งานสร้างใจ


เมื่อเราทำงานเราไม่ได้เหนื่อยแต่กายอย่างเดียว แต่ใจของเราก็มักเหนื่อยด้วย

ส่วนหนึ่งของบทความเรื่อง  งานสร้างใจ
โดย พระไพศาล วิสาโล  อ่านแล้วน่าจะช่วยให้คนทำงานหนัก  รู้สึกเบาขึ้นเยอะ
 

วัดเซนแห่งแรกในอเมริกา

สร้างขึ้นที่เมืองซานฟรานซิสโกเมื่อราว ๔๐ ปีก่อน ตอนที่สร้างวัดนั้นเจ้าอาวาสคือชุนเรียว ซูซูกิต้องลงมือขนหินเอง ลูกศิษย์ซึ่งเป็นคนอเมริกันเห็นอาจารย์อายุมากแล้ว คือ ๖๐ กว่าแล้วแถมยังตัวเล็กอีกด้วย จึงระดมกันมาช่วย แต่มาช่วยขนหินได้ครึ่งวันก็เหนื่อย ส่วนอาจารย์กลับขนหินได้ทั้งวัน ลูกศิษย์แปลกใจมากจึงถามอาจารย์ว่าทำงานทั้งวันได้อย่างไร อาจารย์ตอบว่า "ก็ผมพักตลอดเวลานี่"

ลูกศิษย์ฟังแล้วก็งง เพราะเห็นกับตาว่าอาจารย์ขนหินทั้งวัน แต่สำหรับอาจารย์ชุนเรียวนั้นตลอดเวลาที่ขนหินก็ได้พักไปด้วย ไม่ได้พักกาย แต่พักใจ มีแต่กายเท่านั้นที่ขนหิน แต่ใจไม่ได้ขนด้วย จึงไม่เหนื่อยเท่าไร คนส่วนใหญ่เวลาขนหิน ไม่ได้ขนด้วยกายเท่านั้น ใจก็ขนด้วย ขนหินไปก็บ่นในใจว่าเมื่อไรจะเสร็จสักที ขนแบบนี้ย่อมเหนื่อยเร็ว

เมื่อเราทำงานเราไม่ได้เหนื่อยแต่กายอย่างเดียว แต่ใจของเราก็มักเหนื่อยด้วย เพราะใจไปยึดติดกับงานมากเกินไป เรียกว่าจิตไม่ว่าง การทำงานด้วยจิตว่างก็คือ การทำงานโดยที่ใจไม่ไปยึดติดกับผลงาน ไม่สำคัญมั่นหมายว่าจะงานจะต้องเป็นไปตามใจปรารถนา แต่คนส่วนใหญ่นั้นมักเอาความรู้สึก "ตัวกู ของกู" ไปผูกติดกับงาน คือสำคัญมั่นหมายว่านี้เป็นงานของฉัน งานนี้คือตัวฉัน ถ้างานล้มเหลว ก็รู้สึกว่าฉันล้มเหลวไปด้วย ถ้าใครมาตำหนิงาน ก็ถือว่าตำหนิตัวฉันด้วย เพราะฉะนั้นใครจะมาตำหนิฉันไม่ได้ การทำงานแบบติดยึดอย่างนี้ทำให้ใจเหนื่อยไปกับงานด้วย  คนส่วนใหญ่จะรับผิดชอบงานก็ต่อเมื่อรู้สึกว่าเป็นงานของฉัน

และสิ่งที่พวกเราทุกคนทำอยู่เล่า  เป็นอย่างไรกัน

เหนื่อยกาย  หรือเหนื่อยใจ  หรือไม่เหนื่อย

ตัวเราเองเป็นหนึ่งในคนส่วนใหญ่

หรือ

เราเป็นหนึ่งในคนส่วนน้อย

ที่ทำงาน

เพื่อสร้างจิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์

เหนื่อยยากเพียงใดยังต้องดำรงอยู่ในวิถีแห่งการงาน

ทำงานด้วยจิตว่าง  วางความหนักใจลง

และลงมือปฏิบัติเหมือนท่านเจ้าอาวาสชุนเรียว

เอ.....เราจะทำได้มั้ยเนี่ย.........


หมายเลขบันทึก: 311146เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2009 16:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2012 18:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

แวะมาให้กำลังใจพี่สาวแสนสวยและใจดีจ้า

เหนื่อยก็พัก หนักก็วาง...ยุ่งนักก็ "ช่างหัวมัน"...555

Pสวัสดีจ้า  

ขอบคุณกำลังใจที่มีให้เสมอมาจ้า

ชอบจังเลยคำแนะนำ.....อิ..อิ.จะเอาไปใช้ให้ครบทุกข้อเลยจ้า

  • ก่อนเข้านอน..มาแวะคารวะหมอนกครับ
  • เป็นมดเป็นหมอ..ทำไมหมอดาว ให้คำแนะนำอย่างนั้น..อย่างนี้ คาร์โบไฮเครทสูง เป็นโรคขาดสารอาหารตายชัก..ทำไปได้ ฮ่าๆๆ

พี่นกจ๋า...ดาวแนะนำให้ "ช่างหัวมัน" ไม่ได้ให้กินหัวมันนะคะ มีคนบางคนเค้าเอาไปตีความผิดๆ แล้วมากล่าวหาดาวค่ะ กระทบกระเทือนต่อจรรยาบรรณวิชาชีพนะเนี่ย...เลยต้องรีบมาอธิบาย 555

สวัสดีค่ะคุณสามสักP

ห่างหายไปนานกลับมาเห็นท่านสามแวะมาเยี่ยม

รู้สึกมีความสุขลอยวนอยู่รอบตัว  กลิ่นอายมิตรภาพยังอบอวลอยู่โดยรอบ

และแล้วคนช่างหัวมันก็มา   P เอาแล้ว !!!! ท่านสาม  

เมื่อคืน นอนหลับฝันว่าอย่างไรบ้างคะเนี่ย

555555........................................

ธรรมะยามเช้าขอรับพี่นก..

มีคนแนะนำดีแล้วเนาะพี่นก

งั้นธรรมฐิตไม่ขอแนะแล้วแหละ

 ..แต่กลัวหมอแล้วสิ.. เกิดไปรักษาบอกว่า..ช่างหัวมันเถอะ..

ทำไงละที่นี้(๕๕๕)

  • สวัสดีค่ะ น้องนก
  • พี่นกแวะมารับฟังข้อคิดดี ๆ  "เมื่อเราทำงานเราไม่ได้เหนื่อยแต่กายอย่างเดียว แต่ใจของเราก็มักเหนื่อยด้วย"
  • บัวจะงามได้ บานได้ ก็ต้องอาศัยโคลมตม อย่าไปตำหนิโคลนเลย ไม่มีโคลนก็ไม่มีบัว ไม่มีคนชั่วเราจะเห็นความดีได้อย่างไร
  • ขอบคุณสำหรับข้อคิดดีจากพี่นก ถึงน้องนกค่ะ

สวัสดีค่ะพี่นกบุษราP

ขอบพระคุณข้อคิดเห็นอันงามที่แตกกอต่อยอดอย่างเห็นภาพเลยค่ะ

เพราะที่บ้านปลูกบัว  จะให้งามต้องอาศัยโคลนตมดำๆ เละๆ

เวลาหยิบจับเปลี่ยนโคลนให้กอบัวเพื่อให้บัวออกดอกงาม เล็บดำไปเลยล่ะค่ะ

ถ้างั้นเรามาร่วมขอบคุณโคลนนะคะที่ทำให้บัวงดงาม...ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค้า

นมัสการค่ะท่านP

แค่แวะมาเยี่ยมลูกศิษย์ลูกหาก็เป็นมงคลยิ่งใหญ่แล้วค่ะท่าน

ส่วนหมอดาว เวลามีคนต้องการความช่วยเหลือ

สัญชาติญาณของผู้เยียวยาจะเข้าร่างก่อนอย่างอื่น

ไม่ต้องกลัวว่าหมอดาวจะมัว "ชั่งหัวมัน"ค่ะ พี่นกยืนยันได้

สาธุ...ค่ะท่าน

สวัสดีค่ะ

เพราะความคิดเช่นนี้ จึงสมควรยกย่องคุณ Giant bird เป็นบัณฑิตแท้ค่ะ

สวัสดีค่ะคุณณัฐรดาP

ดีใจจังครูใหญ่แวะมาเยี่ยม 

นกยังไม่ควรค่าคำว่าบัณฑิตหรอกนะคะ

แต่ยินดีทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์อยู่ทุกเมื่อค่ะ

เดิมเคยคาดหวังตัวเองด้วยแต่ตอนนี้เพียงทำเต็มที่เท่าที่ทำได้

ผลออกมาเช่นไร.....เราจริงใจกับความเต็มที่ตรงนั้นแล้ว

ขอบพระคุณที่แวะมาค่ะ

สวัสดีค่ะ

การดูความไม่เที่ยงในขั้นที่13 (ฐานธรรม) คือย้อนดูตั้งแต่การปฏิบัติตั้งแต่ขั้นที่ 1 ขึ้นมาจนถึงขั้นที่ 12 เลยค่ะ

ดูว่าในขณะที่ปฏิบัติ (ครั้งนั้นๆ) พบความไม่เที่ยงในแต่ละขั้น ในฐานกาย เวทนา และ จิต อย่างไร

.

ส่วนการตามดูความไม่เที่ยงในฐานจิต

เพราะการปฏิบัติฐานจิตคือ

ขั้นแรก คือดูจิตเป็นคู่ๆทั้งหมด 8 คู่

ขั้นที่ 2 คือกำหนดจิตที่ปราโมทย์

ขั้นที่ 3 คือกำหนดจิตให้ตั้งมั่น

ขั้นที่ 4 คือทำจิตให้ปล่อยความยึดถือมั่นในเวทนา

.

เราจะดูความไม่เที่ยงในฐานจิต จึงตามย้อนดูค่ะ ว่าในขั้นที่ 1 ถึง 4 ของฐานจิตนั้นมีการปฏิบัติอย่างไร จะพบความไม่เที่ยงได้ที่จุดไหนบ้าง

เช่นในขั้นแรก เมื่อวานอาจพบว่าจิตถูกกลุ้มรุมด้วยความอยากซื้อรถใหม่ (ทั้งๆที่คันที่ใช้ในปัจุบันยังใช้งานได้ดีอยู่) วันนี้อาจพบว่าถูกกลุ้มรุมด้วยความคิดถึงเพื่อนที่เคยผิดใจกัน จึงเห็นความไม่เที่ยงของเหตุที่มากลุ้มรุมจิต เห็นลักษณะอาการจิตที่ถูกกลุ้มรุมด้วยเหตุต่างกัน

.

ขั้นที่ 2 ทำจิตให้ปราโมทย์ เมื่อวานอาจทำจากการวิ่งตามลมหายใจ เฝ้าดู จนสำเร็จแล้วปราโมทย์ วันนี้อาจเกิดจากนึกถึงคุณธรรมของตนจนเกิดปราโมทย์ เพราะสร้างปราโมทย์ด้วยวิธีต่างกัน ลักษณะอาการจึงต่างกัน จึงเห็นความไม่เที่ยงของเหตุที่เกิด ความไม่เที่ยงของลักษณะอาการปราโมทย์

.

ขั้นที่ 3 กำหนดจิตให้ตั้งมั่น เพราะแต่ละวันเราทำจิตให้ตั้งมั่นด้วยวิธีที่ต่างกัน เห็นเหตุที่ทำให้เกิดความตั้งมั่น และความตั้งมั่นมากน้อยของจิตไม่เท่ากัน จึงเห็นความไม่เที่ยงของการทำจิตให้ตั้งมั่น

.

ขั้นที่ 4 การทำจิตให้ปล่อย เช่นวันนี้คิดถึงเพื่อนที่เคยผิดใจกัน ยังโกรธอยู่ แสดงว่าสิ่งที่กลุ้มรุมจิตคือความพยาบาท จึงนำการให้อโหสิกรรม การแผ่เมตตา มาปลดปล่อยความพยาบาทออกจากจิต สิ่งที่นำมาปลดปล่อยจิตให้เกลี้ยง จึงไม่ใช่สิ่งเดียวกับเมื่อวานที่อยากซื้อรถใหม่ จึงเห็นความไม่เที่ยงของเหตุ วิธี ในขั้นนี้

และเมื่อปลดปล่อยไปแล้ว เห็นได้ชัดว่าจิตก่อนที่จะปลดปล่อยมัวหมองอย่างไร เมื่อปลดปล่อยไปแล้ว จิตกระจ่างขึ้นอย่างไร ก็เห็นความไม่เที่ยงของจิตได้อีกเช่นกันค่ะ

.

และเพราะเห็นความไม่เที่ยงของนามรูปต่างๆอยู่เสมอ จึงได้เห็นธรรมะ 9 ตา

เมื่อเห็นถึงอตัมมยตา ก็จะค่อยๆเบื่อรูปนามค่ะ เพียงแต่ยังเบื่อไม่มากพอที่จะคลายได้ทั้งหมด เพราะวิถีชีวิตอาจยังต้องเกี่ยวข้องกับโลกอยู่ หรือการปฏิบัติยังไม่เข้มข้นพอ หรือการมองเห็นอนิจจัง ไม่ได้เห็นด้วย "ตาใน" แต่เห็นด้วยการท่องจำค่ะ

สวัสดีค่ะคุณณัฐรดาP

ขอบพระคุณครูใหญ่ที่มาชี้แนะทันใจนะคะ 

เข้าใจมากขึ้น  จะพยายามเดินต่อไปค่ะ

เส้นทางนี้แหละประเสริฐยิ่งแล้ว

น้อมจิตขอบพระคุณด้วยใจจริงค่ะ

 

สวัสดีค่ะ

เห็นคำ "ครูใหญ่" แล้วเขินค่ะ

มีวิปัสสนาจารย์ท่านหนึ่ง ให้ความเห็นไว้ว่า ครูใหญ่ที่แท้จริงของเราคือรูปนามที่เราควรระลึกรู้อยู่เสมอนี่เองค่ะ ครูใหญ่ท่านนี้เองที่เป็นผู้สอนเราอย่างแท้จริง

ส่วนผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นครูผู้สอบอารมณ์ หรือใครๆก็ตาม เป็นเพียงครูน้อยเท่านั้น สอนเราได้เพียงนิดหน่อย แถมถ้าครูน้อยสอนผิดทาง ก็พากันเข้าพงอีกต่างหาก

.

อันที่จริง พระพุทธองค์เองก็ไม่เคยใช้คำว่าครูกับใครเลยค่ะ พระองค์บอกเพียงว่า เพราะภิกษุมีพระองค์ท่านเป็นกัลยาณมิตร จึงหลุดพ้นได้

*_- ขอใช้คำแค่ "มิตร" เท่านั้นดีกว่านะคะ

Pสวัสดีค่ะคุณณัฐรดา

 นกรู้อยู่แล้วว่าคุณรัฐรดาต้องทักท้วงคำนี้

 อิ..อิ..เพียงแต่รออยู่......ขอโทษค่ะ..เป็นกัลยาณมิตรที่ภูมิใจยิ่งแล้วค่ะ

ที่มีโอกาสได้รู้จักและเรียนรู้  จากการแบ่งปันด้วยจิตอันเผื่อแผ่ งดงามของคุณณัฐรดา

ขอบคุณค่ะ  ที่ชี้แนะ

เหนื่อยนักก็ควรจะพักสักนิด แล้วค่อยคิดเดินต่อ เพื่อก่อกางทางเส้นฝัน ในวันที่สดใส นะครับ

รักษาสุขภาพครับ เท่าที่ทราบจากแม่ทางบ้านอุบลฯ ว่าแถวบ้านเราหนาวหล่ะครับ

สวัสดีค่ะบ่าวบ้านนอกP

สองสามวันมานี้บ้านเราร้อนจี๋เลยล่ะค่ะ

ขอบคุณที่แวะมาค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท