เหล้า พ่อ กับความกตัญญู และปีใหม่


เรื่องของเรื่อง พอดีได้มีโอกาสฟัง 2 หนุ่มใหญ่สนทนากันในลิฟท์

ห่างหายจากการเขียนบล็อกไปนาน แต่ถึงไม่ได้เขียนก็ไม่ได้หายไปไหนไกลเพราะพยายามเปิดบล็อกดูของตัวเองและของเพื่อนพ้องน้องพี่อยู่เสมอ


แต่เพื่อไม่ให้ทิ้งช่วงนานไป วันนี้จึงขอแวะเข้ามาเขียนอะไรเล็กๆ น้อยๆ ภายใน 10 นาที เป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับ เหล้า พ่อ ความกตัญญู และวันปีใหม่กันสักหน่อย เอ๊ะหลายคนอาจเริ่มสงสัย มันเกี่ยวกันยังไง?


เรื่องของเรื่อง พอดีได้มีโอกาสฟัง 2 หนุ่มใหญ่สนทนากันในลิฟท์


"เฮ้ย ทำไมซื้อถูกจัง พี่ซื้อกลมนึงตั้ง 300 กว่าบาท ทำไมน้องถึงซื้อได้แค่ 200 กว่าบาทเอง" ชายหนุ่มที่ดูอาวุโสกว่ากล่าวขึ้น อีกฝ่ายที่ดูอ่อนวัยกว่าสักสิบปีจึงอธิบายไขความกระจ่าง ก่อนพูดถึงที่มาที่ไปของการเลือกซื้อเหล้าครั้งนี้ที่คำว่า "ผมว่าจะซื้อสักกลมนึงให้พ่อ สงสารแก เห็นกินแต่เหล้าแสงโสม อยากให้แกได้กินเหล้าดีๆ กับเขาบ้าง"  ?????????...


มาประโยคนี้เองที่สะกิดใจคนฟังอย่างแรง อดขำ และอดขื่นไปพร้อมๆ กันไม่ได้ พาลให้คิดในใจ
"นี่พี่รักพ่อจริงๆ หรอ (วะ) ?"


ให้พ่อเจี๊ยะ (ภาษาสุภาพ) เหล้านี่นะ


เหล้านี่มันมีของดีกับของไม่ดีด้วยเหรอ เพราะเทให้หมาดื่ม (ภาษาสุภาพ) มันยังไม่รับประทานเลย
"นี่พี่อยากเห็นพ่อเมาเหล้า ขาดสติ ให้ลูกหลานหมดศรัทธาและเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีให้กับเด็กๆ ในบ้านขนาดนี้เลยเหรอ?"


ที่ขำก็คงขำกับความไร้เดียงสา (แต่หน้าแก่) ของพี่คนนั้นที่ไม่ยักคิดว่ากำลังหยิบยื่นยาพิษให้พ่อด้วยความรักและความกตัญญูแบบผิดๆ


ส่วนขื่นก็ขื่นตรงที่ค่านิยมของสังคมไทยเห็นเหล้าเป็นของดี ที่มอบให้กันในช่วงเทศกาลปีใหม่


มอบให้ใครก็ไม่มอบ ดันมอบให้กับคนที่รัก ไม่ใช่คนที่เกลียดชังปานจะสาบแช่งกันให้จมดิน
ทุกปีภาครัฐก็รณรงค์ให้ลด ละ เลิก การดื่มเหล้าเพื่อลดอุบัติเหตุกันทุกปี แต่ก็เหมือนยิ่งห้ามยิ่งยุ แข่งกันเพิ่มยอดคนเจ็บคนตายไม่รู้จักเข็ดหลาบ


โอ๊ะเริ่มเครียด หลายคนอาจมองว่าเรื่องนี้เป็นการคิดมากเกินไปเอง แต่ส่วนตัวแล้วก็คิดว่า แม้แต่เรื่องเล็กๆ เรายังหลงกันอย่างนี้ เรื่องใหญ่ๆ มีความสำคัญต่อบ้านเมือง สังคมไทยจะไปทางไหนกัน ? เสียดายที่อยู่ในเมืองที่มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ มีศีล 5 กรรมบท 10 ให้ยึดถือ แต่ก็เหมือนใกล้เกลือกินด่าง


(แรงไปไหม ก็คงเป็นเรื่องนานาจิตตัง แต่สำหรับผมเองว่าเบาไปด้วยซ้ำ) 

(ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต)

คำสำคัญ (Tags): #เหล้า
หมายเลขบันทึก: 317822เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2009 11:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท