GotoKnow

QA2KM

ผศ.ดร. เสมอ ถาน้อย
เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2548 14:36 น. ()
แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2555 13:57 น. ()
เนื่องจากคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นเป็นคณะที่ผลการประเมินอยู่ในระดับดีมากมาโดยตลอด

      จากการที่ผมได้มีโอกาสคุยกับท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ พานิช และท่านอาจารย์วิบูลย์  วัฒนาธร ถึงวิธีการจัดการความรู้ในสถาบันการศึกษาต่างๆ ท่านอาจารย์วิบูลย์ ก็ได้เล่าถึงการนำ QA ไปสู่ KM ที่เกิดขึ้นที่คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ม. นเรศวร ให้อาจารย์หมอวิจารณ์ฟัง อาจารย์หมอวิจารณ์ก็เลยบอกให้ผมเขียนเล่าลงบน blog ผมก็ต้องขอโทษท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ ที่ทั้งช่วงเวลาหลังจากการพูดคุยครั้งนั้นค่อนข้างนาน กว่าจะมีบันทึกฉบับนี้ปรากฏบน blog ของ GOTOKNOW

       การพัฒนา QA 2 KM ที่คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ เกิดขึ้นควบคู่ไปกับการพัฒนางานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะมาโดยตลอด และเนื่องจากคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นคณะที่ผลการประเมินอยู่ในระดับดีมากมาโดยตลอด จนได้รับรางวัล NUQA Faculty of the year 3 ปีติดต่อกัน ทำให้เราต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง กระผมซึ่งดำรงตำแหน่งรองคณบดี ที่ดูแลงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาในขณะนั้น ก็เลยมีแนวความคิดร่วมกับคณะกรรมการ QA ของคณะ ที่จะพัฒนาระบบคุณภาพของคณะให้มีความยั่งยืน และมีมาตรฐานตลอดเวลา ขบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (knowledge sharing) ในรูปแบบต่างๆ จึงเกิดขึ้น

        กิจกรรมแรกที่จะขอพูดถึงคือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก best practice โดยทุกครั้งที่มีการประเมินหน่วยงานย่อย คือภาควิชาและสำนักงานเลขานุการคณะครบทุกหน่วยงาน ทางคณะโดยท่านคณบดี ดร.รสริน ว่องวิไลรัตน์ จะเรียกทุกหน่วยงานเข้าร่วมประชุม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผลการประเมินร่วมกัน ทำให้เกิดการนำเอาการดำเนินการที่ดีของแต่ละหน่วยงานไปปรับใช้กับหน่วยงานของตนเอง จนทำให้ผลประเมินของทุกหน่วยงานย่อยในปีถัดไป มีผลการประเมินดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาทุกหน่วยงาน

         กิจกรรมที่สองที่ได้ดำเนินการและมีคุณค่าอย่างยิ่งก็คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเป็นผู้ประเมิน จากผู้ประเมินภายนอกผู้มีประสบการณ์ โดยการที่เราจะให้ผู้ประเมินฝึกหัด (Trainee) เข้าร่วมฝึกหัดทำการประเมิน QA ร่วมกับผู้ประเมินที่มีประสบการณ์จากภายนอกคณะ ที่ได้รับเชิญมาประเมินภาควิชาของคณะ กิจกรรมนี้ทำให้เราได้ผู้ประเมินใหม่เกิดขึ้นในทุกๆ ปี และมีการนำความรู้ที่ได้จากการร่วมประเมินกับผู้ประเมินที่มีประสบการณ์ ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานด้าน QA ในหน่วยงานของตนเอง

         2 กิจกรรมที่พูดถึงนี้ เป็นเพียงบางตัวอย่างของการพัฒนา QA 2 KM ที่เกิดขึ้น ที่คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ยังมีอีกหลายกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งกระผมของเล่าให้ฟังในโอกาสต่อไป

ผศ.ดร.เสมอ ถาน้อย
ผู้ช่วยอธิการบดี

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #km 


ความเห็น

วิจารณ์
เขียนเมื่อ

ขอบคุณมากครับ   เป็นวิธีการที่ดีมาก


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย