู้สึก guilt ว่าไม่ได้ช่วยทำงานพยาบาล (เพราะ discharge planning ถูกชี้แจงอธิบายว่ามันสำคัญเท่ากัน) ไม่ได้รู้สึกว่างงาน และจะได้ทุ่มเทให้กับรายละเอียด มีสมาธิเพียงพอ

คนที่จะมาทำ dischage planning ก็เลือกคุณสมบัติเบื้องต้นต้องเป็นพยาบาลที่มีประสบการณ์มาพอสมควร (ผมลืมไปแล้วว่าใช้กี่ปี) เพราะพื้นฐานแรกคือ "พอเข้าใจในบริบทครอบครัว สังคม" มาพอควร น้องจบใหม่ๆ อาจจะไม่รอบเท่าที่ควร มีทักษะในการฟังที่ดี มีทักษะในการสื่อสารที่ดี และเข้าใจกลไกของ รพ. ของ ward ของ NGO ที่เกี่ยงข้องทั้งหมด อาทิ benefit ต่างๆของรัฐ เงินคนพิการ การช่วยเหลือจากองค์กรภาคเอกชน การติดต่อกับอสม. ผสส. อบต.ในท้องถิ่น การประสานงานกับสิทธิประโยชน์ เชื่อมโยงกับงานพยาบาล อาทิ การเตรียมญาติให้สามารถดูแลคนไข้ได้เทียบเท่าพยาบาล หรือใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการให้อาหารทางสายยาง การทำแผล การพลิกตัว แต่งตัว ฯลฯ

ตอนแรกๆพี่รินทร์ก็ส่งน้องไปเดินตามราวน์กับแพทย์ พร้อมๆกับพี่รินทร์ด้วย บรรดาแพทย์ใช้ทุนก็มองแปลกๆ (ส่วนหนึ่งเพราะไม่ค่อยจะมีการราวน์พร้อมๆกันหนึ่ง กับอีกส่วนคือพี่รินทร์เป็น head ward น้องๆแพทย์ใช้ทุนจะเกิดความรู้สึกว่า "อา.. พี่มาทำไมหรือครับ") พี่รินทร์ก็ชี้แจงแก่บรรดาคุณหมอว่า ไม่มีอะไรค่ะ แค่เราอยากจะรู้แผน รู้กำหนดการว่าจะทำอะไร เมื่อไร จะได้นำไปใช้ในการทำ nursing care เท่านั้น ผลก็คือ พยาบาลได้รับทราบเรื่องราวฝั่งคุณหมอมากขึ้น ว่าจะทำอะไรบ้าง

ประเด็นนี้ดูเหมือนจะเล็กน้อย แต่จริงๆแล้ว พยาบาลนี่แหละที่เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญของคนไข้ เพราะดูเหมือนว่าหลายๆครั้งที่หมออธิบายอะไร ถามว่า "เข้าใจไหม มีอะไรจะถามไหม?" แต่คนไข้ ญาติ ก็จะตอบทุกครั้งว่าไม่มีอะไร จนต่อเมื่อหมอลับหลังไป ก็จะหันมาถามพยาบาลทันทีว่า ตะกี้คุณหมอพูดอะไรไปบ้างคะ ช่วยอธิบายให้ฟังอีกรอบนึง กลายเป็นว่าคนไข้กับญาติเกรงใจหมอ (หรือไม่ก็คิดว่า หมอคงจะอธิบายดีสุดได้แค่นั้นมั้ง อย่ากระนั้นเลยอย่าถามดีกว่า) สงสัยอะไรเก็บไว้ถามคุณพยาบาลดีกว่า ถ้าเป็นเช่นนี้ ถ้าคำถามประเภทอธิบายว่าจะทำอะไร อันนี้คืออะไร ก็ยังพอว่า เพราะจะให้คำตอบได้ แต่ถ้าเป็นคำถามประเภท plan of treatment หรือ options of treatment ก็จะยากขึ้นและพยาบาลก็จะไม่กล้า plan อะไรที่ตนเองไม่ได้ทราบจริงๆ การราวน์ร่วมกันจึงมีประโยชน์มาก

homecare ของ อญ. ใช้ระบบหน่วยดูแลที่บ้านของโรงพยาบาล เพื่อเชื่อมโยงต่อเนื่องไปถึงที่ชุมชนให้ได้ ดังนันพยาบาล discharge planning ทำหน้าที่แค่ประสานกับหน่วยนี้ jigsaw การดูแลครบวงจร บ้าน-โรงพยาบาล-ชุมชน-บ้าน จึงบรรจบครบกระบวนความ

งานพัฒนาอยู่ที่ "คน" ไม่ใช่ hardware หรืออาคารสถานที่

พี่เกศหัวหน้า ward neuro ก็เล่าบ้าง

งาน ward พี่เกศนั้นดูเหมือนจะซับซ้อน เพราะลักษณะของคนไข้เองที่ทำให้เกิดบริบทอันเป็นเอกลักษณ์ เพราะคนไข้ที่มา admit รพ.ด้วยอาการทางศัลยศาสตร์ะบบประสาท มีแนวโน้มที่จะต้องเผชิญกับภาวะทุพพลภาพ และการที่อวัยวะต่างๆสูญเสียหน้าที่ไปเป็นเวลานานจนถึงเสียแบบถาวรก็ไม่น้อย

ในมิติของ discharge planning ในความต้องการที่สองและที่สาม คือ การ adjust lifestyles และการดูแลต่อเนื่องจากโรงพยาบาลยิ่งสำคัญมากขึ้น ส่วนการ "ส่งเสริมป้องกัน" ก็จะเน้นไปที่ภาวะแทรกซ้อนที่เพิ่มความเสี่ยงจากภาวะทุพพลภาพต่างๆมากกว่าการป้องกัน primary diseases แต่แรกเริ่มที่พบในหอผู้ป่วยอื่นๆ

ในขณะที่หอผู้ป่วย อญ. ของพี่รินทร์เป็นการจัดพยาบาลเป็น dischage planners ในแต่ละวัน หอผู้ป่วย neuro ของพี่เกศจะลงมือแบบ dramatic กว่านั้น คือ "มอบหมาย discharge planners เป็นรายเดือน" ไปเลย คือ ทำ discharge planning ทั้งเดือน

อาจจะเนื่องจากลักษณะโรคที่เป็นต่อเนื่อง เรื้อรัง และประวัติจากยาวนาน อยู่ รพ.ก็นานกว่า ไม่ได้เปลี่ยนแปลงแบบ active อย่างของอายุรกรรม ลักษณะการเข้าเวร discharge planning เป็นรายเดือนจึงเหมาะสม พี่เกศมีสี่ทหารเสือ เป็นพยาบาล discharge planning team ที่คอยผลัดเปลี่ยนคิวทุกๆเดือน แต่ละคนพี่เกสบอกว่า "มีความถนัดที่ unique" ไม่เหมือนกัน บางคนชอบอธิบายพูดคุย บางคนชอบ manage risks บางคนชอบประสานงาน แต่ทุกพลังงานเป็นส่ิงที่จำเป็นและเอืี้อประโยชน์ต่อคนไข้ทั้งหมด

พี่เกศเล่าว่า การทำ dischage planning พอทำไปแล้ว เราจะทราบว่ามันมีเรื่องราวจำเพาะ มี skill ทักษะที่ไม่เหมือนกับกิจกรรมอื่นๆ ดังนั้น จะไม่แปลกที่พยาบาลบางคนก็จะไม่ชอบ ไม่ถนัด แต่บางคนก็จะสนุกและมีความเชี่ยวชาญเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น จึงได้มีโปรแกรมอบรมและจัด workshop เสริม skill ที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็น communication skills เป็นการฟังอย่างลึกซึ้ง

แนวทางการ approach ของพี่เกศเป็นการลองผิด ลองถูก โดยอาศัยพันธกิจของ ward เป็นตัวผลักดัน พี่เกศไม่รอว่าจะมี guidelines หรือ protocol อะไร แต่จะเริ่มทำจริงไปเลย จากสิ่งที่คิดว่าน่าจะดี การลองผิดลองถูกนั้น กว่าจะได้มาถึง protocol ปัจจุบันอย่างที่ทำ ก็มีการปรับแก้กันหลายๆรอบ เป็นการใช้หลักการ PDCA ของ Demming เพื่อตรวจสอบคุณภาพจากการปฏิบัติจริงๆ และลงทุนการพัฒนาไปที่ "ศักยภาพของคน" มากกว่าการดิ้นรนขอแรงงานเพิ่ม หรือเกิดอาการ hopeless เพราะสิ่งที่มีไม่เท่ากับสิ่งที่เราต้องการ แต่จะพยายามหาคำตอบว่า ที่ที่เรามีต้นทุนอยู่แล้วนั้น เราจะทำอะไรได้บ้าง

ข้อสำคัญที่สามารถมองเห็นได้คือ แนวทางการพัฒนาแบบมุ่งเน้นลงไปที่ "คน" นั่นคือการเสริมศัลยภาพ competency หา right person for the right job และมุ่งการพัฒนาที่เสริมความถนัด ความเชี่ยวชาญชำนาญจากประสบการณ์ตรง จากการลงมือกระทำจริง ซึ่งตรงกับแผนการพัฒนาแบบที่ใช้ outcome mapping อย่างมาก

คำสำคัญ (Tags): #discharge planning
หมายเลขบันทึก: 318215เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2009 00:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 04:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

การวางแผนจำหน่ายผู้ปวยสำคัญมากในหลาย ๆโรคที่ผู้ป่วยจะต้องกลับไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

  • ซึ่งก็ขึ้นกับสภาพแวดล้อม
  • ปัจจัยหลาย ๆอย่างของผู้ป่วย
  • การเตรียมความพร้อมของญาติและผู้ป่วยสำคัญที่สุด

ส่วนมาก แต่เดิมพวกเราจะแนะนำผู้ป่วยอย่างเดียว

  • ไม่ได้สอบถามกลับว่าผู้ป่วยเป็นอย่างไร
  • ทำได้ไหม
  • ผลจะเป็นอยางไร มีปัญหาการปฏิบัติหรือไม่

ขออนุญาต ยกอย่างผู้ป่วยโรคติดต่อทางเดินหายใจ เมื่อจำหน่ายกลับบ้าน

  • การปฏิบัติตัวต้องป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อสู่ผู้อื่น
  • มีอยู่รายหนึ่ง ทำไม่ได้ ที่บ้านมีห้องนอนเดียว
  • นอนแยกห้องไม่ได้
  • พยาบาลก็จะต้องหาวิธี คำแนะนำให้ผู้ป่วยและญาติช่วยกันว่าจะทำอย่างไร
  • ให้คนไข้นอนใต้ ทางลม เปิดหน้าต่างให้ลมพัดผ่าน ถ้าเปิดพัดลมให้พัดลมอยู่เหนือผู้ที่ไม่ป่วย พัดจากญาติ ไปทางผู้ป่วย
  • ให้ผู้ป่วยสวมหน้ากากอนามัย เมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น ข้อนี้สำคัญคะ แนะนำไป แต่ผู้ป่วยไม่มีเงินซื้อ มาใช้
  • พยาบาลก็ต้องจัดหน้าหนากากอนามัยให้ผู้ป่วย สอนวิธีดูแล
  • และที่สำคัญต้องมีทีมดูแลต่อเนื่องในพื้นที่ไปเยี่ยมติดตามถามข่าว เฝ้าระวังต่อว่าคนในบ้านป่วยหรือไม่ ผู้ป่วยปฏิบัติตามได้ไหม

สวัสดีครับคุณประกาย

มาแต่เช้าเลยครับ แถมด้วยเริ่มบทสนทนา ดีใจมากครับ ขอตอบก่อน ยังไม่ต้องเขียนบทความต่อก็ยังได้ อิ อิ

เห็นด้วย 100% กับที่ว่ามาทั้งหมดครับ

การทำ discharge planning ที่สมบูรณ์ ไม่ได้เป็นเพียงแค่มี protocol แล้วก็ check list ใช้เวลา 15-20 นาทีกับคนไข้แล้วก็ปล่อยกลับบ้านเท่านั้น

เรื่องที่เกี่่ยวกับความสัมพันธ์ เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต บางทีมันก็ Lean ลงมากนักไม่ได้ lean มากเกินไป มันได้แต่กระบวนการ แต่มันอาจจะสูญเสียชีวิต สูญเสียความเป็นมนุษย์ไป

เรากำลังพูดถึงเรื่อง "การเปลี่ยนวิถีชีวิต การยอมรับสภาพความเป็นจริงอันเจ็บปวด" ในการทำ discharge planning บางกรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน palliative care ที่จะมีทั้งคนไข้ advanced cancer, chronic diseases และ disabled patients ถ้าเราใช้จินตนาการสักเล็กน้อย เอาใจเขามาใส่ใจเรา ถามตัวเองว่า คุยเรื่องพวกนี้ให้ดีๆ ควรจะทำแบบไหน บางทีเราจะเปลี่ยนวิธีที่เราทำทุกวันนี้ไปอย่างสิ้นเชิง

บางครั้งการทำ discharge planning คนไข้ต้องการกำลังใจมาก เพราะเขากำลังเดินทางไปยัง uncharted territory ไม่เคยคิด ไม่เคยทำมาก่อน ไม่เคยใช้ชีวิตที่ปราศจากขามาก่อน ไม่เคยใช้ชีวิตที่อัมพาตครึ่งตัว ไม่เคยใช้ชีวิตที่ไม่สามารถกอดลูกได้เต็มที่เพราะแผลมะเร็งที่เต้านม

เรื่องเหล่านี้ เราอาจจะต้องไม่ได้หมกมุ่นอยู่แต่ว่า "เราทำอะไรให้เขาดี" แต่ต้องเพิ่มความ "ไว" ต่อความรู้สึกว่า เขา/เธอ กำลังต้องการกำลังใจมากขนาดไหน ต้องการใครบ้างที่จะอยู่ด้วยช่วยคิด และต้องการความ sensitive จากคนที่เขากำลังพูดสนทนาด้วยอย่างไรบ้าง

ดังนั้น "การฟังอย่างลึกซึ้ง" เห็นอกเห็นใจร้อยเปอร์เซนต์ "อยู่กับคนเบื้องหน้า" จริงๆ ไม่ได้อยู่แต่แค่กายภาพเท่านั้น แต่อยู่ในใจของเขาและของเราด้วย

เมื่อนั้น ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงจึงจะถูกวาดกรอบใหม่ ลงบนผืนผ้าใบผืนใหม่ โดยมีเพื่อนร่วมเดินทางที่มีจิตเมตตา รักไม่มีเงื่อนไข คอยให้ความรู้ ให้กำลังใจอย่างเต็มที่

นี่จึงเป็นกระบวนการ discharge planning ที่สมบูรณ์

เกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่ร่วมทำกิจกรรมนี้

แวะมาเรียนรู้ ครับ มีประโยชน์สำหรับผมมากครับ...ผมกำลังทำเรื่องนี้ให้กับ รพ. เป็นแนวทางที่ดีมากครับ ผมอ่าน OM ของอาจารย์จบแล้วเกิดปัญญาและเห็นความโง่เขลาของตัวเองหลายอย่าง ผมขอ link OM ไปที่ อหังการ ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ"อาจารย์"

เห็นหัวข้อแล้วรีบแวะเข้ามาอ่าน.."เขากำลังเดินทางไปยัง uncharted territory ไม่เคยคิด ไม่เคยทำมาก่อน ไม่เคยใช้ชีวิตที่ปราศจากขามาก่อน ไม่เคยใช้ชีวิตที่อัมพาตครึ่งตัว ไม่เคยใช้ชีวิตที่ไม่สามารถกอดลูกได้เต็มที่เพราะแผลมะเร็งที่เต้านม"

กินใจมากค่ะ..ยังไม่เคยดูแลผู้ป่วยได้ขนาดนั้นเลย..ขอบคุณสิ่งดีๆที่แนะนำค่ะ..

 

สวัสดี ครับ อาจารย์

เข้ามากราบสวัสดี ปีใหม่ 2553 กับอาจารย์ เป็นท่านสุดท้ายสำหรับวันนี้...

เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ชีวิต

ด้วยความเคารพ

สวัสดีปีใหม่ค่ะอาจารย์

ขอให้อาจารย์มีความสุขและสุขภาพแข็งแรงค่ะ

 

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๓

ขอให้คุณหมอและครอบครัวมีความสุขดังบทบาลีที่ว่า เต อัตถลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธสาสเน อโรคา สุขิตา โหถะ สหสัพเพหิ ญาติภิ. ขอให้ครอบครัวของท่านพร้อมด้วยหมู่ญาติ จงประสบสุขในสิ่งที่ปรารถนา มีสุขภาวะที่สมบูรณ์ปราศจากโรคภัยและเจริญงอกงามไพบูลย์ในพุทธธรรมตลอดไป เทอญ.

สวัสดี ค่ะฝากลิงค์ "การประชุม Case จริยธรรม ครั้งที่ 3 (Ethical Conference 3) ณ ห้องประชุม เยียน โพธิสุวรรณ โดย ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รพ.สวรรค์ประชารักษ์ สถาบันสมทบ มหาวิทยาลัยมหิดล" http://gotoknow.org/blog/manywad/324525 ค่ะ

เเวะมาสวัสดีปีใหม่อาจารย์ค่ะ ขออาจารย์จงบริบูรณ์ด้วยกำลังความดี ความงาม กำลังกาย กำลังทรัพย์ กำลังสติปัญญา เป็นครูที่เปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณของความเป็นครูตลอดไปค่ะ

  • D/C planning เป็นสิ่งดีมีประโยชน์
  • เพราะผู้รับผลประโยชน์โดยตรงคือคนไข้
  • เป็นการเตรียมผู้ป่วยกลับบ้าน และวางแผนดูแลต่อเนื่อง
  • เป็นไปได้และดีที่สุด  D/C planner อาจจะเป็นคนเดียวกับ Nurse case management  หรืออาจเชื่อมประสานกัน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อเนื่อง ทั้งขณะอยู่โรงพยาบาลและเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน
  • แวะมาสวัสดีปีใหม่ค่ะอาจารย์

Att0000111

อ่านแล้วทำให้เห็นภาพว่าหมอและพยาบาลที่ดีเขาเป็นกันยังไงและต้องทุ่มเทรวมถึงคิดรอบคอบมากแค่ไหน บ่อยครั้งที่เจอหมอและพยาบาลที่เหมือนหุ่นยนต์ ตรู๊ดๆๆ ตรวจๆๆ ตังค์มาเอายาไป อาทิตย์หน้านัดใหม่อีกรอบ ถ้าถามเยอะก็มีแนะนำบริการเสริมเพื่อความสบายใจ ตรวจโน่นเพิ่มมั้ยหรือนี่เพิ่มมั้ย แต่รพ.รัฐอาจจะไม่ค่อยมีแนวนี้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท