เชียงรายรำลึก (3) นั่งรถรางแอ่วเมือง ตอนที่ 1


 

ก่อนหน้าที่จะเยี่ยมน้าพิศ ผ่านห้าแยกพ่อคุณ และความที่ดิฉันได้ข้อมูล เรื่อง รถรางแอ่วเมืองเจียงฮาย ก็เลยแวะถามต้นทางรถราง อยู่ที่ห้าแยกพ่อขุนฯ พอดี ... ได้ความว่า วันหนึ่งมี 2 รอบ ก็คือ ตอนเช้า กับตอนบ่าย ถ้าบ่ายก็เป็นบ่ายโมง อาจรอผู้คนให้มากันได้เยอะถึงประมาณ บ่ายโมง 20 นาที

... คุณสามีก็เลยคิดใหญ่ ว่า เอาไหม จะได้จองไว้ก่อน คิดว่าต้องจ่ายเงิน แต่ปรากฎว่า โครงการนี้เป็นโครงการของเทศบาลนครเชียงรายค่ะ (ทน.ชร.) นายสมพงษ์ กูลวงค์ นายกเทศมนตรีนครเชียงราย ประสงค์ให้มีกิจกรรมขึ้น ตามแนวคิด "รถรางแอ่วเมืองเล่าขาย ๙ ตำนานนครเจียงฮาย" ทำพิธีเปิดเมื่อ 1 พย. นี้เอง ... เราก็เลยไม่เสียตังค์ มาให้ทันเวลาก็แล้วกัน

... แล้วก็ทันค่ะ มาได้ทันเวลา 13.20 น. เป๊ะ ทำให้เราได้แอ่วเมืองเจียงฮายด้วยรถรางกัน มีข้อมูลที่นี่ค่ะ โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยรถรางและรถจักรยานเทศบาลนครเชียงราย ... เส้นทางเดินรถ... 

มีน้องไกด์ และน้องคนขับ น่ารักมาก เป็นผู้นำทาง

จุดที่ 1 อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช

ตั้งอยู่บริเวณห้าแยกพ่อขุนฯ ที่ตั้งของรถรางนี่เอง

จุดที่ 2 หอวัฒนธรรมนิทัศน์เฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก

เปิดดำเนินการอย่างไม่เป็นทางการเมื่อ 2 เมย.39

การจัดแสดง ให้เห็นพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ที่มีต่อจังหวัดเชียงราย ประวัติความเป็นมาอันยาวนานของจังหวัด กลุ่มชาติพันธุ์ วิถีชีวิต วัฒนธรรมของกลุ่มชน รวมไปถึงสภาพปัจจุบันของจังหวัดเชียงราย มี 6 ห้อง ก็คือ

ห้องที่ 1 พระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และรอยพระบาท

นำเสนอพระราชกณียกิจ

ห้องที่ 2 ประวัติความเป็นมาของเมืองเชียงราย

ตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ สมัยสถาปนาเมืองเชียงราย เมืองเชียงรายแห่งราชอาณาจักรสยาม และปัจจุบัน

ห้องที่ 3 ชนพื้นเมือง และกลุ่มชาติพันธุ์

มี 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มคนเชื้อชาติไทย ได้แก่ ไทยวน ไทลื้อ ไทใหญ่ และไทเซิน กลุ่มชาวเขา ได้แก่ เย้า ม้ง อาข่า ละหู่ ลีซอ ขะมุ และต่องสู ชนกลุ่มน้อย ได้แก่ กะเหรี่ยง จีนฮ่อ

ห้องที่ 4 ภาษาและวรรณกรรม

ล้านนา หมายถึง ดินแดนที่อยู่ภาคเหนือของประเทศไทยในปัจจุบัน ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ น่าน ลำพูน พะเยา แม่ฮ่องสอน ซึ่งมีวัฒนธรรมทางภาษาที่คล่ายกัน ทั้งภาษาพูด และการใช้ตัวอักษร

ในห้องนี้นำเสนอเอกสารโบราณ ได้แก่ ใบลาน พับสา บันทึกเรื่องราวต่างๆ เช่น ตำนาน ชาดก ตำรายาสมุนไพร คำสอน พิธีกรรม คำคร่าว คำเครือ บทเพลง กฎหมาย นิทาน และโหราศาสตร์ เป็นต้น

ห้องที่ 5 วัฒนธรรม 5 เชียง

ห้าเชียง ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ เชียงตุง เชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) เชียงทอง (หลวงพระบาง กลุ่มชนที่อาศัยในห้าเชียง ต่างเป็นเชื้อชาติไท ที่มีวิถีขีวิต และความเป็นอยู่คล้ายคลึงกัน

ห้องที่ 6 สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ

ปี 2534 จังหวัดเชียงรายเริ่มโครงการติดต่อสัมพันธ์ด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว กับ 4 ประเทศ คือ จีน ลาว พม่า ไทย โดยเริ่มสำรวจเส้นทางคมนาคม ที่จะเชื่อมโยงทั้ง 4 ประเทศ ปี 2536 ทำให้ได้ข้อมูลมาเป็นฐานในการดำเนินงานโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ เกิดการพัฒนาเส้นทางคมนาคม ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ เชื่อมโยงกันมากขึ้น

 

จุดที่ 3 วัดพระสิงห์

ใกล้ๆ กับหอวัฒนธรรมเลย ... พระอุโบสถรูปทรงสถาปัตยกรรมแบบล้านนาน สมัยเชียงแสน ภายในมีพระพุทธรูปศิลปล้านนาเชียงแสนสิงห์หนึ่ง ชนิดสำริดปิดทอง ปางมารวิชัย

บานประตูออกแบบโดย อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี แกะสลักเป็นเรื่อง ดิน น้ำ ลม ไฟ

 

คำสำคัญ (Tags): #เชียงราย พย.09
หมายเลขบันทึก: 313224เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2009 13:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

บ่ เห็น จะได้เรืองเลยอ่ะ จะทำรายงายก็ไม่ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท