การประเมินผลการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงินและผลลัพธ์การจัดบริการสาธารณสุข


เพื่อศึกษาถึงข้อมูลย้อนกลับ ซึ่งเป็นข้อเสนอที่เหมาะสม กรณีให้หยุดดำเนินการ ให้มีการปรับปรุงแก้ไข และให้เพิ่มหรือสนับสนุนให้ดำเนินการต่อ ในการพัฒนาคณะทำงานนักวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงินและผลลัพธ์การจัดบริการสาธารณสุขระดับเครือข่ายหน่วยบริการ (CUP) ของจังหวัดพัทลุง

การประเมินผลการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงิน
และผลลัพธ์การจัดบริการสาธารณสุขระดับเครือข่ายหน่วยบริการ (CUP) ในจังหวัดพัทลุง
ปีงบประมาณ 2548

ผู้วิจัย : อนุชา  หนูนุ่น 
นักวิชาการสาธารณสุข 5
กลุ่มงานประกันสุขภาพ สสจ.พัทลุง

     รายงานผลการวิจัยเรื่อง “การประเมินผลการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงินและผลลัพธ์การจัดบริการสาธารณสุขระดับเครือข่ายหน่วยบริการ (CUP) ในจังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ 2548” ในครั้งนี้ เป็นการวิจัยประเมินผล (Evaluation Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงบริบทที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยนำเข้า กระบวน และผลลัพธ์ขั้นต้นที่เกิดขึ้นในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงินและผลลัพธ์การจัดบริการสาธารณสุขระดับเครือข่ายหน่วยบริการ (CUP) ในจังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ 2548 ตลอดจนเพื่อศึกษาถึงข้อมูลย้อนกลับ ซึ่งเป็นข้อเสนอที่เหมาะสม กรณีให้หยุดดำเนินการ ให้มีการปรับปรุงแก้ไข และให้เพิ่มหรือสนับสนุนให้ดำเนินการต่อ ในการพัฒนาคณะทำงานนักวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงินและผลลัพธ์การจัดบริการสาธารณสุขระดับเครือข่ายหน่วยบริการ (CUP) ของจังหวัดพัทลุง

     ซึ่งผู้วิจัยจะได้นำเสนอผลการวิจัยที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด สามารถแบ่งได้เป็น 5 ส่วน คือ บริบทที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยนำเข้า กระบวน และผลลัพธ์ขั้นต้นที่เกิดขึ้นในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงินและผลลัพธ์การจัดบริการสาธารณสุขระดับเครือข่ายหน่วยบริการ (CUP) ในจังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ 2548 และข้อมูลย้อนกลับ ซึ่งเป็นข้อเสนอที่เหมาะสม กรณีให้หยุดดำเนินการ ให้มีการปรับปรุงแก้ไข และให้เพิ่มหรือสนับสนุนให้ดำเนินการต่อ ในการพัฒนาคณะทำงานนักวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงินและผลลัพธ์การจัดบริการสาธารณสุขระดับเครือข่ายหน่วยบริการ (CUP) ของจังหวัดพัทลุง

     โดยมีรายละเอียดสามารถดาวน์โหลดได้ดังนี้ http://gotoknow.org/file/chinekhob/traineva1.zip, http://gotoknow.org/file/chinekhob/traineva3.zip, http://gotoknow.org/file/chinekhob/traineva3.zip

     โดยในส่วนของข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยในครั้งต่อไปที่ได้นำเสนอไว้ ได้แก่

     1. ควรที่จะได้ทำการศึกษา โดยการวิจัยประเมินผลโครงการนี้ต่อไปในระยะที่ 2 และระยะที่ 3 กล่าวคือ ในระยะที่ 2 นั้นจะเป็นการติดตามผลลัพธ์ในระยะยาว (Impact) ของการจัดการอบรมฯ เช่นการมีโอกาสที่คณะทำงานเฝ้าระวังสถานการณ์ทางการเงินและผลลัพธ์การจัดบริการสาธารณสุขระดับเครือข่ายหน่วยบริการ (CUP) ได้นำเสนอผลการวิเคราะห์รายไตรมาสต่อคณะกรรมการบริหารเครือข่าย จนนำไปสู่การใช้ผลการวิเคราะห์นั้นปรับเปลี่ยนแนวทางการบริการจัดการ/การจัดบริการสาธารณสุขในเครือข่ายหรือไม่ อย่างไร ตลอดจนมีปัญหาอุปสรรคอะไรเกิดขึ้นบ้าง และได้แก้ไขอย่างไร ส่วนในระยะที่ 3 นั้นจะเป็นการติดตามติดตามผลลัพธ์ในระยะยาว (Impact) ของการจัดการอบรมฯ ว่าสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องหรือไม่ อย่างไร มีการนำผลการวิเคราะห์ไปใช้วางแผนสำหรับปีงบประมาณถัดไป หรือไม่ อย่างไร ตลอดจนมีปัญหาอุปสรรคอะไรเกิดขึ้นบ้าง และได้แก้ไขอย่างไร รวมถึงความต้องการสนับสนุนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่จะส่งเสริมคุณภาพและประสิทธิภาพของคณะทำงานเฝ้าระวังสถานการณ์ทางการเงินและผลลัพธ์การจัดบริการสาธารณสุขระดับเครือข่ายหน่วยบริการ (CUP) ให้ดียิ่งขึ้น
     2. ควรจะได้มีการศึกษาต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต (Unit Cost) ชนิดเต็มรูปแบบของโครงการพัฒนาทีมนักวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงินและผลลัพธ์การจัดบริการสาธารณสุขระดับเครือข่ายหน่วยบริการ (CUP) ในจังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ 2548 ด้วย เพื่อจะได้ใช้เป็นกรณีตัวอย่างในการพิจารณาจัดทำโครงการอื่น ๆ ต่อไป
     3. ควรจะได้ศึกษาเพื่อประเมินคุณภาพของระบบรายงาน 0110 รง.5 ในแต่ละเครือข่ายหน่วยบริการ (CUP) หลังการจัดอบรมฯ ระยะหนึ่ง (6 เดือนโดยประมาณ) เพื่อเปรียบเทียบกับคุณภาพของระบบรายงานดังกล่าวก่อนที่จะมีการจัดการอบรมฯ ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ตั้งแต่ต้นในการบูรณาการแก้ไขปัญหาคุณภาพของรายงานว่าสมประสงค์ตามเจตนารมณ์ที่กำหนดไว้หรือไม่ อย่างไร
     4. ควรจะได้ทำการศึกษาเพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบ (Benchmarking) กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอื่น ๆ เพื่อทราบถึงแนวทางในการเฝ้าระวังสถานการณ์ทางการเงินและผลลัพธ์การจัดบริการสาธารณสุขเครือข่ายหน่วยบริการ (CUP) รูปแบบต่าง ๆ และนำมาปรับใช้เพื่อให้การสนับสนุนคณะทำงานเฝ้าระวังสถานการณ์ทางการเงินและผลลัพธ์การจัดบริการสาธารณสุขระดับเครือข่ายหน่วยบริการ (CUP) ได้อย่างเหมาะสมต่อไป
     5. ควรจะได้ศึกษาเพื่อพัฒนาตัวชี้วัดที่ดี ที่เป็นมาตรฐานและได้รับการยอมรับในการประเมินผลโครงการในประเด็นความคุ้มค่า ความประหยัด ความมีประสิทธิภาพ ความมีประสิทธิผล และต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต และสามารถใช้เปรียบเทียบกับโครงการอื่น ๆ ได้

หมายเลขบันทึก: 3146เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2005 23:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท