GotoKnow

Sea Food Bank คืออะไร?

นาย ธนดล จันทขวัญ
เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2548 11:56 น. ()
แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2555 16:44 น. ()
พัฒนาฐานการผลิตอาหารทะเลของประเทศแหล่งใหม่ขึ้นทดแทนจากธรรมชาติ

Sea  Food  Bank  คืออะไร?

Sea  Food  Bank   คือโครงการที่กรมประมงกำหนดขึ้นเพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาล

ในการแก้ไขปัญหาความยากจน    โดยนำพื้นที่ชายฝั่งทะเล   22  จังหวัดที่มีศักยภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมาจัดสรรสิทธิให้แก่ประชาชนที่ยากจนและได้ขึ้นทะเบียนไว้กับทางราชการ    และมีความประสงค์ที่จะประกอบอาชีพด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ    ซึ่งจะป็นการสร้างอาชีพและก่อให้เกิดรายได้แก่บุคคลดังกล่าว    นอกจากนี้โครงการ  Sea  Food  Bank  ยังเป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นที่มีศักยภาพในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแต่ยังไม่ใช้ประโยชน์  ประมาณ   154,386  ไร่    มาพัฒนาฐานการผลิตอาหารทะเลของประเทศแหล่งใหม่ขึ้นทดแทนจากธรรมชาติ    เพื่อให้คนไทยได้มีผลผลิตสัตว์น้ำจากทะเลบริโภคในราคาที่ไม่สูงจนเกินไป

วัตถุประสงค์

1.   เพื่อจัดที่ทำกินให้แก่ประชาชนในการแก้ไขปัญหาความยากจน

2.   เพื่อสร้างฐานการผลิตอาหารทะเลทดแทนการจับจากธรรมชาติ

3.   เพื่อสร้างระบบการผลิตอาหารทะเลทีมีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล

4.   เพื่อจัดระบบการผลิตสัตว์น้ำที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

เป้าหมาย

1.   จัดสรรพื้นที่และรับรองสิทธิการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย  จำนวน   284,492  ไร่ (มีการใช้ประโยชน์แล้ว   130,106  ไร่    และจะนำมาใช้ประโยชน์อีก   154,386  ไร่)    ให้แล้วเสร็จภายในปี 2551

2.   จัดการผึกอบมเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์นำชายฝั่ง  ตามมาตรฐานการผลิต  GAP  และ  CoC  ให้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายทุกรายก่อนได้รับเอกสารสิทธิ

3.   จัดทำระบบการเลี้ยงตามมาตรฐานฟาร์มสำหรับเกษตรกรทุกราย

4.   จัดระบบ  contract  farming  เพื่อสนับสนุนการเพาะเลี้ยงสัตว์นำ  แก่กลุ่มเป้าหมาย

5.  ให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงแหล่งทุนในลักษณะการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน

** สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม  ฝ่ายพัฒนาการประมง   สำนักงานประมงจังหวัดชุมพร  โทร. 0 7751 1298

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized 


ความเห็น

ไอศูรย์ ภาษยะวรรณ์
เขียนเมื่อ
  • เรื่องนี้ป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะมองแนวโน้มในอนาคตของการประมงในภาพรวมแล้ว ประมงทะเลมีข้อจำกัดในการประกอบการมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งปริมาณสัตว์น้ำที่ลดน้อยลง ต้องออกเรือไปจับสัตว์น้ำในน่านน้ำต่างประเทศที่ห่างไกล, ต้นทุนเพื่อใช้ในการประกอบการสูงขึ้นมากโดยเฉพาะค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ฯลฯ จนเข้าสู่สภาวะ Sunset ในหลาย ๆ พื้นที่ โดยเฉพาะธุรกิจประมงของกลุ่มจังหวัด : ชุมพร, ระนอง, สุราษฎร์ฯ
  • การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งทะเล หรือที่กรมประมงใช้ชื่อว่า Sea Food Bank จึงเป็นหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจ ดังแสดงในวัตถุประสงค์ของโครงการฯ
  • แต่ขอฝากข้อคิดว่า "การทำงานใหญ่ที่มีผลกระทบในหลาย ๆ ด้าน ทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อม, เศรษฐกิจ, สังคม ฯลฯ ไม่ควรมองกระบวนการทั้งหมดในแง่ดีเกินไป ควรตั้งคำถามในแง่ลบโดยเฉพาะในส่วนที่เป็นจุดอ่อนและอุปสรรคออกมาให้มาก ให้ชัดเจน เพื่อมองหามาตรการและแนวทางแก้ไขเตรียมไว้ก่อน"
  • เมื่อข้อมูล, แนวทางปฏิบัติ, พื้นที่เป้าหมาย ฯลฯ ชัดเจนแล้ว เท่าที่เคยมีประสบการณ์ผ่านมา โดยเฉพาะในการบริหารโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมค่อนข้างมาก การบริหารในเชิงยุทธศาสตร์จะต้องเริ่มต้นที่การป้องกันเป็นอันดับแรก เมื่อมาตรการในการป้องกันเห็นเป็นผลสำเร็จ รับรู้ได้ในสาธารณชนทั่วไป การปฏิบัติในแนวทางของการใช้ประโยชน์ (Human-Use) จึงค่อยตามมา
  • แต่ถ้าเริ่มต้นที่การเข้าไปเปลี่ยนแปลงโดยมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์เป็นหลัก เมื่อมีปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือปัญหาอื่น ๆ ตามมา จะเป็นสภาวะที่แก้ไขได้ยากยิ่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย