๔. ถ้าไม่มีความอยาก ทุกข์ก็ไม่เกิด


         วันนี้ได้อ่านทบทวนต่อจากเรื่องการดูจิต ซึ่งขอเล่าต่อจากบันทึกที่แล้วเกี่ยวกับการเจริญสติสัมปชัญญะ  เป็นการฝึกให้ทำความรู้ตัวกับจิตผู้รู้อย่างสบาย ๆ ไม่เพ่งจ้องหรือควานหา ค้นคว้าพิจารณาเข้าไปที่จิตผู้รู้  เพียงแค่รู้อยู่เฉย ๆ เท่านั้น ต่อมาเมื่อมีความคิดนึกปรุงแต่งอื่น ๆ เกิดขึ้น  ก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ชัดเจน  เมื่ออารมณ์ปรากฏขึ้นกับจิต ก็ให้มีสติรู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏนั้น  ตรงที่จิตไม่เผลอส่งออกไปนั้นเองคือความรู้ตัวหรือสัมปชัญญะ 

         เรื่องสตินั้นเข้าใจง่ายเพราะหมายถึงตัวที่ไปรู้เท่าอารมณ์ที่กำลังปรากฏเช่น คนทำอะไรจิตก็จดจ่อกับเรื่องนั้น  โดยธรรมชาติแล้วคนมีสติอยู่เสมอ  เมื่อจิตตั้งใจรู้อารมณ์  แต่จะเป็นสัมมาสติได้ก็ต่อเมื่อมีสัมปชัญญะคือความรู้ตัวไม่เผลอ ควบคู่ไปด้วย 

        ความรู้ตัวไม่เผลอนั้นเข้าใจยากที่สุด  เพราะถามใครเขาก็ว่ารู้ตัวทั้งนั้น  ทั้งที่ความจริงจิตยังมีความหลง (โมหะ) แฝงอยู่เกือบตลอดเวลา  สัมปชัญญะที่ใช้เจริญสติปัฏฐานจะต้องเป็น "อสัมโมหสัมปชัญญะ"เท่านั้น 

        ความรู้ตัวหรือการไม่หลงเผลอส่งจิตออกไปตามอารมณ์ภายนอกนั้นเองคือสัมปชัญญะ   วิธีฝึกให้ได้สัมปชัญญะที่ดีที่สุดคือการทำสมถกรรมฐานเช่น  การบริกรรมพุทโธ  จนจิตรวมเข้าถึงฐานของมัน   แล้วรู้อยู่ตรงฐานนั้นเรื่อยไป   หากมีอารมณ์มาล่อทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ   ก็ไม่เผลอหลงลืมฐานของตนส่งจิตตามอารมณ์ไปอย่างไม่รู้ตัว 

        เราสามารถเจริญสติปัฏฐานได้ทั้ง ๔ ประเภท ถ้าแยกจิตผู้รู้กับอารมณ์ไม่ได้  จะไม่สามารถเจริญสติปัฏฐานได้ทุกประเภท  เพราะถ้าขาดสมถะที่ถูกต้อง  จิตจะตกเป็นทาสของอารมณ์  สติปัฏฐานทั้ง ๔ คือ คือรู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรม 

       รู้กาย เมื่อมีสัมผัสทางกาย รู้ลมหายใจเข้าออก รู้สึกหนาวเย็นจะเห็นว่ากายเป็นกลุ่มธาตุที่มารวมตัวกัน  ไม่เห็นว่ากายส่วนใดจะเรียกตนเองว่ากายเลย  กายกับจิตแยกกันชัดเป็นคนละส่วน

        รู้เวทนา บางครั้งในขณะที่รู้จิตผู้รู้อยู่นั้น  เราจะรู้เวทนากายบ้าง เวทนาจิตบ้างแล้วแต่ตัวใดจะเด่นชัด เช่นเวลาเดินจะรู้สึกเมื่อยขา  ถ้าเรามีจิตผู้รู้เราจะเห็นชัดว่าความเมื่อยไม่ใช่ขาที่เป็นวัตถุธาตุแต่เป็นอีกสิ่งหนึ่งแฝงอยู่ในวัตถุธาตุที่ประกอบกันขึ้นเป็นขา  บางทีจิตก็ปรุงแต่งเวทนาทางจิตขึ้นมาด้วยเช่นความสุขทางใจเกิดขึ้นก่อน

       รู้จิต ไม่ใช่การเห็นจิตผู้รู้  แต่เป็นการเห็นจิตสังขาร ที่กำลังปรากฏ เช่นจิตมีความโกรธ  มีความใคร่ มีความหลงฟุ้งซ่าน มีความผ่องใส เบิกบานเกิดขึ้น  จะเห็นว่าความปรุงแต่งล้วนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วดับไป  มันไม่ใช่จิต  มันเป็นแค่อารมณ์ที่ถูกรู้

      รู้ธรรม ถ้ารู้จิตผู้รู้อยู่นั้น  หากสภาวธรรมอันใดเกิดขึ้น  ก็จะเห็นสภาวธรรมอันนั้นตามที่มันเป็นจริง  เช่นขณะที่รู้ตัวอยู่  จิตก็ทะยานอยากออกไปเกาะความคิดนั้น   เพราะความที่จิตไปหลงยึดอารมณ์นั้นเอง ความเป็นตัวตน ความเป็นกลุ่มก้อน ความหนัก ได้เกิดขึ้นแทนความไม่มีอะไรในตอนแรก  และถ้ารู้ทันว่าจิตส่งออกไปนำความทุกข์มาให้  จิตจะปล่อยอารมณ์นั้นกลับมาอยู่กับรู้ ความหนักแน่นก็จะหายไปเอง 

        คือเห็นว่าถ้ามีตัณหาหรือความทะยานอยากไปตามอารมณ์  ความเป็นตัวตนและเป็นทุกข์จะเกิดขึ้น  ถ้าไม่มีความอยาก  ทุกข์ก็ไม่เกิด

       ธรรมะสวัสดีค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 317293เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2009 21:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (35)

พยายาลดละเลิกอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันครับพี่คิม...

สาธุ อนุโมทนาค่ะน้องคิม

ธรรมสวัสดีจริงๆ

อ่าน 2 รอบแล้วก็ยังร้องอืม....

แล้วกายก็พยักหน้า...จิตรับรู้ไม่ปรุงแต่ง

อันที่จริงก็เผลอไปพยักหน้าเข้าแล้ว ฮ่าๆๆ

ขอบคุณค่ะ ยิ้มๆนะ

สวัสดีค่ะหนานเกียรติ

  • เรื่องแบบนี้เป็นบุญบารมี เหมือนเราเก็บออมสตังค์
  • เก็บไปทีละน้อย ๆ จนวันหนึ่งก็ไม่รู้ตัวว่าเรามีตังค์พอใช้อย่างสบาย ไม่เดือดเนื้อร้อนใจ
  • ค่อย ๆฝึกและนำมาเล่าแลกเปลี่ยนกัน  แต่พี่คิมฝึกผิดฝึกถูกมานักต่อนักแล้ว  เข้าใจว่าบุญบารมียังไม่พร้อม

สวัสดีค่ะพี่ต้อยkrutoiting

  • อันนี้คัดย่อมาให้อ่านง่ายและสั้น ๆ สำหรับคนที่ไม่มีเวลาอ่านค่ะ
  • ใช่ค่ะ  เรื่องจิตปรุงแต่ง  ยังฝึกยากอยู่เหมือนกัน
  • พี่ตอ้ยสบายดีนะคะ
  • รักและคิดถึงเสมอค่ะ
  • หวัดดีคะ ครูคิม
  • วันนี้มาอ่านเรื่องของครูคิม  ใช่จริงๆๆ
  • เพราะฉะนั้น บางครั้งต้องปฏิเสธจิตเสียบ้าง ถ่ายโอนปัญญา
  • สติตั้งมั้น ปัญญาเรียบเรียง ความอยากก็จะน้อยลง ท่องคำว่า.. มีแล้ว ..พอแล้ว
  • 99.99 % ปลอดจากความmmทุกข์สิ้นเชิง

 

ไม่มีความอยาก ทุกข์ก็ไม่เกิด เห็นด้วยค่ะครูคิม คิดถึงค่ะ รักษาสุขภาพด้วยค่ะ ฝันดีค่ะ ราตรีสวัสดิ์ ห่มผ้าหนาๆนะ เป็นห่วงค่ะ

                                 

สวัสดีค่ะคุณครูน้อย

  • ขอขอบพระคุณค่ะ ที่มาแลกเปลี่ยน
  • พี่คิมยังรู้อะไรน้อยมาก  พยายามเรียนรู้ เห็นว่าควรนำมาแบ่งปัน
  • ขอให้ครูน้อยมีความสุขค่ะ

สวัสดีค่ะน้องNina

  • ขอขอบพระคุณในความห่วงใยค่ะ
  • อากาศที่บ้านกับที่โรงเรียนต่างกันมากค่ะ
  • ดับที่ความอยากค่ะ
  • ไม่มีความอยาก ทุกข์ก็ไม่เกิด

ธรรมะสวัสดีค่ะคุณพี่ครูคิม

  • พยายามลดละความอยากเพื่อจะไม่ทุกข์ค่ะ
  • เราสามารถเจริญสติปัฏฐานได้ทั้ง ๔ ประเภท 
  • คือรู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรม 
  • ขอบพระคุณค่ะ

 

สวัสดีค่ะน้องหมวยสีตะวัน

  • พี่คิมยังเล่าไม่จบนะคะ
  • เป็นตอนยาว ๆค่ะ  ทะยอยเล่าที่ละน้อย  สะดวกกับการอ่านและเข้าใจค่ะ
  • ขอขอบพระคุณน้องหมวยที่มาแลกเปลี่ยนค่ะ

สวัสดีจ้ะน้องครูคิม

พี่ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฎสังขาร ความโลภ โกรธหลง ยังคงตามตัวดังเงา

จะลด ละ ได้บ้างตามโอกาสที่มีไม่บ่อยครั้งนัก แต่ก็พยายามไขว้คว้าเอาไว้ให้ได้มากที่สุดเต็มสติ ตามกำลัง

เวลาพาเด็กๆไปฝึกปฏิบัติกิจกรรมท่างธรรมะ จะให้เด็กๆ ถือศีลห้า เพราะเกรงว่าลูกๆเขาจะไม่เข้าใจแล้วกระทำการอันมิควร

ต่อพระศาสนา เมื่อมาได้อ่านธรรมะสวัสดีของน้องครูคิมแล้วทำให้พี่มีความสุขมากจ้ะ

สวัสดีค่ะพี่สาวที่แสนดีตุ๊

  • การที่รู้อย่างนี้ หากเรานำเด็กไปปฏิบัติธรรมควรฝึกให้เขาเรียนรู้เรื่องการสวดมนต์ ไหว้พระ กราบพระอย่างถูกวิธี
  • และรู้จักการประพฤติปฏบัติตนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี รวมทั้งศาสนพิธีตามวัยของเขา
  • ส่วนการนำเด็กไปฝึกนั่งสมาธินั้น  เด็กเขาจะเข้าใจเหมือนเราหรือเปล่าหนอ  เรามองไม่เห็นเป็นรูปธรรม
  • ยังต้องเล่าต่ออีกนะคะ  ถ้าเล่ายาวเกินไป คนอ่านจะเบื่อและไม่เข้าใจค่ะ
  • ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ  รักและคิดถึงพี่สาวเสมอ

สวัสดีครับ  ผมห่างหายไปพอสมควร..เนื่องจากขาดเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร..และเตรียมย้ายของออกจากแฟลตของหลวง...ชีวิตตอนนี้ทำให้ได้เห็นโลกธรรมจริงๆ  ครับ

สวัสดีค่ะท่านพี่หนุ่ม กร~natadee

  • คิดว่าหนีไปอยู่กัมพูชาเสียแล้ว
  • ไม่ส่งข่าวกันบ้างเลย  วันก่อนไปอุดรผ่านศรีธาตุ ยังหลอกพี่สุอยู่เลย
  • เขาก็เชื่ออยากจะแวะไปเยี่ยมค่ะ
  • ขอเป็นกำลังใจและอนุโมทนากับการเข้าหาพระธรรมค่ะ

ความทุกข์จะไม่โผล่ ถ้าเราไม่โง่เรื่องผัสสะ

ธรรมะสวัสดี

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมารับธรรมมะเช้าค่ะ  สบายดีนะค่ะ
  • ขอให้มีความสุขในการทำความดีในทุก ๆ วันนะค่ะ
  • ขอบคุณบันทึก ดี ๆ ที่นำมาแบ่งปันค่ะ
  • บางเรื่องก็ลดละเลิกได้ค่ะ
  • แต่บางเรื่องก็มี อยากได้โน่น อยากได้นี่เหมือนกัน
  • เลยใช้วิธียืดระยะเวลาค่ะ...
  • โดยเฉพาะกับเรื่องที่ไม่ค่อยจำเป็น
  • ขอบคุณมากค่ะ *^__^*

สวัสดีค่ะครูคิม  แวะมารับธรรมะยามเช้าค่ะ..วันนี้ยะลาฝนตกอีกแล้วค่ะ...

สวัสดีค่ะ... P ครูคิม

กลับมาอ่านบันทึกธรรมฉบับเข้าใจง่ายและแวะทักทายค่ะพี่

สบายดีนะคะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณปริมปราง

  • ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ
  • ขอขอบพระคุณที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • ถ้อยคำสนทนาบอกเล่าแนวทางการปฏิบัติ

อนุโมทนากับการปฏิบัติธรรมค่ะ

(^___^)

นมัสการพระคุณเจ้าธมฺมหาโสภิกขุ

  • สาธุ  เจ้าค่ะ
  • กราบขอบพระคุณอย่างสูง

สวัสดีค่ะน้องบุษรา

  • แบ่งปันเรื่องที่อ่านมาให้น้อง ๆ อ่านบ้างค่ะ
  • เห็นว่าเป็นแนวปฏิบัติที่ไม่ยาก
  • ขอขอบพระคุณที่มาแลกเปลี่ยน

สวัสดีค่ะน้องPhornphon

  • ขอขอบพระคุณกับความเอื้อเฟื้อค่ะ
  • การให้ธรรมะเป็นการให้ที่ประเสริฐค่ะ

สวัสดีค่ะน้องพิชชา

  • ขอชื่นชมกับการจัดการตนเองได้ดีค่ะ
  • ขอขอบพระคุณที่มาแลกเปลี่ยนนะคะ

สวัสดีค่ะน้องnuch

  • ด้วยความห่วงใยค่ะ
  • ขอขอบพระคุณที่มาเยี่ยมนะคะ

สวัสดีค่ะคุณครูอี๊ด

  • อ่านแล้วเห็นว่าเข้าใจง่ายจึงนำแบ่งปันค่ะ
  • คิดถึงเสมอนะคะ

สวัสดีค่ะคนไม่มีราก

  • สาธุ  ขอขอบพระคุณค่ะ
  • คิดถึงเสมอนะคะ

คือเห็นว่าถ้ามีตัณหาหรือความทะยานอยากไปตามอารมณ์  ความเป็นตัวตนและเป็นทุกข์จะเกิดขึ้น  ถ้าไม่มีความอยาก  ทุกข์ก็ไม่เกิด

คะละ      รัก   โลภ  โกรธ  หลง แล้วจะสบาย ไม่ขุ่นข้องใจคะ

มาเยี่ยมคะ  

สวัสดีค่ะคุณสุ-มหาวิทยาลัยชีวิต ที่ไม่มีวันปิดทำการ

  • อารมณ์...ก็ต้องละเลิกเช่นกันค่ะ
  • ฝึกไปบ่อย ๆ ก็จะเคยชิน  ก็จะเย็นได้ง่าย ๆค่ะ
  • ขอขอบพระคุณค่ะ

สวัสดีค่ะพี่คิม

อ่านแล้ว สุดยอดเลยค่ะ ทุกอย่างอยู่ที่จิต

จะทำให้สุขหรือทุกข์ อยู่ที่การปล่อยวาง ละวางได้เพียงไหน

เมื่อก่อนนั่งสมาธิ เดี๋ยวปวดโน่น เดี๋ยวปวดนี่ ตอนนี้ปล่อยวาง

นั่งได้สบายๆเลยค่ะ เป็นชั่วโมงก็ยังได้ถ้าหากบริบทเอื้ออำนวย...

ดีจัง...อ่านแล้วได้เพิ่มบารมี มองเห็นแนวทางในการบังคับจิตได้อย่างสบาย

ทำจิตให้โล่ง หายใจสบาย ทำจิตให้สบาย หายใจก็โล่ง....

(เอามะพร้าวมาขายสวนหรือเปล่าหนอ..555)

สวัสดีครับ ครูคิม

บางอย่างผมกำลัง จะทำอยุ่ น่าสนใจจริง

ครูคิม

ทั้งหมดสรุปได้แ่ำค่คำว่า "ลดคือเพิ่ม" และ "เพิ่มคือลด" ลดความอยากได้ อยากใหญ่ ใจแคบ เราจะเพิ่มพื้นที่ของ "ความสะอาด สงบ สว่าง" ให้ขยายตัวมากขึ้น และเมื่อใด ถ้าเราเพิ่มพื้นที่ของความ "สะอาด สงบ สว่าง" เราจะได้ปรับลด ปลดความอยากได้ อยากใหญ่ และใจแคบออกไปจากใจของเรา

เจริญธรรม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท