มูลนิธิสื่อเพื่อเยาวชน
ว่าที่ร้อยตรี จิรศักดิ์ กรรเจียกพงษ์

อาจาริยบูชา : พุทธทา่ส อินทปญฺโญ




 องค์การยูเนสโก ประกาศยกย่อง ท่านพุทธทาส เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในเรื่องของการส่งเสริมขันติธรรม สันติธรรม วัฒนธรรม ตลอดจนความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีของมวลมนุษย์.....<<คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด>>

พุทธทาสภิกขุ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พุทธทาส : เมธีแห่ง Knowledge Management

"พุทธทาส" กับทฤษฎีไร้ระเบียบ

พุทธทาส.คอม:(๑)   พุทธทาส.คอม: (๒)


แจกฟรี! ซีดี'พุทธทาส ๑๐๐ ปี' 

 

คำสำคัญ (Tags): #ศาสนา#สุขภาวะ
หมายเลขบันทึก: 30985เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2006 11:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 21:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
อ้างถึงข้อความนี้ ในการตอบของคุณ
ระลึกถึง ๑๐๐ ปีชาตกาลท่านอาจารย์พุทธทาส

ท่านอาจารย์พุทธทาส มรณภาพไปแล้ว 13 ปีเต็ม หากแต่คนรุ่นหลังยังคงระลึกถึงท่านอยู่ ทั้ง UNESCO แห่งองค์การสหประชาชาติยังยกย่องท่านเป็นบุคคลสำคัญของโลกอีกด้วย นี่หมายความว่าท่านต้องมีคุณูปการต่อโลกอย่างแน่นอน อะไรเล่าเป็นคุณูปการต่อโลกที่เราควรระลึกถึง

ท่านตั้งสวนโมกขพลารามขึ้นเมื่อปี 2475 ขณะที่ทางฝ่ายอาณาจักรกำลังมีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครอง กล่าวคืออิทธิพลความคิดประชาธิปไตยกำลังระบาดแพร่สะพัดไปทั่วโลก ทั้งชาวไทยและชาวโลกต่างหันมาสมาทานกันอย่างตื่นเต้นดังราวกับจะเป็นแก้วสาร พัดนึกแก้ปัญหาต่างๆได้หมดสิ้น กระทั่งพระสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์บางรูปยังหันมารับอุดมการณ์นี้ไว้เป็นสรณะ ของตนด้วย ทั้งที่ยังไม่กระจ่างแจ้งในคำสอนแห่งศาสดาของตนเลย ในสมัยนั้นมหาเงื่อม อินทปัโญเป็นผู้หนึ่งที่หันกลับมาค้นหามรดกที่ล้ำค่าที่หลายๆคนพากันมองข้าม ไปเสีย นี่ต้องเกิดจากสติปัญญาและบารมีที่หาใครๆเทียบได้ยาก และปัจจุบันเราก็ได้เห็นพิษภัยของประชาธิปไตยซึ่งปราศจากธรรมะอย่างชัดเจนแล ้ว ซึ่งต่อมาท่านก็ได้กล่าวไว้ว่าการเมืองไม่ว่าจะเป็นระบบใดหากไม่มีธรรมะประก อบแล้วล้วนมีปัญหาทั้งสิ้น หากมีธรรมะ มีธรรมะเป็นใหญ่คือธรรมาธิปไตยแล้วมันก็ถูกต้องทั้งสิ้น

ท่านใช้ชีวิตชนิดที่เป็นการสวนกระแสของสังคมอย่างที่เรียกว่าหน้ามือกับหลัง มือ ขณะที่บุคคลชั้นนำของสังคมกำลังยินดีกับวิทยาการสมัยใหม่ที่มีรากฐานจากวิทย าศาสตร์จากตะวันตก ท่านอาจารย์กลับตั้งปณิธานที่จะเดิน ”ตามรอยพระอรหันต์” นี่ท่านเห็นว่าขุมแห่งปัญญาที่ถูกต้องทั้งจริง ปราศจากความหลอกลวงให้ลุ่มหลงมาจากการปฏิบัติขัดเกลาภายในจิตใจ ขณะที่คนกำลังเห็นว่าปัญญามาจากการศึกษาภายนอก ท่านกลับมองว่ามันต้องมาจากภายใน การพัฒนาที่แท้และถูกต้องต้องเริ่มจากการพัฒนาภายใน และสิ่งนี้นับวันยิ่งยืนยันถึงความถูกต้องของความคิดของท่าน

การดำเนินตามอุดมคติของท่านเป็นไปอย่างมั่นคงแม้ว่าแทบจะไม่มีใครเห็นด้วย หรือสนับสนุน แม้กระทั่งพระเถระฝ่ายปกครองมากรูปยังคัดค้านด้วยซ้ำ นี่หาได้ทำให้ท่านท้อถอยท้อแท้ หรือเปลี่ยนแนวทางไม่ นี่แสดงว่าในระยะแรกสิ่งที่ถูกต้องแท้จริงอาจขัดต่อความคิดของมหาชนเป็นอันม ากก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามเวลาย่อมพิสูจน์เองว่าสิ่งใดถูกต้องเที่ยงแท้หรือไม่

ยุคหนึ่งที่คนทั่วโลกทั้งไทยและต่างชาติต่างหันหลังให้ศาสนาพากันลุ่มหลงสมา ทานลัทธิบริโภคนิยมอย่างเป็นบ้าหลัง ท่านกลับเดินตามรอยพระอรหันต์จนกระทั่งสามารถฉีกพระไตรปิฏก ตีแผ่พระธรรมคำสอนสื่อสารกับสังคมร่วมสมัยได้ถูกถ้วนทั่วทุกทุกด้าน หากแต่สังคมจะนำไปใช้ได้เพียงใดนั้น ปรากฏว่ากระแสสังคมยังคงไหลไปกับบริโภคนิยมอยู่ กระทั่งท่านต้องหันมาสร้างงานด้านคำสอนคือ "ธรรมโฆษณ์"เพื่อคนรุ่นหลังๆในอนาคตอีกหลายสิบปี ดังที่ท่านเคยปรารภกับบางคนไว้ว่า หนังสือชุด "ธรรมโฆษณ์" นี้ท่านเตรียมไว้สำหรับคนในอีก 50 ปีข้างหน้า

คำสอนของพระเถระเป็นอันมากไม่แพร่หลายไปสู่หมู่ชนกลุ่มต่างๆมีเพียงคำสอนของ ทานเพียงผู้เดียวเท่านั้นที่เผยแพร่ไปสู่หมู่ชนทุกหมู่เหล่าเพราะท่านมีความ พากเพียรพูดไว้มาก พูดไว้ในทุกประเด็นที่มีประโยชน์ต่อหมู่ชนเหล่านั้น นับเป็นผู้มีความเจนจัดวิสัชนา เป็นผู้เผยแผ่พระศาสนาไปอย่างกว้างขวางทั่วทั้งโลก

เพราะท่านเห็นความสำคัญของศาสนาต่อความอยู่รอดต่อโลกในยุคปัจจุบัน ท่านจึงตั้งเป็นปณิธานที่จะชักชวนผู้คนให้เข้าถึงหัวใจของคำสอนตามศาสนาของต นๆ แล้วแต่ว่าใครจะนับถือศาสนาไหน อันตรายต่อโลกในปัจจุบันไม่ได้อยู่ที่ใครนับถือศาสนา ที่ "ไม่ถูกต้อง" หากแต่อยู่ที่การ "ไม่มี"ศาสนาต่างหาก และชักชวนกันทำความเข้าใจระหว่างศาสนาเพื่อที่เราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบส ุขแม้ว่าจะนับถือศาสนาต่างกัน และชวนกันออกมาเสียจากอำนาจของวัตถุนิยม คำว่าวัตถุนิยมของท่านอาจารย์พุทธทาส หมายความว่าตกเป็นทาสของวัตถุ คือความเข้าใจอย่างผิดๆว่า ความสุขที่แท้เกิดจากการได้บริโภควัตถุเป็นหลักสำคัญ จนกระทั่งผู้คนเหินห่างจากศาสนา ใช้ชีวิตโดยไม่เห็นความสำคัญของความสุขจากภายใน
ท่านมอบมรดกธรรม "ธรรมโฆษณ์" ไว้เป็นสมบัติแก่ชนรุ่นหลัง ในเมื่อถึงยุคหนึ่งผู้คนได้ละทิ้งศาสนาจนไม่ทราบว่าสาระแท้จริงของพระธรรมคำ สอนเป็นอย่างไร หากหลังจากนั้นผู้คนจะกลับมาหาสมบัติของพระพุทธองค์อีกครั้ง และพุทธทาส "ทาส" ที่รู้ภาระหน้าที่ในการทำงานรับใช้พระพุทธองค์ก็ได้เตรียมสมบัติเหล่านั้นไว้เรียบร้อยแล้ว

ใ นโอกาสครบรอบ 100 ปีชาตกาลท่านพุทธทาสใครๆต่างพากันเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ นี่อาจเป็นเพียงแค่การเฉลิมฉลอง แม้แต่ฝ่ายที่กำลังทำตนขัดขวางต่อแนวคำสอนของท่านอาจารย์ก็ยังออกมาฉลองเพรา ะนั่นหมายถึงการได้รับความยอมรับ หากจะมีใครสักกี่คนที่จะนำคำสอนของท่านไปปฏิบัติโดยเฉพาะในยุคที่โลกกำลังมื ด เพราะอวิชชากำลังครอบคลุมทั่วไปทั้งโลก ใครจะกล้าสืบทอดปณิธาน "พุทธทาส" ทำงานรับใช้พระพุทธองค์ดังทาสเพื่อนำพาสัตว์โลกออกจากมิจฉาทิฏฐิสืบต่อจากท่านต่อไป

ที่มา :: http://www.budnet.info/webboard0/view.php?category=budnet&wb_id=44

มรดกของท่านพุทธทาสภิกขุ [ มติชน 21/05/49 ]


...ด้ว ยวุฒิการศึกษาเพียงชั้นม.๓ นักธรรมเอก และเปรียญธรรม ๓ ประโยค พระมหาเงื่อม อินทปัญโญ ภิกษุหนุ่มวัย ๒๖ ปี ได้ริเริ่มทำสิ่งซึ่งต่อมาได้กลายเป็นปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของพุทธศาสนาในปร ะเทศไทย ในทางรูปธรรมสิ่งนั้นได้แก่สวนโมกขพลาราม ในทางนามธรรมสิ่งนั้นคือพุทธศาสนาอย่างใหม่ที่สมสมัย แต่มีพื้นฐานมาจากการปฏิบัติอย่างสมัยพุทธกาล

พระมหาเงื่อม อินทปัญโญ หรือที่โลกรู้จักในนามพุทธทาสภิกขุ เป็นบุคคลสำคัญที่สุดผู้หนึ่งซึ่งได้นำพุทธศาสนาไทยออกมาสัมพันธ์เชื่อมโยงก ับโลกสมัยใหม่ได้อย่างมีพลัง และสามารถนำปัญญาชนที่ได้รับการศึกษาอย่างใหม่กลับไปหารากเหง้าทางภูมิปัญญา อันมีพระบรมศาสดาเป็นแรงบันดาลใจ แม้ท่านจะมีการศึกษาตามระบบไม่มากนัก แต่ก็รู้ลึกในศาสตร์สมัยใหม่ไม่ว่าวิทยาศาสตร์หรือปรัชญา จนไม่เพียงเห็นจุดอ่อนของศาสตร์เหล่านั้น หากยังสามารถนำศาสตร์เหล่านั้นมาใช้อธิบายพุทธศาสนาได้อย่างจับใจปัญญาชน ในอีกด้านหนึ่งแม้ท่านมิใช่เปรียญเอก (แถมยังสอบตกประโยค ๔ ด้วยซ้ำ) แต่ก็เชี่ยวชาญเจนจัดในพระไตรปิฎก และรู้ซึ้งถึงคัมภีร์อรรถกถา จนสามารถเข้าถึงแก่นพุทธศาสน์ และนำมาอธิบายให้คนร่วมสมัยได้อย่างถึงใจชนิดที่กระเทือนไปถึง “ตัวกู ของกู” อีกทั้งยังสามารถวิพากษ์สังคมร่วมสมัยและเสริมเติมศาสตร์สมัยใหม่ให้มีความล ุ่มลึกมากขึ้น

ไม่เพียงศาสตร์สมัยใหม่และภูมิปัญญาอย่างเก่าเท่านั้น ที่ท่านพุทธทาสนำมาเชื่อมโยงกันได้อย่างมีความหมาย หากท่านยังเป็นสะพานเชื่อมสิ่งที่ดูเหมือนอยู่คนละฝั่งฟาก ให้มาเสริมเติมกัน ปริยัติและปฏิบัติ ซึ่งถูกแยกจากกันมาช้านานตามอิทธิพลของพุทธศาสนาแบบลังกา จนแบ่งเป็นคันถธุระและวิปัสสนาธุระ แต่ที่สวนโมกขพลารามนั้น ปริยัติได้ประสานเป็นหนึ่งเดียวปฏิบัติ ในขณะที่ใช้ชีวิตอย่างพระป่า เจริญสมาธิภาวนาท่ามกลางธรรมชาติ รวมทั้งอยู่อย่างเรียบง่าย คือ “ฉันข้าวจานแมว อาบน้ำในคู นอนกุฏิเล้าหมู ฟังยุงร้องเพลง” พระเณรที่นั่นก็ศึกษาปริยัติธรรม ด้วยการค้นคว้าจากพระไตรปิฎก และฟังคำบรรยายจากท่านพุทธทาสภิกขุไปด้วย

ใ นทำนองเดียวกัน เมื่อท่านและน้องชายคือนายธรรมทาส พานิช ออกหนังสือ พุทธสาสนา สิ่งที่ต้องมีควบคู่กันโดยตลอดคือ ภาคพระไตรปิฎก(แปล) และภาคปฏิบัติธรรม จะว่าไปแล้วท่านพุทธทาสภิกขุ ก็เป็นผลผลิตของการศึกษาปริยัติอย่างจริงจังและการปฏิบัติอย่างเข้มข้น ในขณะที่ท่านหลีกเร้นปฏิบัติในป่า ก็ศึกษาพระไตรปิฎกอย่างเอาจริงเอาจัง จนสามารถเขียน ตามรอยพระอรหันต์ ออกมาในปีแรกที่ตั้งสวนโมกข์ และไม่กี่ปีต่อมาก็ตามมาด้วย พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ และ อริยสัจจากพระโอษฐ์

ในด้านปริยัติธรรมนั้น ท่านพุทธทาสภิกขุไม่ได้จำกัดการศึกษาแต่ในแวดวงของเถรวาทเท่านั้น หากยังขยายพรมแดนแห่งความรู้ของท่านไปยังแวดวงมหายานด้วย โดยเฉพาะนิกายเซน จนสามารถนำเอาคำสอนของเซนมาเป็นสื่อเพื่อนำผู้คนให้เข้าถึงหัวใจของพุทธศาสน า นอกจากท่านจะลงมือแปล สูตรของเว่ยหล่าง และคำสอนของฮวงโป เองแล้ว ยังเอานิทานเซนและสำนวนเซนมาใช้เพื่อกระตุ้นคนให้ฉุกคิด เช่น “จิตว่างมีได้ในกายวุ่น” หรือ “แม่น้ำคด น้ำไม่คด” หรือ”ฝนอิฐเป็นกระจกเงา” และที่แพร่หลายคือนิทานเด็กตามหาวัว ไม่เพียงเท่านั้นคำสอนฝ่ายวัชรยาน ท่านก็นำมาเผยแพร่ด้วย ที่รู้จักกันดีคือ ภาพยักษ์แสดงปฏิจจสมุปบาท กล่าวได้ว่าท่านเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการเชื่อมพุทธศาสนาแบบเถรว าทและมหายานให้เข้ามาใกล้กันมากขึ้น

ในอีกด้านหนึ่ง ท่านพุทธทาสภิกขุได้ขยายพรมแดนแห่งการปฏิบัติธรรมไปยังชีวิตประจำวัน จนเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานด้วย ในทัศนะของท่าน การปฏิบัติธรรมมิได้หมายถึงการหลีกเร้นเก็บตัวอยู่คนเดียวในป่า หรือนั่งหลับตาในห้องเท่านั้น หากเรายังสามารถปฏิบัติธรรมได้จากการทำงาน ด้วยเหตุนี้ท่านจึงเน้นว่า “การทำงานคือการปฏิบัติธรรม” ในขณะที่คนทั่วไปทำงานเพื่อหวังความสำเร็จหรือมุ่งให้เสร็จไว ๆ ท่านกลับสอนให้ทำงานอย่างมีสติ อยู่กับปัจจุบัน และไม่ยึดติดกับความสำเร็จ ท่านเคยเปรียบกิเลสเหมือนกับเสือ ส่วนการทำงานเหมือนกับการแหย่เสือ ยิ่งเสือถูกแหย่ เราก็ยิ่งรู้จักฤทธิ์ของมัน และเห็นจุดอ่อนของมัน ทำให้สามารถปราบมันได้ด้วย ถ้าไม่ทำงาน เราก็ไม่รู้จักเสือ ดังนันจึงไม่รู้วิธีปราบและเอาชนะมันได้

เมื่อการทำงานกับการปฏิบัติ ธรรมเป็นเรื่องเดียวกัน “โลก” กับ “ธรรม”ก็มิได้แยกจากกันอีกต่อไป ชาวพุทธทั่วไปนั้นมักเห็นว่า “โลก” เป็นเรื่องของคฤหัสถ์ ส่วน “ธรรม”เป็นเรื่องของพระ ใครที่เป็นคฤหัสถ์ ก็หวังความสำเร็จทางโลก ส่วนพระก็ปฏิบัติธรรมเพื่อพ้นทุกข์ แต่ท่านพุทธทาสภิกขุเห็นว่า แม้แต่คฤหัสถ์ ก็ควรให้ความสำคัญกับการปฏิบัติธรรมหรือบำเพ็ญทางจิตด้วย เพราะชีวิตทางโลกนั้นเต็มไปด้วยความเร่าร้อนและวุ่นวาย หากไม่รู้จักฝึกจิตให้สงบเย็น ก็จะเต็มไปด้วยความทุกข์ ด้วยเหตุนี้ในขณะที่ท่านชักชวนพระในสวนโมกข์ให้ออกจากกุฏิมาทำงานแบกหามและก ่อสร้างอยู่เนือง ๆ นั้น ท่านก็พยายามแนะนำคฤหัสถ์ให้รู้จักทำงานด้วย “จิตว่าง” คือว่างจากกิเลสและความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ดังท่านได้ย้ำว่า “จะนอน จะกิน จะทำงาน จะทำอะไรก็ได้ด้วยจิตที่ไม่ยึดมั่นถือมั่น ด้วย “ตัวกู-ของกู” แล้วก็(จะ)ไม่มีความทุกข์ “ ในระดับบุคคล ฉันใด ในระดับสังคม ก็ฉันนั้น จึงไม่แปลกที่ท่านจะเรียกร้องให้ การเมือง เศรษฐกิจ และการพัฒนา มีธรรมะเป็นพื้นฐาน ธรรมะกับการเมือง เป็นงานบรรยายของท่านอีกชิ้นหนึ่งที่ย๋ำว่า “โลก” กับ”ธรรม” ต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน

มองให้ลึกลงไป เมื่อ “โลก” กับ “ธรรม”เป็นหนึ่งเดียวกัน สิ่งที่เรียกว่า “โลกิยธรรม” กับ “โลกุตตรธรรม” ก็ไม่แยกจากกันอีกต่อไป การมีชีวิตอยู่ในโลก กับการอยู่เหนือโลก สามารถดำเนินควบคู่กันไปได้ คฤหัสถ์สามารถดำเนินชีวิตอย่างคนปกติ แต่ใจนั้นเป็นอิสระจากความทุกข์ ไม่เป็นทาสของโลกธรรม หรือสยบมัวเมาในวัตถุ แม้จะประสบความพลัดพรากสูญเสีย จิตใจก็ไม่หวั่นไหว เพราะรู้เท่าทันในธรรมดาโลก สภาวะเช่นนั้นคือความสงบเย็นที่เรียกว่านิพพานนั่นเอง ท่านเคยกล่าวว่า “ฆ ราวาสธรรม มิใช่สำหรับให้ฆราวาสได้จมอยู่ในโลก หากแต่สำหรับให้ฆราวาสนั้น ได้อาศัยยกตัวเองขึ้นมาเสียจากปลักของฆราวาส พ้นทุกข์ เป็นโลกุตร เป็นนิพพานในที่สุด

กล่าวอีกนัยหนึ่ง เราทั้งหลายสามารถเข้าถึงนิพพานได้ในชีวิตนี้ มิต้องรอถึงชาติหน้า เป็นเวลาช้านานที่นิพพานถูกมองว่าเป็นเรื่องไกลโพ้น ส่วนโลกุตตรธรรมเป็นเรื่องของคนที่ต้องสละโลก แต่ท่านพุทธทาสภิกขุได้นำโลกุตตรธรรมและนิพพานกลับคืนสู่โลกนี้และชีวิตนี้ จริงอยู่โลกนี้ชีวิตนี้เต็มไปด้วยความเร่าร้อนและเปลวกิเลส แต่ใช่หรือไม่ว่า “ความดับของไฟ หาพบได้ที่ไฟ ความดับของทุกข์ หาพบได้ที่ความทุกข์ นิพพาน(จึง)หาพบได้ที่วัฏสงสาร

ท่านพุทธทาสภิกขุได้ทำให้เราตระหนักว่า วัฏสงสารกับนิพพานนั้นหาได้แยกจากกันไม่ เพราะในวัฏสงสารมีนิพพานที่รอการค้นพบจากเรา ไม่ว่า “นิพพานชั่วขณะ” หรือนิพพานที่เป็นความหลุดพ้นสิ้นเชิงก็ตาม

ใ นโลกที่นิยมแบ่งสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นขั้ว ท่านพุทธทาสภิกขุได้ประสานขั้วเหล่านั้นให้ประสานเป็นหนึ่งเดียวกัน ผลพวงอย่างหนึ่งที่ตามมาก็คือ การที่ผู้คนจำนวนไม่น้อยได้ค้นพบว่า “พุทธะ” นั้นหาได้อยู่นอกตัวไม่ หากอยู่กลางใจนี้เอง ถึงที่สุดแล้วท่านได้นำเรากลับมารู้จัก “พุทธะ”ภายใน ซึ่งสามารถทำให้เราทุกคนเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน หรือ “พุทโธ”ได้ สมกับที่พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า “อริยโลกุตตรธรรมเป็นทรัพย์ประจำตัวของมนุษย์ทุกคน

ท ่านพุทธทาสภิกขุเป็นปราชญ์ที่มิเพียงฟื้นฟูพุทธศาสนาไทยให้กลับมามีความรุ่ม รวย ลุ่มลึก และมีความหมายกับสังคมร่วมสมัยเท่านั้น หากยังทำให้ความเป็นมนุษย์ของเรากลับฟื้นคืนเต็มขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ในโลกที่มองมนุษย์เป็นเพียงสัตว์เศรษฐกิจที่เห็นแก่ตัว หรือเป็นแค่เครื่องจักรมีชีวิตที่กำหนดโดยยีน การเข้าถึงศักยภาพของตนเองอย่างลึกซึ้งเช่นนี้เป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการกอบกู้ ความเป็นมนุษย์ของเราคืนมาจากการปล้นสะดมของโลกวัตถุนิยม

ในวาระ ๑๐๐ ปีแห่งชาตกาลของท่านพุทธทาสภิกขุ มีหลายสิ่งที่น่าจดจำเกี่ยวกับท่านผู้เป็นปราชญ์ระดับโลก แต่สิ่งหนึ่งที่ลืมไม่ได้ก็คือ คำสอนของท่านที่บอกให้เรารู้ว่า เราคือใคร และมีศักยภาพเพียงใดบ้าง

พระไพศาล วิสาโล
 http://www.budnet.info/webboard/view.php?category=textb&wb_id=132

ข้อเสนอทำความดี 5 ประการเฉลิมฉลอง 100 ปีชาตกาลพุทธทาสภิกขุ

          (28 พ.ค. 49) ร่วมอภิปรายหัวข้อ “ธรรมะตามวิถีพุทธทาส” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดงาน “มหกรรมสืบสานปณิธานพุทธทาสภิกขุ” อันสืบเนื่องจากการที่องค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้มีมติให้บรรจุรายการเฉลิมฉลองชาตกาลครบ 100 ปีของท่านพุทธทาสภิกขุ ไว้ในรายการเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญหรือผู้มีผลงานดีเด่น และเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของยูเนสโก ประจำปี  พ.ศ. 2549 – 50

            งานนี้จัดโดยกระทรวงศึกษาธิการ ณ พุทธมณฑล ระหว่าง 26 – 28 พฤษภาคม 2549 วันครบรอบ 100 ปีพอดี คือวันที่ 27 พ.ค. 49

             การอภิปรายหัวข้อ “ธรรมะตามวิถีพุทธทาส” มีผู้ร่วมอภิปรายอีก 3 ท่าน คือ พระราชธรรมนิเทศ (พระพยอม กัลยาโณ) อาจารย์เสฐียรพงศ์ วรรณปก (ราชบัณฑิต) และนพ.บัญชา พงษ์พานิช ผู้ดำเนินการอภิปรายคือ คุณชมัยภร แสงกระจ่าง

            พระพุทธทาสให้ความหมายของ “ธรรมะ” ว่า ได้แก่ (1) ธรรมชาติ (2) กฎธรรมชาติ (3) การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎธรรมชาติ (4) ผลที่เกิดจากการปฏิบัติตามกฎธรรมชาติ และกล่าวว่า “การปฏิบัติธรรม” คือ (1) ไม่ทำความชั่ว (2) ทำความดี (3) อยู่หนือดีเหนือชั่ว นั่นคือ เข้าถึง “อนัตตา” หรือ “สุญญตา” และพระพุทธทาสยังบอกอีกว่า “เราทั้งหลายสามารถเข้าถึงนิพพานได้ในชีวิตนี้ มิต้องรอจนถึงชาติหน้า”

            พระพุทธทาสได้ตั้ง “ปณิธาน 3 ประการที่ขอฝากไว้กับอนุชน” ได้แก่ (1) การเข้าถึงหัวใจของศาสนาของตนๆ (2) การทำความเข้าใจระหว่างศาสนา (3) ออกมาเสียจากอำนาจวัตถุนิยม

            พระพุทธทาส ได้พูดถึงพระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร ว่ามีลักษณะ 4 คือ สุทธิ ปัญญา เมตตา ขันติ

            ผมได้ให้ความคิดเห็นในการอภิปราย สรุปได้ 4 ประการ ดังนี้

            1. เมื่อ พ.ศ. 2504 (45 ปีมาแล้ว) ได้อ่าน “หลักพระพุทธศาสนา” ซึ่งเป็นหนังสือบันทึกคำบรรยายเมื่อ พ.ศ. 2499 ของท่านพุทธทาสต่อผู้ที่จะเป็นผู้พิพากษา (ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีการตีพิมพ์อีกหลายครั้ง ในชื่อใหม่ว่า “คู่มือมนุษย์ฉบับสมบูรณ์”) อ่านแล้วลองปฏิบัติ “โดยวิธีตามธรรมชาติ” ปรากฎว่าเกิดผลดีต่อสภาวะของจิตอย่างชัดเจน จึงพยายามปฏิบัติเรื่อยมาจนปัจจุบัน ซึ่งแสดงว่า คนธรรมดาสามัญ คนทั่วๆไป ที่สนใจศึกษาธรรมะด้วยการอ่านหนังสือแล้วพยายามปฏิบัติด้วยวิธีตามธรรมชาติก ็สามารถ “เข้าถึงธรรมะของพระพุทธเจ้า” หรือ “พุทธธรรม” และเกิดสภาวะ “จิตสงบเย็น” ได้

            2. พระพุทธทาสเป็น “อัจฉริยมหาบุคคล” ที่หาได้ยาก เป็นผู้ค้นพบและพัฒนา “เครื่องมือ” หรือ “กุญแจ” สู่การเข้าถึงธรรมะของพระพุทธเจ้าได้อย่างชาญฉลาดและมีศิลปะที่หลากหลาย

            3. เป็นความประจวบเหมาะอันเป็นมงคลและมีคุณค่ายิ่งที่ 100 ปี ชาตกาลพุทธทาสภิกขุ มาตรงกับปีเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเป็น “มหาธรมราชา” และได้ทรงมีพระราชดำริ “เศรษฐกิจพอเพียง” ที่ได้รับการยอมรับว่าจะเป็นแนวทางของ “การพัฒนาที่เหมาะสมและยั่งยืน” ทั้งในประเทศไทยและในโลก ซึ่ง “เศรษฐกิจพอเพียง” นั้นเป็นการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนฐานของศีลธรรมและคุณธรรม สอดรับกับคำพูดของท่านพระพุทธทาสที่ว่า “ศีลธรรมไม่กลับมาโลกาจะวินาศ”

            4. ในโอกาสเฉลิมฉลอง 100 ปีชาตกาลพุทธทาสภิกขุ ควบคู่กับการเฉลิมการฉลองครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงขอเสนอการ “ทำความดี 5 ประการ” เป็นปฏิบัติบูชาดังนี้

                     (1) ฟื้นฟู พัฒนา หรือก่อตั้ง องค์กร สถาบัน หรือกลุ่มเพื่อการศึกษาและส่งเสริมการปฏิบัติตามแนวคำสอนของพระพุทธทาส

                     (2) ดำเนินการ หรือส่งเสริมสนับสนุนให้มีการดำเนินการในลักษณะเครือข่ายหลายแบบหลายระดับ ในระหว่างองค์กร สถาบัน หรือกลุ่ม ดังกล่าวข้างต้น

                     (3) ทำการศึกษาวิจัยและดำเนินการจัดการความรู้อย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับคำสอนของพ ระพุทธทาส ซึ่งรวมถึงการจัดการความรู้ในระหว่างสมาชิกเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

                     (4) พัฒนาและเผยแพร่สื่อที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพเกี่ยวกับคำสอนของพระพุทธทาส

                     (5) ดำเนินการ หรือส่งเสริมสนับสนุนให้มีการดำเนินนโยบายสาธารณะในทุกระดับ (ตั้งแต่ระดับฐานราก เช่น นโยบายขององค์กรปกครองส่วน้องถิ่น นโยบายของจังหวัด นโยบายของกระทรวง ฯลฯ) ที่เอื้อต่อการใช้ประโยชน์จากคำสอนของพระพุทธทาส

 ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

7 มิ.ย. 49

ที่มา :: http://gotoknow.org/blog/paiboon/33251

..เวลานี้คือชั่วโมงแห่งความมืดมนทางจิตวิญญาณ ท่ามกลางโรคภัยไข้เจ็บที่ไร้ยารักษา ความอดอยาก ทุกข์ยาก สงครามแห่งความโลภและความเกลียดชัง พัดโหมกระหน่ำ ถ่าโถมกระทบโลกแห่งพุทธธรรมให้สั่นคลอนอ่อนแรง สงฆ์หลายสำนักกำลังทะเลาะเบาะแว้ง ด้วยความยึดมั่นในทิฐิมานะและผลประโยชน์ สร้างความขมขื่นแห่งการแตกแยก แม้พุทธธรรมจะยังเต็มเปี่ยมด้วยธรรมรสแห่งปัญญาอันได้ถูกถ่ายทอดมาจากรุ่นสู่รุ่นจวบจนปัจจุบัน ด้วยการฝึกฝนปฏิบัติจริงของเหล่าอริยธรรมาจารย์ผู้ปฏิบัติชอบ แต่กระนั้นผู้คนกลับหลงมัวเมา ได้แต่ถกเถียงหลักพระธรรมในเพียงเปลือกนอกเชิงปรัชญา มนตราและพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์หมดแล้วซึ่งคุณค่าและความหมาย กลายเป็นเพียงเรื่องความเชื่องมงายไร้สติ พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติชอบกำลังสูญเสียธรรมบันดาลใจ หมดแรงเวลาไปกับกิจนิมนต์ตามบ้าน แสดงธรรมและพิธีกรรมเล็กน้อย เพียงหวังผลตอบแทนทางวัตถุ

ณ เวลานี้ จะมองไปทางใด ก็แทบจะไม่พบพุทธสาวกผู้ยังดำรงไว้ซึ่งวินัยสูงสุด อันกอปรด้วยไตรสิกขาครบองค์สาม; ศีล สมาธิ และปัญญา อันเป็นรากฐานของการฝึกฝนตนเอง เพื่อการเข้าสู่ความดี ความงาม และความจริงภายใน; เมื่อไร้ซึ่งผู้ปฏิบัติชอบบนเส้นทางแห่งอารยะนี้แล้ว พุทธธรรมก็ถูกใช้เพียงเพื่อเป้าหมายทางการเมืองและทางสังคม เป็นเพียงการสร้างภาพ ความน่าเชื่อถือ เพื่อเกียรติยศ ชื่อเสียง หรือผลประโยชน์ส่วนตนเพียงเท่านั้น พลังกุศลทางธรรมที่แท้กำลังจางหาย ไร้ซึ่งการปฏิบัติบูชา จะหาผู้อุทิศกายถวายชีวิตเพื่อพุทธธรรมอย่างแต่ก่อนได้ยากยิ่ง  จิตธรรมสั่นคลอน สะท้อนการสูญเสียศรัทธาในไตรรัตนะ...
 
เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช
(แปลจาก “Sadhana of Mahamudra” )
 

หากเราย้อนมองอดีต เรียนรู้จากบทเรียนที่ผ่านมา เพื่อจะได้ไม่ก้าวผิดซ้ำรอยเดิมอีก เราจะพบว่า ยามใดที่ธรรมาจารย์ผู้ปฏิบัติชอบได้จากโลกนี้ไป พลังแห่งการเรียนรู้และการสร้างสรรค์ของท่านที่ส่งผลต่อผู้คนและสังคมในวงกว้าง จะก่อให้เกิดพลวัตรที่น่าสนใจอย่างหนึ่งในสังคมของคนรุ่นถัดไป พลวัตรอันนี้ได้ถูกชี้ให้เห็นโดยนักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน ชื่อ แม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber) เขาเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “การเปลี่ยนแปลงจากศักยภาพการสร้างสรรค์ของปัจเจก สู่วัตรปฏิบัติที่ตายตัว”

สิ่งแรกที่เกิดขึ้น คือความพยายามที่จะให้คำนิยาม หาบทสรุป กับผลงานอันมหาศาล หรือความคิดสร้างสรรค์อันหลากหลายของธรรมาจารย์ผู้นั้น บนพื้นฐานของความกลัว ไม่ว่าจะเป็นความกลัวการสูญเสีย ความไม่กล้าที่จะก้าวเผชิญบนเส้นทางแห่งการฝึกฝนตนเองโดยปราศจากอาจารย์ สิ่งที่ตามมาก็คือ องค์กรทางศาสนา หรือ สายปฏิบัติที่เต็มไปด้วยกฏกรอบ อันเป็นความพยายามที่จะสร้างตัวตายตัวแทนให้แก่ธรรมาจารย์ท่านนั้น

แต่กระนั้นก็ยังมีพลวัตรในอีกลักษณะหนึ่งซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน มันคือปรากฏการณ์ที่ศักยภาพของธรรมาจารย์ได้ถูกหลอมรวมและก้าวข้ามโดยศิษย์ ผู้ได้รับแรงดลใจในการฝึกฝนปฏิบัติตนอย่างไม่ย่อท้อ ศักยภาพของปัจเจกจึงได้ถูกถ่ายทอด ส่งผ่านสู่ผู้คนรุ่นถัดไปอย่างไม่ถูกตัดขาด  พลวัตรนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการอุทิศตนของผู้กล้า ผู้อยู่นอกกฏกรอบขององค์กรทางศาสนาใดๆ ผู้ซึ่งมองเห็นความทุกข์ในสังสารวัฏอย่างชัดแจ้ง นำไปสู่แรงบันดาลใจในการฝึกฝน อุทิศตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นอย่างสุดความสามารถ

พุทธธรรมที่มีชีวิตนั้นจะต้องเป็นพุทธธรรมที่สามารถนำมาประยุกต์ให้เข้ากับวิถีชีวิตและเหตุปัจจัยของผู้คนในสังคมปัจจุบันได้อยู่เสมอ การประยุกต์ที่ว่าหาใช่เป็นการเสกสรรปั้นแต่ง เพิ่มลูกเล่นทางภาษา หรือทำหน้าปกหนังสือธรรมะให้น่าอ่านมากขึ้น แต่มันหมายถึง การปฏิบัติบูชา นำปณิธานสูงสุดของธรรมาจารย์ท่านนั้นๆมาปฏิบัติอย่างถวายชีวิต จนสามารถนำไปสู่กระบวนการการเรียนรู้ หลอมรวมศักยภาพในตนเอง เข้าสู่สายธารธรรมแห่งการตื่นรู้ สู่ธรรมรสแห่งพุทธธรรมอันหอมหวน เชื้อชวนให้คนรอบข้างได้มาแบ่งปัน

เราทุกคนในฐานะผู้ปฏิบัติธรรมเดินตามรอยของเหล่าอริยปัจเจก เฉกเช่น ท่านอาจารย์พุทธทาส จำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงความหมายและคุณค่าของการปฏิบัติบูชาให้ลึกซึ้ง การปฏิบัติบูชาของศิษย์เป็นหนทางเดียวที่จะนำไปสู่ความงอกงามทางธรรมอันหลากหลาย เป็นการสร้างสรรค์ใหม่ๆที่มีชีวิต เป็นหนทางแห่งการก้าวข้ามข้อจำกัดของเหตุปัจจัยในอดีต สู่การแตกหน่อธรรมอันเป็นสิ่งสร้างสรรค์อันน่าจะเกิดขึ้นได้ ด้วยพื้นฐานการฝึกฝนด้านในอย่างจริงจังของศิษย์ หน่อพระธรรมที่ว่านี้จะแตกต่างออกไปในสภาวะการรู้แจ้งของแต่ละบุคคล ซึ่งหาใช่เป็นเรื่องเสียหาย เพราะความหลากหลายของการตื่นรู้ในปัจเจกนี้เอง ที่จะทำให้พุทธธรรมสามารถสืบสานเป็นธารใจให้ผู้คนรุ่นหลังได้ดื่มกินอย่างไม่รู้หมดรู้สิ้น

แต่สิ่งที่ผู้เขียนมองเห็นในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปีชาตกาลของท่านอาจารย์ในปีนี้ นอกเสียจากความพยายามที่จะศึกษา รวบรวมรักษา ตีความและเผยแพร่ คำสอนของท่านอาจารย์ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง อีกด้านหนึ่งก็ดูจะหนีไม่พ้นแนวคิดที่จะผลักดันให้เกิดงานเฉลิมฉลอง นิทรรศการ งานปาหี่ใหญ่โต วิจิตรวิลิศมาหรา วูบวาบ ตระการตา แต่หาเนื้อแท้ แก่นสาระ มาเป็นอาหารทางจิตวิญญาณกันแทบไม่ได้ ทุกครั้งที่ได้ยินเรื่องงานเฉลิมฉลอง ก็ได้ยินแต่กระบวนการยกย่องท่านอาจารย์ขึ้นเป็นปูชนียบุคคล แบกท่านไปวางไว้บนแท่น บนหิ้ง เพื่อจะได้กราบไหว้บูชากันได้อย่างถนัดถนี่ มืออ่อน เท้าอ่อน ปากก็แซ่ซ้องสรรเสริญ อย่างไร้ซึ่งจิตวิญญาณของการปฏิบัติบูชาเอาเสียเลย

เรากำลังถูกหลอกหลอนด้วยผีท่านอาจารย์พุทธทาส ผีในที่นี้ คือ ความทรงจำเดิมๆที่เรามีต่อท่าน เป็นความทรงจำที่เราไม่ยอมปล่อยวาง จนกลายเป็นการยึดติดในตัวบุคคล ไร้ซึ่งการนำหัวใจแห่งคำสอนมาปฏิบัติ หลอมรวม และก้าวข้ามประสบการณ์ในอดีต สู่การเรียนรู้เหตุปัจจัยในปัจจุบันขณะ สิ่งที่น่าเศร้าก็คือ ความทรงจำที่เราพยายามสงวนรักษากันไว้นั้น หาใช่ “พุทธทาส” ที่แท้แต่อย่างใด ผู้คนพยายามจะรักษารอยเท้าของท่านราวกับว่ามันมีชีวิต ถึงเวลาที่เราจะต้องตระหนักได้แล้วว่า รอยเท้าที่เราบูชาหาใช่ฝ่าเท้าที่ท่านอาจารย์ใช้เดินแต่อย่างใด เรากำลังกราบไหว้รอยเท้า โดยหารู้ไม่ว่าเราเองกำลังย่ำอยู่กับที่ ไร้ความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณใดๆ

เหมาะสมแล้วหรือที่จะปฏิบัติต่อท่านอาจารย์ราวกับท่านเป็นวัตถุ? ท่านอาจารย์ไม่ใช่ตึกอิฐแดงที่สวนโมกข์ ท่านอาจารย์ไม่ใช่เสาห้าต้น ท่านอาจารย์ไม่ใช่ลานหินโค้ง ท่านอาจารย์ไม่ใช่สระนาฬิเกร์ ท่านอาจารย์ไม่ใช่โรงมหรศพทางวิญญาณ ท่านอาจารย์ไม่ใช่หนังสือธรรมโฆษฐ์ ไม่ใช่กาพย์กลอน รูปหล่อ รูปปั้น รูปวาดใดๆ

....แต่ท่านอาจารย์ คือ เส้นทางของผู้แสวงหาคุณค่าในตน “พุทธทาส” คือ การมอบกายถวายชีวิตแก่ไตรรัตนะ เพื่อประโยชน์สุขที่แท้แก่เพื่อนมนุษย์  “พุทธทาส” คือ การเสียสละชีวิตเพื่อการฝึกฝนภาวนา ลดทิฐิอัตตา เรียนรู้คุณค่าและศักยภาพที่แท้ของจิตที่ว่างจากมายาคติตัวตน ท่านอาจารย์ คือ สายธารธรรม คือ ความงามที่สัมผัสได้ในชีวิตนี้ ด้วยการฝึกฝนด้านใน สู่จิตใจที่ขยายกว้าง นำมาซึ่งความพร้อมที่จะรับฟังเสียงแห่งความทุกข์ (ศีล) น้อมนำใคร่ครวญ ฝึกฝนสัมผัสความทุกข์นั้นด้วยหัวใจที่ตั้งมั่น(สมาธิ) จนสามารถมองเห็นธรรมชาติอันผันแปรไม่จริงแท้แห่งทุกข์ (ปัญญา) นำไปสู่แรงใจในการอุทิศชีวิตทั้งชีวิตเพื่อร่วมทุกข์ร่วมสุขกับผู้อื่น การทำให้ดูอยู่ให้เห็นของผู้ปฏิบัติจริงเป็นการแสดงธรรมในความว่าง ให้เห็นหนทางที่จะร่วมทุกข์กับเพื่อนมนุษย์โดยจิตไม่ต้องเป็นทุกข์  ท่านอาจารย์คือความตื่นรู้ภายในตน คือ คุณค่าและความงามแห่งการสร้างสรรค์ทางปัญญา ที่ผุดบังเกิดขึ้นจากความง่ายงามตามธรรมดาของจิตที่ถูกฝึกฝน

การสืบสานปณิธาน “พุทธทาส” จึงหาใช่การวัดรอยเท้าของท่านว่ากว้าง ยาวเท่าไร หนทางเดียวที่จะสืบสานปณิธานพุทธทาสให้คงอยู่ ก็คือ การให้ความสำคัญกับการปฏิบัติภาวนา ให้คุณค่ากับเส้นทางแห่งการเรียนรู้ฝึกฝนจิตใจ จนได้เข้าไปสัมผัสพลังแห่งการตื่นรู้ สู่การดำรงจิตใจในพื้นที่ว่างแห่งการเรียนรู้ด้านใน หลอมรวมเป็น “พุทธทาสภายใน” ที่ไม่มีวันตาย

เพราะท่านอาจารย์พุทธทาสไม่เคยสอนให้เรายึดมั่นอยู่ในอดีต ไม่เคยสอนให้เรายึดติดในตัวบุคคล ท่านสร้างสรรค์หนทางหลากหลายให้ผู้คนได้หันกลับมาอยู่กับปัจจุบันขณะ และปัจจุบันขณะนี้เอง คือสิ่งที่เราควรยึดติด ซึ่งก็คือ การไม่ติดกับรอยเท้าใดๆ

รอยเท้าเป็นเพียงเครื่องนำทางสู่กระบวนการเรียนรู้แห่งชีวิต  เพื่อจะใช้สองเท้าที่เรามี ย่างก้าวบนเส้นทางของการปฏิบัติภาวนา วิปัสสนาคุณค่าภายในตน นี่คือสิ่งที่เราทุกคนน่าจะนำมาใคร่ครวญพิจารณา เพื่อการปฏิบัติบูชา สืบสานปณิธานพุทธทาสในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปีชาตกาลที่ใกล้จะมาถึงนี้

“หุบปากประกาศ หมายความว่า แสดงอยู่ที่เนื้อที่ตัว เป็นของจริงกว่าที่จะเปิดปากประกาศ ซึ่งส่วนมากก็เป็นแต่เรื่องพูด หรือ ดีแต่พูด...ที่เอามาพูดเป็นคำพูดได้นั้นไม่ใช่ธรรมะ...

พวกเรามีหลักอย่างนี้กันหรือเปล่า? คือว่าสิ่งที่แท้จริงเป็นสิ่งที่พูดด้วยปากไม่ได้ แต่ต้องแสดงด้วยการกระทำ หรือว่าเป็นสิ่งที่ต้องทำเท่านั้น จนมันปรากฏอยู่ข้างใน...

ธรรมะแท้จริงพูดไม่ได้ด้วยปาก ธรรมะแท้คัดลอกไม่ได้ ถ่ายทอดด้วยปากไม่ได้ ไม่มีทางที่จะเลอะเทอะ ส่วนธรรมะพูดได้ด้วยปาก ด้วยเสียงนั้น มีทางคัดลอกได้ แล้วก็เลอะเทอะ ยิ่งพูดมากก็ยิ่งผิดมาก ก็ยิ่งเลอะเทอะมาก”

พุทธทาสภิกขุ

(จาก “อบรมพระธรรมทูต”)

บทความนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในชื่อ “ปฏิบัติบูชา” ใน มติชนรายวัน ฉบับวันเสาร์ที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๔๙

ที่มา : ประชาไทย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท