ORIGIN OF HINAYANA & MAHAYANA(2) ที่มาของหินยาน(เถรวาท) และ มหายาน (2)


ORIGIN OF HINAYANA & MAHAYANA(2)

ที่มาของหินยาน(เถรวาท) และ มหายาน (2)

Good day to g2k friends

สวัสดีค่ะ เพื่อนๆชาวg2k

From quote Dokmok Book special issue

 

“Similarity of two sects

1.Target is similar to be release or freedom.

จากหนังสือดอกโมกข์ ฉบับพิเศษ คัดบางส่วน

“ความคล้ายคลึงกันของนิกายทั้งสอง

1.จุดมุ่งหมายปลายทางเหมือนกันคือหลุดพ้นในทางวิมุตติ

2.Teaching of either sects are human social benefit about morality.

 

2.คำสอนของทั้งสองนิกายเป็นประโยชน์แก่สังคมของมนุษย์ในด้านศีลธรรม และจรรยา

 

3.to teach law of action or Karma.

3.สอนในเรื่องกฎแห่งกรรม

 

4.Either sects accepts the unlimited everything to be no starting, no ending, no limit, no estimating.

4.ทั้งสองนิกายต่างยอมรับเรื่องความไม่จำกัดสรรพสิ่ง คือ ไม่มีเริ่มต้น ไม่มีสิ้นสุด ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ

The different between the most important  two sects

ส่วนข้อแตกต่างกันของสองนิกายที่สำคัญที่สุกคือ

Hinayana intends Buddhist Saint landscape to believe moral lesson that before the other knows ,man must know before to help other people, oneself need to help themselves. So, man brings any to teach or help other.

เถรวาทมุ่งอรหันต์ภูมิ โดยถือคติว่าก่อนจะให้คนอื่นรู้ ตนต้องรู้ก่อน ก่อนจะช่วยคนอื่นได้ ตนต้องช่วยตนเองให้ได้ก่อน มิฉะนั้นจะนำอะไรไปสอนไปช่วยเขา

Mahayana intends Buddha landscape.

Human must behave to be The Buddha before for helping other before helping themselves. Accepting suffer is for happiness of other. “

ส่วนมหายานมุ่งพุทธภูมิ คือต้องบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์ก่อน เพื่อช่วยคนอื่นก่อนช่วยตัวเอง ยอมรับทุกข์ เพื่อสุขของคนอื่น”

 

 

The writer thought that neither Buddhism divided 2 sects to be Hinayana & Mahayana then Mahayana had divided to be small sect which some sect the monk had wife and son or daughter.

ผู้เขียนมองว่า ไม่ว่าศาสนาพุทธจะแบ่งออกไปเป็น 2 นิกาย คือ หินยาน(เถรวาท) และ มหายาน   แล้วมหายานมีการแบ่งออกเป็นย่อยๆอีกค่ะ ซึ่งบางนิกาย ผู้ที่บวชเป็นพระสงฆ์มีภรรยา และบุตรได้

 

Hinayana monks were strict about law of Buddha more than Mahayana monks. Although it had some negative news  about Hinayana monks. It is little point. A number of  Hinayana monks is good behavior. But the media did not present positive.

The reader should consider news by wisdom.

พระสงฆ์นิกายเถรวาทมีความเคร่งครัดทางธรรมวินัยมากกว่าพระสงฆ์นิกายมหายาน แม้ว่าจะมีข่าวไม่ดีออกมาบ้างค่ะ

เป็นเพียงเศษเสี้ยวที่ไม่ดีค่ะ ยังมีพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีอีกมากมายค่ะ เพียงแต่สื่อมวลชนไม่ได้เสนอข่าวเรื่องดีๆค่ะ  ผู้ที่เสพข่าว ควรใช้สติปัญญาพิจารณาให้ดีด้วยค่ะ

 

The writer said before that dividing sect to be dividing. We intends to create goodness in our mind. The teaching of the Buddha hold in mind or spirit. Intending do good to feel happy mind.

อย่างที่ผู้เขียนได้เกริ่นนำไปแล้วว่าการแบ่งแยกนิกายนั้นเป็นเพียงการแบ่งแยก เรามุ่งสร้างธรรมะให้เกิดขึ้นที่ใจเรา เอาคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในจิตใจ มุ่งมั่นที่จะความดีค่ะ เมื่อเราทำดี เราก็สบายใจ สุขใจ 

 

We can bring teaching of either sects to mix by doing or respect.

The writer’s family respects Hinayana Buddhism and trusts teaching the Buddha but has to respect Guan Yim Bodhisattva in Mahayana Buddism. I watched video Origin Guan Yim when I was a child. As remember ,Guan Yim’s father was King who treated people badly, he burned the temple when he died, he born the cow. It is his sin.This belief  the myth made my family and me not eat the beef.

ในทางปฏิบัตินั้นเราสามารถเอาทั้งสองนิกายมาผสมผสานกันได้

ที่บ้านของผู้เขียนและตัวผู้เขียน นับถือศาสนาพุทธนิกายหินยาน ศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้า  แต่ก็บูชาเจ้าแม่กวนอิม (พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร) ซึ่งอยู่ทางมหายาน แล้วด้วยความที่ผู้เขียนเคยดูกำเนิด กำเนิดเจ้าแม่กวนอิม เมื่อตอนเป็นเด็ก เท่าที่จำได้ พ่อของเจ้าแม่กวนอิมเป็นฮ่องเต้เคยเผาวัดวาอาราม ปกครองประชาชนอย่างโหดร้าย เมื่อพระบิดาเสียชีวิต ก็ลงมาเกิดเป็นวัวเพื่อชดใช้กรรม จึงเป็นความเชื่อตามตำนานจากหนังที่ดู จึงไม่กินเนื้อวัว

Another point of view not eat beef better because the cows are too good, benefit to agriculture. It has spirit is as human to feel hurts or suffers when it was killed by desire’s human.

มองอีกมุมไม่กินวัวก็ดีค่ะ เพราะวัวเป็นสัตว์ที่ประโยชน์ทางการเกษตรอย่างมากค่ะ แล้ววัวก็มีความรู้สึก เจ็บ ทุกข์ ทรมานเมื่อโดนฆ่า

 

 

The writer wish man to have religion in mind. Goodness happens by doing. I believe that if we have trust to doing good, we are happy mind

เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้เขียนอยากให้คนมีศาสนาอยู่ในใจ สร้างธรรมะไว้ในใจ

ผู้เขียนเชื่อว่าหากคนเรามีความศรัทธาในเรื่องการทำความดีแล้วเรารับรู้ว่าเราสบายใจ สุขใจกับการทำความดีก็มีเพียงพอแล้วค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 318122เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2009 16:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 20:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีครับ..ขอศีลห้าอีกสักบันทึกนะครับ ขอบพระคุณล่วงหน้า ครับ

สวัสดีค่ะ

มาแจมค่ะ

*

1 เถรวาทมุ่งอรหันต์ภูมิ จึงบำเพ็ญเพียรทางจิตมากกว่า (เน้นปัญญา) ความรู้ที่เกิดจากจิตขณะเป็นสมาธิ เป็นความรู้ที่ถูกต้อง เมื่อท่านบรรลุอรหันต์ จะสามารถทำประโยชน์อย่างมากแก่มวลมนุษย์ เพราะทำโดยปราศจากการยึดถือว่าเป็นผลงานของท่าน ท่านทำ ท่านต้องได้รับผลตอบแทน

มหายานมุ่งพุทธภูมิ จึงบำเพ็ญประโยชน์มากกว่า (เน้นกรุณา) บางครั้งจึงเกิดการตีความธรรมไปต่างๆเพราะยังไม่รู้แจ้ง เพราะมุ่งหวังพุทธภูมิ จึงไม่สามารถรู้แจ้งได้ในชีวิตนี้ บางครั้งจึงยังยึดมั่นในความดี คือตนทำ ตนต้องได้รับผลตอบแทน

มองว่าทั้งสองฝ่ายสร้างประโยชน์แก่มนุษย์ชาติได้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เถรวาทสร้างประโยชน์ได้อย่างมากมายในช่วงท้ายด้วยปัญญาของพระอรหันต์ ฝ่ายมหายานสร้างประโยชน์รายทางด้วยปัญญามนุษย์ที่ยังไม่หลุดพ้น

*

เถรวาทไม่มีดินแดนพิเศษอย่างมหายานที่เรียกว่า "พุทธเกษตร" อันเป็นที่อยู่ของพระพุทธเจ้าชนิดสัมโภคกาย และพระโพธิสัตว์ที่อยู่ในระดับภูมิ10 รวมทั้งเหล่าสัตว์ที่เตรียมเข้านิพพาน

มหายานมีดินแดนดังกล่าว (มองว่าคล้ายๆกับนิพพานจะเป็นอัตตาอย่างนั้นแหละค่ะ)

*

เถรวาทเน้นปฏิบัติให้หลุดพ้นด้วยตนเอง โดยมีแนวทางที่พระพุทธองค์วางไว้เป็นหลัก จึงไม่มีการสวดอ้อนวอนให้อำนาจพิเศษใดๆมาช่วย หากเพียรพยายามด้วยตนเอง

มหายาน เชื่อว่ามีพระโพธิสัตว์คอยช่วยเหลือ จึงสวดอ้อนวอนให้พระโพธิสัตว์ช่วยดลบันดาลสิ่งต่างๆให้ หวังพึ่งในสิ่งที่มองไม่เห็น บางครั้งจึงละเลยการปฏิบัติตรง หรือการช่วยเหลือตนเองไป

*

เถรวาทไม่แก้ไขพระวินัย จึงไม่อาจมีภิกษุณีนิกายเถรวาทได้ จึงถูกมองว่าจำกัดสิทธิสตรี ลดคุณค่าของศาสนาพุทธลง

มหายานอาจยึดตามปัจฉิมโอวาทของพระพุทธองค์ที่ว่าสิกขาเล็กๆน้อยๆ หากสงฆ์จะเพิกถอนก็ให้เพิกถอนได้ จึงมีการบวชภิกษุณีได้

*

เถรวาท พระภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี เป็นผู้ปฏิบัติพื่อความบริสุทธิ์ ความดีงาม ไม่ใช่ตัวกลางที่สื่อสารระหว่างมนุษย์กับอำนาจใดๆเพื่อให้ประชาชนสมหวัง

มหายานบางครั้งถูกมองว่าถูกกลืนเข้าไปกับศาสนาพราหมณ์ด้วยพิธีกรรมต่างๆ

*

ในประเทศไทย นับถือศาสนาพุทธแบบนิยมทำทานค่ะ แต่ไม่ค่อยปฏิบัติกรรมฐาน อีกทั้งนิยมทำบุญเพื่อหวังชีวิตที่ดีกว่าในภพหน้า (ทำบุญด้วยกิเลส หวังผลตอบแทน)แต่ไม่ค่อยทำบุญเพื่อหวังเข้าถึงนิพพาน (ทำบุญเพื่อฝึกการละ ไม่หวังผลตอบแทน) กันเท่าไหร่ (ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ ท่านสรุปว่างั้น)

ผมเองไม่ค่อยลึกซึ้งในเรื่องศาสนาทั้งหินยาน และ มหายาน แต่ขอ ลปรร ตามความคิดเห็นนะครับ

ผมมีความคิดว่าที่มีการแบ่งนิกายออกเป็น หินยาน และ มหายาน คงเป็นเรื่องของความแตกต่างในเรื่องของความคิด หรือ จริต ของแต่ละบุคคลครับ ซึ่งผมว่าเป็นเรื่องที่ดีนะครับ ที่เราเปิดกว้างในเรื่องของศาสานาพุทธ ที่สามารถแตกต่างได้โดยไม่แตกแยก

ขอโทษค่ะ

ในย่อหน้าสุดท้าย คำในวงเล็บ เป็นความเห็นของดิฉันที่อิงจากท่านพุทธทาสค่ะ

เดี๋ยวจะกลายเป็นกล่าวตู่ท่านดร.วัชระ งามจิตรเจริญ ไป

สวัสดีค่ะ 

  • มาเยี่ยมด้วยความระลึกถึง
  • สบายดีนะคะ
  • ขอโทษด้วยค่ะ
  • ขอบคุณที่ระลึกถึงกัน
  • สุขสันต์วันพ่อค่ะ
  • บันทึกแบบ bilingual นี้ดีมากนะครับ ได้เห็นศัพท์ที่ไม่เคยรู้มาก่อน
  • เคยอ่าน ชวนม่วนชื่น ของ ท่านอาจารย์พรหม เล่าเรื่อง คนคุกที่ทำหน้าที่เป็นเพชรฆาตไปเจอวัวที่ไม่ดิ้นแต่มีน้ำตาไหล แล้วเลิกกินสัตว์ไปเลย ก็น่าจะเข้าข่ายแบบนี้นะครับ

มาชม

ได้มุมคิดดี ๆ และได้อ่านทั้ง 2 ภาษาเลยหนานี่ ดีจัง...ทำบุญกุศลต่อไปนะครับ...

ยานไหนก้อดีท้างน้าน ขอให้ไม่ "เบียดเบียนคนอื่น และ ตนเอง นิ"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท