กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ตอนที่ 2


จงรู้จักตัวเองคำนี้หมาย ว่าค้นพบแก้วได้ในตัวท่าน หานอกตัวทำไมให้ป่วยการ ดอกบัวบานอยู่ในเราอย่าเขลาไป ในดอกบัวมีมณีที่เอกอุตม์ ล้วนมนุษย์ค้นหามาให้ได้ การตรัสรู้หรือรู้สิ่งใดใด ล้นมาจากความรู้ตัวสูเองฯ

การเดินสู่งานวิจัย...เริ่มจาก  การทำงานมีข้อจำกัดอยู่บ้างในด้านปัจจัยภายในและภายนอก 

ปัจจัยภายนอก ได้แก่

- การจัดการศึกษาแบบแยกส่วนในระบบโรงเรียนที่เด็ก ๆ ต้องใช้เวลาในการเรียนรายวิชาต่างๆ ซึ่งเกี่ยกับประเด็นสำคํญของชีวิต

-การใช้เวลาในห้องเรียนมาก มีเวลาเรียนรู้ในสถานการณ์จริงน้อย

- ความสัมพันธ์ทางสังคมในแบบทุนนิยมและวัฒนธรรมการใช้ชีวิตแบบเก่าที่ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้

-มีการขยายฐานกลุ่มการเรียนรู้น้อยลง

ปัจจัยภายใน ได้แก่

-การขาดความชัดเจนเกี่ยวกับรูปแบบและแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่ม/เครือข่าย ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องหาแนวทางในการทำงานเชิงคุณภาพยิ่งขึ้น

ในปี 2543 คุณสมบูรณ์ อัพภาสกิจ ผู้ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภาคใต้ ได้เข้าไปเยี่ยมเยียนเด็ก ๆ และประชาคมสุราษฎร์ธานีบ่อย ๆ ทำให้รู้จักที่ปรึกษากลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ คือ ครูนิวัตร์ และได้ให้กำลังใจว่า "งานที่ทำอยู่มีคุณค่ามาก สามารถยกระดับขึ้นได้โดยใช้กระบวนการงานวิจัยเป็นเครื่องมือหนึ่งได้"  นั่นเป็นโอกาสให้ได้รู้จักคำว่า "งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น"

ต่อมาในปี 2544 กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์มีโอกาสเข้าร่วมรับฟังแนวคิด/หลักการของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นด้วยตนเอง  จึงร่วมกันว่า "งานวิจัยน่าจะเป็นช่องทางหนึ่งที่เราจะใช้เสริมกระบวนการเรียนรู้ได้"  ถึงแม้ว่าจะไม่คุ้นเคยกับงานใหม่  แต่ "น่าจะทดลองใช้วิธีการใหม่ๆ ดูบ้าง อย่าทำตัวเป็นชาล้นถ้วย งานที่ทำอยู่เป็นงานเชิงพัฒนา ต้องใช้เส้นทางยาวไกลกว่าจะถึงวันนี้  งานในแบบแผนใหม่ ๆ อาจจะเหมาะกับการพัฒนาเยาวชนในเชิงเครือข่ายการเรียนรู้ที่กำลังจะเกิดขึ้น"

เริ่มต้นสู่...ขั้นตอน

1.  การกำหนดโจทย์เพื่อหาวัตถุประสงค์/เป้าหมาย    สิ่งที่เหมาะสมในช่วงนี้คืออะไร/มีบทเรียนเพียงพอแล้วหรือยัง/ได้สรุปบทเรียนชัดเจนแล้วหรือยัง  โดยเฉพาะรูปแบบและแนวทางการจัดการะบวนการเรียนรู้ของกลุ่มยุวชนสร้างสรรค์และกลุ่มเรียนรู้อื่น ๆ ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร  และจะพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพได้อย่างไร

2. วัตถุประสงค์ โครงการ "ศึกษารูปแบบและแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ของเครือข่ายเยาวชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี"

3. เวทีถอดบทเรียนของกลุ่มยุวชนสร้างสรรค์  โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ

- กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์รุ่นพี่

- กลุ่มเพื่อน ๆ ยุวชนสร้างสรรค์

- กลุ่มน้องใหม่

- กลุ่มเพื่อนครูลานสนสัมพันธ์

4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน แต่ละกลุ่มเป็นมาอย่างไร/ ได้ดำเนินการกิจกรรมอะไรบ้าง/ ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นอย่างไร/ การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันเป็นอย่างไร.....

5. ถอดออกมาได้  

ปัจจัยที่เอื้อให้การทำงานเป็นไปด้วยดี 

- ความสนใจและตั้งใจของสมาชิก  -มีความต่อเนื่องของกิจกรรมการเรียนรู้  - บรรยากาศการเรียนสนุก  - มีแกนนำกลุ่ม  - มีการทำงานอย่างเป็นระบบ  - มีความเป็นพี่เป็นน้องภายในกลุ่มสูง  -มีความมั่นใจเกิดขึ้นจากผลงานที่ดี  - การรับรู้ศักยภาพของตนเอง  - ครอบครัวสนับสนุน  - มีทรัพยากรที่มีคุณค่าในท้องถิ่นเป็นแรงผลักดันให้เกิดกิจกรรม

ที่ผ่านมามีการเรียนรู้ 7 รูปแบบ

1. ชุมชนศึกษา  2. การเรียนรู้แบบซึมซับ  3. การสนทนา (dialogue)  4. การฝึกอบรม 5. การศึกษาดูงานหรือการศึกษานอกสถานที่  6. การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ รณรงค์  7. การเรียนรู้จากการปฏิบัติและสรุปงาน  

การทบทวนสถานการณ์ภายนอก  ทุนข้ามชาติที่กำลังคุกคามเข้ามาอย่างหนัก 

ข้อจำกัด  - เรื่องของเวลาที่จะให้กับการเรียนรู้   - การทวนกระแสการศึกษาแบบเดิม ๆ  - ขาดพี่เลี้ยงในการจัดกระบวนการ  - ขาดเงินทุนหมุนเวียน

ค้นพบว่า  ความสำเร็จในการจัดเวทีการเรียนรู้

1. ต้องมีการตั้งโจทย์ที่ชัดเจน

2. มีการสื่อสารกับผู้เข้าร่วมด้วยคำอธิบายที่ฟังง่าย กระชับ อาจจะใช้การเขียนในกระดาษแผ่นโต ๆ ด้วยตัวอักษรโตๆ

3. มีทีมงานที่ได้รับการฝึกฝน ผ่านการสร้างความเข้าใจร่วมกันมาแล้ว

4. มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงานอย่างชัดเจน เช่น ฝ่ายดำเนินเวที ฝ่ายจดบันทึก ฝ่ายสรุป ประมวลประเด็นสำคัญ และเชื่อมโยงการสังเคราะห์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ

5. บรรยากาศของเวทีที่มีความพอดีระหว่างความเป็นกันเองกับความเป็นทางการ

6. สถานที่ควรห่างไกลเส้นทางสัญจร

7. มีการจัดการด้านต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวก/การบริการอาหาร และเครื่องดื่ม

เป็นต้น

      ขอให้ทุกท่านติดตามตอนต่อไป   

                                                                                                                   smile

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 315เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2005 04:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท