ตำแหน่งวิชาการ ๓ สาย


ผมใฝ่ฝันจะเห็นสภาพการยอมรับผลงานวิชาการที่หลากหลายเช่นนี้มานานกว่า ๒๐ ปี จึงมีความสุขมากที่สภามหาวิทยาลัยมหิดลมีมติเชิงหลักการเช่นนี้

          การประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดลวันที่ ๑๘ พ.ย. ๕๒ ให้ความสุขแก่ผมเป็นพิเศษ   เพราะมีเรื่องเชิงสร้างสรรค์มากเป็นพิเศษ   แสดงถึงพลังของการเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐนอกระบบราชการ   ที่สามารถดำเนินการเรื่องเชิงสร้างสรรค์ที่ไม่สามารถทำได้หากยังอยู่ในระบบราชการ

 

          เมื่อมีร่างประกาศคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการของพนักงานมหาวิทยาลัย เข้าสู่การพิจารณา    ศ. ดร. เจตนา นาควัชระ ก็แย้งร่างที่เสนอ    ที่เสนอให้การเข้าสู่ตำแหน่ง รศ. มีทางเดียว คือต้องเสนอผลงานทั้งงานวิจัย และ ผลงานการเขียนหนังสือ    ไม่อนุญาตให้เสนอเพียงผลงานวิจัยเพียงอย่างเดียว    ศ. เจตนาท่านเสนอว่า การเขียนหนังสือที่ดีถึงขนาดต้องการประสบการณ์วิชาการสูง   จึงควรเน้นที่คนระดับใกล้หรือเป็นศาสตราจารย์    คนที่อาวุโสน้อยควรเน้นทำวิจัย    ดังนั้นคนที่เป็น ผศ. ควรเน้นทำวิจัย   แล้วใช้ผลงานวิจัยเพียงอย่างเดียวขอตำแหน่ง รศ. ได้    โดยคุณภาพของผลงานวิจัยต้องดีเป็นพิเศษ

 

          คือให้มีการเข้าสู่ตำแน่ง รศ. ทั้ง ๒ สาย  คือสายผลงานวิชาการ ๒ ด้าน คือวิจัย + แต่งตำรา ก็ได้   หรือเสนอผลงานวิจัยอย่างเดียว ก็ได้


          สภามหาวิทยาลัยมีมติให้แก้ไขตามนี้

 

          กรรมการสภาฯ ยังได้เสนอแนะให้ฝ่ายบริหารไปหาทางยกร่างข้อบังคับเรื่องการเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ    ให้มีตำแหน่งทางวิชาการที่เน้นผลงานวิชาการต่างกันได้ ๓ สาย  คือสายวิจัย  สายบริการวิชาการ  และสายการเรียนการสอน    คือยอมรับนับถือผลงานวิชาการกว้างขึ้น

 

          ผมใฝ่ฝันจะเห็นสภาพการยอมรับผลงานวิชาการที่หลากหลายเช่นนี้มานานกว่า ๒๐ ปี    จึงมีความสุขมากที่สภามหาวิทยาลัยมหิดลมีมติเชิงหลักการเช่นนี้

 

 

วิจารณ์ พานิช
๑๘ พ.ย. ๕๒
       
หมายเลขบันทึก: 317820เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2009 11:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 11:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นผลการประชุมที่น่าสนใจมากครับที่ทางสภา มม. กล้าที่จะปรับกฏเกณฑ์ให้เข้ากับสภาพการทำงานของมหาวิทยาลัย

แต่ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผศ. รศ, และ ศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 ลงวันที่ 1 มีนาคม 2550 โดย รมต.กระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น (นายวิจิตร ศรีสอ้าน) ที่ผมค้นทาง Internet เอามาอ่าน

ดูเหมือนว่า จะบังคับให้การขอ ผศ.และ รศ. ต้องมีทั้ง งานวิจัย และการแต่งตำรา นะครับ (ผมอาจจะเข้าใจผิด เนื่องจากการตีความของผมเองก็ได้)

แปลว่าข้อบังคับที่จะเกิดขึ้นใน มม. จะไม่เหมือนกับประกาศฉบับนี้หรือเปล่าครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท